Japan ‘ The prosperous Cultural Country ’ ตอนที่ 3 : Waste Management , NHK , Sumo &Tokyo SKYTREE


เวลาชมการแข่งขัน... ห้ามกระพริบตาโดยเด็ดขาด เพราะการแข่งขันจะตัดสินกันแค่เสี้ยววินาทีเดียว ... แต่ลีลาการเตรียมตัวบนเวทีอาจใช้เวลาถึง 2-3นาที กว่าจะแข่งกันจริง

กิจกรรมศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของกำหนดการเมื่อวันที่ 16 พค 2555  คือ การพาไปทัศนศึกษา見学 (Kengaku)  3 ที่ด้วยกัน คือ  สถานที่จัดเก็บขยะของโตเกียว  สถานีโทรทัศน์ NHK และการพาไปชมการแข่งขัน すもう(Sumo)
          

 

  อาจารย์ Kitamura Takeshi  ผู้วางรากฐานการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เมืองไทย ให้ความรู้เรื่อง Sumo อย่างน่าสนใจ

                    



                                                 หนึ่งในเรื่องที่ต้องศึกษาเรียนรู้ 

ก่อนที่จะพาออกไปชมสถานที่จริง  มีการให้ความรู้ด้านข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นแก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ  เพื่อจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น   ต้องยอมรับเรื่องการบริหารจัดการระดับมาตรฐานสากลที่ดีเยี่ยม   น่านำไปเป็นแบบอย่างของการทำงานสำหรับประเทศที่ขายฝันแต่นโยบาย  แต่การปฏิบัติจริงล้มเหลวไม่เป็นท่า


 
           

ได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะที่นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ อันดับแรกต้องได้รับความร่วมมือ-ร่วมใจจากชาวโตเกียวในการจัดแยกขยะ และดำเนินการไปตามแผนการตามจุดมุ่งหมาย  3 ประเด็น 
         
1. Reduce        
2. Reused
3. Recycle


 
 
       
***... เห็นภาพเด็กนักเรียนที่มาศึกษาเรียนรู้ที่นี่  จากวิดิโอแนะนำ รู้สึกชื่นชมที่เขามีวิธีการสอนเด็กๆให้ตระหนักถึงเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสิ่งของให้คุ้มค่า   การได้เรียนรู้-รับรู้ข้อมูลจริงจะได้ประโยชน์ระยะยาว  พลังจากเยาวชนจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้มากมาย ... *** 
 

 


หลังอาหารกลางวันรสชาติถูกปาก จึงมาเยี่ยมชมสถานที่ถ่ายทำรายการโทรทัศน์ชั้นนำของญี่ปุ่น NHK  (ศึกษาที่นี่)  คิดว่าหลายคนคงเคยเปิดรายการโทรทัศน์เข้าไปชมกันบ้าง     ก่อนหน้านี้เคยไปชมที่ Fuji Television (ศึกษาที่นี่) 
        

 

                                            สนุกสนานกับบรรยากาศแห่งการเรียนรู้

 


เก็บค่าเข้าชมท่านละ 150 เยน ก็นับว่าไม่แพงกับการได้เข้าชมสตูดิโอทั้ง 16 ห้อง ยังได้ทันดูรายการบันทึกเทป  Konnijiwa (こんにちは  แต่ที่สนุกคือการถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอลที่เขาตั้งโปรแกรมส่งผ่านแบบอัตโนมัติ


  

                                  ผู้ประกาศข่าว NHK News / ถ่ายภาพด้วยระบบอัตโนมัติ

 

ได้ติดตามดูรายการเกมโชว์ของชาวญี่ปุ่นทางทีวีไทยอยู่บ่อยครั้ง  รับรู้ถึงความอัจฉริยะ  -ความคิดสร้างสรรค์และความพยายามเป็นเลิศอยู่ในสายเลือดอย่างเข้มข้น   เสียดายที่รายการฉลาดสุดขั้ว   ”  เกมซ่าท้ากึ๋น "  เขาจัดเฉพาะกิจในช่วงเทศกาลพิเศษ   ไม่ใช่จัดเป็นประจำอย่างรายการอื่นๆ  เช่นวันเด็ก  วันขึ้นปีใหม่ วันฉลองช่วงฤดูร้อน เป็นต้น

      

                                     บัตรเข้าชมราคา 4,410 เยน...ได้รับการสนับสนุนจาก JF


ที่ชื่นชอบมากมายคือการชมการแข่งขัน SUMO ...  นับว่าเป็นกีฬาที่ไม่อันตราย ไม่ได้ทำร้ายคู่ต่อสู้จนเลือดตก-ยางออก  ใช้พละกำลังผลัก-ดันคู่ต่อสู้ให้ออกไปนอกวงหรือให้ไหล่แตะพื้นก็ถือว่าแพ้แล้ว  เรียกว่าเวลาชมการแข่งขัน...  ห้ามกระพริบตาโดยเด็ดขาด เพราะการแข่งขันจะตัดสินกันแค่เสี้ยววินาทีเดียว ... แต่ลีลาการเตรียมตัวบนเวทีอาจใช้เวลาถึง 2-3นาที กว่าจะแข่งกันจริง

 

 

                                  อาจารย์ Shirai เคยสอนตั้งแต่ครั้งที่แล้ว/ SUMO ตัวจริง-เสียงจริง

ชอบดูท่าทางการขยับตัวของเหล่า SUMO ยามเดิน-นั่งที่ดูท่าทางลำบากเหลือหลายเพราะน้ำหนักตัวมากนั่นเอง  บางคนพร้อมที่จะต่อสู้แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่พร้อม  ยันกายลุกขึ้นมาใหม่  อีกฝ่ายจึงเสียอารมณ์พยุงกายลุกตามแล้วจัดท่าใหม่  พร้อมทั้งเดินไปหยิบเกลือสาดไปตามความเชื่อเรื่องไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นๆไป  (ศึกษาที่นี่) 


 
  
                       สปอนเซอร์สนับสนุนให้ผู้ชนะรายละหมื่นเยน / กลุ่ม SUMO ค่ายหนึ่งโชว์ตัวผู้เข้าร่วมแข่งขัน

 

                                 กรรมการประชุมเครียดตัดสินให้แข่งใหม่ / ลีลา-ท่าทางที่น่าประทับใจ

 
ชาวญี่ปุ่นบางคนก็ไม่เคยเข้าชมการแข่งขัน SUMO  แต่ดูการถ่ายทอดจากทางสถานีโทรทัศน์แทน  เหมือนกับคนไทยหลายคนที่ชอบนั่งเฝ้าหน้าจอทีวีชมการแข่งขันมวย  แข่งขันฟุตบอล ฯลฯ เช่นกัน  ทั้งเห็นชัดเจนกว่าและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย  

 
 เชิญชมรายการแข่งขันนัดสำคัญ 
 Makuuchi Day 12 Sumo Natsu Basho May 2012


  

      

หลังจากจบรายการตามกำหนดการ  กลุ่มของผู้เขียนจึงชวนกันไป ชม Tokyo SKYTREE  ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ล่าสุดและเปิดให้เข้าชมได้ในวันที่ 22 พค  2555 นี้    แต่ตั๋วถูกจองยาวไปจนถึงวันที่ 7 เดือน กรกฎาคม 2555 ( ข้อมูลวันที่ 18 พ.ค.  2555 )  จึงหมดโอกาสเข้าชมไปโดยปริยาย  ได้แต่ชมด้านนอกแทน  สถานที่หลายแห่งต้องมีการจองล่วงหน้า 2-3เดือน  บางแห่ง 6เดือนขึ้นไป   แสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวในการศึกษาเรียนรู้ของชาวญี่ปุ่น (ศึกษาTokyo SKYTREE ที่นี่)

 

 

                              ความสูง 634  เมตร เป็นอันดับ  2 ของโลก ... จึงต้องใช้ท่าพิเศษในการถ่ายภาพ

 

 
         ***… ขอบคุณมากค่ะ(どうも ありがとうございます= Domo Arigatou gozai masu)…***

หมายเลขบันทึก: 488459เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

***... ขอขอบคุณกำลังใจที่ดีจาก " พี่ครูอ้อย  "  Blank " คุณ Kwancha  "  Blank   " คุณ Walina  "   และเพื่อนสมาชิกชาว FB  มากนะคะ   ...***


                                                                         
                   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท