น้ำมันมะพร้าวฟักข้าว จากเยื่อฟักข้าวสีแดงสกัดเป็นน้ำมันพร้อมหัวกะทิ


น้ำมันมะพร้าวเยื้อฟักข้าวสีแดง


             น้ำมันมะพร้าวเยื่อฟักข้าว


 

     หัวกะทิ จากตลาดบอกผู้ขายให้บีบแบบไม่ใส่น้ำ

               ฟักข้าวแก่สุก

          ผ่าตามขวางหรือผ่าตามยาว

 

       ใช้ช้อนตักเมล็ดใส่ในถ้วยหรือภาชนะ

       ที่จะต้องคั้นเพื่อให้เยื้อสีแดงออกจากเมล็ด

          ใช้มือยี่ หรือ ที่ตีไข่ ก็จะออกง่าย

 

           เยื่อฟักข้าวไม่ได้ผสมน้ำ

   หัวกะทิกับเยื่อฟักข้าว เทลงกระทะ เคี่ยวไฟอ่อนๆ

   อัตราส่วน หัวกะทิ 2 ส่วนเยื้อฟักข้าว 1 ส่วน

  

 เคี่ยวไฟอ่อนคนตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ติดก้นกระทะจนงวดลงเรื่อยๆ

             น้ำมันเริ่ม ลอยอยู่ด้านบน

         เมื่อใกล้จะเสร็จหัวกะทิและเยื่อฟักข้าว

       จะละเอียดเบากระจายมองไม่เห็นน้ำมัน

   จนหอมเกรียบๆซึ่งดูยากพอควรเพราะสีแดงไปหมด

   เมื่อปิดไฟแล้วค่อยๆตักขึ้นไว้ข้างกระทะ ทัพพีกดให้น้ำมันออกมา

   น้ำมันจะออกมามาก

  ตักกรองบนผ้าขาวบางหรือกระดาษกรอง 1 ชั้น

 

 พอน้ำมันเย็นดูแล้วใสดี ใช้ได้ทันที หรือใส่ขวด

ประโยชน์ของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวสีแดง

   มีปริมาณเบต้าแคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า มีไลโคฟีนมากกว่า มะเขือเทศ 12 เท่าและมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ 10 ของมวล การกินเบต้าแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดี เพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว

 

  ความเชื่อที่ว่า ฟักข้าวบำรุงสายตา นั่นถูกต้องแต่ ต้องกินจากเยื้อเมล็ดไม่ใช่ส่วนอื่น เมื่อใช้เยื่อฟักข้าวเสริมอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในงานวิจัยในประเทศ เวียตนาม พบว่าเด็กในกลุ่มมีปริมาณเบต้าแคโรทีนและไลโคฟีนในพลาสมาสูงขึ้น และกลุ่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของเฮโมดกบินต่ำ มีความเข้มข้นขึ้นด้วย จึงแนะนำให้ผู้ที่มีเลือดจางกินข้าวหุงเยื่อเมล็ดฟักข้าวสุกด้วย ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้ผลิตเป็นเครื่องดื่มอาหารจำหน่ายในต่างประเทศ

 

 ไลโคฟีน เป็นสารกลุ่ม แคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุรวบรวมแสงให้แก่พืชผผักออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว (อนุมูลอิสระ) และแสงที่จ้าเกินไป การกินไลโคฟีนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามี ผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากเยื่อเมล็กฟักข้าวมีไลโคฟีนมากกว่าผลไม้อื่นๆทุกชนิด จึงถือว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคฟีน

 

ประเทศเวียตนาม การวิจัยทางคลีนิกที่มหาวิทยาลัยฮานอย

พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

 

ขอบคุณข้อมูล เยื่อสีแดงเมล็ดฟักข้าว จากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน

โดยอาจารย์สุวัฒน์ ทรัพยะประภา ส่งเป็นเอกสารมาให้ทราบ


- ก่อนบันทึกนี้ได้ทำน้ำมันมะพร้าวเยื่อและเมล็ดฟักข้าวใช้ประโยชน์ เช่นเดียวกันแต่มีเมล็ดเคี่ยวลงไปด้วยก็จะได้ประโยชน์จากเมล็ดด้วย ซึ่งต้องเป็นเมล็ดฟักข้าวแก่นำเปลือกออก ที่จะได้ประโยชน์มากกว่าเมล็ดฟักข้าวอ่อน

 

- น้ำมันที่เคี่ยวหัวกะทิและเยื่อฟักข้าวสีแดง ในบันทึกนี้ ใช้บำรุงผิว และ เป็นน้ำมันประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับน้ำมันอื่นๆ ฯลฯ

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

หมายเลขบันทึก: 487667เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2014 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณสาระดีๆมีประโยชน์นี้ค่ะ..

สวัสดีค่ะพี่ดา

  • ดีจัง ขั้นตอนละเอียดมากสามารถทำตามได้เลย
  • ขอบคุณมากๆค่ะพี่ น้องขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อนะคะ

ไม่เจอพี่ดานานมากคิดถึงเช่นกันค่ะ ยังเจอพี่สาโรจน์เพื่อนพี่ดา จะฝากอะไรมั้ยคะ ขอบคุณความรู้เรื่องฟักข้าว มหัศจรรย์จริงๆ

สวัสดีตอนดึกค่ะพี่ดา

น้องมาส่งพี่ดาเข้านอนค่ะ น้องจะไปปฏิบัติธรรม 3 วันนะคะ กลับมาค่อยคุยกันค่ะ

ว๊าวน่าสนใจอีกแล้วค่ะคุนพี่กานดา แต่อันนี้คงยากน่าดูสำหรับหนู เพราะไม่เคยเห็นและคงหาไม่ได้แน่ๆเลยค่ะTT คงต้องเก็บไว้ประดับความแทน..

สนใจข้อมูล เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย และผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับฟักข้าว ได้ที่ http://www.facebook.com/Ginsize 

ทำไมต้องใช้เยื่อฟักข้าวสีแดงสกัดเป็นน้ำมันพร้อมหัวกะทิ ถ้าไม่ใช้หัวกระทิได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท