57 สาย Canula ทำเอง


น้องๆ NICU โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่เขายินดีแบ่งปันค่ะ

แล้วก็ถึงคราวที่งานทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาเล่าเรื่องเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เคยได้นำเสนอเรื่อง NICUขอลดโลกร้อนด้วยคน    และได้มีการนำไปเสนอในงาน HA Forum ในปีที่ผ่านมา ในครั้งนี้ก็เช่นกันได้เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการนำสายให้อาหารในทารกมาดัดแปลงเป็นสายออกซิเจน Nasal cannula เพื่อใช้ในการให้ออกซิเจนแก่ทารกแรกเกิด และที่สำคัญคือยังเป็นการประหยัดงบประมาณให้กับหน่วยงานด้วย

 

น้องกุ้ง และ น้องน้อย

 

 

 

ซึ่งตัวแทนที่มาเล่าเรื่องดีๆในครั้งนี้ คือ “น้องกุ้ง”  โดยมีหัวหน้าใจดีอย่าง “น้องน้อย” ตามมาให้กำลังใจอยู่ข้างๆ 

 

และเนื่องจากผู้ที่เข้าฟังเรื่องเล่าในแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วยตัวแทนและผู้ที่สนใจจากหน่วยงานต่างๆ น้องกุ้งจึงต้องอธิบายก่อนว่า Canula นั้นหมายถึงอะไร

 

Nasal cannula  คือการให้ออกซิเจนแคนนูลาทางจมูก เป็นการให้ออกซิเจนในความเข้มข้นที่ต่ำ และทารกต้องได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้เนื้อเยื่อของร่างกายทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอไม่ก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ เหมาะสำหรับทารกที่ต้องให้ออกซิเจนนานๆ เช่น BPD หรือเมื่อต้องการนำทารกออกทำหัตถการต่างๆ เช่น ขณะให้ดูดนมแม่ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้แม่ได้อุ้มสัมผัสทารก น้องกุ้งกำลังอธิบายขั้นตอน

 

ในภาพ น้องกุ้ง กำลังอธิบายขั้นตอนในการทำ

 

สาย Canula สำหรับทารกแรกเกิด ที่จำหน่ายในประเทศไทยนอกจากจะมีราคาแพง เส้นละ 100 บาทแล้ว ยังใช้ไม่สะดวก เพราะเมื่อทารกดิ้นก็ทำให้สาย Canula หลุดออกได้ง่าย ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้พยาบาลในงานทารกแรกเกิดคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทารกได้รับออกซิเจนต่อเนื่อง และที่สำคัญคือเพื่อที่จะช่วยประหยัดให้องค์กร  

 

จึงได้ล้อมวงคุยกันเพื่อให้ทีมงานได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวสาย Canula สำหรับให้ออกซิเจน ส่วนใหญ่แนะนำว่าควรนำสายให้อาหารในทารกมาดัดแปลงทำเป็นสาย Canula แรกๆก็พบข้อบกพร่องในการใช้ คือ พลาส เตอร์หลุดง่าย และการบิดของสายออกซิเจน ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอได้ และไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ จึงได้แชร์ความคิดเห็นกันว่าน่าจะลองปรับเปลี่ยนกันใหม่เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำและอบก๊าซได้

 

อันดับแรกต้องเตรียมอุปกรณ์  ดังนี้

• สายดูดให้อาหารทารก No. 8 จำนวน 1 เส้น

• สายยางเหลือง No. 200, No. 204

• กรรไกรปลายแหลม ไม้บรรทัด ใบมีด

• Micropore, พลาสเตอร์ตาข่าย (Hypafix)

 

ส่วนขั้นตอนในการทำมีดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่ยากเลยใช่ไหม?  ลองทำดูนะคะ

 

ส่วนผลการใช้และการประเมินผล อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล และประเมินข้อบกพร่องการใช้งาน แต่สิ่งที่ได้รับแน่นอน คือ

ทารกแรกเกิดได้รับออกซิเจนเพียงพอและต่อเนื่อง

ทีมงานได้รู้จักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์กัน

ทีมงานได้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

 

 

นานๆ Ward จะมา ลปรร ในเวทีเรื่องเล่าแห่งนี้  แต่มาแต่ละครั้งไม่ผิดหวังจริงๆเลยค่ะ  และที่สำคัญคือ  น้องๆ NICU โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่เขายินดีแบ่งปันค่ะ

                                                  ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 486345เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2012 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เฮ้อกว่าจะโตมาได้จนป่านนี้ น่าเหนื่อยใจจริงๆ ขอบคุณพี่มนัญญาที่ทำให้หนูรู้ว่า "ทารกต้องได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้เนื้อเยื่อของร่างกายทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอไม่ก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท