เมื่อพยาบาลต้องรับหน้าที่ตรวจรักษาโรค ตอนที่ 4/2 (อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจนักศึกษา)


การเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษานั้นเป็นบทบาทหนึ่งที่พยาบาลต้องรับผิดชอบ  ต้องแปลงร่างเป็นคุณครู ทั้งที่ไม่ได้เรียนวิชาชีพครูมา  บางคนถามว่ามันเป็นความรับผิดชอบของเราหรือ  เราบอกว่าใช่ เป็นความรับผิดชอบที่พึงกระทำให้ดีที่สุดด้วย  ไม่ใช่สักแต่เป็นเพื่อเอาเครดิต พิจารณาความดีความชอบ อีกอย่างสำหรับชลัญ นั้นมันทำให้เราได้พัฒนาตัวเองตลอด  การมีนักศึกษามาฝึกงานคุณต้องมีการเตรียมพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ เพื่อให้ได้พยาบาลใหม่ที่มีประสิทธิภาพต่อไป แต่ก็ตามมาด้วยภาระที่หนักพอควร เช่นการตรวจงาน นศ. นักศึกษาที่มาฝึกที่แผนกผู้ป่วยนอกนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักศึกษา ปี 3-4 หรือ พยาบาลที่เรียนต่อเวชปฏิบัติเรื่องการตรวจรักษาโรค  ดังนั้นวาการที่ให้  จึงแตกต่างจากการเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาในตึกผู้ป่วยเพราะที่นั่นจะต้องสอนเรื่องการปฏิบัติการพยาบาล  ที่เป็นวิชาหลักที่พยาบาลเรียนมา  แต่ที่แผนกผู้ป่วยนอกเราต้องสอน   ในสิ่งที่ไม่ใช่วิชาหลักของเรา แต่เป็นวิชาของแพทย์  ซึ่งตอนเรียนเราได้เรียนมาน้อยมาก  แต่ถ้าหากจะสอนน้อยๆอย่างที่เราเรียนมานักศึกษาก็แทบไม่ได้อะไร อีกอย่างที่สำคัญก็คือในด้านการประเมินคนไข้ ที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ แต่ใครจะรู้ว่าคนไข้คนนี้กำลังจะหมดสติต่อหน้าพยาบาล  หรือคนไข้ที่เอะอะโวยวาย แต่จริงๆแล้ว แกไม่ได้เป็นอะไรมากมายเลย เราต้องทันคนไข้ ต้องจัดการปัญหาเฉพาะหน้าได้  อีกอย่างหนึ่งการรับผิดชอบต่อการกระทำของนักศึกษานั้นเป็นความรับผิดชอบที่พยาบาลหลายคนต้องทุกข์มาแล้ว  เช่น ตัวอย่าง

                ขณะนั่งซักประวัติคนไข้อยู่และสอนนักศึกษา พบ.ปี 4 อยู่นั้น  น้องผู้ช่วยก็เข็ญรถนั่งพาผู้ป่วยชายอายุ -35  ปีดูท่าทางแข็งแรงมาที่โต๊ะ

                ผู้ช่วย “ พี่โจ้ช่วยดูหน่อย เครื่องขับชีพจรคนไข้ได้ 158 ครั้ง/นาที “ ( ชีพจรคนเราขณะพักปกติจะอยู่ในช่วย 70-100 ครั้ง/นาที)

                ชลัญ : น้อง นศ.จับชีพจรคนไข้ใหม่ให้พี่ด้วยเต็มนาที ( ด้วยประสบการณทำงานนานการรายงานของผู้ช่วยพยาบาลถึงเรื่องนี้ ทำให้เราวิเคราะห์คนไข้เป็น 2 ประเด็นคือ เครื่องดิจิตอลมันเกเร กับเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จากโรคอะไรก็ตาม  การจับชีพจรใหม่  ทำให่เป็นการประเมินเพื่อยืนยังว่าเครื่องไม่ได้เกเร แต่เป็นภาวะวิกฤตของผู้ป่วย )

                นส.พบ.:  จับได้ 86 ครั้งค่ะ พี่โจ้  นศ.รายงาน

                ชลัญ: หา !!!!!!! อะไรจะต่างกันราวฟ้ากับเหวขนาดนั้น  พยาบาลบางคนอาจเลือกเชื่อ นศ. เพราะดูคนไข้ปกติดี ถามบอกเหนื่อยเล็กน้อย  แต่ชลัญไม่เชื่อสักคน  จึงบอก “ เอาคนไข้ไปทำ EKG “  (EKG หมายถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติการทำงานของหัวใจ )

                ผล EKG ฟ้องออกมาว่า  อัตราการเต้นของหัวใจ เป็น  162 ครั้งต่อนาที คลื่นหัวใจ เป็น SVT ( supraventricular tachycardiaบันทึกต่อไปจะอธิบายว่าคือภาวะอะไร )  ตายห่า !!!!! นศ.จับได้  86 ครั้งกรรม ถ้าเชื่อมัน เจ็งทั้งคณะแน่  แล้วแถมรายงานด้วยความมั่นใจซะด้วย  เมื่อประสานส่งผู้ป่วยไปฉุกเฉินเสร็จก็กลับมาหานักศึกษา ซึ่งดูเธอจะหน้าซีดลงเพราะกลัวโดนดุ อย่างเห็นได้ชัด 

                ชลัญ :  หนูมั่นใจมั๊ยว่าหนูจับชีพจรได้เท่านั้น

                นศ:  อ้ำอึ้งแล้วบอก  มันเบาและเร็วหนูจับไม่ทัน  เห็นคนไข้ไม่มีอาการอะไรก็เลยบอกไปตามนั้นค่ะ

                ชลัญ  : จึงสอนนักศึกษาว่า  ความซื่อสัตย์  สำคัญมากในการดูแลผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยจะเสียชีวิตให้เพราะโรคหรือสุดวิสัยจะรักษา อย่าเป็นเพราะน้ำมือพยาบาลในรายนี้ถ้าพี่เชื่อเรารู้ใช่มั๊ยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วย

                นศ.ยกมือไหว้ขอโทษ

                ชลัญ จึงสอนน้องต่อว่าครั้งนี่ไม่เป็นอะไรเพราะถ้ามีอะไรเกิดขึ้นคนผิดไม่ใช่ นศ. แต่เป็นพี่  แต่เมื่อไรที่จบเป็น พบ.เต็มตัวนั้น ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ มันจะมีผลกระทบตามมามากมาย     แล้วชลัญก็ใช้มือตบไหล่น้องเบาๆเพราะรู้ว่าเขาเสียขวัญแล้วจะขาดความมั่นใจ

                สำหรับการเป็นพี่เลี้ยง นศ.ไม่ใช่ว่าเราจะสอนเพียงวิชาการ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์   ความเอื้ออาทร  ก็เป็นซึ่งที่ต้องสอน อีกทั้งการเป็นตัวอย่างที่ดี นั้นจะทำให้เราได้ พยาบาลที่ดีมีคุณภาพต่อไป

                ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการอย่าไว้ใจทางอย่างวางใจนักศึกษา อีกมากแล้จะทยอยเล่า นะค่ะ

                ขอบคุณค่ะที่สนใจอ่านบทความ

               

หมายเลขบันทึก: 486885เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พยาบาลเวชปฎิบัติคนหนึงในรพสต

ขอระบายเรื่องบทบาทการใช้ยารักษาโรคของพยาบาลเวชหน่อยครับกรอบให้มีการช่วยแพทย์จ่ายยารักษาโรคเรื้อรังเช่นยารักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้แต่ก็ยังต้องรายงานแพทย์ทุกครั้งอยู่ดีน่าจะมีการให้สิทธิ์ในการรักษาไปเลยครับแล้วถ้าผลไม่ดีขึ้นถึงค่อยส่งต่อไม่ใช่ต้องรายงานก่อนการรักษาทุกครั้งไปไม่น่าอบรมเวชปฏิบัติมาเลยอย่างไรก็อยู่ภายใต้ Order แพทย์ตาเดิมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท