KM(แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๕๖.การให้สัมภาษณ์ นศ. ทำวิทยานิพนธ์ แนว KM เพื่อนช่วยเพื่อน


 

เรียน ศาตราจารย์ นพ.วิจารณ์  พานิช

ผ่านเลขานุการ (คุณวนิดา และคุณโสภาพรรณ)

 

เรื่อง ขออนุญาตสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย

 

เนื่องด้วยกระผม นาย                                      

ปัจจุบันเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชา                               

มหาวิทยาลัย                 กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่อง

                                                                                       

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์คือ  ศาสตราจารย์                                

และรองศาสตราจารย์                                  

 

กระผมมีความประสงค์จะขออนุญาตสัมภาษณ์ท่านเพื่อเป็นข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์เรื่องดังกล่าว

เนื่องจากในการศึกษาครั้งนี้

กระผมได้นำแนวคิดการบริหารงานวิจัยของท่านมาใช้

จึงมีความประสงค์จะขอสัมภาษณ์ท่านในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการบริหารงานวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เพื่อนำความรู้และความคิดเห็นที่ได้ไปพัฒนางานวิจัยในคณะวิชาด้านมนุษยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนต่อไป

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุญาตให้กระผมสัมภาษณ์ท่านในวัน

เวลาและสถานที่ หรือวิธีที่ท่านสะดวก

พร้อมกันนี้กระผมได้ส่งแนวคำถามมาให้ท่านพิจารณาด้วยแล้ว

(ส่วนท้ายจดหมายนี้) และขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

 

ขอแสดงความนับถือ

 

                                    

                                                    

โทร.                             

                                           

 

แนวคำถามสัมภาษณ์

๑. สภาพปัจจุบันของการทำวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์เป็นอย่างไร

๒. ปัญหาและอุปสรรคใดที่มีผลต่อการวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

๓. ความเป็นเลิศในด้านการวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์

ตามทัศนะของท่านควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง

๔. หากคณะมนุษยศาสตร์สถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องการบริหารงานวิจัยไปสู่ความเป็นเลิศ

จำเป็นต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนในด้านใดบ้าง

๕. แนวทางการบริหารงานวิจัยของคณะมนุษยศาสตร์

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อไปสู่ความเป็นเลิศ ควรเป็นอย่างไร

 

 

     ผมได้ตอบ อี-เมล์ ไปว่า ขอให้เขียนคำตอบของตนเอง ที่ได้จากการค้นคว้ามาก่อน   แล้วผมจึงจะนัดมีคุย    ก็ได้คำตอบดังนี้

 

 

เรียน ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์  พานิช

 

กราบขอบพระคุณที่ท่านกรุณาตอบอีเมลของกระผมและเมตตาให้คำแนะนำในครั้งนี้

กระผมจึงได้ทำตามคำแนะนำ โดยเขียนคำตอบที่มีต่อคำถามทั้ง 5 ประเด็น

ซึ่งเรียบเรียงมาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา งานวิจัย

จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และจากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครับ

จึงขอฝากให้ท่านช่วยพิจารณาคำตอบนี้ด้วยครับ

 

ขอแสดงความนับถือ

 

                               

 

          เรานัดคุยกัน ๑ ช.ม. ในวันที่ ๑๘ เม.ย. ๕๕   ซึ่งเอาเข้าจริงเราใช้เวลา ๑.๕ ช.ม.   โดยการคุยเป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนกัน    ผมเป็นผู้พูดประมาณ ๖๐ – ๗๐%   แต่พูดแบบรวมๆ ไม่ตอบคำถามข้อใดข้อหนึ่งโดยตรง   ท่านที่มาปรึกษาพอใจสิ่งที่ได้มาก


          ผมบอกว่า นี่คือวิธีให้คำปรึกษาแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” (Peer Assist) ของ KM   เป็นวิธีที่จะทำให้การให้คำแนะนำ โฟกัสประเด็น และช่วยบอกลงไปถึงวิธีดำเนินการ ไม่ใช่ลอยอยู่บนทฤษฎี   เพราะสิ่งที่คุยกัน เน้น “ความรู้ปฏิบัติ”   ช่วยให้ผู้มาขอคำแนะนำได้มากกว่าการมาฟัง เล็กเชอร์ ๑ ชั่วโมง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓ พ.ค. ๕๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 486923เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท