ประชาชาติจีน: บันทึกการเดินทางบนเส้นทางสายไหม ๒ การตลาดและการแก้ปัญหาแบบจีน


ไม่ไปไม่รู้ไม่ดูไม่เห็น
 

ตอนที่สอง

 

วันนี้เป็นวันทึ่ผมว่างและอนุญาตตัวเองให้เล่นคอมเต็มที่ก่อนจะจำกัดเวลาตัวเองในวันธรรมดาเพื่อไม่ให้เสียเวลาที่จำเป็นในชีวิตไว้กับคอมพิวเตอร์มากเกินไป เพราะเวลาเป็นเงินเป็นทอง เป็นโอกาสของชีวิต อย่าเสียเวลาโดยใช่เหตุ

เมื่อสักครู่อ่านStatus ของลูกศิษย์ท่านหนึ่งพูดเกี่ยวกับสันดอนทรายในแม่น้ำ แล้วคิดถึงวิธีการแก้ปัญหาแบบจีนที่ได้ไปเห็นมาจากการเดินทางครั้งนี้ ประเทศจีนนั้นมีแม่น้ำหลักสองสาย คือ หวงเหอ(ฮวงโห) และแยงซีเกียง(ทางตอนเหนือชาวจีนเรียกแม่น้ำว่าเจียง ชาวใต้เรียกแม่น้ำว่าเหอ) โดยแม่นน้ำหวงเหอและแยงซีเกียงนั้นเป็ฯเหมือนเส้นเลือดหลักหล่อเลี้ยงประชาชาติจีนนับแต่อดีตจนปัจจุบัน ในบันทึกนี้จะพูดถึงหวงเหอก่อน แม่น้ำหวงเหอนั้น ถูกขนานนามว่าเป็นอู่อารยธรรมจีน ถึงกับหลีไป่ ยอดกวีชาวจีนสมัยราชวงศ์ถังได้เขียนไว้ว่า "แม่น้ำหวงเหอมาจากฟากฟ้า ไหลแรงสู่ทะเลไม่กลับคืน huáng hé zhī shuǐ tiān shàng lái..." แต่ขณะที่แม่น้ำหวงเหอเป็นแหล่งน้ำสำหรับกินใช้ เกษตรกรรมและการคมนาคมนั้น แม่น้ำหวงเหอก็นำพาภัยพิบัติมายังประชาชาติจีนทุกปีเหมือนกัน  คือ น้ำในแม่น้ำที่จับตัวเป็นน้ำแข็ง และดินเลิส Lois หรือดินลมหอบที่จับตัวเป็นตะกอนในแม่นน้ำมักจะทำให้น้ำท่วมอยู่เสมอ รวมทั้งทำให้หน้าเขื่อนในแม่นน้ำหวงเหอตื้นเขินบ่อยๆ ทางการจีนแก้ไข โดยสองวิธีคือ สำหรับน้ำในทะเลสาบที่จับตัวเป็นน้ำแข็ง ทางการจีนใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดไปทำการทิ้งระเบิดเพื่อให้แม่น้ำไม่จับตัวเป็นแพน้ำแข็งขนาดใหญ่ในฤดูหนาวจนเป็นหตุให้เกิดน้ำท่วมสองฝั่ง(เข้าใจว่าทางการคงคำนวนแล้วว่าต้นทุนถูกกว่าวิธีอื่นๆ) และในส่วนดินตะกอนทรายในแม่น้ำนั้น ทางการได้ให้เอกชนมาสัมประทานดูดดินทรายเหล่านนี้ไปใช้ในการก่อสร้างที่มีการก่อสร้างอยู่ทุกวันจนทรายไม่เพียงพอต่อความต้องการ วิธีแก้ปัญหาแบบนี้แก้ไขได้แบบครบกระบวนการทีเดียว คือ เอกชนก็ได้ทรายไปใช้ก่อสร้างในราคาถูก รัฐก็ไม่ต้องมาเสียเงินดูดทรายใต้แม่น้ำ แม่น้ำก็ลึกขึ้น และน้ำที่ไหลมาก็มีทางน้ำไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำวิธีนี้ประเทศไทยจะเอามาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมก็ได้ไม่เห็ฯจีนเค้าสงวนลิขสิทธิ์ ......................................................

ส่วนเรื่องการตลาดแบบจีนนั้นผู้เขียนไปเจอมาเองตอนเข้าไปเที่ยวชมอุทยานทางธรรมชาติในซินเกียง และพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งแหล่งที่โบราณสถานที่เป็นมรดกโลกของจีนทั้งหลาย  ความเป็นนักการตลาดและประชาสัมพันธ์ของจีน คือ บัตรเข้าชมต่างๆ ด้านหนึ่งจะพิมพ์รูปสิ่งของหรือทิวทัศน์ที่เป็น High lightเอาไว้ และในอีกด้านหนึ่งจะทำเป็นโปสการ์ด เวลาเจ้าหน้าที่ฉีกบัตรก็จะฉีกไปเฉพาะส่วนที่มีหมายเลขบัตร ส่วนที่เป็นโปสการ์ดจะให้นักท่องเที่ยวเก็บไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีตู้ไปรษณีย์ วางไว้ด้วย เข้าใจว่าพอมีการส่งโฃสการ์ดนี้ไปให้ผูรับก็จะเป็นการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยวอีกทาง หรือ หากนักท่องเที่ยวไม่ได้ส่ง ก็สามารถเก็บโปสการ์ดเป็นที่ระลึกได้เช่นกัน ยิ่งกว่านั้นในแห่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานของจันจะไม่ให้ถ่ายรูปเด็ดขาด โดยเฉพาะในที่ที่เป็นมรดกโลก แต่จะมีหนังสือขายแทน เล่มหนึ่งก็ราคาใช่ย่อยที่เดียว เห็นอาพี่ใหญ่จีนอีทำอย่างนี้แล้ว อยากหันมาถามท่านทั้งหลาย ว่าอาเฮียจีนเรา อีแน่ไหมล่ะบรรดาอาตี๋กับอาหมวยทั้งหลาย ฮ่ ฮ่อ ฮ่อ

หมายเลขบันทึก: 486560เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2012 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

黄河之水天上来,奔流到海不复回

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท