Be green
กลุ่มงานส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14

สื่อรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกปี2555


วันสิ่งแวดล้อมโลก Low carbon society

     สื่อรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก                                (world  Environment Day )  ปี 2555  

 

      เนื่องจากวันสิ่งแวดล้อมโลก กำหนดเป็น วันที่ 5 มิถุนายน และจากข้อมูล โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ (UNEP : United Nations Environment Programme)  ได้กำหนดคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2555 คือ   Green Economy: Does it include you?  

    ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวและมีส่วนร่วมใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้   จึงได้คุยกันรูปแบบการทำสื่อรณรงค์ภายใต้แนวคิด “Green Economy: Does it include you?”

 

                       

       การพูดคุยเริ่มต้น ด้วยคำถาม 2 ข้อ  คำถามที่ 1  Green Economic  คืออะไร  และ คำถามที่สอง ใครเกี่ยวข้องบ้าง  

กับคำถามที่ 1 Green Economic  คืออะไร  

   Green Economic หรือ เศรษฐกิจสีเขียว  เมื่อได้ยินพอจะเดาในเบื้องต้นได้ว่า น่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย  อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สื่อรณรงค์มีเนื้อหาถูกต้อง จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวคิด Green Economic หรือ เศรษฐกิจสีเขียวให้ชัดเจน

    Green Economic หรือ เศรษฐกิจสีเขียว   โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้นิยามความหมายอย่างกว้างของเศรษฐกิจสีเขียวไว้ว่า หมายถึง "ระบบเศรษฐกิจที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เพิ่มความเป็นธรรมทางสังคม และในขณะเดียวกันก็สามารถลดความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาความขาดแคลนของทรัพยากรลงได้”    An economy that results in “improved human well-being and social equity, while significantly reducing environmental risks and ecological scarcities

 

 หรือนิยามอยางง่าย: เศรษฐกิจที่คารบอนต่ำ มีประสิทธิภาพในการใชทรัพยากร และใหความสําคัญกับทุกคน  An economy that is “low carbon, resource efficient and socially inclusive”

 

       จะเห็นได้ว่า แนวคิดดังกล่าว ให้ความสำคัญ 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม  และอยู่บนพื้นฐานเดียวกับ  การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 3 เสาหลัก ไดแก: (1) เศรษฐกิจ (2) สังคม (รวมมิติทางวัฒนธรรม และจิตวิญญาณ) (3) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม อยางมีบูรณาการและสมดุล

 

คำถามที่ 2 ใครเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บ้าง

                     

       เมื่อฟังผ่านๆ ดูเหมือนว่าเรื่องนี้จะเกี่ยวกับภาคธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก  คล้ายว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อพิจารณาถึงความหมายของ คำว่า “เศรษฐกิจ” (Economy) มาจากกรีกว่า “oikos” แปลว่าบ้าน(House) และ “Nemein” แปลว่า การจัดการ (to manage) ถ้าแปลตามศัพท์ “เศรษฐกิจ” จึงหมายถึง การจัดการครอบครัว (Household management) คือ มีความชำนาญในการจัดการเรื่องครอบครัว (Skilled in the management of a household)

     ในอดีตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย พึ่งตนเองเป็นหลัก  การดำรงชีวิตต้องการเพียงปัจจัยสี่ที่ประกอบด้วย อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งปัจจัยดังกล่าวคนในครอบครัวผลิตขึ้นใช้เอง  แต่ก็อาจจะมีแลกเปลี่ยนกันบ้างระหว่างครอบครัวที่อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน การแลกเปลี่ยนในระยะเวลาแรกๆ เป็นการนำเอาสิ่งของมาแลกกับสิ่งของโดยตรง (Barter system) เช่น เอาไข่มาแลกกับเสื้อผ้า เอาเกลือมาแลกข้าว เป็นต้น    ต่อมาเมื่อสังคมขยายตัว ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ระบบเศรษฐกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจหลายหน่วย  แต่ละหน่วยจะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และการแจกจ่ายสินค้าและบริการ ดังนั้น เราทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ 

    และเราเป็นหน่วยผู้บริโภค ก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ เราจะมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจสีเขียวได้อย่างไรบ้าง สิ่งแรกที่นึกถึง ก็คือ การเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  พอประมาณกับความจำเป็น และอีกทางเลือกหนึ่ง คือ การจัดการของเสียที่เกิดจากการบริโภค เพราะของเสียเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเศรษฐกิจ ดังนั้น การจัดการของเสียจึงเป็นอีกทางหนึ่ง เราสามารถเริ่มต้นได้ในระดับเล็กๆ นั่นคือ การจัดการในระดับครอบครัว ซึ่งจะเชื่อมโยงถึง

      จากจุดนี้ คิดกันต่อ การใช้ชีวิตในอนาคตจะเป็นรูปแบบอย่างไร  โดยเมื่อนึกถึงนิยามอย่างง่ายของ Green Economic คือ สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)  ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปแนวทางการจัดทำสื่อกิจกรรมรณรงค์  เนื้อหาควรประกอบด้วย คือ การใช้ชีวิตในสังคมคาร์บอนต่ำ ของแต่ละกิจกรรมในสังคม เพื่อการปรับตัว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

รายละเอียดและผลงานจะเป้นอย่างไรติดตามคราวหน้าคะ

 

หมายเลขบันทึก: 487038เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท