เกษียณอย่างมีคุณภาพ


หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์คำแนะนำวิธีเตรียมเกษียณอย่างมีคุณภาพจาก ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท-ปิยะเวท อาจารย์ธีระ ภู่ตระกูล ประธานบริหาร บลจ.ฟินันซ่า และอาจารย์พอใจ พุกกะคุปต์

                                 

  • ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงจะอยู่ในวัยเรียน หรือวัยทำงาน... อีกนานทีเดียวกว่าจะถึงวันเกษียณ ทว่า... การเตรียมตัวเกษียณอย่างมีคุณภาพนั้น เตรียมแต่เนิ่นๆ ดีกว่าครับ

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์คำแนะนำวิธีเตรียมเกษียณอย่างมีคุณภาพจาก ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท-ปิยะเวท อาจารย์ธีระ ภู่ตระกูล ประธานบริหาร บลจ.ฟินันซ่า และอาจารย์พอใจ พุกกะคุปต์

  • ผู้เขียนขอนำคำแนะนำของครูบาอาจารย์มาเล่าสู่กันฟังครับ...

    ท่านอาจารย์นิธิ: <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">อาจารย์ท่านแนะนำว่า การเตรียมตัวก่อนเกษียณที่ดีควรออมเงิน พร้อมกันก็ควรออมกายตั้งแต่อายุน้อย โดยเน้นการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ</div></li></ul>คนอเมริกันที่เกษียณตัวเองก่อนกำหนด (early retirement) มีทั้งประเภทสมัครใจ และไม่สมัครใจ <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify"> คนอเมริกันที่ถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ 75% เป็นผลจากปัญหาสุขภาพ </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">                         </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ส่วนคนอเมริกันที่เกษียณตัวเองก่อนกำหนดโดยสมัครใจ… เป็นผลจากปัญหาสุขภาพ 41% เป็นผลจากการซื้อกิจการ และบริษัทล้มละลาย 65% </div></li></ul>สถิตินี้แสดงว่า คนวัยทำงานที่ไม่รักษาสุขภาพมีความเสี่ยงที่จะต้องออกจากงานก่อนเกษียณจากปัญหาสุขภาพ ซึ่งเป็นสภาพที่เลวร้ายมาก เพราะจะทำให้มีเงินสะสมน้อยร่วมกับรายจ่ายสูง <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">คนในประเทศที่พัฒนาแล้วมีอายุเฉลี่ยประมาณ 80-90 ปี คนไทยเรามีอายุเฉลี่ย 70-74 ปี ผู้ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 70 ปี ผู้หญิงไทยมีอายุเฉลี่ย 74-76 ปี</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">                         </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ประเทศใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพมาก หรือการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ไม่ดี คนในประเทศนั้นจะมีอายุเฉลี่ยน้อยลง เช่น คนเขมรมีอายุเฉลี่ย 50 ปี ฯลฯ </div></li></ul>คนวัยเกษียณส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย 5 ส่วนเท่าๆ กันได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าจัดการมรดก ค่าใช้จ่ายสุขภาพ เงินฉุกเฉิน และเงินท่องเที่ยว(เข้าใจว่า คงจะรวมการเดินทาง) <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">อย่างไรก็ตาม… ค่าใช้จ่ายสุขภาพควรเผื่อไว้ถึง 2 เท่าของค่าใช้จ่ายอื่นๆ กล่าวคือ เผื่อไว้ถึง 40% ของค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ โดยเฉพาะคนที่ไม่รักษาสุขภาพ หรือมีโรคมาก</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">                             </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> อาจารย์ท่านแนะนำว่า การออกกำลังกายไม่เหมือนกับการลงทุน การลงทุนยิ่งเสี่ยงสูงยิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง (High Risk High Return) </div></li></ul>การรักษาสุขภาพที่ดีควรลดความเสี่ยงจากโรค เช่น ออกกำลังเป็นประจำตั้งแต่อายุน้อย ฯลฯ วิธีนี้ทำให้ความเสี่ยงต่ำ (low risk) และได้ผลตอบแทนสูง (high return) <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">คนสูงอายุมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และมะเร็ง แต่ควรเน้นป้องกันโรคหัวใจ เนื่องจากค่าใช้จ่ายรักษาโรคหัวใจสูงกว่ามะเร็ง จึงควรออกกำลังกายเป็นประจำ</div></li></ul>    ท่านอาจารย์ธีระ: <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">อาจารย์ท่านแนะนำว่า คนส่วนใหญ่เกษียณที่อายุ 60 ปี และมีอายุต่อไปอีก 20 ปี ถ้าต้องการมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ… ควรมีรายได้หลังเกษียณประมาณ 70 %</div></li></ul>ตัวอย่างเช่น ถ้ามีรายได้เดือนสุดท้าย 7,281.70 บาท ควรมีเงินออมที่อายุ 60 ปีประมาณ 1.7 ล้านบาท ฯลฯ ท่านผู้อ่านที่มีรายได้มากกว่านี้ ให้ลองคำนวณเพิ่มไปตามส่วน <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> คนหลังวัยเกษียณ 13 % รักษาความกระตือรือร้นไว้ได้ เช่น หางานอดิเรก ศึกษาภาษาหรือวิชาใหม่ๆ ทำงานบ้าน ออกกำลัง ฯลฯ คนกลุ่มนี้จะมีคุณภาพชีวิตดีกว่าคนที่ทำตัวเฉื่อยแฉะมาก </div></li></ul>    ท่านอาจารย์พอใจ: <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">อาจารย์พอใจนำข้อคิดของอาจารย์นายแพทย์แอนดรู เวล จากหนังสือ “Healthy Aging (การก้าวสู่ชีวิตผู้สูงวัยอย่างมีสุขภาพดี) มาแนะนำอย่างนี้ครับ…</div></li></ul>การออกกำลังที่ควรทำเป็นประจำได้แก่ การเดินเร็ววันละ 45 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เนื่องจากให้ผลดีกับร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจ <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> ต่อไปให้ฝึกโยคะ ทำท่าง่ายๆ ก็พอ ไม่ต้องดัดจนแขนขาพลิก หรือปวดยอกไปทั้งตัว ท่าง่ายๆ เช่น สุริยนมัสการ(ท่าไหว้พระอาทิตย์) ฯลฯ เพื่อป้องกัน และลดปัญหาปวดตัวปวดข้อ </div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">                         </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify"> นอกจากนั้นควรปรับอาหารตั้งแต่วัยทำงานได้แก่ ลดอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ลดโปรตีนจากสัตว์ ยกเว้นปลา(ไม่ต้องลดปลา) </div></li></ul>เมื่อลดแล้วก็มีส่วนที่ควรเพิ่มได้แก่ เต้าหู้ ถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่ไม่หวานมาก ควรดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน ลดหรืองดเหล้า(เบียร์ ไวน์…) หยุดบุหรี่ และนอนให้พอ <ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify">การเตรียมตัวอื่นๆ ที่ดีกับวัยเกษียณได้แก่ การหางานอดิเรกทำ โดยเฉพาะงานที่สร้างสรรค์ เช่น งานอาสาสมัคร งานทำประโยชน์สาธารณะ ปลูกต้นไม้ ทำบุญ ฯลฯ</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">                         </p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขในวัยทำงาน โดยเฉพาะความสุขจากการใช้ชีวิตเรียบ ง่าย ประหยัดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสุขภาพ และมีงานอดิเรกดีๆ ไว้ทำในวัยเกษียณครับ…</div></li></ul><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">แนะนำให้อ่านเรื่อง "โยคะร้อน":</p><ul><li><div class="MsoBodyTextIndent" align="left" style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify">คลิก [[[[[ Click ]]]]] >>>>>  http://gotoknow.org/blog/healthyforyou/48426</div></li></ul>แหล่งข้อมูล:                              <ul>

  • ขอขอบพระคุณ > ศ.นพ.นิธิ มหานนท์, อาจารย์ธีระ ภู่ตระกูล (ประธานบริหาร บลจ.ฟินันซ่า). ศิลปะการใช้ชีวิต..ก่อนเกษียณ: เก็บอย่างไร? ถึงจะพอ..ยามเกษียณ. กรุงเทพธุรกิจ BizWeek. 1-7 กันยายน 2549. หน้า A13.
  •  ขอขอบพระคุณ > อาจารย์พอใจ พุกกะคุปต์ ([email protected]). ถอดรหัสธุรกิจ: เตรียมกายเตรียมใจรับวัยเกษียณ. กรุงเทพธุรกิจ BizWeek. 1-7 กันยายน 2549. หน้า A4. 
  •  นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์มะเร็งลำปาง จัดทำ > ๖ กันยายน ๒๕๔๙ > สงวนลิขสิทธิ์ พ.. ๒๕๔๙.
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้โดยไม่เกี่ยวข้องกับการค้าได้ครับ...
  • </ul>เชิญอ่าน & ดาวน์โหลดที่นี่:            <ul>

  • อ่านบ้านสุขภาพ >>> http://gotoknow.org/blog/health2you
  • อ่านบ้านสาระ >>> http://gotoknow.org/blog/talk2u
  • Download แฟ้ม PDF >>> www.lampangcancer.com
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 48673เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)
    • กำลังออมเงินและทำไร่นาสวนผสมครับคุณหมอ รอเกษียณอีกประมาณ 20-30 ปี
    • ขอแสดงความเสียใจเรื่องคุณแม่ด้วยครับ
    • กำลังยุ่งเรื่อง Thesis เลยไม่ค่อยได้แวะมาครับ
    • ขอบคุณครับผม

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • อาจารย์ขจิตโชคดีกว่าคนอื่นๆ ที่ว่า มีโอกาสเตรียมตัวเกษียณอีกนาน...
    • อาจารย์ที่จบมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสาขาภาษาอังกฤษมีโอกาสทำงานหลังเกษียณได้มาก > ขอแสดงความยินดีด้วย

    คุณแม่ผมท่านถึงแก่กรรมตามอายุขัย(~82 ปี)ครับ...

    • เรื่องที่ผมดีใจ นึกขึ้นมาครั้งใดก็ระลึกถึงพระคุณเสมอคือ ทีมอาจารย์แพทย์ พยาบาล(รวมผู้ช่วยพยาบาล) คลังเลือด ห้องปฏิบัติการ เอกซเรย์ ประชาสัมพันธ์ ห้องโทรศัพท์ พนักงานเปลของโรงพยาบาลนครพิงค์ท่านทำงานเหน็ดเหนื่อยมาก
    • ขนาดทำงานหนักอย่างนั้น... ท่านยังมีความเมตตา กรุณาต่อคนไข้และญาติมาก (กับคนไข้อื่นๆ ก็ดีมากเช่นกัน)
    • ญาติๆ ผมทุกคนบอกว่า โรงพยาบาลนครพิงค์เป็นโรงพยาบาลคุณภาพทั้งเครื่องมือ มาตรฐานการรักษาพยาบาล และที่สุดยอดจริงๆ คือ "น้ำใจ"

    ขอให้อาจารย์มีความสุข ความสำเร็จกับการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)

    • สัปดาห์หน้า (17-24 กย. 49) ท้าว(ตอนไปลาว เรียกว่า "ท้าว")ขิ่น หม่าว มยิต์ (Khin Maung Myint) จะไปทำบุญให้คุณแม่และญาติทั้งหลายที่พม่า
    • ถ้าพบคนนุ่งโสร่ง หัวหงอก มอมแมมหน่อยๆ (คงจะเปียกฝนเช่นครั้งก่อน) เดินที่เมืองมอบี้ หรือย่างกุ้ง เช่น พระธาตุชเวดากอง ฯลฯ > อย่าลืมทักทายกันครับ...
    • ขอบคุณคุณหมอมากครับ
    • ผมไม่ได้อยู่ชายแดนพม่าแล้วครับ
    • กลับมามหาวิทยาลัยแล้วครับ เสียดายจังเลยครับ ที่ผมพูดพม่าไม่ได้ เป็นแต่ปกากะญอครับผม

    ขอขอบคุณอาจารย์ขจิต และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • อาจารย์พูดพม่าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร... คนพม่าเก่งภาษา ชอบเรียนภาษา > ใช้ภาษาอังกฤษได้ครับ

    ผมเองก็พูดไม่ได้ แถมเวลานุ่งโสร่งจะมีหน้าคล้ายคนกลุ่มน้อยพม่า (ฉาน / ไทยใหญ่) หน่อยๆ > ปีกลายนี้ (2548) ไปวัดฌัมเย่ ย่างกุ้ง > ท่านพระโสภิสะ (โตภิตะ) รองเจ้าอาวาสยังถามเลยว่า เป็นคนพม่ารึเปล่า >

    • เป็นมิตรกับเพื่อนบ้านไว้ดีกว่าโกรธกันเยอะเลย...
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท