ตัวอย่างแผนการเรียนรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าเรียนรู้ 1 โดย ชาตรี สำราญ


แผนการเรียนรู้เรื่อง “สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าเรียนรู้” เล่มนี้  ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนมีบทบาทเป็นผู้แสวงหาวิธีการเรียนรู้จนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  โดยถือหลักการดังคำกล่าวของ ดร. โกวิท  ประวาลพฤกษ์  ที่กล่าวว่า  ผู้เรียนจะต้องสร้างความรู้แท้  ความรู้แท้จะต้อง

  1. มีการสร้างความรู้ใหม่
  2. นำไปสู่หลักวิชาการ
  3. มีคุณค่าต่อโลก

คุณลักษณะทั้ง  3  อย่างนี้  ผมมุ่งเน้นให้เกิดแก่    นักเรียนที่ผ่านมาในการเรียนด้วยบทเรียนนี้   ( และบทต่อ ๆ ไป )

ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  เป็นขั้นเริ่มต้นที่จะเรียนเรื่องราวลึก ๆ จากหมู่บ้าน  และ
เรียนรู้อย่างแท้จริงในช่วงชั้นที่  2  ดังนั้น บทเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่  3  เป็นบทเรียนที่อยู่ในขั้นปูพื้นฐาน  การคิดทำงานร่วมกับสังคม  เป็นการปลูกฝังค่านิยมขั้นต้น  จึงเกิดเป็นกิจกรรมในบทเรียนได้  ปล่อยให้นักเรียนมีอิสรภาพทางความคิด  แต่ทว่าได้ฝึกให้ศึกษาจากผู้รู้จากตำราวิชาการ และจาก       นักเรียนกับนักเรียน  ครูเป็นเพียงผู้คอยดู  คอยแนะนำและคอยบันทึกพฤติกรรมการเรียนการสอน  นั่นคือครูก็เป็นผู้เรียนรู้เรื่องที่สอนด้วย

                สำหรับการบันทึกหลังสอน นั้น  ผมเห็นว่าครูผู้สอนควรบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นในชั้นเรียนให้ละเอียดสมบูรณ์  จนสามารถสรุปได้ในขั้นสุดท้าย  ( รายงานผลการสอนเมื่อจบแต่ละหน่วย ) ว่า  แผนการเรียนรู้หน่วยนี้

            มีปัญหาอะไร

            มีวิธีการแก้ไขหรือพัฒนาอย่างไร

            ปรากฏผลเป็นอย่างไร

ถ้าครูผู้สอนบันทึกข้อมูลการสังเกตอย่างละเอียดในเชิงพรรณาไว้ทุกระยะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ข้อมูลความรู้ก็จะปรากฏในตัวครูผู้สอนเอง  และง่ายต่อการสรุปเป็นวิจัยในชั้นเรียน

ผลการวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนสอนและหลังสอน  จัดกลุ่มการเรียนออกเป็น  3  กลุ่ม เมื่อสิ้นสุดการเรียนแล้วก็นำเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน นำสรุปเป็นงานวิจัยได้อย่างดี

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรากฏผลครบทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอย่างนี้   พร้อมที่จะให้รับการประเมินคุณภาพผลงานในสภาพจริงทุกเรื่องทุกด้าน  ครับ

แผนการจัดกิจกรรมในเล่มนี้  ทุกแผนย่อยผมมุ่งจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการหาความรู้ นำมาสรุปเป็นเรื่องราวการเรียนรู้  เมื่อได้ความรู้ที่หาจากแหล่งเรียนรู้มาเขียนบรรยาย  อธิบายความรู้ของตนแล้ว  นักเรียนควรศึกษาเปรียบเทียบความรู้ที่เขียนไว้กับตำราวิชาการที่ครูนำมาให้ศึกษาค้นคว้า  ครูกระตุ้นให้นำทั้งสองอย่างมาเขียนสรุปเป็นความรู้ใหม่ได้

ผมหวังว่า วิธีการเรียน อย่างนี้จะช่วยให้นักเรียนนำไปเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้ หลากหลายเรื่องราว  และหนังสือเล่มนี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนังสือของการจัดการเรียนรู้ในเชิงให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง และคิดว่า น่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนครูผู้สนใจ

สำหรับแผนการเรียนรู้เล่มนี้ได้บูรณาการระหว่างสาระวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย           วิทยาศาสตร์และศิลปศึกษา โดยบูรณาการทางด้านกิจกรรมสู่สาระการเรียนรู้  นอกจากนี้ได้จัดทำเอกสารประกอบการสอน จำนวน 1 เล่ม บรรจุไว้ในภาคผนวกของแผนฯนี้ด้วย

 อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ    https://docs.google.com/docume...   

หมายเลขบันทึก: 486025เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2012 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท