สุขภาพ : พลังในมือประชาชน (ตอนที่ 1)


"บุคลากรด้านสุขภาพ มักจะมองมิติสุขภาพเป็นเพียงเรื่องของกาย-จิต และคิดว่าเรารู้ดีกว่าคนไข้หรือคนในชุมชน จึงมักจะนำความรู้จากเรา (คนนอก) ไปยัดเยียดให้กับคนไข้ หรือคนในชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ หรือแก้ไขปัญหาได้ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน" (จรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ : ประธานชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย)

 



สวัสดีค่ะ วันนี้อยากให้พวกเราอ่านประโยคเด่นก่อน แล้วลองคิดตามแล้วบอกด้วยว่ารู้สึกอย่างไร?
สำหรับ By Jan รู้สึกโดนสุดๆ (โค-ตรๆ) และรู้สึกว่าพวกเราโชคดี ที่ปีนี้ Boss  ของเรามีนโยบาย พัฒนางานสุขภาพระดับอำเภอโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเริ่มดำเนินงาน มา ประมาณ 2 เดือน กว่าๆ (เจ้าภาพทั้ง 11 งาน คงจะเห็นด้วยกับ By Jan
) คือแต่เดิม การพัฒนาระบบบริการสุขภาพส่วนใหญ่ เราจะนำข้อมูลด้านสุขภาพและบริการมาวิเคราะห์ และหาแนวทางแก้ไขเอง แต่คราวนี้เรามีการนำข้อมูลด้านสุขภาพ (มุมมองของเรา) คืนสู่ชุมชน พร้อมกับมีการแลกเปลี่ยน-รับฟังข้อมูล/ปัญหาด้านสุขภาพ และบริการ (มุมมองของชุมชน) ซึ่งจากการไปประชุมวิชาการพยาบาลชุมชนระดับชาติครั้งนี้(เรื่อง "สุขภาพ:พลังในมือประชาชน") By Jan พอสรุปได้ว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หรือด้วยพลังในมือประชาชนนั้น คือ การคืนข้อมูลให้กับชุมชน ซึ่งมี 2 ลักษณะ ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม ที่สัมผัสได้)
- ข้อมูลที่เป็นวิชาการ/องค์ความรู้ บางทีไม่ใช่ปัญหา
เช่น รู้ว่า เหล้าไม่ดี แต่ ''รู้ทั้งรู้...ก็จะกิน" หรือ รู้ว่าออกกำลังกายน่ะดีนะ "รู้ทั้งรู้แต่...ก็ไม่ทำ"
- ข้อมูลที่เป็นความจริง (ที่
เกิดขึ้นจากพฤติกรรม ที่สัมผัสได้) เช่น คนในตำบลนี้ มีคนสูบบุหรี่เท่าไร? เป็นมะเร็งปอดเท่าไร? ตายไปกี่คนแล้ว มีคนดื่มสุราเท่าไร? เป็นโรคตับแข็งกี่ราย เป็นมะเร็งตับกี่ราย?  ไม่สามารถทำงาน หรือเป็นภาระครอบครัวมากน้อยเท่าไร? เป็นต้น 
 

ภาพนี้ฝีมือ By Jan ให้พี่วรรณไปยืน Act หน้างานนำเสนอผลงาน
ของ 1 ใน 40 ชุมชน
ที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ พัฒนา&จัดการชุมชนโดยชุมชนเอง
(เขาทำเป็น R2R ด้วยเก่งจริงๆ)


 










หมายเลขบันทึก: 488523เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โห ทำให้คนอ่านอารมณ์ค้างเลยเนี่ย

เห็นด้วยครับ และในต่างประเทศก็ลดความยัดเยียดจากบุคลากรทางการแพทย์สู่คนไข้โดยใช้ Self-Management Model ครับ ตัวอย่าง คลืกอ่านจาก 1. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/376531 2. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/339176 3. http://www.gotoknow.org/blogs/posts/214051

- น่าจะเปลี่ยนเป็ย  --- ประชาชนอยู่ในมือระบบสุขภาพ --- จะดีไหม???

- คำตอบเพราะระบบ สุขภาพยังสั่งๆๆๆๆๆๆ และสั่งการจาก  

"Top ===> Down"  ทำตามนโยบาย(เป็นโหลๆเลยหละ) ทั้ง กระทรวง, สำนัก, กรม, กอง, สปสช,เขตตรวจราชการ, สสจ., สสอ. รพสต.

- ตกเกณฑ์ ==> เตรียมตัว....???

ต้องขออภัยจริงๆ ค่ะ ที่ทำให้อารมณ์ค้าง ว่างๆ จะมาเขียนต่อ
แต่ขนาดเขียนยังไม่จบ ยังมีข้อแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจเข้ามา
ขอบคุณค่ะ/By jan 

credit พ.ค.55' คุณจรรยา ฉายประทีป คอลัมน์ ประชุม อบรม สัมนา ศึกษาดูงาน 1 คะแนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท