การดำเนินงานฝึกอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ


ฝึกอาชีพให้ผู้เสียหายจากภัยน้ำท่วมของการเคหะแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2555

        ข้าพเจ้า  นางสมบัติ  แก้วมีศรี  พร้อมด้วยนางสาวณภัทธิรา  ทองนอก  พนักงานราชการ เข้าประชุมการดำเนินงานฝึกอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ณ ห้องประชุมสุนทร สุนันท์ชัย ชั้น 4 กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ โดยนายธวัช  ชลารักษ์  รองเลขาธิการ กศน.เป็นประธานการประชุม มีสาระสำคัญดังนี้

  1. คำสั่งสำนักงาน กศน.ที่ 102/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานฝึกอบรมให้ความรู้ด้านอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ  โดย เลขาธิการ กศน. เป็นที่ปรึกษา  นายธวัช  ขลารักษ์  รองเลขาธิการ กศน. เป็นประธาน  ผอ.กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ เป็นรองประธาน  ในการนี้ได้แต่งตั้งให้ นางสมบัติ  แก้วมีศรี  รองผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดนนทบุรี เป็นคณะทำงาน
  2. การดำเนินการทำ MOU  ร่วมกันระหว่างผู้ว่าการเคหะ กับ เลขาธิการ กศน. ให้การเคหะไปดำเนินการร่างและเสนอให้มีการลงนาม
  3. งบประมาณในการจัดให้เป็นงบจาก กศน. จากแหล่งของงบฝึกอาชีพปกติ และงบประมาณฝึกอาชีพ (สส.) อำเภอละ 500,000 บาท  และกศน.ในพื้นที่อาจประสานขอรับจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมได้อีก
  4. ให้สถานศึกษาที่รับผิดชอบดำเนินการจัดฝึกอาชีพอย่างน้อยโครงการเอื้ออาทรละ 1 กลุ่ม โดยอาจใช้เป็นกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนกำหนดให้เลือกวิชาที่มีผู้เลือกมากที่สุดไว้ก่อน  และกลุ่มผู้เรียนตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
  5. สถานที่ฝึกอบรมให้ใช้บ้านเอื้ออาทร
  6. วิทยากรจาก กศน.ที่มีความรู้ ประสบการณ์ อาชีพที่สอน และสอนแล้วนำไปประกอบอาชีพได้
  7. หลักสูตร ให้เป็นหลักสูตร กศน.ที่ได้อนุมัติและขึ้นเว็ปไว้แล้ว ตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปหรือตามที่สำนักงาน กศน.กำหนดไว้ในหลักสูตร เช่น

       -  งานประดิษฐ์                       50     ชั่วโมง

       -  การทำอาหารไทย                90     ชั่วโมง

       -  กาแฟโบราณ                      60     ชั่วโมง

       -  ขายซูชิ                             40     ชั่วโมง

       -  เชือกป่านมหัศจรรย์             100     ชั่วโมง

       -  นวดเพื่อสุขภาพ                  100    ชั่วโมง

       -  ทำขนมไทย                        80     ชั่วโมง

                        ฯลฯ

หากมีหลักสูตรอื่นนอกจากที่สำนักงาน กศน.ขึ้นเว็ปไว้ ให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรส่งให้สำนักงาน กศน. ด้วย

8.  ให้ กศน. อำเภอจัดทำแผนการฝึกอบรมอาชีพส่งให้การเคหะ / สำนักงาน กศน.จังหวัด และ สำนักงาน กศน.

9.  การจัดสรรงบประมาณตามที่จัดสรรให้ เป็นดังนี้

      9.1  เศรษฐกิจพอเพียง   ตำบลละ                        12,000        บาท

      9.2  เขตเลือกตั้ง (สส.)   อำเภอละ                     500,000        บาท

      9.3  จังหวัดเล็กที่มี 1-8 อำเภอ/จังหวัดละ           1,000,000       บาท

             - จังหวัดที่มี 9-18 อำเภอ/จังหวัดละ           1,500,000       บาท

             - จังหวัดที่มี 19 อำเภอขึ้นไป/จังหวัดละ      2,000,000       บาท

      9.4  ฝึกอาชีพ กศน.ตำบลละ                               20,000       บาท

10.  หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ตามที่เสนอขณะนี้กระทรวงการคลังแจ้งยืนยันมาเมื่อวานแล้ว (วันที่ 3 พ.ค.2555) ให้ใช้เกณฑ์เดิมในการจ่ายค่าวิทยากร สำหรับวัสดุให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดฯ ศธ เห็นชอบแล้ว) จ่ายได้ไม่เกิน 2,000 บาท/คน/หลักสูตร

11.  มอบให้ กป.ทำฃออนุมัติหลักการ และทำหนังสือแจ้ง สำนักงาน กศน.จังหวัด ทั้ง 3 แห่ง ให้ดำเนินการตามมติที่ประชุม

12.  วันที่ 18 พฤษภาคม 2555 กำหนดการจัดโครงการ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (OTOP MINI MBA) ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี ขอให้การเคหะไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย

           อนึ่ง สำหรับพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับมอบหมายจากการประชุมครั้งที่แล้ว ของนนทบุรี มี 7 โครงการเอื้ออาทร  คือ บางบัวทอง 1 และ 2  ซอยกันตนา  วัดพระเงิน  บางใหญ่ซิตี้  รัตนาธิเบศร์  และราชพฤกษ์   แต่โครงการบ้านเอื้ออาทรที่ส่งแบบสำรวจให้ กศน. มี 5 โครงการ  คือรัตนาธิเบศร์ (ท่าอิฐ)/บางบัวทอง 1 /บางบัวทอง 2/เสาธงหิน และกันตนา

หมายเลขบันทึก: 487051เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท