แนวทางการพิจารณาโครงการวิจัยของผม


ส่วนสิทธิบัตรระดับร้อยล้านพันล้านนั้น ผมไม่หวง และจะไม่จด แม้จดก็จดแต่เอากล่อง ไม่หวังเงิน ใครจะละเมิดก็ไม่ฟ้อง

ผมเองได้รับเกียรติให้เป็นผู้พิจารณาโครงการวิจัยพอสมควร    ผมไม่มีหลักการใดๆ นอกจากดูในภาพรวมๆ ว่ามัน”พอ” เป็นไปได้ไหม ถ้าพอเป็นไปได้ ผมจะให้ผ่าน  สถิติผมคือผ่านประมาณ 8 ตก 2 ทั้งที่ 8 ที่ผ่านนั้นส่วนใหญ่ (7) ผมไม่เห็นด้วย แต่ให้ผ่านด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ขอเงินระดับต่ำ  1-5 แสนเท่านั้นเอง  อย่างน้อยคงเป็นการสร้างนักวิจัยใหม่

 

แต่ละโครงการที่ผมให้ผ่านผมจะเขียนคอมเมนท์ยาวเหยียด แนะนำให้ปรับเป้าหมาย แนวทางการทำงานให้ดีขึ้น ปรับเทคนิคด้านทฤษฎีพื้นฐาน  ส่วนคนที่ผมไม่ให้ผ่านนั้น ผมแทบไม่อยากเขียนอะไร เพราะไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เพราะมันแย่ไปหมดทุกมิติ  แต่ก็พยายามเขียนให้มาก  ให้เหตุผลเชิงลึกว่าที่ไม่ให้ผ่านเพราะมันบกพร่องแบบพิสูจน์ได้ง่ายๆ  และสุดท้ายไม่ลืมให้กำลังใจว่าอย่าเพิ่งท้อนะ ขอให้พัฒนาตนขึ้นไปเรื่อยๆ 

 

ส่วนโครงการของผมเวลาเสนอขอขึ้นไป  มักตกเป็นส่วนใหญ่ เพราะเวลาผมเสนออะไรผมมีคติอยู่สองสามประการคือ  ต้องเป็นนวัตกรรม   ต้องดีกว่าของฝรั่ง  ต้องมีประโยชน์ต่อสังคม  ...ปรากฎว่าไอ้พวกผู้ประเมินมันตามไม่ทัน  มันก็มักตีตกด้วยเหตุผลสั้นๆ โดยไม่ต้องมีการอธิบายพิสูจน์อะไรเช่น

 

-คงทำไม่ได้หรอก  (มันคงเห็นผมเป็นเพียงครูบ้านนอกที่ไม่มีชื่อเสียงอะไร)

-คนอื่นเขาทำไว้แล้ว  (ธ่อ...ผมก็สำรวจวรรณกรรมบอกไว้หมดแล้วนะว่า ไม่มี ผมเป็นคนแรกในโลก)

-ทำแล้วคงไม่คุ้มทุน (ได้ยินบ่อยที่สุด ทั้งที่ผมแจงไว้หมดว่า วิธีการของผมราคาถูก และ ประหยัดพลังงานมากกว่าวิธีการท้องตลาดอย่างไร)

 

ผมมาคิดว่าเออ...ก็ดีเหมือนกันที่มันไม่ให้ทุนเรา  เพราะถ้าอย่างนั้นมันก็จะเอาเปรียบด้วยการขอเอี่ยวค่าสิทธิบัตร 50% (โคตรโลภเลย ให้เงินนิดหน่อยจะเอาค่าสิทธิบัตรขนาดนั้น กำไรล้านเท่าเลยนะเพ่)   

 

จากนี้ไปผมจะไม่เสียเวลาขอสนับสนุนทุนจากไอ้พวกนี้อีกแล้ว    หันมาจดสิทธิบัตรดีกว่า เพราะการจดสิทธิบัตรนั้นเขาจดความคิด โดยไม่ต้องมีการทดลองประกอบด้วยก็ได้

 

เสียแต่ว่าจดไปแล้ว พวกฝรั่งมันรู้หมด มันก็เอาไปดัดแปลงต่อยอดได้   ยกเว้นเราจดทั่วโลก ซึ่งต้องใช้เงินทุนมาก ลำพังกระเป๋าเราคงสู้ไม่ไหว นอกจากเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ

 

สิทธิบัตรบางตัวที่ผมกำลังจะจดแบบทั่วโลก  เคยคำนวณว่า จะทำให้ผมได้รับเงินค่าสิทธิบัตร (2% ของยอดขาย) ประมาณ 8 แสนล้านบาทต่อปี (เป็นเวลา ๒๐ ปี) (ไม่ได้โม้....พิสูจน์ทดลองแล้วด้วยว่าทำงานได้จริงดังอ้าง)   (แล้วทำไมผมต้องไปขอทุนมัน 1 ล้านบาทเพื่อให้มันมีส่วนแบ่ง 8 ล้านล้านบาทด้วยล่ะ)   สิทธิบัตร อีกสองสามตัวอาจได้สักสองหมื่นล้านต่อปีต่อสิทธิบัตร (พิสูจน์ทดลองแล้วว่าได้ผลจริง) 

 

ส่วนสิทธิบัตรระดับร้อยล้านพันล้านนั้น ผมไม่หวง และจะไม่จด  แม้จดก็จดแต่เอากล่อง ไม่หวังเงิน ใครจะละเมิดก็ไม่ฟ้อง    บางสิ่งเหล่านั้นได้นำลง gtk ให้ทราบกันทั่วแล้ว (ทำให้หมดสิทธิจดโดยปริยาย)  เช่นเครื่องอบแห้งพลังแดด   เครื่องเติมอากาศในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ   และจะนำมาลงอีกนับสิบรายการเป็นระลอก     ...ใครอยากรวย เอาไปทำเลยครับ ไม่หวง  ขอให้สังคมได้ประโยชน์ ดีกว่าปล่อยให้มันตายไปพร้อมกับตัวผม

 

...คนถางทาง (๑๑-๕-๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 487700เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 06:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โครงการวิจัยระดับ 10 ล้าน up จำนวนมากในประเทศไทย ไม่มีอะไรไหม่ เป็น technology demonstration เท่านั้นเอง แต่พวกนี้มักผ่านฉลุย เพราะเงินมาก คนให้ก็อยากให้โครงการใหญ่ๆ อยู่แล้ว เพราะขี้เกียจเหนื่อยมาพิจารณาโครงการเล็กๆ แถมถ้ามี kick back ก็ได้เป็นกอบเป็นกำ ....ส่วนไอ้คนขอมันก็ชอบขอมากๆ เพราะมักกำหนดกันว่า "ค่าตอบแทนนักวิจัย" ต้องไม่เกิน 30% ดังนั้นถ้ามันของมาก มันก็ได้ค่าตอบแทนมาก ...ผมเห็นบางโครงการมันขอ 20 ล้าน 50 ล้านหน้าตาเฉย ...ทั้งที่ไม่ทำอ่าอะไรเลย นอกจาก TD ...ซึ่งไปคลิกหาดูเอาในเน็ตก็ได้อีกต่างหาก ...ส่วนเราขอเศษเิงินล้านครึ่งล้านเอามาทำนวัตกรรมเพื่อประกาศศักดิ์ศรีคนไทยไปทั่วโลบก มันบอกไม่คุ้มทุน (ว่ะ)

ผมเคยเจอโครงการ "วิจัย" หนึ่ง ราคา 300 ล้านบาท พบเห็นตอนที่ผมไปธุดงค์แบบพระ มี demo หลายหมู่บ้านตามบ้านนอก ...คือแผงเซ็ลแสงแดดสูบน้ำให้ประชาชน .....ทุกหมู่บ้านที่ผ่านไป กลายเป็นที่ตากแห ตากลอบ ไซ ที่ราคาแพงที่สุดในโลก...แล้วแบบนี้ มันวิจัยอะไร...มันไม่ใช่ Development ด้วยซ้ำไป แต่มันระดับ commercial แล้วนะเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท