การพัฒนาระบบสารสนเทศ ในงานเบาหวาน


การมีระบบทะเบียนเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง (Register)ที่ดีจะทำให้ทีมบุคคลการใช้เวลาในการเก็บรวมรวมและประมวลผล ส่งรายงานได้ผลรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ลดภาระการทำงาน และใช้เวลาในการให้บริการแก่ผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่

โปรแกรมศูนย์ข้อมูลเบาหวาน DM center V.๑.๗ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก  

จากข้อมูลของโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ปี ๒๕๕๓  พบมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๑๐,๐๙๑ ราย และความดันโลหิตสูง จำนวน ๒๑,๒๙๕ ราย ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนผู้ป่วยที่มาก  มากขนาดนี้ ประกอบกับงานเรามีตัวชี้วัดยิบย่อย...มหาศาล  ถ้าไม่ทำอะไรสักอย่าง  เราคงต้องวุ่นวายกับการได้มาซึ่งข้อมูล  จนไม่มีเวลามานั่งวิเคราะห์ข้อมูลแนะนำมาซึ่งการพัฒนา เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังให้มีคุณภาพนั้น   การมีระบบทะเบียนเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง (Register)ที่ดีจะทำให้ทีมบุคคลการใช้เวลาในการเก็บรวมรวมและประมวลผล ส่งรายงานได้ผลรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ลดภาระการทำงาน  และใช้เวลาในการให้บริการแก่ผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ 

ปี ๒๕๕๓ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จึงได้ พัฒนาระบบสารสนเทศ (Information system)  ที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์ที่ได้ให้ ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานจนได้โปรแกรม Smart DM ซึ่งเป็นโปรแกรมเจาะลึกเรื่องเบาหวาน โดยตัวโปรแกรมมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง โปรแกรมศูนย์ข้อมูลเบาหวาน (DM Center) ตอนนี้พัฒนาจาก Version ๑.๑ มาถึง ๑.๗ แล้ว แสดงตัวอย่างดังแผนภาพด้านล่าง

ขั้นตอนการลงทะเบียน

  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จะถูกลงทะเบียนที่จุดบริการ หลัก เช่น ศูนย์เบาหวาน ,ศูนย์เบาหวานPCU ,หอผู้ป่วยใน ,ER

  • ข้อมูลหลัก ได้แก่  ที่อยู่ ประวัติ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะถูกดึงจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล

  • ข้อมูลการตรวจภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า ฟัน จะถูกบันทึกที่จุดบริการ

  • ระบบจะบันทึกข้อมูลและผู้ใช้โปรแกรมสามารถประมวลผลได้ โดยเลือกหน้ารายงาน เช่น รายงานทั่วไป  ตัวชี้วัดสปสช รายงานส่งสสจ 

 

ผลลัพธ์จากการพัฒนา

  • เกิดระบบจัดการข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน -ความดันโลหิตสูง ที่ใช้เวลาน้อยแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถนำข้อมูลตัวชี้วัดที่สำคัญ มาวางแผนการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรคอย่างเหมาะสม
  • ลดต้นทุน(ลดOT)และทำให้บุคลากรทำงานบริการผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่
หมายเลขบันทึก: 488010เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท