ประสบการณ์ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว


ระยะนี้หากสังเกตแสงไฟตามชุมชน จะมีแมลงมาเล่นแสงไฟจำนวนมาก

ประสบการณ์ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ในระยะนี้หากสังเกตแสงไฟตามชุมชน จะมีแมลงมาเล่นแสงไฟจำนวนมาก ควรจะทำการสำรวจตรวจดูว่าแมลงที่บินมาเล่นแสงไฟมันเป็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือเปล่า ถ้าเป็นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เราก็ควรจะแจ้งให้เกษตรกรในชุมชนต่างๆได้ทราบเพื่อจะได้ป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที หรือหาแนวทางการป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ไปทำลายต้นข้าวของเกษตรกรที่ปลูกในแปลงนา

 

            ในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้(เวทีDW)เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ณ.ห้องประชุมโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพของอบจ.กำแพงเพชร หมู่ ๘ ต.ทรงธรรมอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ที่ผ่านา เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักส่งเสริมการเกษตรด้วยกัน ที่มีปะสบการณ์ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ผ่านมาในเขตที่รับผิดชอบ ในวันนี้ เราได้เชิญ คุณวิมาลา รัตนะ นักวิชาการส่งเสริกรเกษตรชำนาญการ ที่รับผิดชอบตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้มาเล่าประสบการณ์ พร้อมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักส่งเสริมการเกษตรด้วยกัน

 

คุณวิมาลา รัตนะลังเล่าประสบการณ์

 

 

 

            โดยคุณวิมาลา รัตนะ เริ่มต้นเล่าว่า ในเขตพื้นที่ทำนาของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลในช่วงประมาณต้นปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ ได้มีการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนรู้กับเกษตรกร ระหว่างเกษตรกรกับนักส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเกษตรกรได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน (หมู่๔ ต.นิคมทุ่งโพธิ์ทะเล) รวมทั้งมีการลงแปลงนากัน เพื่อสุ่มสำรวจแมลงที่มีอยู่ในแปลงนา ในครั้งนั้นก็พบทั้งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลง ยังมีในปริมาณที่น้อย ยังไม่อยู่ในระดับเศรษฐกิจและแมลงอื่นๆที่มีประโยชน์

 

           ในขณะเดียวกัน ในกลุ่มของเกษตรกรที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนั้น มีข้อสรุปร่วมกันว่าเราจะต้องเตรียมการป้องกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก่อน เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดเกินระดับที่เราจะสามารควบคุมได้ จากนั้นทางคุณวิมาลา เองก็ได้ประสานไปยังศูนย์บริการศัตรูพืชจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรกลุ่มนี้ ได้มีกิจกรรมร่วมกันคือกิจกรรมการผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรี่ย ของกลุ่ม จนกลุ่มนี้สามารถผลิตและขยายเชื้อบิวเวอร์เรี่ยเองได้ ในระยะแรกผลิตได้เพียง ๘o ถุง  โดยทดลองนำเชื้อบิวเวอร์เรี่ย ๘ ถุง เมื่อนำมาขยี้(ขย๋ำ)ผสมลงในน้ำสะอาดแล้วกรองเอากากออกจะสามารถนำไปใส่เครื่องพ่นพ่นได้ถึง ๘-o ไร่โดยประมาณ

 

 

           การทำในช่วงแรก จุดนี้ได้มีอาสาสมัครเพียง๑ รายที่สมัครใจนำไปทดลองฉีดพ่นในแปลงข้าวโดยทำการฉีดพ่นประมาณ๓-๔วัน ต่อครั้งซึ่งมีเกษตรกรในกลุ่มและคนที่อยู่ใกล้เคียง ได้ติดตามดูผลปรากฏว่าได้ผล นาข้าวที่ฉีดพ่นเชื้อบิวเวอร์เรียบ่อยๆ ไม่มีเพลี้ยกระโดดระบาดเข้าทำลายเลย  แต่ต่อมาช่วงหนึ่งที่เราทำการทดลองฉีดพ่นนั้น ตรงกับขณะนั้นฝนตกมีปริมาณฝนเริ่มตก อาจจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เสริมในช่วงนี้ก็ได้ ที่ส่งผลให้มีปริมาณของเพลี้ยกระโดดลงทำลายต้นข้าว   ทางสมาชิกกลุ่มขณะได้ดำเนินการผลิตเชื้อบิวเวอร์เพื่อทำการฉีดพ่นต่อเนื่องจนทำให้ข้าวของสมาชิกที่ปลูกไม่ถูกเพลี้ยกระโดดเข้าทำลาย  แต่ในทางตรงข้ามกันแปลงข้าวของสมาชิกที่อยู่เขตใกล้เคียงที่ไม่ทำการฉีดพ่นก็ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้าทำลายต้นข้าวได้รับความเสียหายมาก

 

 

          ต่อมาเมื่อถึงฤดูการทำนาปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ นี้ สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน หมู่๔ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร ได้มีการผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรี่ย เพื่อฉีดพ่นนาข้าวอย่างต่อเนื่องโดยทำการทั้งกลุ่ม แต่ขณะเดียวกันทางกลุ่มนี้ยังได้จัดทำแปลงปลูกข้าวเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การระบาดของศัตรูพืช(เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) หากสุ่มสำรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปริมาณเกิน ๑o ตัวต่อกอ ถือว่าระบาดโดยจะทำการปักธงสีแดง เพื่อบ่งบอกสมาชิกต้องรีบพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียทุกคน หากปักธงสีเขียว บ่งบอกว่าไม่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หากปักธงสีเหลือง บ่งบอกว่าเริ่มพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแต่ยังไม่อันตราย แต่เราต้องเตรียมความพร้อมที่จำการพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรี่ยต่อไป

 

 

          ในช่วงสุดท้าย คุณวิมาลา รัตนะได้กล่าวโดยสรุปว่า การที่เกษตรกรในกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนแห่งนี้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมาอย่างต่อเนื่องทำให้ตระหนักถึงการที่จะช่วยกันรักษาระบบนิเวศน์ในแปลงนาข้าวให้สมดุล ถ้าหากเกษตรกรท่านใดมีการใช้สารเคมีในการกำจัดไม่ถูกต้องจะทำให้แมลงศัตรูธรรมชาติลดน้อยลงไปจนทำให้ขาดสมดุลทางธรรมชาติไป ที่สำคัญมีแมลงศัตรูธรรมชาติในนาข้าวที่มีประโยชน์ที่ช่วยกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ได้แก่ มวนดูดไข่ ด้วงก้นกระดก แมงมุมเขี้ยวยาวและแมงมุมสุนัขป่า เป็นต้น

 

เขียวมรกต

๒๗ เมย. ๕๕

 

หมายเลขบันทึก: 486330เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2012 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ความรู้..เป็นอาหารทางปัญญา ที่จำต้องเรียนรู้อยู่เสมอ...หากขาด..คงเป็นเพียงซาก..ที่ปราศจาก จิตวิญญาณ..น้อ
  • ขอบคุณท่านอ.สามสักที่เคารพ
  • ที่ได้กรุณามาแวะทักทายกัน
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • ณ.ปัจจุบันต้องเร่งสร้างขวัญและกำลังใจแก่น้องๆผู้ทำงานในภาคสนามครับ
  • ก็คงจะได้ระดับหนึ่ง ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท