รู้และเข้าใจการสอน อีกมุมหนึ่ง 1/2 ชาตรี สำราญ


คำว่า วิเคราะห์ ถ้าเขียนระบุกำกับไปว่า “จำแนก แจกแจง แยกย่อย ถอดรหัส ถอดความวางเรียงให้เห็น ๆ ” คำเหล่านี้ถ้าถอดรหัสตรงประเด็นจุดประสงค์ได้มากเพียงใดจะดีมาก

ในที่นี้จะยกตัวอย่างกรณีความสอดรับกันระหว่างการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กับพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออกในขณะที่เกิดการเรียนรู้ได้

                (รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น คุณครูควรทำความเข้าใจแล้วเขียนระบุให้ลึกลงไปอีกจะช่วยให้สามารถสร้างเครื่องมือการวัดและประเมินผลได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น)

 

ตารางที่  2             ตัวอย่างกรณีความสอดรับกันระหว่างการวัดและประเมินผลการเรียนรู้กับพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงในขณะที่เกิดการเรียนรู้ได้

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัด

และประเมินผล

ความรู้-ความจำ

         ผู้เรียนสามารถบันทึกข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริงจากเรื่องที่ตนได้เรียนรู้มา หรือจากปรากฏการณ์  ต่าง ๆ ที่ตนได้พบเห็นมาบันทึกไว้ในคลังสมองของผู้เรียน

 

        ผู้เรียนสามารถบอกเล่า  อธิบาย  บรรยายหรือเขียนบอกเล่าอธิบาย บรรยายหรือวาดภาพเรื่องราวที่ตนเองจำได้ สื่อสารให้ผู้อื่นรู้ได้

 

ฟัง ผู้เรียนบอกเล่า อธิบายหรือบรรยายให้ฟัง

อ่าน ผลงานที่เขียนบอกเล่า อธิบายหรือบรรยายให้อ่าน

ตรวจ ข้อสอบที่สอบวัดความรู้  ความจำ

ดู  ภาพวาดเล่าเรื่อง

สัมภาษณ์ เรื่องราวเพื่อประเมินความรู้ความจำ

 

 

 

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

ความเข้าใจ

         ผู้เรียนสามารถบอกนัยของความรู้ ข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ จากเรื่องหรือประสบการณ์ที่ตนได้พบเห็นเรียนรู้มาหรือสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด อย่างไรบ้าง

 

        ผู้เรียนสามารถอธิบายข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริงที่ตนพบเห็นหรือเรียนรู้มาให้ผู้ที่ยังไม่รู้ได้รู้ต่อไปได้

 

        เปิดโอกาสให้ผู้เรียนอธิบายหรือเขียนอธิบายเรื่องราวที่ผู้เรียนรู้มา ในรูปแบบความเรียง บทกวี บทเพลง  บทละคร  หรือแสดงบทบาทสมมติ  ละคร  การละเล่นอื่น ๆ ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ผู้เรียนเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจต่อได้

การนำไปใช้

          ความสามารถของผู้เรียนที่จะคิดหาแนวทางหรือวิธีการที่จะ

 

        ผู้เรียนสามารถบอกเล่า อธิบายหรือเขียนแสดงลำดับขั้นตอนและ

 

       เปิดโอกาสให้ผู้เรียน แสดงวิธีการหรือดำเนิน การแก้ปัญหา แล้วบอก

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

 นำหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหาอันเป็นความรู้ที่ตนเรียนรู้ได้มา

 วิธีการในการดำเนินการแก้ปัญหาตามที่ตนได้ ปฏิบัติจริง

เล่าหรือเขียนแสดงถึงลำดับขั้นตอน แนวทางและวิธีการในการดำเนิน การแก้ปัญหา พร้อมสรุปผลของการแก้ปัญหาได้ ตรงตามที่ตนเองปฏิบัติจริง

การวิเคราะห์

       ความสามารถในการหยิบยกประเด็นเรื่องราวที่เรียนรู้มาแยกแยะ จำแนกแจกแจง ประเด็นเรื่อง วิพากษ์ วิจารณ์  เปรียบเทียบให้เห็นถึง

 

   ผู้เรียนสามารถแยกแยะได้ว่า ข้อมูลความรู้  ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ

1. มีสิ่งใดร่วมกันบ้าง

2. สิ่งที่มาร่วมกันนั้น สิ่งใดที่มีความสำคัญมาก

ที่สุด

 

    เปิดโอกาสให้ผู้เรียน วิเคราะห์เรื่องราวที่เรียนรู้ โดยแสดงวิธีการแยกแยะประเด็นต่าง ๆ ให้เห็นภาพชัดเจน พร้อมทั้งอธิบาย แยกแยะข้อมูลความรู้ หรือปรากฏการณ์นั้น ๆ

ตามประเด็นที่กำหนดไว้ทั้ง  4  ข้อ

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

-    ลักษณะสำคัญ

-    ลักษณะที่มีความสัมพันธ์

-    ลักษณะที่เป็นหลักการของข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์จากเรื่องราวที่เรียนรู้

   3. สิ่งที่มาร่วมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

4.  สิ่งที่มาร่วมกันนั้นมีหลักการอะไรร่วมกันบ้าง

 (ในพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก )

การสังเคราะห์

       ผู้เรียนสามารถ ยุบรวมข้อมูลความรู้ที่เรียนรู้มาคิดสร้างหรือประดิษฐ์ สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ได้ เช่น ของเล่นของใช้

 

   ผู้เรียนสามารถวาง โครงการ เขียนแผน ปฏิบัติงาน หรือสร้างภาพสื่อที่จะประดิษฐ์ เรื่องราวที่จะนำเขียน ให้

 

    กำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเขียนแผน ปฏิบัติ งาน ระบุขั้นตอน วิธีการ  ดำเนินการ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ รูปแบบของ

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

       ภาพวาดหรือการนำของที่ใช้แล้วมาปรับปรุงสภาพเพื่อทำประโยชน์ต่อไปได้

       สามารถนำข้อมูล เรื่องราวที่แยกย่อยออกจากกันมายุบรวมเชื่อมโยงให้ร้อยรัดเป็นเรื่องราวเดียวกัน เป็นความเรียง บทความ บทรายงานผลการเรียนรู้ ตำราวิชาการซึ่งก่อให้ เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้

 

 ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่  สิ่งของเครื่องใช้ใหม่ ๆ

 งานที่จะทำ  หรือจัดทำเค้าโครงเรื่องที่จะเขียน  แล้วปฏิบัติตามแผนให้ได้จริง  ๆ

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

การประเมินค่า

         ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เรียนรู้หรือพบเห็นมา พิจารณาตัดสิน โดยใช้เหตุผลที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ

 

        ผู้เรียนสามารถบอกอธิบาย หรือแสดงเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ในการให้คุณค่าของข้อมูลความรู้ ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล มีหลักการ หลักเกณฑ์และหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้

 

 

    เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียนแสดงหรือบอกเหตุผลในการนำมาประกอบการตัดสินใจในการให้คุณค่าของข้อมูลความรู้  หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ  อย่างมีความสมเหตุ     สมผล

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

ความรับผิดชอบ

         ผู้เรียนสามารถแสดงความรู้สึกผูกพัน ความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือการงานนั้น ๆ  เพื่อให้กิจกรรมเหล่านี้บรรลุผลสำเร็จไปด้วยดี

 

 

 

        ผู้เรียนแสดงออกด้วยการเอาใจใส่ต่อกิจกรรมนั้น ๆ  ร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมนั้นจนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

 

    ศึกษา  สังเกต  บันทึก  พฤติกรรมผู้เรียนรายบุคคล

    สัมภาษณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่ผู้เรียนได้ร่วมกระทำกิจกรรมนั้น ๆ

     อ่าน  ความรู้สึกที่ผู้เรียนเขียนบันทึกไว้ภายหลังปฏิบัติกิจกรรมแล้ว

 

 

 

พฤติกรรมที่ต้องการวัดและประเมินผล

พฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก

วิธีการวัดและประเมินผล

การปฏิบัติ

         ผู้เรียนสามารถประพฤติปฏิบัติงานภายใต้ ความรู้  ความคิด ความเข้าใจที่ถูกต้องและดีงาม เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา

 

        ผู้เรียนลงมือกระทำหรือปฏิบัติงานตามแนวทางที่คิดแล้วว่าถูกต้องเหมาะสมด้วยความรับผิดชอบ และเห็นคุณค่าในการกระทำครั้งนั้น ๆ

 

    ศึกษา  สังเกต  บันทึก  พฤติกรรมของผู้เรียนทุก ระยะช่วงเวลาปฏิบัติการ อ่าน รายงานผลการปฏิบัติงาน  ผลการปฏิบัติและอ่านบันทึก ความรู้สึกของผู้เรียนที่ได้ร่วมปฏิบัติงานครั้งนั้น ๆ

 

                ภาพพฤติกรรมของผู้เรียนที่ต้องการวัดและประเมินผลที่ผู้เรียนแสดงออกมานั้น ถ้าคุณครูสามารถระบุให้ชัดเจนตามความ เข้าใจของตนเองได้ จะช่วยให้สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลได้ง่ายและตรงประเด็น  เช่น คำว่า วิเคราะห์ ถ้าเขียนระบุกำกับไปว่า “จำแนก  แจกแจง แยกย่อย  ถอดรหัส  ถอดความวางเรียงให้เห็น ๆ ” คำเหล่านี้ถ้าถอดรหัสตรงประเด็นจุดประสงค์ได้มากเพียงใดจะดีมาก

                ว่าง ๆ  คุณครูลองนั่งถอดรหัสคำ เพื่อสู่ความเป็นมืออาชีพดูนะครับ

                ไม่มีอะไรยาก        ถ้าหากตั้งใจทำ

 

                อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ https://docs.google.com/docume... 

หมายเลขบันทึก: 486917เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท