ป้าไพย
บรรณารักษ์ ประไพย จินดาวงศ์

ความสุขที่ล้ำค่า


ความสุขเป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ ใครใคร่สุข สุข ใครใคร่ทุกข์ สวัสดี

ความสุขที่ล้ำค่า  ไชย ณ พล. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยธรรมสากล,2543.

     ความสุขเป็นยอดปรารถนาของชีวิตมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายเพราะความสุขเป็นทรัพย์สินที่เลิศกว่าทรัพย์สินทั้งปวงแต่มีน้อยคนที่จักเป็นสุขส่วนใหญ่ล้วนเป็นทุกข์และหยิบยื่นทุกข์ให้แก่กันเมื่อเป็นทุกข์แล้วก็ดิ้นรนให้พ้นทุกข์หากมีการพัฒนาตนเองขึ้นมาบ้างก็อาจได้ความสุขบ้างแต่มักเผลอสร้างเหตุแห่งทุกข์จนได้ มนุษย์ผู้อยากมีความสุขมีเยอะแต่มนุษย์ผู้สามารถสร้างความสุขนั้นมีน้อยและมนุษย์ที่หยิบยื่นความสุขให้คนอื่นได้ซึ่งหาได้ยากเต็มที

     ความสุขเป็นยอดแห่งทรัพย์ทั้งปวง มนุษย์จึงสามารถสละทุกสิ่งที่ตนมีเพื่อความสุขได้ ความสุขเป็นภาวะรวมแห่งความรู้สึกพึงพอใจ ยินดีปรีดา ความสุขมีธรรมชาติที่เกิดขึ้นความสุขเป็นบันไดแห่งความสำเร็จของชีวิตที่นำความสง่างามในความเจริญของชีวิตและเจริญในด้านการงาน สังคม ความสุขมีคุณค่าแตกต่างกันตามการกำเนิดของความสุขซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ระดับตามการพัฒนาการเกิดของความสุขคือ 1)ความสุขอิงอาศัย 2)ความสุขอิสระ และ 3)ความสุขอันบริสุทธิไร้เงื่อนไขไร้ขอบเขต

     ความสุขอิงอาศัย คือความสุขที่ต้องการอาศัยการได้ การมี การเป็นซึ่งเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สร้างความสุขให้เกิดขึ้น เช่นต้องมีความรักจึงเป็นสุข ต้องมีทรัพย์จึงเป็นสุข เป็นต้นระดับความสุขนนี้จึงจัดเป็นความสุขคุรภาพต่ำ

     ความสุขอิสระ คือความสุขในใจตน เช่นความสุขในสติ ปัญญา สมาธิ คุณค่าและความดีในตน ความสุขระดับนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก ความสุขอิสระเป็นความสุขที่มีประโยชน์มากมายทำจิตใจให้มั่นคง มีความเชื่อมั่นในตนเองมีอานุภาพซึ่งหากพัฒนาจนชำนาญจะเกิดอำนาจเหนือธรรมดานานาประการได้ ความสุขระดับนี้เป็นความสุขชั้นดีทำให้ชีวิตเป็นอิสระมากขึ้น สามารถสร้างสรรค์ความสุขด้วยตนเอง เช่น ความสุขจากความดี ความเมตตา

     ความสุขบริสุทธิ์ไร้ขอบเขต คือความสุขแห่จิตใจที่ใสบริสุทธิ์ไร้มลทิน ปราศจากกิเลสเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ความสุขแบบนี้เป็นความสุขที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งชีวิต จัดเป็นความสุขที่สุงสุดของความสุขทั้งปวง

     เมื่อความสุขเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง จึงจำเป็นที่ทุกคนต้องศึกษาทุ่มเทและรักษาให้ยิ่งขึ้น ในโลกแห่งความเป็นจริงมนุษย์ต้องการความสุขแต่สิ่งที่มนุษย์ทำกลับเอื้อทุกข์ให้แก่คนอื่นแท้จริงแล้วเราสามารถเปลี่ยนสุขให้เป็นทุกข์ก็ได้หรือจะละทุกข์ให้เป็นสุขก็ได้ขึ้นอยู่กับปัญญาและความชำนาญในการบริหารจิตใจของแต่ละบุคคล

 

 

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 486580เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2012 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท