ระยองเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู


เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู

ปลายเดือนเมษายน 55 ที่ระยองยังพบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูแตในปริมาณไม่มากนัก 23 เมษ ฝนตกเล็กน้อย 1 มิล แปลงที่ปลูกใหม่ประมาณ 4 เดือน ตรวจดูยังพบเพลี้ยแป้งที่ยอด  ยอดคลี่ หลังจากนั้นไม่ตก มาตกอีกวันที่ 2 เล็กน้อย วันที่ 5 อีก 10 มิล และหลังจากนั้นตกเล็กน้อย 3 วันติดกัน สำรวจก็ยังพบเพลี้ยแป้งอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ยอดคลี่มากขึ้น เพลี้ยที่พบจะเป็นมีขนาดใหญ่หน่อยจะพบสีชมพูล้วน ๆ แตก็โชคดีที่พบแตนเบียนเพลี้ยแป้งสีชมพูด้วย เป็นตัวเมียขนาดใหญ่ และมีพบมัมมี่อีกด้วย ส่วนแปลงอายุมากจะมีลักษณะเพลี้ยที่หลากหลายชนิด แมลงศัตรูธรรมชาติก็มากชนิด ทั้งด้วงเต่าดำ แมลงช้างปีกใส แตนเบียน ช่วง 2-3 ปีที่ติดตามดูเหมือนว่าเพลี้ยแป้งสีชมพูจะเป็นแมลงที่มีคู่กับแปลงมันสำปะหลังไปแล้ว สภาพอากาศจะเป็นตัวกำหนดการแพร่ระบาด ปีใดแล้งก็จะดูรุนแรงปีที่ฝนมากก็จะไม่มีปัญหา และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นเลย หลายเหตุการณ์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าในธรรมชาติมีแมลงคอยควบคุมให้อยู่แล้ว ยกตัวอย่างเพลี้ยหอยในปีที่ผ่านมาที่มีแตนเบียนคอยควบคุม และเขาก็ควบคุมได้ดีมาก เพียงแต่เกษตรกรไม่นำสารเคมีฆ่าแมลงไปฉีดทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์เหล่านั้น

ส่วนโรคพุ่มแจ้ในมันสำปะหลังแม้นว่าจะมีความพยายามหาสาเหตุที่แท้จริงอยู่แต่การเลือกท่อนพันธุ์ดีมีความจำเป็น ไม่นำท่อนพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรคมาขยายต่อ คือต้องคัดตั้นต้นพันธุ์ที่ไม่สมบรูณ์ทิ้งก่อน หรือไม่มั่นใจก็แช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำร้อน 50 องศานาน 45 นาทีก่อนปลูกก็ได้ ท่อนพันธุ์ที่ใช้ควรมีอายุ 10 เดือนขึ้นไป จะได้ทนต่อการแช่ที่ 50 องศาเซลเซียส นาน 45 นาที ได้ เปอร์เซนต์งอกอาจลดลงเล็กน้อย

คำสำคัญ (Tags): #มันสำปะหลัง
หมายเลขบันทึก: 487629เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท