สุนทรียสนทนา เรื่องเล่าเร้าพลัง และการจัดการความรู้


การฟังที่ลุ่มลึก (Deep Listening) ทำให้เข้าใจในบริบทและสมมติฐานของผู้เล่า ทำให้เข้าใจ Tacit ที่เกาะติดบริบทหรือรายละเอียดได้เป็นอย่างดี เป็นการจัดการความรู้ที่ละเอียดละเมียดละไม

           

            Workshop ที่เพิ่งไปจัดมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้จัดตั้งโจทย์ไว้ว่า “อยากให้สอนกระบวนการสุนทรียสนทนา หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dialogue ให้กับบุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่มีพื้นฐานทางด้าน KM มาบ้างแล้ว”  มีกำหนดเวลาให้ผม 2 วัน แต่ที่ยากไปกว่านั้นก็คือจำนวนผู้เข้าร่วมที่ได้เชิญไว้มีมากถึง 65 คน ซึ่งในวันจริงต้องถือว่าโชคดีที่มากันจริงๆ เพียง 52 คน  ผมเองถึงแม้จะเตรียมกระบวนการมาเป็นอย่างดี แต่พอถึงเวลาที่นำกระบวนการ ก็ต้องปล่อยให้มัน “เลื่อนไหล” ไปตามธรรมชาติเหมือนกัน คาดว่าทุกท่านคงทราบกันดีแล้วว่า ความหมายของคำว่า Dialogue ก็คือ “การไหลไปของความหมาย (ถ้อยคำ)” พูดง่ายๆ ก็คือเราต้องไม่นำ (จัดการ) หรือมีเป้าหมายที่ชัดเจน (กะเกณฑ์) จนเกินไป  กระบวนการที่ออกแบบมาจึงเน้นอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้ทุกคนฟังกันมากขึ้นๆ ทำอย่างไรให้ฟังไปรู้ตัวไป ใช้การสะท้อน (Reflection) บ่อยๆ จนในที่สุดก็ค่อยๆ ตกตะกอนออกมาเป็นหลักการสำคัญ ส่วนในตอนท้ายผมได้สรุปสั้นๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Dialogue กับ KM ว่า...

 

            ถ้าเราทำ KM เฉพาะความรู้ที่ชัดเจน หรือ Explicit Knowledge การจัดการความรู้ของเราจะไม่ทรงพลังเท่าที่ควร เราต้องไม่ลืมที่จะจัดการความรู้ที่ซ่อนเร้นอยู่ในคน หรือ Tacit Knowledge ด้วยจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่  การที่เราจะแชร์ Tacit ได้ดี จำเป็นที่เราจะต้องใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling คือเล่าประสบการณ์ตรงของแต่ละคนออกมาผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้น ในวงเรื่องเล่าอุปสรรคใหญ่มักจะหนีไม่พ้นเรื่องการฟัง คือผู้ฟังมักจะคิด (วิเคราะห์) ตัดสิน หรือโต้เถียง (ไม่เห็นด้วย) ตลอดเวลา แทนที่ว่าจะพยายามทำความเข้าใจในรายละเอียดหรือบริบทของเรื่องที่กำลังฟังอยู่นั้น กลายเป็นยึดมั่นในความคิดเห็นของตัวเองเป็นหลัก เป็นการฟังที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ใช้พื้นฐานความเชื่อ และสมมุติฐานของตัวผู้ฟังเอง ทำให้เข้าไม่ถึงแก่นแท้ของเรื่องที่เขากำลังเล่าอยู่นั้น

 

            ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เข้าใจและมีทักษะในการใช้ Dialogue จะเป็นผู้ที่พร้อมรับฟังเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นผู้ที่ไม่ด่วนสรุป ไม่ด่วนตัดสิน สามารถฟังได้อย่างเปิดใจ ไม่มีอคติ เรียกได้ว่าเป็นการฟังที่ลุ่มลึก (Deep Listening) ทำให้เข้าใจในบริบทและสมมติฐานของผู้เล่า ทำให้เข้าใจ Tacit ที่เกาะติดบริบทหรือรายละเอียดได้เป็นอย่างดี เป็นการจัดการความรู้ที่ละเอียดละเมียดละไม ไม่ใช่การจัดการความรู้แบบหยาบๆ ที่ทำกันเพียงเพื่อให้ผ่านการประเมิน วัดผล หรือผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ "ขายผ้าเอาหน้ารอด" ไปแต่ละปีๆ เท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #Dialogue Storytelling KM
หมายเลขบันทึก: 488679เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 ทำ KM ต้องชัดใน 2 เรื่อง


Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge

จึงจะทำให้การทำงานนั้นๆ "ทรงพลัง"

ผมบรรจุกิจกรรมนี้เข้าสู่การเรียนการสอนในรายวิชาพัฒนานิสิตที่ผมรับผิดชอบ  ผมเชื่อว่าการฟังคือปฐมบทของการเปลี่ยนแปลงชีวิต เช่นเดียวกับการเปิดเวทีกระบวนการที่ผมทำนั้นก็จะเปิดด้วยกิจกรรมรู้จักฉันรู้จักเธอ  โดยประยุกต์การฟังแบบฝังลึกเข้าไปเป็นองค์ประกอบอันสำคัญ...ซึ่งเคยเขียนกลอนไว้ประมาณว่า

เมื่อเธอพูด ฉันก็ฟังด้วยศรัทธา    
เปิดประตูดวงตาสู่ประตูใจ
เมื่อฉันพูด เธอก็ฟังอย่างเป็นมิตร    
เรื่องน้อยนิด จึงดูเป็นยิ่งใหญ่ 
โลกสองโลกจึงนิยามความเป็นไป      
ว่าเราต่างก็ใช้ใจนิยาม

ขอบคุณครับ

ถ้าไม่เปิดใจ ก็ยากที่จะได้ Tacit....ใช่มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท