โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่าของ กฟผ. รุ่นที่ 8 (EADP 2012) ระยะที่ 3


EADP 2012 - 8

สวัสดีครับลูกศิษย์ EADP รุ่น 8 ที่รักทุกท่าน

วันนี้พบกันอีกครั้งสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ระยะที่ 3 ของพวกเรา "หลักสูตร แลกเปลี่ยนเรียนรู้: ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ของ กฟผ." ซึ่งระยะนี้มีอยู่ 2 วันและยังคงเน้นเรื่องราวในภาพกว้าง

ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ EADP 8 ทุกท่านได้ใช้เป็นช่องทางการเเลกเปลี่ยนมุมมองจากการเรียนในระยะนี้ครับ

                                                           จีระ หงส์ลดารมภ์

..........................................

วันที่ 24 เมษายน 2555

นำเสนองานกลุ่ม จากการอ่านหนังสือ Mindset : ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน

EGAT  ให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์  (กลุ่มละ 5 นาที)

ร่วมวิเคราะห์และอภิปรายโดย   คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์   

............................................................................

กลุ่มที่ 2

อาจารย์จีระแนะนำให้อ่านบทที่ 1 – 2 และ 5 ซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องความแตกต่างของคน เกิดอะไรขึ้นในเรื่องของความคิด การสร้างกรอบความคิดที่แตกต่างกันเป็นอย่างไรบ้างและเรื่องผู้นำ คือผู้นำควรจะทำอย่างไร?

     ผู้เขียนมีแรงบันดาลใจ.. ที่อยากจะค้นหาคำตอบว่า ทำไมจึงอยากทำโจทย์ยาก ๆ นั่นเพราะเขาอยากจะเรียนรู้ และพัฒนา

     พื้นฐานทางกายภาพ เช่น ขนาดของสมองมีส่วนสำคัญต่อความสามารถทางความคิด นอกจากนั้นประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมมีผลต่อกรอบความคิดหรือ Mindset ของเรา

     คนที่มี Fixed Mindset (FM)ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคต

     Growth Mindset (GM) เห็นว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้เสมอเพื่อการพัฒนา

     FM มองความสำเร็จว่าเป็นความสามารถของตัวเอง

     GM มองความสำเร็จเป็นการเรียนรู้ และพัฒนา

     FM ไม่ชอบความท้าทาย

     GM ไม่กลัวการผิดพลาด ชอบความท้าทาย “Learner”

     FM มองความล้มเหลวเป็นความพ่ายแพ้

     GM มองความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้

 

หน้าที่ของผู้นำ/ผู้บริหารในการพัฒนาให้เกิด Growth Mindset ในองค์กร

  1. ปรับปรุงสภาพแวดล้อม
  2. ต้องยอมรับความผิดพลาดของทุกคน และทีมงาน
  3. ไม่ส่งเสริมพฤติกรรมที่ไม่ยุติธรรม
  4. ทุก ๆ คนในองค์กรเป็นเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่มองแบบเจ้านาย – ลูกน้อง
  5. บริหารงานจากข้อเท็จจริงเป็นหลัก

กลุ่มที่ 1

จากโจทย์ที่น่าสนใจ 2 โจทย์ คือ

1) ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้

คนที่มี Fixed Mindset

-          ไม่เรียนรู้ คิดว่าคนมีพรสวรรค์มาตั้งแต่เกิด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผลสุดท้ายคือการพัฒนาไม่เต็มศักยภาพของตัวเอง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ

คนที่มี Growth Mindset

-          เชื่อว่าความสำเร็จ/ความล้มเหลว คือ การเรียนรู้

-          กรอบความคิดจำกัด คิดว่าความเฉลียวฉลาดและความสามารถเป็นเรื่องตายตัว คิดว่าความพยายามไม่มีประโยชน์

-          เราสามารถเปลี่ยนกรอบความคิดของเราได้ เพื่อความสำเร็จ

อย่างไรก็ตามทั้ง 2 Mindset สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คือ คนสามารถประสบความสำเร็จได้ เพียงแต่เปลี่ยนกรอบความคิดของตัวเอง

2) ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT  ให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

-          เปลี่ยน Mindset ของคนใน กฟผ. ให้เป็น Growth Mindset พร้อมที่จะเรียนรู้ เริ่มต้นจากที่ผู้บริหาร ต้องเชื่อในศักยภาพและการพัฒนาคนสามารถเปลี่ยนแปลงความเฉลียวฉลาดและความสามารถได้ รวมถึงการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ทำองค์กรให้เป็นสู่การเรียนรู้ มีความคิดเห็นในการแลกเปลี่ยนกันได้ มองความผิดพลาดและล้มเหลวในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

-          มีความยุติธรรม ให้ความก้าวหน้า ให้ผลตอบแทนกับคนที่เรียนรู้และพัฒนาตนเอง

-          มุ่งสู่วิสัยทัศน์  ผู้บริหารต้องมีหน้าที่ชี้แจงวิสัยทัศน์ และสื่อสารที่ดีกับผู้ร่วมงานทุกระดับ องค์กรจึงจะเรียนรู้และมุ่งสู่วิสัยทัศน์ได้

กลุ่มที่ 3

1) ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้

  1. ความคิดแบบเดิม มองว่าความฉลาดเป็นความคิดที่ติดตัวมา มองว่าคนที่เกิดมามีพันธุกรรมดี จะได้รับความฉลาดด้วย
  2. แต่ความคิดแบบ Growth Mindset คือความสามารถในการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ และพัฒนาสมองได้มากมาย ความฉลาดไม่ได้ตายตัว แต่เป็นการทุ่มเทอย่างมีเป้าหมาย
  3. ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ ต้องลงทุน พยายามให้เพิ่มขึ้น จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้
  4. กรอบความคิดจำกัด คือไม่ยอมเรียนรู้ มองว่าตัวเองเป็นน้ำเต็มแก้ว คิดว่าเก่งแล้ว ก็หยุดการเรียนรู้ มีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมาย ดังนั้นอย่าหยุดการเรียนรู้
  5. การจูงใจและมุ่งมั่นที่ต่อเนื่องนำไปสู่จุดสูงสุดได้ ทุกคนในโลกสามารถเรียนรู้ได้ การมีความพยายามที่เหมาะสมจะทำให้ประสบความสำเร็จได้
  6. การชมเชยเปลี่ยนจากการชมเชยที่ความสามารถเป็นการชมเชยที่จะพยายาม
  7. หนังสือมุ่งที่มุมมองกีฬา ความรัก ถ้าเรามี Growth Mindset แบบเติบโตจะทำให้ครองชีวิตคู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน ไม่ใช่ไปยืนสอนว่าอย่างนั้นอย่างนี้แต่จะกระตุ้นอย่างไรให้คนอยากเรียนรู้มากขึ้น กรอบความคิดในการเติบโตจะกระตุ้นตัวเอง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดจะทำให้พัฒนาไปได้

2) ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT  ให้สนใจความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่ วิสัยทัศน์  

  1. ต้องทบทวนตัวเองว่าสิ่งที่เราทำไปจำกัดความคิดลูกน้องมากเกินไปหรือเปล่า
  2. ทุกคนต้องปรับ Mindset และกระตุ้นให้ลูกน้องอยากเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ทำให้กฟผ.มีการพัฒนาเติบโตและมั่นคงยั่งยืน

กลุ่ม 4

1) ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้

  1. เนื่องจากถูกกำหนดด้วย Fix Mindset , Growth Mindset แต่ต้น
  2. ในส่วน Fix Mindset เชื่อในเรื่องพรสวรรค์ เชื่อว่าคนเราที่ประสบความสำเร็จได้เพราะมีความสำเร็จมาตั้งแต่เกิด  เมื่อไหร่เกิดความผิดหวังพวกนี้ ไม่อยากให้คนอื่นเห็นความล้มเหลวของตนเอง  ใช้กลโกงเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของตนเองไว้ก่อน ไม่คำนึงถึงองค์กร ยึดกับความสำเร็จในอดีต ไม่คิดพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดไม่ปัญหา ไม่มีการพัฒนาศักยภาพ เพราะคิดว่าตัวเองทำสิ่งนั้นได้แล้ว ก็ไม่อยากเรียนรู้ต่อไป ไม่สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม

พวก Growth Mindset จะมีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างดี ใช้ความพยายามในสิ่งที่คนอื่นบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เขาสามารถปฏิบัติได้  ถือว่าผิดเป็นครู  ความล้มเหลวเป็นสิ่งที่ยอมรับ และรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่น เรียนรู้ข้อผิดพลาด ตัวเขาหรือคนอื่นจะแก้ไขอย่างไร

2) ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT  ให้สนใจความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์  

ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคนกฟผ. ให้ทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

  1. กฟผ.น่าจะสร้างความนิยมในเรื่องพรแสวงให้มากขึ้น  ไม่งั้นจะมีผู้นำที่โดดเดี่ยว
  2. เน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มากขึ้น
  3. เปิดอบรมหลักสูตร ใช้วิทยากร และอ่านหนังสือที่มีคุณภาพ
  4. ผู้นำต้องทำตัวใฝ่รู้ และถ่ายทอดความรู้ให้คนรุ่นหลังจริงจัง
  5. สร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้
  6. ส่งเสริมการทำงานต่อเนื่อง และทำงานเป็นทีม
  7. มอบหมายงานชัดเจน และเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
  8. มีการปฏิบัติงานเพิ่มเติม  แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วย
  9. ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน และต่อยอด

10. การส่งเสริมบุคลากรให้มี Growth Mindset

กลุ่ม 5

1) ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้

  1. มนุษย์มีกรอบความคิดแตกต่างกัน  พฤติกรรมของมนุษย์มีกรอบความคิดแตกต่างกัน
  2. จาก Diagram หน้า 243 สามารถอธิบายได้หมดเลย
  3. บทที่ 5 เห็นว่าผู้วิจัยยกตัวอย่างความสำเร็จของ Growth Mindset , Fix Mindset

-          Fix Mindset ทำให้องค์กรที่ประสบความสำเร็จ ล้มเหลว  , คิดถึงตัวเองเป็นหลัก มีสังคมที่อู่ฟู่  อย่างผู้บริหารของ Enron

-          Growth Mindset เช่นพวก IBM เป็นพวกท้าทาย รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และรับฟังสิ่งที่คนวิจารณ์ตัวเอง พวกนี้มีความคิดว่าการเป็นผู้นำไม่ใช่พรสวรรค์ ,Ability , Talent สามารถ พัฒนาได้ ไม่ได้มีมาแต่เกิด

           สรุปคือความสำเร็จมาจากความพยายาม

           พฤติกรรมแตกต่างกันสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างไร เช่นการ Coaching ,Training

           ความแตกต่างมนุษย์มี 2 MindsetMindset เปลี่ยนแปลงได้

2. ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT  ให้สนใจความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์  

สรุปว่าใช้กับ กฟผ.ได้อย่างไร เห็นด้วยกับกลุ่ม 1 และกลุ่ม 4

สรุปโดยคุณอนุรัตน์

-          ชื่นชมทุกกลุ่มทำได้ดีมาก ชื่นชมกลุ่มแรกที่แสดงความเป็นผู้นำออกมาได้ชัด

-          แต่ละกลุ่มมี Hi light แตกต่างอย่างไรบ้าง

กลุ่มที่ 1

มีเนื้อหาสาระ  ปรับสภาพแวดล้อม คำว่าสิ่งแวดล้อมเป็นอะไรที่กว้าง อย่าง Organizational Development บรรยากาศที่ทำงานช่วยได้ แต่อารมณ์ และความรู้สึกสำคัญกว่าสถานที่ทำงาน สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนที่เกิดจากจิตใจ เกิดจากการสร้างสิ่งจูงใจ เป็นการทำโดยไม่ต้องใช้เงินก็ได้ และส่งเสริมเรื่องความยุติธรรม  คำว่ายุติธรรมสำคัญมาก Fair is equal สำคัญอย่างไรถึงเหมาะสม ต้องดูความยุติธรรมคืออะไรในองค์กร

 

ทุกคนต้องเป็นเพื่อนร่วมงาน ทำอย่างไรถึงดึงศักยภาพของกลุ่ม เรียนรู้ความผิดพลาด การเป็นเพื่อนร่วมงาน นำมาสู่ Engagement คือการมีส่วนร่วม การสร้างความผูกพัน ทุกอย่างที่จะอยู่อย่างยั่งยืนต้อง Back to Basic  บางครั้งผู้นำรุ่นเก่าอาจปลูกฝังสิ่งที่ดี ๆ และอาจลืมอะไรบ้างก็ได้

กลุ่ม 2

-          พร้อมการเรียนรู้ พัฒนา พรสวรรค์ ไม่ท้อแท้ เป็น Growth Mindset คือเรียนรู้จากความผิดพลาด และพร้อมที่จะโตได้

-          บางที EQ สำคัญกว่า

-          คนเรามี Brain มีความสามารถ และถ้ามีไม่ต่อยอด ไม่ฝึกฝน เรียนรู้จากความผิดพลาด ก็จะไปไม่รอด

EGAT

-          ผู้บริหารต้องเปลี่ยน เป็นการเตรียมตัวเองก่อน

-          มี Engagement สร้างบรรยากาศในองค์กร มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิด สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ใช้ความผิดพลาดเป็นเรื่องปรับปรุง ผูก KPI เข้าไป ดึงเอา Growth Mindset ในการแลกเปลี่ยนความคิด

-          ลูกน้องมีความพยายาม แม้ไม่บรรลุผล 100 % แต่ความพยายามสำคัญที่สุด เน้นและชื่นชมความพยายาม

กลุ่มที่ 3

-          ทุกอย่างทำงานต้องมีกลยุทธ์ ทำงานต้องมีความพยายาม เน้นการชมเชยความพยายาม กีฬา ความรัก ชีวิตคู่ สอนในเรื่องต่าง ๆ ไม่ใช่องค์กรอย่างเดียว เน้นความรัก ความสัมพันธ์ในครอบครัว

-          การกระตุ้นตัวเอง และเพื่อนร่วมงาน การปรับตัว ทำอย่างไรไม่จำกัดความคิดของลูกน้อง อย่าจำกัดการมีความคิดเปิดกว้าง

กลุ่มที่ 4

-          มุ่งมั่นในการแบ่งปันและเรียนรู้ดีมาก  แพ้ไม่เป็นและเอาไปโกง บริษัที่เก่งแต่โกงก็ไปไม่รอด 

-          Leadership ฉบับนี้ใช้คำว่า Integrity คือ ซื่อสัตย์ ยุติธรรม  Accountability

-          โทษตัวเอง โทษผู้อื่นก็ไปไม่รอด

-          EGAT สามารถทำอะไรได้เยอะแยะ

กลุ่มที่ 5

-          ใช้ Diagram อธิบาย ทำอะไรใช้ความแตกต่างกัน

สรุป คือทุกกลุ่มสรุปได้ดี  และสามารถนำไปใช้กับครอบครัวได้ อย่าไปชมเด็กมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกเก่งมากเกินไป แต่ควรมีการชื่นชมโดยเน้นเรื่องชื่นชมในความพยายามดีมาก สิ่งที่ไม่ได้พูดถึงคือเรื่องความสัมพันธ์ครอบครัว บางครั้งมองข้ามคนใกล้ตัวไป

................................................

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้วันที่ 24 เมษายน 55

......................................................

เรียน  ลูกศิษย์ EADP 8 ทุกท่าน

สำหรับความคิดเห็นและ Assignment ของการเรียนรู้ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 15 - 18 พฤษภาคม 2555 โปรดไปที่ลิงค์นี้ครับ

โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่าของ กฟผ. รุ่นที่ 8 (EADP 2012) ระยะที่ 4

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/488095

 

หมายเลขบันทึก: 485957เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (51)

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ (2)

มารยาทการเข้าสังคมและการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความประทับใจ

โดย       หม่อมราชวงศ์ เบญจภา ไกรฤกษ์

วันที่      24 เมษายน 2555

 

การเข้าสังคม

-          เริ่มต้นคือการสร้างความประทับใจ การมองเห็นตั้งแต่ครั้งแรก จะเป็นการค้นหาแต่ละคน

-          การเป็นผู้บริหาร เมื่อท่านต้องถูกเชิญไปที่ต่าง ๆ การแสดงถึงการมีวิสัยทัศน์  และการมี Information คือการส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี

-          บุคลิกภาพนั้น จะรวมไปถึงหน้า ผม เสื้อผ้า รองเท้า  นาฬิกา  ตัวอย่างเช่น นาฬิกาคือเฟอร์นิเจอร์ของผู้ชาย  เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความสำคัญต่อการสร้างบุคลิกภาพ

-          หลัก ๆ ของบุคลกภาพคือ เรียบร้อย สะอาด และมีสุขภาพอนามัยดี

-          การวางบุคลิกท่าทาง คือการสร้างกระดูกสันหลังให้ตรง ไม่ให้บิดเบี้ยว แต่ให้ดูสง่า อย่างการทำโยคะ คือการทำแกนสันหลังให้ตรง เป็นลักษณะของการวางบุคลิกภาพที่ดี

-          การแต่งกายต้องให้เข้ากัน ตัวอย่าง รองเท้า กางเกง ถุงเท้าใช้สีดำจะปลอดภัยมาก  แต่ถ้าใส่รองเท้าน้ำตาล ก็ควรใส่ถุงเท้าน้ำตาลด้วย

-          การเข้าสังคมต้องสร้างความประทับใจให้มาก  จุดมุ่งหมายของการเข้าสังคมคือการพบกัน พบกันเพื่อประโยชน์ ไม่ใช่สร้างศัตรู พบคนแล้วคนชื่นชมได้  ต้องเน้นการจำง่ายตั้งแต่แรก  เน้นการสร้างตัวให้คนจำได้

การทำบุคลิกท่าทางให้ดูดี มีความมั่นใจในตัวเอง ให้มีความนิ่มนวล ถ่อมตัว แต่ดูมีความเมตตา เสมือนมีอะไรให้กับคนอื่น

-          ความสะอาดเรียบร้อยของการแต่งกาย  การพูดเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การออกงานต้องพร้อม  คนที่เสียงมีกังวาลจะเป็นคนที่ชนะผู้ที่มีเสียงแหบแห้ง  คุณลักษณะของผู้นำต้องแสดงออกถึงพลัง ตัวอย่างเช่นนโปเลียน ตัวเล็กมาก แต่มีบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำที่เกิดจากพลังข้างใน  สังเกตว่านโปเลียนจะได้แฟนผู้หญิงที่สวยมาก ๆ หลายคน สืบเนื่องจากบุคลิกภาพที่ดี ที่แสดงถึงความมีพลังอยู่ข้างใน

-          บุคลิกภาพและการเข้าสังคม แสดงถึงพลังและร่างกายของเรา

-          การแสดงออกทางจิตใจคือการแคร์คน  เราจะฟังมากกว่าพูด เราถามเขาหมายถึงเราสนใจในตัวเขา และแคร์ในตัวเขา  เราพูดก็จะพูดในสิ่งที่เขาถาม ที่เขาสนใจ เราจะไม่พูดในสิ่งที่ไม่รื่นรมย์ โรคภัยไข้เจ็บ สิ่งที่ไม่ทำให้เกิดความหดหู่ใจ  อย่างการพูดเรื่องงาน เราต้องศึกษาสิ่งแวดล้อม ต้องอ่านมาก รู้มาก แล้วเราจะคุยในเรื่องกลาง เรื่องศาสนา การเมืองไม่พูด เรื่องสร้างความขัดแย้งไม่พูด  การแสดงความเคารพในขนบธรรมเนียมไทยการไหว้สำคัญมาก ใช้การพนมมือ และการโค้ง  แสดงถึงการให้ความเคารพ  การก้มศรีษะจึงมีความสำคัญมากกว่า 

-          ค่านิยมไทยเดิม ภูมิปัญญาไทยควรรักษาอยู่  แต่ปัจจุบันการเกิดวิกฤติทางสังคมมาก ๆ ทำให้เกิดความไม่เคารพซึ่งกันและกัน ทำให้ค่านิยมไทยเปลี่ยนไปมาก ดังนั้นจึงควรรักษาภูมิปัญญาไทยแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด

-          การพูดขออย่าให้มีการพูดว่าเขา เพราะคำว่าเขาแสดงถึงความไม่เคารพ

-          การมีอารมณ์ขันจะมีเสน่ห์มาก (อารมณ์ขันแบบสนุก) 

-          การไหว้มี 3 ระดับ 1.ไหว้เด็ก 2.ไหว้ผู้ใหญ่ 3.ไหว้พระ

-          การนั่ง เวลานั่งเข้าผู้ใหญ่ นั่งให้เต็มเก้าอี้ แต่ไม่ต้องนั่งพิงพนักเก้าอี้

งานศพ

  1. ควรไปก่อนเวลา
  2. กราบพระ ให้ถอดรองเท้า
  3. จุดธูปเคารพศพ 1 ดอก
  4. ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์
  5. ตั้งใจรับพรจากพระ
  6. ลาศพและเจ้าภาพก่อนกลับ

การแต่งกาย

-          ใส่สีดำล้วน เน้นการเลือกรองเท้าให้เหมาะสม

-          สำหรับผู้หญิง การเลือกกระโปรงต้องคลุมเข่า หรือผ้าถุง

งานเลี้ยงรับรอง (Reception)

-          ตอบรับการไปร่วมงานก่อนเวลางาน 7 วัน

-          แต่งกายให้เหมาะสมกับงานหรือดูตามบัตรเชิญ (ปกติจะไม่ใส่สีน้ำตาล ยกเว้น Smart Jacket ใส่ เบรเซอร์ สีเทา น้ำเงิน ถึงดำ แต่ไม่ควรใส่สีน้ำตาล)

-          ถึงงานก่อนเวลานัดหมายยกเว้นงานเลี้ยงรับรอง หรืองานที่ท่านเป็นแขกเกียรติยศ

-          ทักทายเจ้าภาพ

-          ลากลับในเวลาอันควรโดยรอให้แขกเกียรติยศเป็นคนลาคนแรก

งานเลี้ยงอาหารค่ำ (Sit down Dinner)

-          แต่งกายตามที่ระบุไว้ในบัตรเชิญ  

(ต้องถามให้แน่ชัดก่อน ผู้ชายควรใส่สูทและ เนคไทค์ก่อน  ส่วนผู้หญิงควรใส่ Dress แล้วดูสถานการณ์ในงานอีกทีว่าใส่หรือไม่)

ถ้าเป็นแขกเกียรติยศ (Guest of honor)จะไปหลังงานเริ่ม 10 – 15 นาที คนที่ไปสุดท้ายคือคนที่เป็นแขกเกียรติยศ

มารยาทคือการไปให้ตรงเวลา การไปก่อนคือการเตรียมตัวเข้างานมากกว่า

งานเลี้ยงรับรองเกี่ยวกับธุรกิจ ถ้าไปกับญี่ปุ่นไปก่อนงานได้ สรุปคือดูนิสัยและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ 

-          แนะนำตัวกับผู้ที่ท่านจะต้องนั่งข้าง ก่อนลงนั่ง

-          เลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรีนั่ง

-          สนทนากับผู้ที่อยู่ทางขวาก่อน และทางซ้ายทีหลัง

-          คลี่ผ้าเช็ดปากวางบนตัก

การเจรจาธุรกิจ

-          ต้องใช้กลยุทธ์ของตัวเอง และทักษะของตัวเองมาก

-          มีลักษณะของการใช้สามัญสำนึก และการต่อรองที่ดี

-          เจราจาต้องขึ้นอยู่กับความพอใจทั้ง 2 ฝ่าย เป็นแบบ Win – Win

Multi Lateral

-          คุณสมบัติของนักเจรจาคือ บุคลิกภาพดี นักต่อรองจะมีบุคลิกดี ต้องศึกษาจากประสบการณ์ในการฟังคนอื่นบ้าง

-          ต้องมีความรู้เพียบ และมีศิลป์ในการสื่อ จูงใจโน้มน้าวเก่ง และเป็นนักประนีประนอมที่ดี (สำคัญมาก)

-          เราจะสามารถสร้างความจูงใจได้อย่างไร คือเป็นมิตรตลอด และหลีกเลี่ยงการขัดแย้ง ใช้ Maybe คือไม่รับ แต่ไม่พูดตรง ๆ

-          ต้องทำตัวเหนือเขาด้วยความมีเมตตาสูงกว่าเขา ต้องฟังเขา เป็น Good Listener ต้องมี Common Sense สามัญสำนึกดี ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง มีความกล้าในการตัดสินใจ

-          การเจรจาอย่านาน เพราะนานแล้วประเด็นจะร้อน ถ้าไม่สำเร็จให้พูดอีกครั้งหนึ่ง

-          พิจารณาหลักของ Maslow คือตรงประเด็น ประเมินผลได้ และมีความเป็นไปได้ ให้มีผู้ฟัง กับผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่งกับอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในประเด็นเดียวกัน  บางครั้งต้องยอมเขาบ้าง ดีกว่าเสียไปหมดเลย

-          ต้องมีความรู้เรื่องกฎหมาย กฎเกณฑ์ สายสัมพันธ์ วัฒนธรรมองค์กร ในการเจรจาต่อรอง ต้องมีเรื่องความสัมพันธ์ และสื่อประกอบ

-          การชนะกันอยู่ที่บุคลิกภาพ และพลังที่ดีกว่าเขา (การพูด, ความคิด,วิสัยทัศน์,มนุษยสัมพันธ์เป็นพลังและมีบุคลิกภาพ)

-          ต้องนุ่มนวล มีหลักการ และจิตวิทยาที่ดี เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่ต้องการ

การอยากรู้จักใคร

-          ต้องแนะนำตัวเองก่อน  แล้วยื่นนามบัตร เพื่อเป็นสื่อในการทำความรู้จักอีกฝ่ายหนึ่ง

-          การออกสังคม ต้องสบตากัน  ไม่ว่าจะเป็นการทักทาย  การทำความเคารพหรือการพูดคุย (คนที่ขาดความมั่นใจจะหลบตาคน)

การขอบคุณที่เชิญมาร่วมงาน

-          การส่งจดหมายขอบคุณ

-          การมอบของขวัญ

 

ดร.จีระ เสริม

  1. การมี Social Skill ใน EGAT เป็นสิ่งสำคัญและต้องฝึกให้ดี
  2. อย่างรับประทานอาหารเห็นช้อนส้อมเยอะ ๆ เวลาเห็นแรก ๆ อย่ารีบร้อน ให้เริ่มจากการนิ่งก่อน  ต้อง Conscious ตลอดเวลา ว่าไม่ต้องทำผิดพลาด  ที่ผิดพลาดมาก ๆ คือ เวลาทานกาแฟ ช้อนมีไว้สำหรับชง ห้ามตักเข้าปากเด็ดขาด
  3. การจัดคราวหน้าสำหรับ กฟผ. อยากให้จัดการกินตามสถานการณ์จริง
  4. มีดมีไว้สำหรับหั่น อย่าเอามีดใส่ปาก
  5. ขอระมัดระวังในการทำและเคลื่อนย้าย  ถ้าไม่แน่ใจให้ดูข้าง ๆ
  6. Three law of Performance เวลามี Conflict ในองค์กร เรามักจะเก็บความคับแค้นใจอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเวลาเป็นผู้ใหญ่ ต้องทำให้ผ้าเป็นผ้าขาว เคลียร์ความรู้สึกไม่ดีออกไป  ต้องทำให้ผ้าสะอาด บริสุทธิ์ เวลาอยู่กับลูกน้อง  ต้องรู้จักให้อภัย อย่าเก็บความแค้น และความขะมุกขมัวในจิตใจ ผู้ใหญ่ต้องทำให้ตัวเองเป็นผ้าที่สะอาด
  7. Mindset ที่พร้อมจะเปลี่ยนคือ Eagle to Learn คือความใฝ่รู้  และหลังจากไม่ได้เรียนกับ ดร.จีระ แล้วควรมีนิสัยใฝ่รู้ และอยากรู้อยากเห็น
  8. เวลาไปงานค๊อกเทล ต้องรู้จักคนอื่น ๆ ด้วย อย่าคุยแต่คนที่รู้จัก  และให้พกนามบัตรที่มีภาษาอังกฤษด้วย มีกล่องสวย ๆ
  9. Social  System ของ EGAT ต้องเปิดให้ไปตามงานสังคม และสถานทูตต่าง ๆ
  10. รุ่น 8 น่าจะให้มีโอกาสไปงานที่สามารถคุยแลกเปลี่ยนกันได้ ฝึกการคุยในงานค๊อกเทลอย่างน้อย 10 คน  แต่บางครั้งการไปงานค๊อกเทลที่ไม่รู้จักคน บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกประหม่าได้
  11. สนับสนุนให้มี Knowledge and Networking  สร้างความภูมิใจในการแสดงออก
  12. การให้ความสำคัญเรื่องมารยาท

กล่าวขอบคุณ

คิดว่าเรื่องมารยาททางสังคมเป็นสำคัญในการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

         

 

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

หัวข้อ แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย       ดร.กุศยา  ลีฬหาวงศ์

วันที่ 24 เมษายน 2555

 

สภาพแวดล้อม คือสิ่งที่เราต้องอยู่

-          เมื่อ 10 ปีที่แล้วกับปัจจุบันมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  เช่น คน โลกร้อน เทคโนโลยีสารสนเทศ

-          สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง Speed เร็วขึ้น

-          ความคิดของเด็กรุ่นใหม่แตกต่างจากรุ่นเก่า  เด็กสามารถหาความรู้ที่ไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องครูบอก

-          เช่นเดียวกับ ประชาชน มีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น และรวดเร็วขึ้น แต่ก่อนคนไม่ค่อย Comment กฟผ. แต่ปัจจุบันเริ่ม ให้ความสนใจมากขึ้น หาข้อมูลมากขึ้น

-          สภาพแวดล้อม เป็นเชิงมหภาค   การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเกิดจากธรรมชาติ และประเทศอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น

-          สิ่งที่จะเกิดตามมาคือเรื่องสภาวะการแข่งขัน ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น มีข้อมูลมากขึ้น ฉลาดขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนมากขึ้น

ภาวะการแข่งขัน

-          การเปลี่ยนแปลงมีมากขึ้น มีนัยมากขึ้น

-          Existing Competitor คู่แข่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่เห็นอยู่แล้วมีใครบ้าง

-          ถึงแม้ไม่มีคู่แข่ง ทำไมเราถึงต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา

-          แรงกดดันเกิดจากผู้บริโภค แล้วมีอะไรที่เกิดกับเราตลอด

-          KPI เราจะต้องถูกประเมิน แล้วเกณฑ์ในการประเมินจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ

-          สภาวะการแข่งขัน เพิ่มขึ้น ๆ ดังนั้นกลยุทธ์ที่ใช้ในปัจจุบันคือเรื่องต้นทุน และความแตกต่าง ต้องไปด้วยกัน

-          แต่ก่อนของดีราคาถูกไม่เคยมี  กลยุทธ์ที่ใช้กันคือ ราคาและความแตกต่าง ผลที่ตามมาจากกลยุทธ์อันนี้คือ การแข่งขันรุนแรงมากขึ้น คือการลดราคา ให้บริการดีกว่า ปริมาณมากกว่า เท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต ทะเลสีฟ้า เลยกลายเป็นทะเลสีแดง  ในการแข่งขัน คนอยู่รอดคือคนที่แข็งแรงที่สุด ดังนั้น เราจึงต้องหาจุดแข็งของตัวเราเองให้ได้ ซึ่งถ้าเราเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ และตลาดจะตายหมด และตายหมู่  ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ เกิดการแข่งขันเกิดขึ้น เป็นการแข่งขันด้านราคา คือสงครามราคา   จนกระทั่งมีการจับมือกันว่าจะไปดัมพ์ราคาอีกแล้ว ไม่อย่างนั้นจะตายหมู่

Paradigm Shift

-          ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด คือคิดใหม่ ทำใหม่ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Paradigm Shift คือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเป็นผลที่เกิดขึ้น ต้องเปลี่ยนความคิด เริ่มจากการเปลี่ยนที่ใจก่อน  และเล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นวิธีการคือเริ่มที่ใจ (เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง) แล้วไปปรับเปลี่ยนกระบวนคิด

-          สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ ๆ ต้องได้รับสอนเยอะ คือ ความเคารพ มารยาท ความรับผิดชอบ การเป็นคนดี ต้องรู้จักกาลเทศะ รู้อะไรควรไม่ควร

Thinking Paradigm

-          คนเรามักติดอยู่ในกับดักหรือกรอบอย่างใดอย่างหนึ่ง

-          กรอบไม่จำเป็นต้องเป็นแบบใดแบบหนึ่ง การไม่มีกรอบเลยเป็นไปยากเนื่องจากจะไม่มีเครื่องยึดเหนี่ยว

-          การเปลี่ยนระบบความคิดให้ได้ต้องทะลายกรอบ เอากับดักออกก่อน

สิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้เพราะอะไร

-          คนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงมีสาเหตุมาจากความไม่เปิดใจ ความกลัว ความไม่รู้ ความเคยชิน ความเป็นตัวของตัวเอง  หลงตัวเอง เปลี่ยนแล้วมีค่าใช้จ่าย  เป็นต้น

สรุป      1. การยึดติดอยู่กับอย่างใดอย่างหนึ่ง

            2. ชอบและพอใจสิ่งที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

            3. เหตุการณ์เหล่านั้น เกิดขึ้น ซ้ำ ๆ แล้วมีการยืนยัน

            4. เกิดจากกรอบที่ตัวเราตีไว้เอง

            5. เกิดจากการประมาณการณ์และคาดการณ์ แล้วจะเชื่อว่าเกิดขึ้นจริงแล้วจะถูกต้อง

            6. หลงตัวเอง เชื่อมันในตนเองมากเกินไป

            7. กลัวสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้น การมองโลกในแง่ลบ

            8. การจำได้ว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้ว มักเกิดขึ้นกับคนมีประสบการณ์มาระยะหนึ่ง และมีอายุงานมาระยะหนึ่ง การประสบความสำเร็จในอดีตทำให้ตนเองมีความเชื่อมั่นมากเกินไป

ถ้าคนเรามีสิ่งเรานี้เยอะ ๆ จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก  ดังนั้นต้องทลายกรอบเหล่านี้ให้ได้ก่อน

 

ระบบคิด แบ่งเป็น 4 ระดับ

  1. Positive Thinking คิดเชิงบวกให้เป็น เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องปรับตัวเองให้ได้ก่อน ต้องคิดว่าสิ่งต่าง ๆในโลกสามารถเกิดขึ้นได้

คำถาม ถ้าองค์กร กฟผ.เปลี่ยนเป็น มหาชน จะเกิดอะไรขึ้นกับ กฟผ. และจะเปลี่ยนแปลงในแง่ไหน

ความคิดเห็น คนที่มีความสามารถจะไม่มีปัญหาอะไร แต่คนที่ทำงานหน้างานประจำ วันหนึ่งศักยภาพจะตกลงเรื่อย ๆ เกิดความเสี่ยงในการหาคนแทนคนที่อยู่กับที่

  • สิ่งแรกที่จะกระทบคือ ต้องมีการตรวจสอบเกิดขึ้น ทุกอย่างต้องตรวจได้  ตัวอย่างถ้าเงินเดือนขึ้น , ผลผลิตต้องเพิ่มตาม  ถ้าเป็นบริษัทมหาชนหรือตลาดหลักทรัพย์ทุกอย่างต้องโปร่งใส ใครก็ได้สามารถตั้งคำถาม สิ่งที่เราต้องทราบคืออาจเกิดการเปลี่ยนแปลงกับกฟผ.เกิดขึ้น แต่เราจะเปลี่ยนในรูปแบบใด
  • ถ้าคิดไม่ได้ ก็จะไม่มีอะไรตามมา ถ้าคิดว่าได้ หมายถึงมีสิ่งที่ตามมา  ดังนั้นเวลาคิดต้องคิดทุกระดับเหมือนกับคนในสังคมของเรา ถ้าเราช่วยกันคิดจะง่ายขึ้น
  1. Creative Thinking คือคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรใหม่ ๆ เป็นลักษณะของการคิดนอกกรอบ

ความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

1.ต้องเอาความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตั้ง

2.ถ้าคิดแบบเดิม ๆ อยู่ ก็จะไม่รอด ต้องหาอะไรที่แปลกใหม่ คือถ้าเราไม่แข่งกับใครสามารถเป็นไปได้หรือไม่ คิดอะไรที่คนยังไม่เคยมี หรือยังไม่ได้คิด

3. The World is flat  ในปัจจุบันโลกมีอยู่ระนาบเดียว ไม่มีความแตกต่างกันในมิติต่าง ๆ เป็นลักษณะของโลกมิติเดียว  การติดต่อธุรกิจแต่ก่อนไม่กว้างและเจริญขนาดนี้ แต่ปัจจุบันการเดินทางและการติดต่อสะดวกขึ้น  ดังนั้นความรวดเร็วมีมากขึ้น มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้รอบโลก ดังนั้นเราต้องหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ  เกิดแนวคิดทฤษฎี Blue Ocean

  • Blue Ocean คือน่านน้ำใส  พื้นที่ในตลาดยังไม่มีการจับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเติบโต และสร้างผลกำไรได้อย่างมากมาย 
  • การเข้าตลาดคนแรก กฎ กติกา มารยาท เรากำหนด คนเข้ามาตลาดรายแรก รวยมาก เหตุผลคือ ลูกค้าไม่มีทางเลือก ไม่มีตัวเปรียบเทียบเกิดขึ้น
  • Blue Ocean มีความจำเป็นอย่างไร  

คนคิดทฤษฎีเป็นคนที่เกิดจากสิงคโปร์แต่ไปอยู่อเมริกา นำทฤษฎีการตลาดมาปรับแล้วเรียกใหม่

  1. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ต้องปรับเปลี่ยน
  2. เรารู้ว่าโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน ไม่ว่าจะเกิดอะไรที่ไหน มีผลกระทบกับเราทั้งสิ้น  ร้านขายหนังสือแข่งกับ E-Book , แข่งกับ Amazon (ลูกค้าสามารถซื้อที่ไหนก็ได้)
  3. สินค้าไม่ค่อยมีความแตกต่างเท่าไหร่ ดังนั้นตัวตัดสินคือราคา แต่ปัจจุบันเริ่มดูมากขึ้นทั้งในเรื่องการจดทะเบียน และภาพลักษณ์

Blue Ocean Strategy

  1. หาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มเดิม  เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแต่ยังไม่มีใครมองเห็น อย่างเช่น กฟผ.สามารถเพิ่ม Product Line เพิ่ม Service ได้หรือไม่ ตัวอย่างกลุ่มลูกค้าของ Dell Computer ไม่ใช่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป ลูกค้าของ Dell คือคนใช้คอมพิวเตอร์มีความรู้ทางด้าน Hardware  สามารถบอก สเป็กได้
  2. Red Ocean เป็นกลุ่มลูกค้าเดิม ตลาดเดิม แต่ Blue Ocean ไปในพื้นทีไม่มีการแข่งขันจะสร้างลูกค้าใหม่เลย

-          Red Ocean คิดวิธีทำอะไรให้ชนะคู่แข่ง แต่ Blue Ocean ไม่สนใจคู่แข่ง

-          Red Ocean ทำตาม Need ลูกค้า แต่ Blue Ocean ไปสร้างความต้องการลูกค้าให้เกิด Need เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่นโทรศัพท์มือถือกลายเป็นทุกอย่างไปแล้ว

-          Red Ocean เดิมสินค้าต้องแลกระหว่างต้นทุนกับคุณค่า แต่ Blue Ocean ทลายกำแพงสิ่งนี้

-          การปรับระดับกิจกรรมต้องมีการปรับแล้วแลกกันระหว่างต้นทุนและความแตกต่าง เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า Value Innovation

-          Red Ocean เน้นกลุ่มลูกค้าเดิม ถ้าเพิ่มคุณภาพจะเพิ่มราคา ลดคุณภาพลดราคา ทำอย่างไรห้ลดส่วนแบ่งลูกค้าได้

-          สร้างให้เกิดความต้องการเกิดขึ้น ทำอย่างไรให้เขามาสนใจเรา

หลักการณ์ 6 อย่าง

  1. กำหนดขอบเขตใหม่  เราต้องไม่ผลิตอย่างเดียว  ตัวอย่าง กฟผ. ผลิต จัดหา พัฒนา  และยังเป็นข้อได้เปรียบธุรกิจอื่น ๆ เนื่องจากเป็นกึ่ง Monopoly อยู่ แต่เป็นการดูในภาพรวม
  2. ให้ CSR เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากเราดูภาพรวมขององค์กร (ได้ผลมากกว่าจุดใดจุดหนึ่ง)
  3. ก้าวข้ามความต้องการที่มีอยู่แล้ว
  4. เอาสิ่งที่คิดเกิดมาเป็นรูปธรรมเกิดขึ้น แล้วมาปฏิบัติให้ได้ อะไรเป็นข้อด้อย เป็นปัญหาภายในองค์กร ต้องสะสางให้ได้เสียก่อน
  5. ต้องหากลยุทธ์ที่นำไปสู่การดำเนินการ เป้าหมายหลัก ๆ คือลดความเสี่ยง มีอะไรบ้าง
  6. หาลูกค้ากลุ่มใหม่ และลดความเสี่ยงในทุก ๆ ด้าน ความเสี่ยงภายในเป็นเรื่องควบคุมได้ แต่ผู้บริหารในองค์กรต้องเปิดใจให้กว้าง

การจัดการกลยุทธ์สิ่งที่ยากที่สุดคือ การทำ SWOT

การวางแผน บริหารความเสี่ยง

นวัตกรรมเชิงคุณค่า

หลัก ๆ คือแสวงหาความแตกต่างและการมีต้นทุนต่ำในเวลาเดียวกัน ดังนั้นสิ่งที่จะทำคือ ลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า

ตัวอย่างการเกิดนวัตกรรมเชิงคุณค่า

  • o CNN  มีข่าว 24 ชั่วโมง
  • o Apple คือทุกอย่างในชีวิต ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์
  • o Fedex เป็นสื่อกลางในการนำอะไรไปส่งอีกที่หนึ่ง
  • o Cirque du Soleied การปฏิวัติธุรกิจละครสัตว์
  • o South West Airline เป็นสายการบิน Budget Airline งบน้อยซื้อตั๋วเร็วหน่อย งบเยอะ ซื้อตั๋วช้าหน่อย
  • o Starbuck  ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่เป็นที่พักผ่อน เล่นอินเตอร์เน็ต ติวหนังสือ ทำกรณีศึกษาสำหรับปริญญาโทเป็นต้น

การเกิดนวัตกรรมเชิงคุณค่า ทำได้จาก

  • Ø -ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องมี
  • Ø -ลดสิ่งที่มากเกินไป
  • Ø -ยกอะไรที่จำเป็นหรืออย่างน้อยให้เท่ากับมาตรฐาน
  • Ø -อะไรที่ไม่เคยมีก็สร้างให้มีเกิดขึ้น สร้างอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีทำหรือนำมาใช้

ตัวอย่างบริษัท Netjets เกิดเป็นธุรกิจใหม่เกิดขึ้นคือจากแนวคิดของเครื่องบินส่วนตัวที่เดินทางสะดวก บวกกับคนอยากมีเครื่องแต่ไม่อยากดูแล ดังนั้น Netjets จึงเอา 2 อย่างมารวมกันคือสามารถซื้อเครื่องบินได้ในสัดส่วน 1/16 ต่อลำ ได้สิทธิ์ในการบิน 50 ครั้ง สามารถบอกล่วงหน้าแค่ 4 ชั่วโมง ทำทุกอย่างเหมือนเครื่องบินส่วนตัว เพียงแต่บอกว่าจะทำอะไร หรือจัดอะไรก็ได้ แต่ไม่สามารถชี้ว่าต้องเป็นลำนี้ ลำนี้เท่านั้น 

ธุรกิจไวน์ Yellow Tail ของออสเตรเลีย

ดูว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้สำเร็จ และกำหนดธุรกิจเหล่านี้ ไวน์ชั้นดีจะราคาสูงมาก  มีธุรกิจเห็นช่องว่างเกิดขึ้น คือมีไวน์คุณภาพใกล้เคียงแต่ราคาถูกกว่า  มีคนอยากดื่มไวน์ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ราคาไม่สูงมาก เกิดธุรกิจไวน์ Yellow tail ที่ออสเตรเลีย คือราคาสูงกว่าไวน์ประหยัดแต่ต่ำกว่าไวน์ชั้นดี มีแต่ไวน์แดง และไวน์ขาว คุณภาพการบ่มมีบ่มแค่ปีเดียวเหมือนกันหมด ชื่อเสียงไร่องุ่นออสเตรเลียมีมาตรฐานอยู่แล้ว  สื่อไวน์เพื่อสร้างความสนุกสนาน และเพื่อความบันเทิง  เป็นกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยดื่มไวน์เลย แต่อยากดื่มไวน์

 

สิ่งที่ทำให้การมองธุรกิจ Blue Ocean สามารถเกิดขึ้นได้คือ ทฤษฎีเกมส์ คือ

ความแพ้ชนะ ความเสี่ยง ทางเลือก

Game Theory Concept

-          Zero sum Game การที่ได้กับได้ เสียกับเสียบางครั้งลูกค้าจะไม่เลือกเลยเพราะเสีย

-          Positive sum Game มีแต่ได้กับได้ เพียงแค่ใครได้มากกว่ากันขึ้นอยู่กับการต่อรอง  ตัวอย่าง กฟผ. มี regulator มาช่วยถ่วงอำนาจ มาในบทบาทของการช่วยเจรจาของลูกค้า ดังนั้นธุรกิจการไฟฟ้ามีความแตกต่างของธุรกิจอื่น ๆ เกือบ เป็น Monopoly

-          Negative Sum Game คือ มีแต่เสียกับเสียไม่ต้องดู

-          Decision Tree เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ  เราต้องสามารถประมาณความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น เป็นการคิดอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น Blue Ocean สามารถเกิดขึ้นได้

 

คำถาม  Blue Ocean ถ้าการเข้าตลาดใหม่ที่ยังไม่มีใครเข้าไปเลย เรามีโอกาสเจ๊งหรือไม่ แล้วต้องมีการทำตลาดหรือไม่

ตอบ  แน่นอนว่า เข้าไปคนแรก ความเสี่ยงสูง มีลักษณะ High Risk  High Return ถ้าสำเร็จจะได้ผลตอบแทนสูง  การพิจารณาขึ้นกับการพิจารณาของการดูตลาด

การสร้าง Blue Ocean ดู Need ดูความต้องการตลาด  หรือไปสร้าง Need หรือความต้องการของตลาด

 

คำถาม การลงทุนตลาดครั้งแรก แต่มีข้อบกพร่องไม่ถูกใจลูกค้าทั้งหมด แต่มีอีกบริษัทหนึ่งจ้องหาโอกาสในการเข้าตลาด ศึกษาตลาดที่ผิดพลาดจากครั้งแรก

ตอบ Second Comer  สามารถสำเร็จได้ จากการที่คนเข้าตลาดเบอร์ 1 พลาด แต่อย่าลืมว่าเขากำหนดกติกาไว้เรียบร้อยแล้ว  แต่มีข้อดีคือไม่เสี่ยงมากเกินไป

 

การบ้าน

ดร.จีระ ฝากการบ้านให้ Present เรื่อง Blue Ocean กลุ่มละ 5 นาที ตอนเช้า

 

 

 

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุป แนวทางการจัดทำรายงานของ EADP 8

กลุ่มที่ 1

ทำเรื่องโรงไฟฟ้าขยะ

  1. โรงไฟฟ้าขยะ ในส่วนเรื่องเชื้อเพลิง ไม่น่าจะหมดสิ้น ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะน่าจะเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด
  2. โรงไฟฟ้าถ่านหิน ถ้าไปที่แหล่งของถ่านหินเลย เช่นที่ต่างประเทศแล้วลากสายเข้ามาในประเทศ

กลุ่มที่ 2

จะทำเรื่อง Energy Campus อยากให้มีมหาวิทยาลัยสร้างคนด้านพลังงานโดยตรง เนื่องจากมีของจริงอยู่แล้ว มี Facility ครบ สามารถทดสอบ และปฏิบัติได้อย่างดี ในการสร้างการทดสอบและทดลองด้านพลังงาน  อาจเสริมในการทำภาคปฏิบัติ สิ่งที่อยากได้นอกจากนั้น คืออยากให้คนอื่นยอมรับ และเรื่องพลังงานไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวทำให้คนมองการไฟฟ้าในแง่บวกมากขึ้น เมื่อคนเข้าใจจะเลิกต่อต้านในอนาคต

ดร.จีระ เสนอให้ไปร่วมทำกับมหาวิทยาลัยดีกว่า

กลุ่มที่ 3

โรงไฟฟ้าชุมชนกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กฟผ.มีงบประมาณ 8,000 กว่าล้านบาท อยากทำโครงการเชื่อมโรงไฟฟ้าจากระบบส่งเข้าไปที่ กฟผ. ในส่วนภูมิภาค

กลุ่มที่ 4

ทำโครงการวิเคราะห์ ด้าน CSR ถึงการแสวงหาผลประโยชน์ของพื้นที่ทับสะแก

พื้นที่ที่ทับสะแกอยู่ที่จังหวัดชุมพร ตั้งใจจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่มีแรงต้านจากชุมชนในพื้นที่ ทิ้งร้างมานาน  ปัจจุบันเป็นพื้นที่มีคนปลูกมะพร้าวกว่า 4,000 ไร่  รายได้ 4 –5 แสนบาทต่อเดือน  แต่ในพ.ร.บ. กฟผ. ไม่สามารถแสวงหาประโยชน์นอกจากพลังงานได้ ดังนั้นจึงอยากหาวิธีสร้างประโยชน์อย่างอื่น โดยไม่ผิดกฎหมาย เหมือน CSR  แต่ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลได้หรือเปล่า

กลุ่มที่ 5

จะทำเรื่องโครงการ CSR กับ โรงไฟฟ้าใหม่  ในส่วนของกฟผ. ไม่สามารถหาพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ได้อีกเลย นโยบายเร่งด่วน คือเรื่อง CSR การสร้างองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคม คือการสร้างพื้นที่ใหม่

ดร.จีระ อยากให้ยกตัวอย่าง โดยอาจเป็นกรณีศึกษาที่ แม่เมาะ

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

Learning Forum & Practice

หัวข้อ      Art & Feeling of Presentation

โดย         อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

25 เมษายน 2555                 

การ Movement  

  • เป็นการใช้สมองซีกที่อยู่ขวามือ
  • สมองซีกขวา กับ Communication
  • Make a move คือการทำให้ร่างกายตื่นตัวก่อนเริ่มกิจการอื่น ๆ
  • การสลับมือแล้วยืดขึ้นข้างบนจะทำให้เกิดการ Balancing ของสมอง

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ Movement

จินตนาการ คือความชอบส่วนตัว ถ้าไม่บอก ก็จะไม่รู้  ใส่ลงไปในความเป็นตัวตนของตนเอง

1.      กิจกรรมการปิ๊งแวบ เป็นลักษณะของการย้ายสมองซีกซ้ายมาสมองซีกขวา เป็นเรื่องของจินตนาการ การแสดงความเป็นศิลปิน

วิธีการ...ให้แต่ละท่านคิดถึงสิ่งที่อยากเป็น หรือฝันอยากเป็น เช่น ตุ๊กตาบาร์บี้ นก ฯลฯ แล้วเขียนสิ่งที่อยากเป็น แปะหน้าอกไว้ที่หน้าอกซ้าย

  1. ทำไมถึงอยากเป็นตัวนี้
  2. คิดท่าสัญลักษณ์ประกอบ

-         แต่งเรียงความ ร้อยเรียงเป็นถ้อยความของตัวเอง

  1. ให้แต่ละท่านมาพูดต่อกัน

โดยให้แต่ละท่านพูดเชื่อมโยงกับสิ่งที่ตัวเองฝันอยากเป็น แล้วพูดเป็นประโยค เรียงร้อยข้อความต่อจากประโยคที่คนก่อนหน้าพูด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. สะท้อนความฝันของแต่ละคน ว่าสิ่งสุดท้ายที่ต้องการคือความเรียบง่าย สบาย ๆ ความสุข
  2. ทำให้รู้ว่าทุกคนมีความฝันแล้วไปกระตุกความคิอความฝันให้มีความสุข
  3. การทำงานไม่มีรูปแบบ
  4. การมีความสุขทำในสิ่งที่ควรจะเป็น
  5. จินตนาการในสิ่งที่ชอบและสิ่งที่อยู่ภายใน มีความสุข สามารถแสดงออกได้อย่างลื่นไหล

สรุป

  1. จินตนาการคิดจาก Dream ,ความฝัน ,จินตนาการ
  2. ถ้าคุณสามารถสร้างฝันได้คุณก็สามารถทำได้
  3. ตัวอย่าง ความสามารถใน Dream ของวอล์ซดิสนีย์ กลายเป็นธุรกิจ
  4. ทำในสิ่งที่รัก และรักในสิ่งที่ทำจะเกิด Passion  Passion + Inspiration = Innovation ตัวอย่างคือ สตีฟ จอบส์  ผลิตสินค้าไม่ได้ขาย Product แต่ขาย Dream ความฝันให้กับทุกคน
  5. เราสร้างการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วยความสุข และความรักในสิ่งที่ทำ  สตาร์บัคส์ขาย กาแฟ ความเท่ห์ การบริการ ขายความเป็นบ้านหลังที่ 3 ขายความเป็น Life style ให้กับทุก ๆ คน

2. กิจกรรมทักษะในการส่งมอบ การนำเสนอ การพูด

  • การเตรียมการก่อนการพูด
  • ทำให้สั้น ย่อ กระชับ ได้ใจความ

ทำ กิจกรรมการนำเสนอตนเอง ใช้ระยะเวลา 1 นาที

แสดงถึง ลักษณะบุคลิก ท่าทางในการนำเสนอ สามารถประเมินได้

เวลาที่ใครอยู่ตรงโซนเวที  ท่านผู้ชมจะทำการเอ็กซเรย์คนพูด

3.      ให้แต่ละกลุ่มเขียนว่าคนที่ยืนอยู่ข้างหน้าเวทีในภาพรวมของ Presenter ในฐานะผู้ชม

-         เห็นอะไร

-         ได้ยินอะไร

-         และรู้สึกอะไรบ้าง

ดร.จีระ บอกว่า Presentation ช่วยให้เราสามารถ Enhance idea, create idea ได้ สามารถช่วยให้งานดีขึ้นได้  End Result คือทำให้คนในห้องนี้มีศักยภาพสูงขึ้น ไป Improve ตนเอง และองค์กร

 

วิธีการทำให้ดูสง่างามและมีพลัง

  1. ให้ความรู้สึกเหมือนนั่ง และยืนด้วยสะดือ
  2. หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
  3. ไอเดียในสมองเราไม่ได้มี 1 ไอเดีย ยิ่งรู้มาก ประสบการณ์มากความคิดกระจัดกระจาย  ไม่รวมศูนย์ รวมตัว หมวดหมู่ ดังนั้น มีสูตรลับของการจัดระบบที่กระจายให้เป็นหมวดหมู่ แล้วยิงเข้าเป้า เรียกว่า สูตร Power of 3

Power of 3  คือ การจัดหมวดหมู่ในการจำ ในการคิด ไม่ให้กระจัดกระจาย

 *** สรุปคือการทำประเด็นง่าย ๆ 3 ประเด็น คือ ปัญหา ทางออก ผลลัพธ์ที่จะได้  แล้วใส่รูปภาพไว้ในใจ ชักเป็นสามเหลี่ยมที่จะพูด

ตัวอย่างสูตร 3 L ในการขายอสังหาริมทรัพย์ คือ location location location

เวลาที่เราวาดภาพ แล้วจะพูดออกมาเป็นภาพ เป็นเสมือนการสร้าง ศิลปะ ศิลปินไว้ในใจ

  1. การใช้ Script   ให้เพิ่มคำ และอารมณ์มากมายทำให้การพูดมีรสชาติ แซบขึ้น

สรุป  

  • ความคิดที่เป็นแผนภูมิ และการทำอย่าง Arts & Feeling เป็นอย่างไร
  • Communication  การสื่อสาร ตั้งแต่เด็ก ๆ จะแสดงออก แต่จากการสอนแต่เด็กทำให้ Communication อยู่ในกรอบ
  • สมอง กับ Communication ถ้าอยู่ในซีกขวาเยอะ ๆ เราจะเร้าใจผู้ชมได้ถึง 93 %

Word กับ Way

  • Word คือสมองซีกซ้าย จะเร้าใจผู้ชมได้ 7 %  ส่วน Way คือสมองซีกขวา จะเร้าใจผู้ชมประมาณ 93%
  • สไลด์ Presentation ควรใช้ภาพเป็นหลัก
  • Happy Workplace ใช้สมองซีกขวา เป็นลักษณะของการสร้างสรรค์ สร้างความน่าอยู่และอยากทำงาน
  • ภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในหนังจะใช้ Way ในการสื่อ ตัวอย่างเช่น Jack & Rose เป็นการสื่อถึงหนัง Titanic เป็นต้น
  • สมองซีกขวาคือ Colorful ให้เอาจิตวิญญาณของน้องอนุบาลใส่เข้าไป
  • ในวงการศึกษา วิชาที่คนไม่ชอบคือฟิสิกส์  แต่มี Dr.Walter Lewin จากอเมริกา สามารถนำฟิสิกส์มายำจนเป็นเรื่องที่ทุกคนอยากเรียน

สรุปคือ  การใช้สมองควรมีทั้งสองซีกคือมีทั้งด้านที่เป็นสาระ เหตุผล และมีการใส่สีสันเพื่อให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

 

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

Learning Forum  หัวข้อ    ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย      คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

            บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

วันที่     25 เมษายน 2555

 

  • ถ้าเราจะนึกถึงผู้นำที่เป็นบุคคลต้นแบบในโลกใบนี้ ผู้บริหารกฟผ.จะนึกถึงใคร

ตอบ

-       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

-       ผู้ว่าฯ กฟผ. คุณเกษม  จาติกวนิช

-       ฯพณฯ พลเอกเปรม

-       ฯลฯ

  • สังคมไทยเป็นสังคมเต็มไปด้วยผู้นำที่สูง และเป็นต้นแบบที่ดีอยู่หลายท่าน
  • ลองทายว่ารางวัลไหนเป็นรางวัลที่คุณดนัย ภูมิใจมากที่สุดในชีวิต

           คำตอบคือ การได้เกิดมาเป็นคนไทยในแผ่นดินรัชกาลที่ 9

  • คนเราอยู่ใกล้เหมือนอยู่ไกล ส่วนใหญ่ตระหนักเมื่อสิ่งนั้นหายไปแล้ว
  • อยากถามว่าเรามีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่เป็นต้นแบบ  แต่ทำไมสังคมไทยจึงเป็นอย่างนี้ สู่ที่มาของหนังสือเล่มนี้ ทำดีที่พ่อทำ

คำตอบคือ เพราะ คนเห็นแก่ตัว  คนในสังคมขาดจริยธรรม คนไทยลืมง่าย คิดถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม

สรุปคือ ประเทศไทยมีต้นแบบแต่ไม่ทำตาม

 

White Ocean Strategy

-       พูดเรื่องการเปลี่ยนแปลง  ตอนนี้เราทุกคนอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

-       อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกใบนี้ 10 องศา อุณหภูมิโลกเปลี่ยนกระทบกับชีวิตทันที

-       โลกของเรา 4,500 ล้านปี มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล อุณหภูมิสูงขึ้นจาก 10 องศาเป็น 15 องศา สิ่งที่เกิดมาไม่เคยเจอเราได้เจอ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำแข็งละลาย การเปลี่ยนแปลงขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ ก๊าซมีเทน ขึ้นอย่างมหาศาล อเมริกาใต้ ภูเขาทั้งลูกเคลื่อน ปากีสถานแต่ก่อนเป็นทะเลทรายตอนนี้เปลี่ยนเป็นน้ำ ฟลอริดาไม่เคยมีหิมะตก ปัจจุบันหิมะตกหนักมาก แม่น้ำโขงแห้งขอด เกิดน้ำท่วมใหญ่ในโลก 500 ปีที่หาดใหญ่ ดินโคลนถล่ม  เกิดสึนามิรุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น

-       มิติทางสังคม การเมือง วิถีชีวิตเปลี่ยน

-       ครั้งสุดท้ายที่ประเทศไทยโดนเผาจนต้องย้ายกรุงคือ ปี พ.ศ. 2310

-       ชาร์ล ดาวินเขียนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ว่าสิ่งมีชีวิตที่ฉลาด และมีสายพันธุ์ที่ดีที่สุดใช่ว่าจะครองโลกไว้ได้  แต่สิ่งที่สามารถปรับตัวได้จนกระทั่งถึงปัจจุบันคือเต่า

อะไรเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดของการเกิดเป็นมนุษย์

  1. สิทธิเสรีภาพในการเลือก (Freedom of Choice)  คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่เราเลือก เองรู้เอง สิ่งใดควรไม่ควร

  ตัวอย่าง Jack Welch มีเคล็ดลับการบริหารงานคือ ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงข้างนอกเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงข้างใน สิ่งที่ตามมาคือจุดจบ

   แต่ก่อน ไทยกับเกาหลีใต้ กับมาเลเซีย  กับสิงคโปร์ ไทยเหนือกว่าทั้งหมด แต่ปัจจุบันประเทศไทยล้าหลังลงมาเรื่อย ๆ เหตุผลคือ คุณภาพคน คุณธรรม จริยธรรม ล้าหลังเรื่อย ๆ

   คำถาม ปี 2555 ไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร  และในปี 2558 ที่เข้า AEC จะเป็นอย่างไร  เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้กับลูกหลานเรา  ปรากฎว่าเด็กเห็นการคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติ  ถ้าเด็กยอมรับการโกง 100 % ประเทศเราจะเหลืออะไร

 ** อย่าปล่อยให้ความดีไม่มีที่อยู่ อย่าปล่อยให้คนดีไม่มีที่ยืน

  • เรามีความเชื่อว่าเด็กทุกคนเป็นเด็กดี  เวที The ambassador จึงเป็นเวทีเดียวที่เด็กทุก ๆ คนเข้ามาได้
  • เด็กไทยเก่ง แต่ไม่มีที่ยืน เพราะไม่มีใครสนับสนุน
  • เรากำลังส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลานของเรา
  • ตัวอย่าง Bill gates   ไม่ได้อยากรวย และเขินที่จะรวย ได้ชักชวน Warren Buffet และมหาเศรษฐีคนอื่น ๆ อีก 50 คน ร่วมบริจาคให้องค์กรการกุศล
  • ต้อง Upgrade คุณสมบัติ และทักษะ  อะไรคือเกณฑ์การแข่งขัน และขีดความสามารถทางการแข่งขันที่องค์กรต้องมี  คำตอบคือ องค์ความรู้  ความเร็วแห่งการเปลี่ยนแปลง  และความเร็วของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น เกณฑ์การแข่งขันในโลกยุคนี้คือ Speed of Trust การแข่งขันยุคนี้แข่งที่ตัวเอง แข่งที่ความไว้วางใจในสังคม สิ่งสำคัญคือคุณธรรม จริยธรรม การรักษาคำพูด  ถ้ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายไม่ไว้วางใจ ต้นทุนทางสังคมจะสูงขนาดไหน  ถ้า Speed of Trust สูง ต้นทุนด้านอื่นจะต่ำ
  • สรุปการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดในวันนี้คือ เปลี่ยนที่ตัวเองก่อน ไม่ใช่ระบบ ใครเป็นบุคคลที่น่าสนใจ ค้นหา คนที่อยากรู้จักคือใคร คำตอบ คือตัวเอง และคนที่ไม่อยากรู้จักคือใคร คำตอบคือ ตัวเอง
  • การใช้สมองซีกขวา อารมณ์ ศิลปะ คุณธรรม จริยธรรม สรุปคือ คำว่าควรอยู่ในสมองซีกขวา และคำว่าต้องอยู่ในสมองซีกซ้าย
  • การทำความซ้ำซากจำเจเปลี่ยนมาเป็นความคิดสร้างสรรค์  ให้ลองสลับมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมด
  • จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จินตนาการคือการรู้  เราจะ Shift จากสมองซีกซ้าย สู่ซีกขวา ทำทุกชีวิตมีชีวา
  • กิจกรรม ให้เขียนชื่อ – นามสกุลตัวเองด้วยมือที่ไม่ถนัด รู้สึกอย่างไร

-       ไม่ถนัด, ควบคุมไม่ได้, ท้าทาย

-       เราทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา สรุปคือเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา คือมีความตั้งใจ มีสติสัมปัชญะ ไม่ใช่มีความเคยชิน

-       สมองซีกซ้ายมีไว้คิด สมองซีกขวามีไว้รู้ ดังนั้นทำอะไรให้รู้สึกตัว เป็นการสร้างพลังและมีความสุข

  • สังคมไทย เป็นสังคมมุฑิตาจิต   ต้องเรียนรู้ที่จะชมคน

กิจกรรม ให้จับคู่ชมกันเองอย่างน้อย 3 ข้อ แล้วถามเวลาหันไปชมเพื่อนเรามีความรู้สึกอย่างไร

-       สังคมที่ชื่นชมยินดี ซึ่งกันและกัน เป็นสังคมมุฑิตาจิตซึ่งกันและกัน  จะมีผลการสั่นสะเทือนที่ดีมาก

-       น้ำของโมเลกุลที่มีความสุข ตกผลึกเป็นคริสตัล ตรงกันข้ามกับอีกสังคมที่ไม่ดี โมเลกุลตกผลึกไม่ได้ รูปร่างไม่ดี

การบ้าน  ลองให้ผู้เข้ารับการอบรมเอาภาพของแต่ละท่านติด เอาไปแช่ตู้เย็น แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ว่ามีรูปร่างอย่างไร

การสร้างคุณค่า และความสุขในตัวเราเอง

เราคือประติมากรรมชิ้นเอก

-       การเกิดขึ้นของตัวเรา ขององค์กรทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น

-       สิ่งที่ทำให้เรามีความสุข เพราะคนอื่น

-       คนส่วนใหญ่มีความทุกข์ เพราะใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น

-       ทุกข์จะเกิดขึ้นทันทีที่เราเปรียบเทียบ

-       หัวใจมีความกล้าหาญในการยอมรับในสิ่งที่เราเป็น ซึ่งบางครั้งเราอาจลืมตัวตนของเราไป

-       ชีวิตธรรมดา ๆ คือชีวิตที่พิเศษที่สุดอยู่แล้ว

ที่สุดแห่งเส้นทางประเสริฐ

  1. การมีกัลยาณมิตรที่ดี เป็นข้อแรกที่คำนึงถึง
  2. การสังเกต  การพิจารณาที่ดี (ทำให้คนต่างกัน)

-       คนที่สังเกตจะรอดในเรื่องต่าง ๆ

กฟผ.ทำ CSR อะไร

ตอบ 1.ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 

แนวทางการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

  1. ให้ทำ ISR คือการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อส่วนรวมให้ไปอยู่ที่จิตสำนึก ขึ้นอยู่กับพลังข้างในที่ปลดปล่อย ISR ให้ได้ ความดีทำทุกวัน ทำทุกลมหายใจแล้วจะเคลื่อนไปได้  การให้เราตระหนักถึงคุณค่าของตัวเอง และไม่ปรามาส  การเปลี่ยนแปลงสังคมต้องใช้คนมุ่งมั่นอย่างแท้จริง
  2. การให้พื้นที่กับเยาวชน
  3. Platform ให้รักในเมืองเขา ประเทศเขา และทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางสังคม
  4. หน้าที่ของคนไทยทุกคนช่วยกันทำให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบของโลกคือ การที่คนไทยมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม CSR

 

ติดตามชม website : www.Thailoveking.com

 

ถึงประธานรุ่น 8 คุณไววิทย์และสมาชิกรุ่น 8 ทุกๆคน

1. ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับ 2 วันที่มีคุณค่า

2. ทำการบ้าน Mindset กันได้ดีมาก

3. บรรยากาศ รดน้ำดำหัวมีคุณค่าสำหรับผมมาก ทีมทุกคนก็มีความอบอุ่น เป็น Step ที่สำคัญมากสำหรับชีวิตพวกเรา

4. ความใฝ่รู้ต้องมีต่อๆไป

5. ช่วยส่ง Blog มาด้วยนะครับว่า 2 วันที่ผ่านมาได้อะไร?

6. อ่าน Time และ Mojo ด้วย

7  อีก 3 ครั้ง ก็จบแล้วคงเหงาน่าดูครับ

มอง HR ในมุมใหม่ แต่มีคุณค่าต่อธุรกิจหรือองค์กรอย่างมาก ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่า 2 ประเด็นใหญ่ๆที่สำคัญก็คือ

-         จุดแรก HR ต้องเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Change เพราะองค์กรอยู่นิ่งไม่ได้ Ulrich เรียกว่า HR เป็น Change Agent ผู้กำหนดการเปลี่ยนแปลง

-         และจุดที่สองก็คือ HR ไม่ได้ทำงานใดๆอีกต่อไป จะต้องมีการทำงานควบคู่กับ Line Manager อื่นๆ จึงเรียกบทบาทใหม่ของ HR ว่าเป็น Strategic Partners พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ซึ่งทำให้วงการ HR ปรับตัวอย่างมาก

 

 

ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันคนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ สาเหตุเป็นเพราะความเชื่อหรือกรอบความคิด (Mindset) ซึ่งมี 2 แนวทาง 1. Fixed Mindset: เป็นความเชื่อที่ว่าคุณสมบัติต่างๆได้ถูกจารึก สลักมาแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของพันธุกรรม 2.Growth Mindset : เป็นความเชื่อที่ว่าคุณสมบัติพื้นฐานเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยการศึกษา การฝึกฝน ประสบการณ์ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเป็นผู้เชี่ยวชาญได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติตายตัวตั้งแต่เริ่มเป็นการทุ่มเทอย่างมีเป้าหมาย ไม่เสมอไปที่คนฉลาดสุดในตอนเริ่มต้นจะเป็นคนฉลาดที่สุดในตอนท้าย ความคิดที่ยอมรับสำหรับตัวเองจะมีผลอย่างไรลึกซึ้งต่อชีวิตในวันข้างหน้าความเชื่อ ความเชื่อที่ว่าคุณสมบัติของคุณถูกจารึกไว้แล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จะนำไปสู่กลุ่มความคิดและการกระทำแบบหนึ่ง ในความเชื่อที่ว่าคุณสมบัติของคุณสามารถผู้คนมากขึ้นมาได้จะก่อให้เกิดกลุ่มความคิดและการกระทำที่แตกต่างกัน อะไรเป็นสามารถทำให้บางคนไม่ยอมเรียนรู้ ทุกคนเกิดมาพร้อมแรงขับที่เข้มข้นต่อการเรียนรู้ ทารกเพิ่มตามสามารถของตัวเองทุกวันไม่ใช่แค่เพียงความสามารถทั่วไป แต่งานที่ยากที่สุดในชีวิตด้วยเช่นการเรียนรู้ที่จะเดินและหยุด เด็กทารกไม่เคยตัดสินว่ามันยากเกินไปหรือไม่คุ้มค่าที่จะทำ ไม่กังวลว่าทำผิดหรือรู้สึกอับอาย พวกเขาเดินหกล้ม ลุกขึ้น และมุ่งไปข้างหน้าอย่างช้าๆ อะไรสามารถที่จะหยุดการเรียนรู้อันเริงร่านี้ คำตอบคือ กรอบความคิดจำกัด (Fixed Mindset) ทันทีที่เด็กสามารถประเมินค่าตัวเองได้ เด็กบางคนก็จะเริ่มกลัวความท้าทาย กลัวตัวเองไม่ฉลาด เด็กจำนวนมากปฏิเสธโอกาสที่จะเรียนรู้ หลายคนมีพื้นฐานทั้ง 2 กรอบความคิด คนเราสามารถมีกรอบความคิดแตกต่างกันในเรื่องที่ต่างไป เช่น อาจคิดว่าความสามารถทางศิลปะมีจำกัด แต่ความฉลาดสามารถพัฒนาได้ หรือสามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้ตามความคิดสร้างสรรค์สามารถพัฒนาได้ กรอบความคิดแบบใดที่มีต่อเรื่องราวหนึ่ง จะเป็นตัวชี้นำต่อเรื่องราวนั้นๆ ประเด็น: คุณสามารถเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของคุณได้ กรอบความคิดเป็นเพียงเรื่องของความเชื่อ เป้นความเชื่อที่มีอำนาจทรงพลัง ซึ่งอยู่ในใจคุณ และคุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้

Fixed mindset ( กรอบความคิดจำกัด) ความเฉลียวฉลาดและความสามารถเป็นสิ่งตายตัวนำไปสู่ความอยากดี อยากเก่ง ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะ... ความท้าทาย หลีกเลี่ยงความท้าทาย อุปสรรค ล้มเลิกความตั้งใจได้ง่าย ความพยายาม มอง ความพยายาม ว่าไม่มีประโยชน์ คำวิจารณ์ ละเลยคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์ ความสำเร็จของผู้อื่น รู้สึกหวาดกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น ผลก็คือ พวกเขาอาจจะก้าวหน้าในช่วงต้นแต่บรรลุผลสำเร็จต่ำกว่าศักยภาพอันเต็มที่

Growth mindset กรอบความคิดเติบโต ความเฉลียวฉลาดและความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ นำไปสู่ความอยากเรียนรู้ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะ... ความท้าทาย ชอบความท้าทาย อุปสรรค ยืนยันที่จะสู้ความพ่ายแพ้ ความพยายาม เห็นความพยายามเป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ คำวิจารณ์ เรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ ความสำเร็จของผู้อื่น พบบทเรียนและแรงดลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น ผลก็คือ บรรลุผลสำเร็จอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ปัญหาที่เป็นอุปสรรค ขัดขวางการเรียนรู้ 1. ไม่รู้ว่าจะเรียนรู้ไปทำไม ไม่มีเป้าหมาย 2. เรียนรู้ไปก็เท่านั้น ไม่เห็นความก้าวหน้าชัดเจน 3. ความสามารถไม่ถึง ไม่สามารถเรียนรู้ได้ ขาดทักษะ ไม่ได้เรียนมาก่อน อายุมากแล้ว 4. แค่นี้ก็พอแล้ว ไม่ต้องการความก้าวหน้า 5. เก่งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ 6. ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ ใช้วิชามารเส้นใหญ่ก้าวหน้าดี 7. รู้มากเดือดร้อน ทำงานมากขึ้น 8. เก่งมากจะต้องถูกย้าย เดือดร้อนครอบครัว 9. ต้องลงทุน ซื้ออุปกรณ์ ตามเทคโนโลยี วิธีการ 1. ทำเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ให้ชัดเจน พร้อมสื่อให้ทุกคนเข้าใจ ชนิดที่ให้ฝังอยู่ในใจผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ 2. ให้มีระบบ Career Path ที่ชัดเจน 3. มีระบบการแข่งขัน อย่างเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับ 4. มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกาใช้ระบบ 5. สร้างความแข็งแรงให้หน่วยงาน พัฒนาบุคลากร วิจัยพัฒนาผลักดันสนับสนุนให้เกิด Innovation 6. ให้มีการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง 7. มีระบบกาแข่งขันสร้างผลงาน 8. สร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ 9. สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจ ต่อองค์กร ต่ออาชีพ ต่อตัวเอง 10. ปลูกฝังทัศนคติเชิงบวก สร้าง Growth Mindset

    วันที่ 28 มีค. 55 เสวนาเรื่อง การจัดการพลังงาน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน พูดเรื่องปัญหาของชุมชนในพื้นที่ คือช้างป่าและไฟป่า และปัญหาอื่น คือ การขาดน้ำ และอาชีพเสริมของชาวบ้าน ดร. จีระได้แนะนำให้เอาประสบการณ์จากที่นี่ไปช่วยสร้างชุมชนในพื้นที่ที่ทำโรงไฟฟ้าใหม่ เพราะประเทศต้องมีความมั่นคงทางพลังงาน  ในอดีต กฟผ.อาจละเลยชุมชน ต่อไปจะละทิ้งชุมชนไม่ได้ ต้องช่วยเหลือชุมชน ซึ่งเห็นได้จากตัวแทนชุมชนได้พูดถึงอดีตที่สร้างเขื่อนว่า ชาวบ้านเสียใจมากในการถูกเวนคืนที่ดิน ต่อมาเมื่อ กฟผ.เข้าไปช่วยเหลือ ก็มีความรู้สึกที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การช่วยเหลือชุมชนและพัฒนาให้ชุมชนพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก
      ในภาคบ่าย เสวนาเรื่อง ชุมชนรู้จริงเรื่องอาเซียนเสรี เรื่องการเตรียมความพร้อมของคนไทย และทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจาก AEC ทั้งเรื่องการศึกษา,การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยคนไทยเองก็มีดีในหลายๆด้าน เช่น service mind ,วัฒนธรรมที่ดีและมีมายาวนาน และชุมชนเองมีความต้องการให้ กฟผ.ช่วยในด้านการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ชุมชน คนไทยเองก็ต้องเตรียมพร้อมในด้านภาษาที่จะสื่อสารมากขึ้น โดยไม่ต้องพูดให้เหมือนเจ้าของภาษาแต่ต้องสื่อสารกันรู้เรื่อง ชอบidea ของอ.ม.ล. ชาญโชติที่จะผลักดันให้ภาษาไทยเป็นภาษากลางของ อาเซียน เพราะมีหลายประเทศที่เข้ามาทำงานในไทย และพูดภาษาไทย และลาวก็สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ถ้าใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางได้คงดีมาก แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ของ AECก็คือการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกทั้ง 10ประเทศ ลดข้อจำกัดต่างๆทางการค้าลง ทำให้ Fair ขึ้น ตลาดใหญ่ขึ้น การค้าขายน่าจะดีขึ้น แต่ทั้งนี้เราคนไทยต้องเตรียมตัวให้ดีเพื่อให้มีโอกาสมากขึ้น
       วันที่ 29 มีค. 55 เรียนรู้เรื่องชุมชนเข้มแข็งที่ชุมชนท่าน้ำชุกโดน จ,กาญจนบุรี ประธานชุมชน คุณบำเพ็ญ รัตนากร ได้แนะนำชุมชนท่าน้ำชุกโดนทั้งประวัติ ความเป็นมา ลักษณะที่ตั้ง จำนวนครัวเรือน ชุมชนนี้ได้ดำเนินการโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่องมา 5 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจาก SCC โครงการละ 100,000 บาท ซึ่งประสบความสำเร็จดีมาก ชุมชนให้ความร่วมมือ 80-90% มีคนต่อต้านบ้างแต่ไม่มาก ได้เรียนรู้ถึงการทำงานให้ชุมชนโดยประธานกับกรรมการซึ่งเป็นคนในพื้นที่ทำให้รู้ปัญหาและได้รับความร่วมมือที่ดี การพัฒนาชุมชนเป็นรูปธรรมดี ชาวบ้านได้รับสิ่งที่ต้องการ คือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เช่นการปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงสู่แม่น้ำ เป็นเรื่องที่ดีมากจริงๆ ถ้าทุกชุมชนทำได้อย่างนี้ แม่น้ำในเมืองไทยคงสะอาดขึ้นเยอะ

24 เม.ย.55 บุคลิคภาพของผู้บริหารยุคใหม่โดย หม่อมราชวงศ์ เบญจา ไกรฤกษ์

 หม่อมราชวงศ์ เบญจา ไกรฤกษ์ได้ให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ในเรื่องมารยาทการเข้าสังคมและการเจรจาธุรกิจได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกพบ  มารยาทในการเข้าร่วมสังคมในวาระต่างๆ  การสนทนา การแนะนำตัว วิธีการรับประทานอาหารแบบตะวันตก
  การเจรจาธุรกิจ
หม่อมราชวงศ์ เบญจา ไกรฤกษ์ ได้นำเสนอแนวทางในการเจรจาที่น่าสนใจเช่น
  -ใช้หลักการเจรจา แบบ Win – Win, แสดงความเป็นมิตรตลอด และหลีกเลี่ยงการขัดแย้ง ใช้ Maybe คือไม่รับ แต่ไม่พูดตรง ๆ
 - คุณสมบัติของนักเจรจา คือ มีความรู้ และมีศิลป์ในการสื่อ การจูงใจโน้มน้าวเก่ง และเป็นนักประนีประนอมที่ดี

๐แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

   ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ได้กล่าวถึงโลกปัจจุบัน มีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี รวมถึงธุรกิจ มีการ แข่งขันสูงโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันหรือเหมือนกันต่างงัดกลยุทธ์ต่างๆมาห่ำหันกันเพื่อชิง ลูกค้า ซึ่งเรียกการแข่งขันแบบนี้ว่า Red Ocean 
แนวคิดใหม่ในการทำธุรกิจทางเลือก ที่หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้บาดเจ็บทั้งสองฝ่ายโดยการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm Shift)ไปสู่แนวคิดของ Blue Ocean  คือสร้างพื้นที่ตลาดใหม่ที่ยังไม่มีใครเข้ามาหรือทำให้คู่แข่งล้าสมัยไปเอง ทำให้ มีโอกาสเจริญเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล ผู้ที่เข้ามาเป็นคนแรกในตลาดใหม่สามารถกำหนดกติกา ไม่มีตัวเปรียบเทียบ ลูกค้าไม่มีทางเลือก  การใช้กรอบ4 ประการ คือ ลด, ขจัด, สร้าง และยกระดับ  สามารถทำให้เกิดทั้งความแตกต่างและต้นทุนต่ำ ทำให้เกิดนวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation)

 25 เม.ย 2555.สุนทรียภาพแห่งการพูดและการนำเสนอ โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล
    อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุลท่านมีความรู้,ทักษะ,ศิลปะในการพูด,การนำเสนอที่ยอดเยี่ยมท่านบรรยายได้อย่างลื่นใหล การ พูดและการนำเสนอที่น่าประทับใจที่เราอยากทำได้คือสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้สาธิตให้เห็นตลอดช่วงเวลาที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อนี้
    อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุลได้ให้หลักการนำเสนอที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ สนุกและฟังไม่เบื่อโดยผู้นำเสนอควรใส่  เนื้อหาสาระเข้าไป ประมาณ 7 %(มาจากสมองซีกซ้าย) อีก 93% เป็นส่วนของน้ำเสียงและภาษากาย (มาจากสมองซีกขวา)

มีการเตรียม Script, การจัดโครงร่างการพูดโดยยึดหลัก Power of 3เพื่อจัดลำดับและระเบียบของเนื้อหาที่จะพูด โดยต้องมีประเด็นปัญหา ทางออก และประโยชน์ที่ได้ การจัดลำดับที่ไม่ดีจะทำให้ผู้ฟังสับสน การนำเสนอโดยใช้รูปภาพจะให้ ผลลัพธ์ ที่ดีกว่าตัวหนังสือ

๐ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

 คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าวถึงต้นแบบของ คุณธรรม จริยธรรมที่ดีสำหรับคนไทย คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่คน ไทยได้แต่ชื่นชม แต่กลับละเลยไม่คิดและปฎิบัติตามต้นแบบนั้น จึงทำให้สังคมเกิดวิกฤตดังเช่นปัจจุบัน
  โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้ง อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง สังคม การเมือง มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในองค์กร หากการเปลี่ยนแปลงจากข้างนอกเร็วกว่าภายในจะทำให้เกิดปัญหาทำให้องค์กรจะอยู่ไม่ได้
  คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าวถึง Speed of Trust ที่เกิดจาก ความไว้วางใจจากสังคม เนื่องมาจากการมีคุณธรรม จริยธรรม การรักษาคำพูด Speed of Trustยิ่งสูง ต้นทุนด้านอื่นก็จะต่ำ
 คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ยังกล่าวถึงหลักทางพระพุทธศาสนา คือ พรหมวิหาร4 ที่ผู้นำควรนำมาปฏิบัติซึ่งเรายังบกพร่องในเรื่อง ของ มุทิตา และอุเบกขา
 คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย กล่าวถึง White Ocean Strategy ซึ่งเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจให้ยั่งยืน ไม่ทำธุรกิจเพื่อมุ่งหวังแต่ผลกำไรจนเกินไป ต้องยึดมั่นความดีงาม รู้จักคืนผลกำไรสู่สังคม โดยเน้นให้มองสังคมในภาพใหญ่ ซึ่งจะเห็นว่าปัจจุบันมีการดำเนินการด้าน CSRกันหลายองค์กร แต่หากสามารถทำ ISR คือการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อส่วนรวมให้ไปอยู่ที่จิตสำนึกของตัวเอง  ความดีทำได้ทุกวันโดยไม่ย่อท้อ ทำทุกลมหายใจ ทำจนให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหนึ่งหยุดการเรียนรู้ คนที่มีพฤติกรรมหยุดการเรียนรู้จะมีลักษณะเข้าข้างตัวเองคิดว่าตัวเองเก่งและดูดีอยู่แล้ว เขามองว่าความเฉลียวฉลาด ,ความรู้,ประสบการณ์ที่เขาได้สะสมมาจนถึงวันนี้เพียงพอแล้ว สำหรับตัวเขาเชื่อว่าเหนือกว่าทุกคน(ในองค์กร)เขาคิดว่าเป็นพรสวรรค์ เขาไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามที่จะเรียนรู้หรือต้องปรับปรุงแก้ไข เขามองข้ามและไม่สนใจคำวิพากวิจารณ์
หากมีข้อผิดพลาดเขาก็จะแก้ตัวโดยการโทษคนอื่นหรือปัจจัยภายนอกอื่น ซึ่งไม่ใช่เกิดจากเขา

แต่เขาลืมไปว่าโลกภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวันโลกไม่ได้หยุดนิ่ง แต่เขาหยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆหากเขาเป็นผู้นำองค์กร เชื่อได้ว่าความสามารถในแข่งขันในระยะยาวขององค์กรน่าจะมีปัญหา

ส่วนคนที่มีพฤติกรรมพร้อมจะเรียนรู้ จะเป็นคนที่คิดไปในทางบวก มองโลกในแง่ดี เป็นพวกทีมี Personality Mindsetและรู้ตัวเองว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็งอะไรเขาจะพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขโดยการเรียนรู้ ฝึกฝน รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และมีความเชื่อที่ว่าการฝึกฝน,อบรม,เพิ่มความใส่ใจ,การทุ่มเทอย่างมีเป้าหมายสามารถพัฒนาความฉลาดหรือบุคลิคภาพได้

ทำอย่างไร จึงจะเปลี่ยนMindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ก่อนอื่นต้องมาค้นหาก่อนว่าคน กฟผ.มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindsetหรือไม่? หากเป็นเช่นนี้จริงมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนี้?จากเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านหนังสือMindsetในบทที่5 Business:Mindset And Leadership มีตัวอย่างของ CEO ที่เป็นแบบอย่างด้าน Growth Mindsetหลายท่าน ในส่วนของ กฟผ.คงต้องนำมาพิจารณา และผมเห็นว่าคงต้องเริ่มจากบนลงล่าง การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์และค้นหาจุดอ่อนจริงๆของเราอย่างตรงไปตรงมา และแสดงออกอย่างมุ่งมั่นที่จะปรับปรุง สร้างให้คนกฟผ.เกิดแรงบันดาลใจ พร้อมกับสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพยายามและทุ่มเท

นรชัย หลิมศิโรรัตน์

Self Study & Assignment (2) วันที่ 30 มี.ค. – 23 เม.ย. 55 อ่านหนังสือ Mindset 1. ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดเรียนรู้

           ในโลกนี้แบ่งคนเป็นสองจำพวก คือ พวกที่เรียนรู้และพวกที่ไม่ยอมเรียนรู้ คนที่ไม่ยอมเรียนรู้เป็นคนที่มีกรอบความคิดจำกัด (Fixed Mindset) เป็นคนที่มีความเชื่อว่าคุณสมบัติของคนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือพรสวรรค์ ไม่สามารถพัฒนาได้ ตรงกันข้ามกับคนที่เรียนรู้ คนพวกนี้เป็นคนที่มีกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) เชื่อว่าคุณสมบัติของคนเรา เช่นสติปัญญา เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยพัฒนาจากการเรียนรู้ จากความเพียรพยายาม และประสบการณ์

  1. ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ วิธีเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT
  2. ผู้บริหารกำหนดเรื่องการสร้าง Learning Organization (LO) เป็นนโยบายในองค์กรอย่างชัดเจน และ มุ่งมั่น
  3. สร้าง Motivation and Inspiration ให้เกิดในคนทุกระดับขององค์กร กระตุ้นให้เกิด LO
  4. กำหนดระบบการวัดผล ตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดได้ ในทุกระดับของคนในองค์กรในการทำ LO
นรชัย หลิมศิโรรัตน์

Self Study & Assignment (2) วันที่ 30 มี.ค. – 23 เม.ย. 55  อ่านหนังสือ Mindset

  1. ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดเรียนรู้

               ในโลกนี้แบ่งคนเป็นสองจำพวก คือ พวกที่เรียนรู้และพวกที่ไม่ยอมเรียนรู้ คนที่ไม่ยอมเรียนรู้เป็นคนที่มีกรอบความคิดจำกัด (Fixed Mindset) เป็นคนที่มีความเชื่อว่าคุณสมบัติของคนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือพรสวรรค์ ไม่สามารถพัฒนาได้ ตรงกันข้ามกับคนที่เรียนรู้ คนพวกนี้เป็นคนที่มีกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) เชื่อว่าคุณสมบัติของคนเรา เช่นสติปัญญา เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยพัฒนาจากการเรียนรู้ จากความเพียรพยายาม และประสบการณ์

  1. ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

วิธีเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT

-                    ผู้บริหารกำหนดเรื่องการสร้าง Learning Organization (LO) เป็นนโยบายในองค์กรอย่างชัดเจน และ มุ่งมั่น

-                    สร้าง Motivation and Inspiration ให้เกิดในคนทุกระดับขององค์กร กระตุ้นให้เกิด LO

-                    กำหนดระบบการวัดผล ตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดได้ ในทุกระดับของคนในองค์กรในการทำ LO

Mindset

  1. ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมจะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้
         คนในโลกมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เพราะมีกรอบความคิด (Mindset) ที่แตกต่างกัน ซึ่งกรอบความคิดนี้จะชี้นำชีวิตของคน กรอบความคิดมี 2 ชนิด คือ กรอบความคิดจำกัด (Fixed Mindset) และ กรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset)  
      คนที่พร้อมจะเรียนรู้เพราะมีกรอบความคิดเติบโต   มีแนวคิดว่า ความเฉลียวฉลาด และความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ไม่ใช่พรสวรรค์แต่แรกเริ่ม นำไปสู่ความอยากเรียนรู้ จึงมีแนวโน้มที่จะชอบความท้าทาย ยืนหยัดที่จะสู้กับความพ่ายแพ้ เห็นความพยายามเป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้ เรียนรู้จากคำวิจารณ์ ค้นพบบทเรียนและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น  เชื่อว่าความสำเร็จเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ทำให้คนที่มีกรอบความคิดเติบโตพร้อมจะเรียนรู้ ไม่ท้อแท้กับความล้มเหลว ไม่คิดว่าตัวเองกำลังล้มเหลว คิดว่ากำลังเรียนรู้ ผลก็คือ บรรลุความสำเร็จอย่างมาก
     คนที่หยุดการเรียนรู้เพราะมีกรอบความคิดจำกัด มีแนวคิดว่า ความเฉลียวฉลาด และความสามารถเป็นสิ่งตายตัว ไม่สามารถสร้างได้ จึงนำไปสู่ความอยากดูดี เก่ง จึงมีแนวโน้มที่จะ หลีกเลี่ยงความท้าทาย กลัวตนเองไม่ฉลาด ไม่ต้องการเผยข้อบกพร่องของตน จะสนใจต่อเมื่อตนทำได้ดี  มีแนวคิดว่าการประเมินผลครั้งเดียววัดผลตนเองไปได้ตลอดกาล ล้มเลิกความตั้งใจได้ง่าย มองความพยายามว่าไม่มีประโยชน์ ชอบความสำเร็จที่ไม่ต้องพยายาม ละเลยคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์  รู้สึกหวาดกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น ทำให้คนที่มีกรอบความคิดจำกัดหยุดเรียนรู้ ผลก็คือ จะก้าวหน้าในช่วงต้น แต่บรรลุผลสำเร็จต่ำกว่าศักยภาพเต็มที่ของตนเอง    
    
    

    แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของเราได้

  2. ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคนใน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์
            ต้องทำให้คนใน EGAT เปลี่ยน Mindset ไปเป็นแบบ Growth Mindset หรือกรอบแนวคิดเติบโต ซึ่งเชื่อว่า ความเฉลียวฉลาดหรือความสามารถเป็นสิ่งที่พัฒนาได้  โดยเริ่มที่ผู้บริหารทุกระดับต้องมี Growth Mindset เชื่อในศักยภาพและการพัฒนาคนทั้งของตนเองและคนอื่น รับฟังลูกน้อง เป็นผู้แนะนำ ไม่ใช่ตัดสิน สร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ อย่ากังวลกับการตัดสินและวิพากษ์วิจารณ์ มีการอบรมเพื่อเปลี่ยน Mindset ของพนักงาน ให้เกิดการเรียนรู้ ให้โอกาสทุกคนในการพัฒนาตนเอง เก็บเกี่ยวความรู้จากการอบรม อย่าตัดสินประเมินพนักงานเพียงครั้งเดียว ดูการปรับปรุงตนของพนักงาน  และต้องมีการpromotion ให้ความก้าวหน้าในอาชีพ (carrier path),ผลตอบแทน สำหรับพนักงานที่มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง มีระบบการจัดการความรู้ที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้ง่าย และใช้ประโยชน์ได้ ทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คนแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งต้องสื่อสารให้พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์ และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากวิสัยทัศน์ ทั้งในแง่ขององค์กร และต่อพนักงานเอง เพื่อให้พนักงานพร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์
    
                                                                         ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง
    
    

การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน

 

จากการที่ได้ไปอบรมผู้นำแห่งทศวรรษใหม่กับกิจกรรม CSR ที่เขื่อนท่าทุ่งนาระหว่าง 27 - 29 มี.ค 55 โดยมีการจัดให้ร่วมเสวนากับผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนทั้งที่ชุมชนช่องสะเดาและชุมชนท่าน้ำชุกโดน ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและได้รับประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากการอบรมในหลักสูตรไหนๆอีก เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความประสงค์ของอาจารย์ที่ต้องการให้ผู้ที่จะเป็นผู้นำในอนาคตต้องศึกษา เข้าใจ เรียนรู้และใกล้ชิดกับชุมชนให้มาก เพราะการที่จะได้ใจจากชุมชนเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายและช่วยสนับสนุนกิจการที่ กฟผ.จะต้องทำต่อไปโดยมีอุปสรรคลดน้อยลง ไม่มีการต่อต้านที่ไม่มีเหตุผลนั้น ก็ต้องเป็นพันธมิตรกับชุมชนให้มากที่สุด สร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้กับชุมชนโดยใช้ความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้งแล้วให้ชุมชนช่วยกันทำ ร่วมกันพัฒนาโดยเราช่วยสนับสนุนในส่วนอื่นๆที่จะนำพาให้โครงการนั้นๆสำเร็จได้จริงและอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. ต่อไปเพราะชุนชนเหล่านั้นจะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้ กฟผ.ในภารกิจและความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการต่อไปในอนาคต

 

Mindsets

 

จากที่ได้อ่านหนังสือ Mindsets พอสรุปได้ว่า

ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้ เพราะว่าคนแต่ละคน

  1. มีวิธีคิดที่แตกต่างกัน
  2. มีการกระทำต่างกัน
  3. มาจากครอบครัว ภูมิหลังและสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
  4. มีประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาแตกต่างกัน
  5. อยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน
  6. มีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ต่างกัน
  7. มีแรงบันดาลใจต่างกัน
  8. มีอุปนิสัยใจคอ บุคลิกที่ฝังอยู่ใต้จิตสำนึกต่างกัน
  9. มีกรอบความคิดที่แตกต่างกัน เช่นกลัวความล้มเหลว  กลัวการไม่ยอบรับว่าเป็นคนเก่ง

คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ เพราะเขามีกรอบความคิดแบบ growth Mindset เขามีความเชื่อว่าความสามารถ ความเก่ง สามารถพัฒนาได้ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเป็นการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ไม่กลัวความล้มเหลว กล้าที่จะเผชิญความเป็นจริง ความสำเร็จเป็นเรื่องของการเรียนรู้ รู้จักไข่วคว้าฉวยโอกาสนั้นไว้

ส่วนคนที่หยุดการเรียนรู้ เพราะเขามีกรอบความคิดแบบ fixed Mindset ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นคนที่ไม่ยอมเรียนรู้  เขามีความเชื่อว่าคนฉลาดควรจะประสบผลสำเร็จทุกครั้ง  ต้องมั่นใจว่าตัวเองทำได้ถ้าไม่มั่นใจจะไม่ทำ  คนมีความฉลาดอยู่ในระดับหนึ่งและไม่สามารถทำอะไรเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้  ไม่ต้องการจะเปิดเผยข้อบกพร่องของตน

ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน  Mindset  ของคน กฟผ. ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

ผมมีความเห็นว่าต้องมีการอบรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมยกตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากกรอบความคิดแบบ growth Mindset และผู้ที่ประสบความล้มเหลวจากกรอบความคิดแบบ fixed Mindset มากๆ นั่นคือต้องพยายามเปลี่ยนกรอบความคิดแบบ fixed Mindset ให้เป็นกรอบความคิดแบบ growth Mindset ให้ได้

 

งานวันที่ ๒๗-๒๘-๒๙ มี.ค. ครับ วันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๕๕    สิ่งที่ได้รับ         ๑.) เปรียบเทียบการบริหารจัดการเรื่องคน ระหว่าง ปูนซิเมนต์กับ กฟผ. ปูนฯ ร่วมกับ ญี่ปุ่น เน้นการพัฒนา คน ส่วนของ กฟผ.เรา ยังไม่ชัดเจน            จริงไหม? น่าจะจริง เพราะการพัฒนาคน ไม่ได้มุ่งเน้นตั้งแต่การรับ (ถึงแม้ปัจจุบันจะเริ่มมีบ้างแล้วก็ตาม) อีกทั้งการสร้าง Carrier Path&Sucession Plan ไม่ชัดเจน        ๒.) ในองค์กร กฟผ. ดูเหมือนยังไม่ให้เกียรติผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับชั้น อาจจะทำให้การพัฒนางาน คน ไม่ยอมรับกัน        ๓.) ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ถ้าทำให้ยั่งยืน และเห็นผลแบบ Win-Win ต้องทำ Brand EGAT ให้ได้ (ทำแบบดาวกระจาย มีบ้าง แต่อย่าเป็นวิธีการหลัก)        ๔.) กฟผ. ยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่อง นโยบายการรับมือ AEC        ๕.) จากรองผู้ว่าฯ เมืองกาญจนบุรี มีลักษณะภูมิประเทศ ๓ แบบ คือ โซนเกษตร / โซนเศรษฐกิจ / โซนแห้งแล้ง น่าจะบริหารจัดการยาก และแถมด้วยค่าแรงต่างด้าวถูกกว่ากันมากๆ ด้วย ปัญหาปัจจุบันที่ได้รับรู้มีอยู่ ๒ ประเด็น คือ เขื่อนฯ จะแตกไหม (๕.๖ ริกเตอร์ยังสามารถทนได้ ไว้ใจได้) ช้างป่ามีมากถึง ๒๐๐ ตัว (กั้นแนวไว้แต่ยังไม่ได้ผล ๑๐๐%)                    คำคมจากรองผู้ว่าฯ เมืองกาญฯ "เติมเต็มในสิ่งที่ขาด  ไม่ใช่ไปสร้างแต่สิ่งใหม่ๆ ที่เขาไม่ต้องการ"         ๖.) การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อชุมชน ; พลังงาน, สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของชุมชนทั้งสิ้น ฉะนั้น ทำอะไรในเรื่องพลังงาน และสิ่งแวดล้อม ต้องให้ชุมชนรับรู้ รับทราบ แต่กลุ่มที่ต่อต้านก็มี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการผลประโยชน์  และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจริงๆ การสื่อสารให้รับรู้ จึงต้องใช้วิธี การเข้าถึง คือ แบบ Face to Face วันที่ ๒๘ มี.ค. ๒๕๕๕    สิ่งที่ได้รับ         ๑.) ผญบ. วสันต์ สุนจิรัตน์ บ้านช่องสะเดา (มี ๖๖ ครัวเรือน) ปลามาเลี้ยงแบบยั่งยืน และสอนให้เรียนรู้ ทำป่าให้สมบูรณ์โดยร่วมกันทำฝาย    EADP#8 ได้ร่วมเปิดศักราชแรก โดยสนับสนุนโครงการของชุมชน "เกษตรไข่ไก่" ให้คุณสุเมธฯ ช่วยจัดซื้อไก่ให้ ผญบ.วสันต์ และจะติดตามดูผลความก้าวหน้าต่อไป        ๓.) ในส่วนของ AEC คนไทยต้องเอาจุดเด่นในความเป็นไทย มาสร้างเป็น Brand Story และต้องเพิ่มราคาโดยขายตัวสินค้าพร้อมบริการ                  กฟผ. สามารถสนับสนุนในเรื่องการศึกษาได้ โดยตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ให้กับชุมชนได้ วันที่ ๒๙ มี.ค. ๒๕๕๕    สิ่งที่ได้รับ         ๑.) ชุมชนท่าน้ำชุกโดน (มี ๒๑๐ ครัวเรือน) : ประธานชุมชน คือคุณบำเพ็ญฯ เป็นพนักงาน SCG ได้เสนอโครงการฯ ของบจาก SCG (SCG มีโครงการปันโอกาส วาดอนาคต)         ๒.) เริ่มโครงการตั้งแต่ ทำถังดักไขมัน  ขยายผลทำแก๊ส ฯลฯ ซึ่งทำด้วยความเต็มใจ สร้างความภูมิใจให้คณะ และสร้างภูมิทัศน์ให้ชุมชน เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น                ขั้นตอนการดำเนินงาน ; ต้องทำโครงการ --> ไปนำเสนอของบ --> ซื้อของจากร้าน SCG --> ถ้าเกินงบต้องออกเงินเอง --> รายงานต่อโครงการ --> มาทำเองโดยถ้าเป็นวันทำงาน ต้องลามา                ความสำเร็จของโครงการชุมชนท่าน้ำชุกโดน : ๑๐๐% ปัจจุบันมีการไปดูงานเป็นประจำ และจะออกสื่อเป็นตัวแทนของ SCG  นายไววิทย์  สุขมากผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ-ปฏิบัติการ (ช.อปน-ป.)โทร. ๐๔-๗๔๑-๕๑๐๑, ๗๐-๖๘๘๔๑Office ๐-๕๕๒๑-๕๙๙๗  มือถือ ๐๘-๙๒๐๐-๑๔๗๓โทรสาร ๐๔-๗๔๑-๕๑๙๐

 

 

 

24 เม.ย.55 -บุคลิกภาพของผู้บริหารยุคใหม่โดย หม่อมราชวงศ์ เบญจภา ไกรฤกษ์

ท่านได้ถ่ายทอดประสพการณ์ธรรมเนียมปฏิบัติ ความรู้การเข้าสังคมในวงการทูต โดยเน้นในมารยาทการเข้าสังคมในโอกาสต่างๆ

การแต่งกายต้องเหมาะกับกาลเทศะ การมีบุคลิกภาพที่ดี จะสร้างความประทับใจกับผู้พบเห็น

 การเจรจาธุรกิจต้องเป็นนักต่อรองที่ดี ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต้องเป็นแบบ win-win คือได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งการจะไปสู่จุดนั้นได้

จะต้องมีทักษะในการเจรจา มีความรอบรู้ มีกลยุทธ์

 จากความรู้ดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันหรือการปฏิบัติงานได้
            -แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์
 ท่านได้กล่าวถึงสภาพธุรกิจในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง และความเจริญทางด้านเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกดูแคบลง การที่เราจะมีจุดยืนอยู่ได้ต้องหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่มีสภาพแบบ Red Ocean คือสภาพที่จะทำให้ทุกฝ่ายเสียหาย โดยให้ยึดแนวคิดแบบ Blue Ocean ที่จะทำให้อยู่รอดได้ คือต้องหาตลาดใหม่ที่ไม่มีผู้จับจอง เราเข้าเป็นเจ้าแรกจึงไม่มีการแข่งขันที่รุนแรง คิดหานวัตกรรมใหม่ที่เขาไม่มีซึ่งลูกค้าต้องการ
25 เม.ย.55 - สุนทรียภาพแห่งการพูดและการนำเสนอ โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล
  อาจารย์ได้ถ่ยทอดศิลปการพูด การนำเสนอ และเทคนิคต่าง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ โดยการทำงานของสมองซีกซ้าย และซีกขวาที่ต่างกันควรมีการฝึกฝน สำหรับเทคนิคการนำเสนอจะใช้สมองซีกขวาเป็นหลักเพราะจะเด่นในด้าน การสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างความเร้าใจ ให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจ แต่สมองซีกซ้ายจะเน้นเรื่องความรู้
   วิธีการเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอให้ใช้หลัก Power of 3 เพื่อครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นปัญหา ทางออก และประโยชน์ที่ได้รับ หากไม่ใช้หลักนี้จะหลงประเด็น จัดลำดับเหตุการณ์ไม่ถูก
               - ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย
    ท่านได้กล่าวถึงบุคคลต้นแบบที่ชาวไทยควรยึดถือเป็นแบบอย่าง ได้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9

ที่ทรงงานเพื่อราษฏรอย่างหนักตลอดพระชนม์ชีพ แต่คนไทยละเลยในการปฏิบัติตาม ลืมพระคูณท่าน มีผลสภาพสังคม การเมืองแตกแยก ขาดความสามัคคี ขาดจริยธรรม ประเทศพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่นๆที่เคยอยู่ในระดับเดียวกัน สำหรับแนวคิดเพื่อการดำรงชีวิตควรภูมิใจในการเป็นตัวตนของเรา ทำตัวให้มีคุณค่า คบเพื่อนที่ดี รู้จักชมคนเมื่อเขาทำดี

   ส่วนการดำเนินธุรกิจควรยึดแนว White Ocean Strategy ซึ่งเป็นแนวธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่มุ่งเน้นผลกำไร รู้จักคืนกำไรให้สังคม ยึดมั่นในจริยธรรม

การบ้าน 1

วันที่ 24  เม.ย 55

บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ (2)

มารยาทการเข้าสังคมและการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความประทับใจ

ได้ทราบถึงมารยาทการเข้าสังคม โดยการปฏิบัติตนเพื่อการเข้าสังคมต้องสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ ซึ่งมีสิ่งที่ต้องคำนึงคือ การแต่งกาย กริยาท่าทาง ความสะอาดเรียบร้อยและสุขอนามัย การพูด และจิตใจ

- การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ ในเรื่องการนั่ง  การยืน การเดิน

- การไปงานศพ ควรไปก่อนเวลา กราบพระให้ถอดรองเท้า จุดธูปเคารพศพ 1 ดอก ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้วายชนม์ ตั้งใจรับพรจากพระ ลาศพและเจ้าภาพก่อนกลับ การแต่งกายควรแต่งชุดดำล้วน ผู้ชายควรผูกเน็กไทสีดำ

- การเดินถนน ควรเดินตัวตรง เดินทางซ้ายของสุภาพสตรี หลีกทางเมื่อเดินสวนหรือเดินนำหน้าผู้อาวุโส ผู้พิการ

- มารยาทในการสนทนา ควรฟังมากกว่าพูด คุยเรื่องที่มีสาระและมีความรื่นรมย์ สร้างอารมณ์ขันอย่างสุภาพ และละเว้นการสนทนาที่กระทบกระเทือนจิตใจผู้ฟัง

- การเจรจาธุรกิจ ต้องใช้กลยุทธ์และทักษะของตนเองมาก  มีลักษณะของการใช้สามัญสำนึกและการต่อรองที่ดี การเจรจาต้องขึ้นอยู่กับความพอใจทั้ง 2 ฝ่าย

- คุณสมบัติของนักเจรจาคือ ต้องมีบุคลิกภาพดี  มีความรู้มากและมีศิลป์ในการสื่อ จูงใจโน้มน้าวเก่งและเป็นนักประนีประนอมที่ดี

 

แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

- Blue Ocean (น่านน้ำสีคราม) คือพื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีการจับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล

- การคิดนอกกรอบเพื่อที่จะหา Blue Ocean ให้องค์กรได้จะต้องมี Positive Thinking ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด เป็นการคิดเชิงบวก คิดว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ และเป็นฐานของ Creative Thinking

- Blue Ocean Strategy  เป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย โดยองค์ที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะไม่สนใจต่อการแข่งขันหรือตัวคู่แข่งเท่าใด เรียกได้ว่าจะไม่เข้าไปแข่งขันในตลาดเดิมๆ แต่พยายามสร้างตลาดหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆที่ยังไม่มีใครสร้างหรืดเข้าไป

- 6 Principles of Blue Ocean Strategy

หลักการสร้าง ( Formulation Principles )

  1. กำหนดขอบเขตตลาดใหม่
  2. มุ่งเน้นที่ภาพรวมใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะตัวเลข
  3. ก้าวพ้นความต้องการที่มีอยู่แล้ว
  4. การดำเนินการตามขั้นตอนเชองกลยุทธ์ให้ถูกต้อง

หลักการปฏิบัติ ( Execution Principles )

  1. เอาชนะอุปสรรคหลักๆในองค์กร
  2. นำกลยุทธ์สู่การดำเนินการ

- Value Innovation ( นวัตกรรมเชิงคุณค่า ) เป็นการแสวงหาความต่างและการมีต้นทุนต่ำในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นหัวใจของ Blue Ocean

 

วันที่ 25  เม.ย 55

Art & Feeling of Presentation

- การ Movement เป็นการใช้สมองซีกขวา  การ Make a move คือการทำให้ร่างกายตื่นตัวก่อนเริ่มกิจกรรมอื่นๆ

- การมีความฝันทำให้เกิดจินตนาการ ทำในสิ่งที่รักและรักในสิ่งที่ทำจะเกิด Passion

                             Passion + Inspiration  = Innovation

-การนำเสนอต้องพยายามยิงเข้าเป้า โดยใช้ Power of 3 ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่ในการจำ ในการคิดไม่ให้กระจัดกระจาย โดยสร้างภาพเป็นรูป 3 เหลี่ยม ที่แต่ละมุมจะเป็นหัวข้อประเด็น คือ ปัญหา ทางออก และประโยชน์หรือผลลัพธ์ที่จะได้

- สมองด้านขวาคือท่าทาง รูปภาพ จะเร้าใจผู้ฟัง 97 %

- สมองด้านซ้ายคือคำพูด จะเร้าใจผู้ฟัง   3 %

 

 

ผู้นำกับการสร้างทุนจริยธรรมในองค์กร

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นต้นแบบผู้นำ แต่คนไทยทำไมถึงไม่ทำตาม เพราะคนเห็นแก่ตัว คนในสังคมขาดจริยธรรม ลืมง่าย คิดถึงประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม

- สิทธิที่สำคัญที่สุดของการเกิดเป็นมนุษย์ คือสิทธิเสรีภาพในการเลือก คุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่เราเลือกเองรู้เอง สิ่งใดควร ไม่ควร

- อย่าปล่อยให้ความดีไม่มีที่อยู่ อย่าปล่อยให้คนดีไม่มีที่ยืน

- เราทุกคนเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองซีกขวา คือมีความตั้งใจ มีสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่ความเคยชิน

- สมองซีกซ้ายมีไว้คิด สมองซีกขวามีไว้รู้ ทำอะไรให้รู้สึกตัว เป็นการสร้างพลังและมีความสุข

- สังคมไทยเป็นสังคมมุฑิตาจิต ต้องเรียนรู้ที่จะชมคน

- การสร้างคุณค่าและความสุขในตัวเราเอง เพราะเราคือประติมากรรมชิ้นเอก มีหนึ่งเดียวในโลก เราต้องไม่ใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น ทุกข์จะเกิดทันทีที่เราเปรียบเทียบ  ต้องมีความกล้าหาญในการยอมรับในสิ่งที่เราเป็น

- แนวทางการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากกฟผ. ทำ CSR แล้ว ให้ทำ ISR ( Individual Social Responsibility )  ด้วย

- หน้าที่ของคนไทยทุกคนต้องช่วยทำให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบของโลก คือ การที่คนไทยมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม

 

การบ้าน 2 : การอ่านนิตยสาร Time

การประกาศรายชื่อ 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกของนิตยสารไทม์ จัดมาเป็นครั้งที่ 9 แล้วซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 ประเภท คือ

  1. ผู้มีอิทธิพลดาวรุ่ง ( Breakouts )
  2. ผู้คิดริเริ่มสร้างสรร ( Pioneers )
  3. ผู้มีอำนาจ ( Moguls )
  4. ผู้นำ ( Leaders )
  5. ผู้มีชื่อเสียงที่เป็นสัญญลักษณ์ ( Icons )

บุคคลที่ชื่นชอบ

1. Jeremy Lin  นักบาสเก็ตบอล NBA เชื้อสายจีน เขาเป็นนักกีฬาอาชีพระดับ world-class เมื่ออยู่ในสนาม เขาเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยม เขาเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ อดทน มีวินัยและมีคุณธรรม จริยธรรม

2. Novak Djokovic  นักเทนนิสชาวเซอร์เบีย เมื่อปี 2007 ยอโควิช อยู่อันดับ 3 ของโลก และเมื่อปี 2011 เขาเพิ่มการฝึกเรื่องการตีที่เส้น Base line เขาขึ้นมาเป็นมือ 1 ของโลกโดยได้แชมป์ Australian Open , Wimbledon,  U.S. Open และเมื่อต้นปี 2012 เขาชนะนาดาลใน Australian Open ใน 5 เซ็ท ใช้เวลาเกือบ 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อมอย่างหนักของเขา

3. ประธานาธิบดี U Thein Sein ( เต็งเส่ง )  เป็นประธานาธิบดีของพม่า อายุ 67 ปี ที่ได้พิสูจน์ตัวเขาเองว่าเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยที่ไม่น่าเป็นไปได้มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เขาพยายามขับเคลื่อนรัฐบาลประชาธิปไตยไปข้างหน้า ปรับปรุงเศรษฐกิจที่ล้าหลังที่สุดในโลกใหม่และการเจรจายุติความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในขณะที่ประเทศยังถูก Sanctions อยู่ หากประสบความสำร็จมันจะเป็นรูปแบบสำหรับการเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตยอย่างสันติ

4. Lionel Messi นักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อายุ 24 ปี ชาวอาเจนตินา เป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นพิเศษและถ่อมตนอย่างเหลือเชื่อ เขาเล่นอยู่กับสโมสรบาเซโลน่าในสเปน มีความสูงแค่ 170 ซม. เป็นคนง่ายๆธรรมดาคนหนึ่ง เขารักการฝึกฝน เขาเล่นเพราะเขารักกีฬาฟุตบอลและเขาจะแสดงออกมาทุกครั้งที่ลงสนาม

5. Manal Al-Sharif  สตรีชาวซาอุดิอารเบีย อายุ 32 ปี ลูก 2 คน หย่ากับสามีแล้ว ( ในประเทศซาอุฯ ห้ามผู้หญิงขับรถ ) ตัดสินใจ Post ภาพวีดิโอขณะขับรถของเธอบน Youtube เธอมีแรงบันดาลใจที่จะเคลื่อนไหวแม้ว่าจะถูกจำคุกเป็นเวลา 9 วัน และทำให้อับอายโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน  มีการรณรงค์การขัดขืนอย่างลับๆสนับสนุนให้ผู้หญิงขับรถไปร้านค้า คลีนิกหมอ หรือโรงเรียนของลูกๆได้  ในประเทศซาอุฯ ผู้หญิงจะต้องไว้ใจในสามี คุณพ่อและคนขับรถที่จ้างเพื่อที่จะไปยังที่ต่างๆ พวกเขามีความฝันอันยาวนานในสิทธิพิเศษนี้ ผู้หญิงที่ขับรถคนอื่นๆเคยติดคุกและบางคนถูกโบย แต่เพราะเธอ Al-Sharif  ผู้หญิงซาอุฯกำลังเริ่มต้นที่จะได้เข้ามาเป็นผู้ขับรถเองได้

 

การบ้าน 3 : สิ่งที่สรุปได้จากการอ่านหนังสือ MOJO

- MOJO ความหมายดั้งเดิมเป็นเรื่องของความเชื่อในพลังที่เหนือธรรมชาติของเวทมนตร์วูดู ( voodoo charm )ในแอฟริกา ซึ่งทำให้คนมีพลังพิเศษที่จะทำสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางและผ่านการทดสอบไปได้อย่างง่ายดาย

- MOJO จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาที่เราทำสิ่งใดอย่างมีเป้าหมาย มีพลังและคิดบวก และโลกก็รับรู้และเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ

- ต่อมาความหมายของ MOJO ได้กลายเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ดีที่เรามีต่อสิ่งที่เรากำลังทำในขณะนี้โดยจะเริ่มจากภายในก่อนจะแผ่รัศมีออกมาสู่ภายนอก

- MOJO จะเกิดขึ้นสูงสุดในเวลาที่เราได้รับทั้งความสุขและความหมายในสิ่งที่เรากำลังทำ  หรือ MOJO คือสิ่งที่จะทำให้คุณได้พบทั้งความสุขและความหมายในชีวิต ( Happiness and Meaning )

- เราจะมี MOJO มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ

  1. ความเป็นตัวเรา  ( Identity ) คุณคิดว่าคุณเป็นใคร ( ตัวตนในความคิดของคุณ )
  2. ความสำเร็จ  ( Achievement ) คุณทำอะไรที่สำเร็จไปบ้างแล้วเมื่อเร็วๆนี้ที่มีความหมายและมีผลกระทบต่อตัวเอง ครอบครัวและส่วนรวม ( Meaning and Impact )
  3. ชื่อเสียง  ( Reputation ) คนอื่นคิดกับตัวคุณและสิ่งที่คุณทำอย่างไร
  4. การยอมรับความจริง  ( Acceptance ) สิ่งที่คุณเปลี่ยนได้และเปลี่ยนไม่ได้ในชีวิตของคุณ ต้องปล่อยวาง

- MOJO Paradox  เป็นความจริงที่ขัดแย้งกันเอง คือในขณะที่มนุษย์ทุกคนต่างบอกว่าสิ่งที่ต้องการที่สุดในชีวิตคือ ความสุขและการมีชีวิตที่มีความหมาย ( Happiness and Meaning ) แต่ปฏิกิริยาของคนที่มีต่อสิ่งใดๆ มักไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาความสุขและความหมายในชีวิตอย่างที่บอก แต่กลับกลายเป็นการตอบสนองทุกอย่างด้วยความเฉื่อยชา ( Inertia ) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนเราทำมากที่สุดในชีวิตทุกๆวัน คือการที่เรายังคงทำทุกๆอย่างเหมือนเดิมเหมือนอย่างที่เราเคยทำมาต่อไป

- คุณอาจจะมองเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่คุณกำลังทำ นั่นคือต้องตัดวงจรความเฉื่อยชา โดย

  1. ตัวตนของคุณ                      ทำให้ตัวตนของคุณมีความหมาย
  2. ความสำเร็จ              ทำให้อะไรๆ ง่ายขึ้นราวกับเวทมนตร์
  3. ชื่อเสียง                               คุณคือผู้เขียนบทกำหนดชีวิตตวเอง
  4. ยอมรับความจริง                   ปล่อยวางสิ่งที่คุณเปลี่ยนแปลงไม่ได้

- สิ่งที่มีความหมายหรือสำคัญในชีวิตของคนที่ประสบความสำเร็จมีอยู่ 5 ตัวแปร คือ

  1. Health                    มีสุขภาพดี
  2. Wealth                   มีความมั่งคั่ง
  3. Relationships         มีความสัมพันธุ์   ความผูกพัน
  4. Happiness             มีความสุข
  5. Meaning     มีชีวิตที่มีคุณค่า  มีความหมาย
วรวิทย์ รวีนิภาพงศ์

24 เมษายน 2555

ได้เรียนรู้จากคุณอนุรัตน์  ก้องธรณินทร์ นักธุรกิจหนุ่มอนาคตไกลว่า  ในโลกปัจจุบันธุรกิจครอบครัวจะอยู่รอดได้ ต้องให้ความสนใจคนที่อยู่รอบตัว(Stakeholders) และต้องปรับกรอบความคิดเป็นแบบ Growth Mindset ดังนั้น กฟผ. จะต้องปรับสภาพแวดล้อมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข ส่งเสริมเรื่องความยุติธรรม ต้องถือว่าทุกคนเป็นเพื่อนร่วมงานและเปิดกว้างในการรับความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่เป็นแบบ Growth Mindset

ได้เรียนรู้จาก หม่อมราชวงศ์เบญจภา  ไกรฤกษ์  เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเข้าสังคม เริ่มตั้งแต่ การสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ การแนะนำให้รู้จักกัน การสนทนา มารยาทในการร่วมงานต่างๆ ตั้งแต่งานพิธีสงฆ์ งานศพ งานเลี้ยงรับรอง มารยาทในการรับประทานอาหารซึ่งมีการสาธิตให้ดูด้วย ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นในการเข้าสังคมต่างๆ

ได้เรียนรู้จาก ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ในเรื่อง Thinking Paradigm ที่มีอยู่ 4 ระดับด้วยกัน คือ Positive Thinking , Creative Thinking , Strategic  Thinking และ Ethical Thinking ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรับกระบวนการคิดของเราให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น  ได้เรียนรู้เรื่องของ Red Ocean ซึ่งเป็นการแข่งขันกันทางธุรกิจอย่างเอาเป็นเอาตาย และทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย แต่ Blue Ocean กลับตรงกันข้าม เป็นการทำธุรกิจแบบหาตลาดใหม่ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าไปในตลาด ซึ่งจะทำให้คู่แข่งล้าสมัยไปเอง  ดังนั้น กฟผ. ควรนำเอาแนวคิด Blue Ocean มาใช้ เพื่อให้ กฟผ. สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต

 

25 เมษายน 2555

            อาจารย์จีระ หงส์ลดารมย์  ได้ทบทวนเรื่อง 4L’s , 2R’s และกฎของ Peter Senge ทั้ง 5 ข้อ รวมทั้งวิธีการคิด 4 แนวก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนไว้ ได้แก่ ทำอะไร ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร และทำแล้วได้อะไร

ได้เรียนรู้จากอาจารย์จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล ในเรื่อง Art & Feeling of Presentation เป็นการฝึกการใช้สมองซีกขวาอย่างเป็นระบบ โดยใช้เกมส์ฝันอยากเป็นอะไร โดยให้ทุกคนในห้องได้เล่นหมด มีการทำท่าสัญลักษณ์ของสิ่งที่อยากเป็นในฝัน และให้ทุกคนพูดเชื่อมโยงสิ่งที่อยากเป็นเหมือนการเล่านิทานให้สอดคล้องกับเพื่อนก่อนหน้าเรา ก็สนุกดีครับเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง  และอาจารย์ได้ให้สูตร Power of Dream 3 ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่ในการจำ ไม่ให้กระจัดกระจาย เพื่อช่วยในกรณีที่เราลืมคำกล่าวในที่สาธารณะ โดยให้นึกถึงการพูดใน 3 ประเด็น คือ ปัญหา  ทางออก  และผลลัพธ์

ได้เรียนรู้จากอาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉายในเรื่อง ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร ซึ่งท่านได้พูดถึง บุคคลต้นแบบที่เก่งที่สุดในเรื่องนี้ คือ ในหลวงของพวกเรานั่นเอง เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ และท่านได้พูดถึงการแข่งขันในยุคนี้ เขาแข่งด้วย Speed of Trust กล่าวคือ ถ้าองค์กรไหนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กร แสดงว่า องค์กรนั้นใกล้จะถึงจุดจบ   นอกจากนั้น อาจารย์ได้พูดถึง กลยุทธ์น่านน้ำสีขาวซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ไม่วางตัวเองเป็นศูนย์กลาง และไม่เห็นผลกำไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว จะให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน รวมทั้งสภาพแวดล้อมรอบตัว และมีความยืดหยุ่นในตัวเองมากพอที่จะไม่ทำให้มองโลกแบบสุดโต่งจนเกินไป

 

 

 

 

วรวิทย์

สิ่งที่ได้จากการอ่าน Mojo

ผู้เขียนได้เรียกเหตุการณ์ที่ทีมของ Chrissy พลิกกลับมาชนะใน Set ที่ 2 ของการแข่งขันบาสเกตบอล ว่า“Mojo” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาที่เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมีเป้าหมาย มีพลัง และคิดในเชิงบวก รวมทั้งโลกได้รับรู้และเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ

            ผู้เขียนได้สรุปความหมายของ Mojo ว่า “Mojo คือ ความภาคภูมิใจที่เรามีต่อสิ่งที่เรากำลังทำในขณะนั้น ซึ่งเริ่มจากภายในก่อน แล้วแผ่รัศมีออกไปสู่ภายนอก”  เมื่อเกิด Mojo ขึ้นเราจะได้รับทั้งความสุข และความหมายในชีวิต

 

การวัด Mojo ในตัวเรา

            องค์ประกอบ 4 อย่าง ที่คนเราจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะสร้าง Mojo ที่ยอดเยี่ยมให้เกิดขึ้นในตัวเรา ได้แก่
              1. ความเป็นตัวเรา (Identity)  เราต้องรู้ว่าตัวตนของเราในความคิดของเราเป็นอย่างไร

              2. การบรรลุผลสำเร็จ (Achievement)  เราทำอะไรสำเร็จไปบ้าง

              3. ชื่อเสียง (Reputation)  คนอื่นคิดกับตัวเรา และสิ่งที่เราทำอย่างไร

              4. การยอมรับ (Acceptance) เราต้องยอมรับความจริงว่า บางอย่างเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
          สิ่งที่จะนำเราไปสู่ Professional Mojo ประกอบด้วย

          - แรงจูงใจ (Motivation)

            - ความรู้ (Knowledge)

            - ความสามารถ (Ability)

            - ความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence)

            - ความเป็นตัวตนที่แท้จริง (Authenticity)

          ความเป็น Professional Mojo ให้สิ่งต่อไปนี้แก่เรา

          - ความสุข (Happiness)

            - รางวัล (Reward)

            - ความหมายในชีวิต (Meaning)

            - การเรียนรู้ (Learning)

            - ความรู้สึกซาบซึ้งใจ (Gratitude)

 

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายคนที่ดูเหมือนว่าตัวเองเป็นผู้ชนะ โดยเขาวัดจากปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น เงินทอง  ความนับถือ อำนาจ สถานภาพ  ซึ่งพวกเขาสามารถเอาชนะคนอื่นๆ ในการแข่งขันได้อย่างง่ายดาย  แต่ทว่า ข้างในใจของพวกเขากลับไม่มีความสุข หรือไม่รู้สึกว่า ชัยชนะหรือความสำเร็จนั้นมีความหมายในชีวิต  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะคนเหล่านั้นขาด Mojo นั่นเอง
              Mojo ไม่ใช่ความรู้สึกดีใจสุดขีด  เมื่อเรารู้สึกว่ากำลังชนะ และไม่ได้หมายถึงความก้าวหน้าหรือความสำเร็จที่เราทำได้ หากแต่ Mojo คือ การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของความรู้สึกข้างในใจของเรากับความรู้สึกที่เราแสดงออกภายนอกที่คนอื่นได้เห็น ที่เรามีต่อสิ่งที่เรากำลังทำ

Mojo Paradox
               ความจริงที่ขัดแย้งกันเองที่เกี่ยวกับ Mojo คือ ในขณะที่มนุษย์ทุกคนต่างบอกว่า สิ่งที่ต้องการที่สุดในชีวิตคือ ความสุขและการมีชีวิตที่มีความหมาย แต่ปฏิกิริยาของคนเราที่มีต่อสิ่งใดๆ ในชีวิต มักไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาความสุขหรือความหมายอย่างที่เราบอก แต่กลับกลายเป็นการตอบสนองทุกอย่างด้วยความเฉื่อยชา พูดง่ายๆ คือ สิ่งที่คนเราทำมากที่สุดในชีวิตทุกๆ วันคือ การที่เรายังคงทำทุกๆ อย่างเหมือนเดิม เหมือนอย่างที่เราเคยทำมาต่อไป
               ความเฉื่อยชานี้ได้ส่งผลต่อทุกๆ ส่วนในชีวิตของเรา ไม่เพียงแต่ในเรื่องที่ไม่สำคัญอย่างการดูทีวี แต่ยังรวมไปถึงเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต คือระดับของความสุขและการมีความหมายในชีวิตด้วย  เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว เราควรจะฉุก คิดมากขึ้น และถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรากำลังทำ นั่นคือ ตัดวงจรความเฉื่อยชาออกไปจากตัวเราให้ได้

ความเป็นตัวเรา (Identity)  : เราต้องรู้ว่าตัวตนของเราในความคิดของเราเป็นอย่างไร
                เราควรจะมองว่าตัวตนแท้จริงของตัวเองเป็นอย่างไรในปัจจุบัน โดยพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเราในตอนนี้ แล้วพิจารณาต่อไปว่า แต่ละองค์ประกอบที่รวมกันเป็นตัวเรานั้นมีที่มาจากอะไร แล้วดูว่า เรารู้สึกดีกับองค์ประกอบที่เป็นตัวเราหรือไม่ หากเรารู้สึกดี เราก็เพียงปรับปรุงมันให้ดีขึ้นไปอีก จากสิ่งที่เราเป็นในปัจจุบัน แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงตัวตนของเรา

เราก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวตนใหม่ได้เพื่ออนาคต

การบรรลุผลสำเร็จ (Achievement)  : เราทำอะไรสำเร็จไปบ้าง
                มาตรวัดความสำเร็จของคนเรามี 2 บรรทัดฐานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

                ด้านหนึ่ง คือความสำเร็จที่ทำให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความสามารถของเรา และผลคือการยอมรับจากคนอื่น นี่คือมาตรวัดความสำเร็จที่คนส่วนใหญ่มักนึกถึง เมื่อพูดถึงความสำเร็จ

                อีกด้านหนึ่ง คือความสำเร็จที่มีแต่เราคนเดียวเท่านั้นที่รับรู้ และทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง รู้สึกดีกับความสามารถของเรา

                มาตรวัดความสำเร็จทั้ง 2 อย่าง ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งคู่
                เมื่อเราเข้าใจความหมายของความสำเร็จแล้ว และมองเห็นสิ่งที่เราทำไปได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ว่ามีทั้งความสำเร็จที่มีความหมายต่อตัวเอง และความสำเร็จที่มีความหมายต่อคนอื่นหรือต่อโลก ความเข้าใจที่ดีขึ้นนี้ จะช่วยให้เราเพิ่ม Mojo ในตัวเราได้ เราจะมองเห็นตัวตนของเราชัดขึ้น โดยไม่เข้าข้างตัวเอง เราสามารถจะตัดสินได้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของเราจริงๆ  ทำให้เราสามารถเลือกได้ว่า จะมุ่งเน้นและทุ่มเทความพยายามไปกับสิ่งที่มีความสำคัญต่อเราจริงๆ เท่านั้น พร้อมกับเลิกสนใจที่จะพยายามในความสำเร็จที่เราไม่ได้ต้องการ หรือไม่ได้เพิ่มความสุขหรือมีความหมายในชีวิตของเรา
                  เราสามารถเพิ่ม Mojo ในตัวเราได้ ด้วยการเปลี่ยนระดับของความสำเร็จที่เราตั้งไว้ เช่น ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น รู้สึกชีวิตมีความหมายมากขึ้น  หรือเปลี่ยนมาตรวัดหรือนิยามความสำเร็จเฉพาะของเราเอง ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่ทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตนี้ไม่ไร้ความหมาย

ชื่อเสียง (Reputation) : คนอื่นคิดกับตัวเรา และสิ่งที่เราทำอย่างไร
                  ชื่อเสียงมาจากการรวมตัวตนของเรา กับสิ่งที่เราทำสำเร็จ แล้วประกาศให้โลกรู้ แล้วดูว่าคนอื่นๆ จะคิดหรือตอบสนองอย่างไร ชื่อเสียงก็มาจาก การที่คนอื่นๆ ยอมรับ หรือปฏิเสธ ความเป็นตัวตนของเรา หรือสิ่งที่เราทำนั่นเอง ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับความเห็นเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม หลายครั้งเรายังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าเราได้รับการยอมรับหรือถูกปฏิเสธ สรุปคือ ตัวเราเองไม่อาจสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองได้ เพราะชื่อเสียงเกิดจากความเห็นของคนอื่นๆ ที่มีต่อตัวเรา

การยอมรับ (Acceptance) : เราต้องยอมรับความจริงว่า บางอย่างเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
                   การเป็นทุกข์กับอดีต และการกังวลเกี่ยวกับอนาคต จะทำลาย Mojo ของเราได้ง่ายๆ เพราะไม่เป็นผลดีต่ออารมณ์ของเรา และยังรบกวนการใช้วิจารณญาณและการตัดสินใจ ทำให้เรารู้สึกผิด และนำไปสู่การลงโทษตัวเอง เมื่อเราไม่สามารถยอมรับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และปฏิเสธที่จะให้อภัยคนอื่น เรากำลังพกพาความโกรธแค้นและความรู้สึกลบติดตัวไปด้วยทุกหนแห่ง และทำให้ตัวเราหนักขึ้น ทั้งยังเป็นการจำกัดโอกาสของเราที่จะได้พบกับความสุขและความหมายในชีวิต เรากำลังฆ่า Mojo ของเราด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะคนอื่น
                การยอมรับความจริงและปล่อยวาง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราสามารถปลดปล่อยอารมณ์ที่เป็นลบ และเพิ่ม Mojo ในตัวเอง ครั้งต่อไปเมื่อมีใครมาทำให้เรารู้สึกโกรธแค้น เจ็บปวด ลองเลิกคิดหาเหตุผลความถูกต้องทุกอย่าง และลบความคิดทุกๆ อย่างที่เราเคยมีเกี่ยวกับคนคนนั้นออกไป ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เขาทำในอดีต หรือเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต แล้วลองมองที่ตัวตนของเขาในปัจจุบัน มองให้เห็นว่าเขาเป็นอย่างที่เขาเป็น ลองคิดดูว่า ถ้าเรามีพ่อแม่คนเดียวกับเขา มีพันธุกรรมเหมือนกับเขา มีประวัติชีวิตเหมือนกับเขา เราอาจจะเป็นเหมือนที่เขาเป็นอยู่ตอนนี้ก็ได้  การยอมรับ ไม่ได้หมายถึงให้เราต้องฝืนใจไปชอบเขา หรือเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาเป็น แค่เพียงยอมรับว่า เขาก็เป็นอย่างที่เขาเป็นเท่านั้น อภัยให้เขาในสิ่งที่เขาเป็นและอภัยให้ตัวเราเองในสิ่งที่เราเป็น

นรชัย หลิมศิโรรัตน์

สรุปสิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ MOJO

Mojo ตามความหมายของผู้เขียน Marshall Goldsmith คือ พลังบวก (positive spirit) ต่อสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน เริ่มจากภายในแผ่ออกมาสู่ภายนอกจนให้คนอื่นได้เห็นสิ่งที่เรากำลังทำ องค์ประกอบที่ทำให้เกิด Mojo สูงสุด ประกอบด้วย 4 อย่าง ได้แก่ อัตลักษณ์ (Identity) ความสำเร็จ (Achievement) ชื่อเสียง (Reputation) และ การยอมรับ (Acceptance) การเกิด Mojo จะทำให้เราได้พบกับความหมายและความสุขในชีวิต Mojo Paradox คือ ความเฉื่อย (Inertia) ที่จะทำให้ความหมาย และความสุขในชีวิต ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

องค์ประกอบแรก คือ อัตลักษณ์ (Identity) เป็นการมองว่าตัวตนแท้จริงของตัวเราเองเป็นอย่างไรในปัจจุบัน ลองพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่ ประกอบขึ้นเป็นตัวเราในตอนนี้ แล้วพิจารณาต่อไปว่า แต่ละองค์ประกอบที่รวมกันเป็นตัวเรานั้นมีที่มาจากอะไร แล้วเรารู้สึกดีกับองค์ประกอบที่เป็นตัวเราหรือไม่ หากรู้สึกดีก็เพียงปรับปรุงมันให้ดีขึ้นไปอีก จากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงตัวตน เราสามารถจะเปลี่ยนแปลงตัวตนใหม่ได้เพื่ออนาคต

องค์ประกอบที่สอง คือ ความสำเร็จ (Achievement) การวัดความสำเร็จของคนเรามี 2 อย่าง คือความสำเร็จที่ทำให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความสามารถของเรา ผลก็คือการยอมรับจากคนอื่น อีกด้านหนึ่ง คือความสำเร็จที่มีแต่ตัวเราที่รู้ และทำให้เรารู้สึกดีมีความหมายต่อตัวเอง ทั้งความสำเร็จที่มีความหมายต่อตัวเอง และความสำเร็จที่มีความหมายต่อคนอื่นหรือต่อโลก จะช่วยให้คุณเพิ่ม Mojo ในตัวเองได้ จริงๆเราสามารถเลือกได้ว่า จะทุ่มเทความพยายามให้กับสิ่งที่มีความหมายต่อเราจริงๆ เท่านั้น และเลิกสนใจความสำเร็จที่เราไม่ได้ต้องการไม่ได้มีความหมายหรือเพิ่มความสุขเติมเต็มชีวิต เราสามารถเพิ่ม Mojo ในตัวเราได้ ด้วยการเปลี่ยนระดับของความสำเร็จที่ตั้งไว้ เพื่อทำให้เรามีความสุขมากขึ้น จนรู้สึกได้ว่าชีวิตมีความหมายมากขึ้น หรือนิยามความสำเร็จของเราเอง ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่ทำให้เรารู้สึกว่าความสำเร็จทำให้ชีวิตนี้มีความหมาย

องค์ประกอบที่สาม คือ ชื่อเสียง (Reputation) ชื่อเสียงเกิดจากความยอมรับของคนอื่นที่มีต่อความเป็นตัวของเราและความสำเร็จของเรา ตัวเราเองไม่อาจสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองได้ เรื่องชื่อเสียงหมายถึงว่าว่าคนอื่นเขามองเราอย่างไร และเขาเอาไปพูดต่อว่าเราเป็นใคร ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมชื่อเสียงของเราได้ทั้งหมด แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราจะทำเพื่อรักษาหรือพัฒนาชื่อเสียงไว้ได้ ซึ่งตรงนี้จะมีผลต่อ Mojo ของเรา

องค์ประกอบที่สี่ คือ การยอมรับ (Acceptance) อะไรบ้างที่เราต้องเปลี่ยนแปลง เราต้องยอมรับก่อนว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต่อมาก็คืออะไรที่เราเปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าเราเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น การยอมรับความจริงและปล่อยวาง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราสามารถเพิ่ม Mojoในตัวเอง

ข้อคิดเห็น

การเข้าใจผลกระทบและปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อ อัตลักษณ์(Identity)  ความสำเร็จ (Achievement) ชื่อเสียง(Reputation)  และการยอมรับ(Acceptance)  ทั้ง 4 ข้อนี้นั้น สามารถเปลี่ยนให้เป็น MOJO ของเราได้ คนบางคนจะมี MOJO ในทุกสิ่งที่เขาทำ เพราะเขามี Passion แม้ว่ากิจกรรมที่เขาทำจะไม่มีความน่ารื่นรมย์สักปานใดก็ตาม ซึ่ง MOJO นั้น บางคนมี บางคนทำหายไป บางคนไม่สามารถนำกลับมาได้ บางคนทำหายไปแต่สามารถเอากลับมาได้ บางคนเคยมีอยู่ในชีวิต MOJO นั้นจะเน้นในเรื่องของ “ความสุข” (Happiness) กับ “ความหมาย” (Meaning) ในชีวิต ทั้งในชีวิตการทำงาน และในชีวิตประจำวัน

 

จันทิมา ลีละวัฒนากูล

Mindset

1.ทำไมคนในโลกจึงมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้ 

สิ่งที่ทำให้คนเรามีพฤติกรรมที่แตกต่างนั้นเกิดจากกรอบความคิด ความเชื่อ คนที่ที่มีกรอบความคิดเติบโต จะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้  พร้อมจะเรียนรู้ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค  นอกจากนั้นจะเน้นการทำงานเป็นทีม  คนที่หยุดการเรียนรู้จะมีกรอบความคิดที่จำกัด  ประเมินความสามารถของตนเองไม่ได้  มีอัตตาคิดว่าตนเองเหนือคนอื่น มักจะไม่เปลี่ยนความคิด ทำงานฉายเดี่ยว ไม่ทำงานเป็นทีม  ไม่เชื่อเรื่องการพัฒนาทำให้ขาดการเรียนรู้ 

2.ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

ต้องมีการอบรมให้เกิดการพัฒนา  กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และทำงานเป็นทีม ต้องมีการเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาตนเองในทุกระดับ 

สรุปการเรียนรู้ 24- 25  เม.ย. 2555

        24 เม.ย. 55

ช่วงเช้า บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ ได้เรียนรู้

-  มารยาทในการสนทนาควรฟังมากกว่าพูด คุยเรื่องที่มีสาระและมีความรื่นรมย์ ละเว้นการสนทนาที่กระทบกระเทือนจิตใจผู้ฟัง

- การแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมในงานเลี้ยงต่างๆ

- มารยาทบนโต๊ะอาหาร  การใช้อุปกรณ์เช่นช้อน ซ้อม มีดให้ถูกต้อง

ช่วงบ่าย Blue Ocean  ได้เรียนรู้

- การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กรเช่นสภาวะการแข่งขัน พฤติกรรมของลูกค้า  การเปลี่ยนแปลงระดับมหาภาค เป็นต้น

- แรงกดดันจากสภาวะการแข่งขัน   5- force model ลูกค้าปัจจุบัน คู่แข่งรายใหม่ ผู้บริโภค สินค้าทดแทน คู่ค้า

- กลยุทธ์การแข่งขันมุ่งเน้นเรื่องราคาหรือความแตกต่าง

-  Paradigm Shift คิดเชิงบวก คิดเชิงกลยุทธ์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีจริยธรรม กับดักต่างๆที่ทำให้ไม่เปลี่ยนความคิดความคิด วิธีการทำให้เกิด Creative Thinking

- ความหมายของ Blue Ocean (น่านน้ำสีคราม) คือ พื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีการจับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล โดยใช้กลยุทธ์หลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดเดิมๆ สร้างตลาดใหม่โดยการทำให้คู่แข่งล้าสมัยซึ่งจะสำเร็จได้ต้องใช้นวัตกรรมเชิงคุณค่า(Value Innovation) “การแสวงหาความแตกต่างและการมีต้นทุนต่ำในเวลาเดียวกัน” ใช้ 4 Frameworks ในการสร้างนวัตกรรมเชิงคุณค่าคือขจัดสิ่งที่ทึกทักมานานว่าสำคัญ  ลด อะไร ให้เท่าๆกับมาตรฐาน

สร้างสิ่งอะไรใหม่ๆที่ยังเคยทำมาก่อน ยกระดับอะไร ให้เหนือกว่ามาตรฐาน

 

25 เม.ย. 55

ช่วงเช้า Arts and Feelings of Presentation

     ได้เรียนรู้วิธีการเตรียมการนำเสนอให้แบ่งประเด็นเป็น3หัวข้อคือ ปัญหา ทางออก ผลที่จะได้ (Power of 3) ควรเน้นรูปภาพมากกว่าตัวอักษร  วิธีการนำเสนอต้อง Sharp-Short-On the point และผู้บรรยายต้องมีการเคลื่อนไหว ใส่อารมย์เพื่อให้เร้าใจผู้ฟัง

ช่วงบ่าย ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

     ชี้ให้เห็นการแข่งขันในยุกต์ปัจจุบันเน้นที่การสร้างความไว้วางใจ(Speed of Trust) ซึ่งจะต้องใช้ต้นทุนทางจริยธรรมขององค์กรเป็นตัวสร้าง

การเกิดขึ้นขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม(Net Positive Impact on Society)   โดยทุกระดับต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับเด็กและเยาวชน ระดับองค์กร ระดับจังหวัดและระดับประเทศ

24 เมษายน  2555 

บุคคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่  โดย มรว. เบญจภา  ไกรฤกษ์

(การปฏิบัติตนเพื่อการเข้าสังคม เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย)

 

            การปฏิบัติตัวเพื่อการเข้าสังคมในแบบไทยๆ ซึ่งเป็นจุดแข็งของวัฒนธรรมไทย  สามารถสร้างความประทับใจให้ผู้พบเห็นทั้งความอ่อนโยน  ละเมียดละไม ตลอดจนยังคงไว้ความสง่างาม ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ  ตั้งแต่การเข้าสังคมในโอกาสต่างๆ  การทักทาย  การสนทนา  การเดิน  ตลอดจนมารยาทในวาระต่างๆ แม้กระทั่ง การร่วมรับประทานอาหาร  แถมท้ายด้วยเกล็ดเคล็ดลับทางการทูตในการเจรจา การวางตัวให้ดูเหมาะสม ดีจริงๆ ครับ

 

แนวคิด Blue Ocean กับการทำงาน กฟผ. โดย ดร.กุศยา  ลีฬหวงศ์

            ได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงและความเร็วในการเปลี่ยนแปลง  ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมการแข่งขัน จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพการแข่งขันนั้น ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือองค์กร ก็มีความเร็วไม่น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญน่าจะเริ่มจาก การเปลี่ยนแปลงขบวนการคิด Thinking Paradigm   อย่างไรก็ตาม คงจะต้องไม่ยึดติดกับของความคิดของตนเองในรูปแบบต่างๆ  ระดับความคิด Thinking Paradigm  จะเริ่มจาก ความคิดในเชิงบวก  ความคิดสร้างสรรค์  ความคิดเชิงกลยุทธ์ และความคิดในเชิงจริยธรรม

            อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่รุนแรงจะนำไปสู่ Red Ocean ซึ่งจะทำให้การแข่งขันจบลงในรูปแบบของ Game Theory Concept ตั้งแต่ Zero Sum Game ไปจนถึง Negative Sum Game  การแข่งขันในรูปแบบดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาที่แท้จริง

            แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ Innovative Cycle ทำให้เกิด Blue Ocean Concept ซึ่งจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้เกิดความเสียหายทั้ง 2 ฝ่าย  โดยองค์การที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว จะไม่สนใจต่อการแข่งขันหรือตัวคู่แข่ง  เรียกว่าจะไม่แข่งขันในตลาดหรืออุตสาหกรรมเดิมๆ แต่พยายามจะสร้างตลาดและอุตสาหกรรมใหม่  ที่ยังไม่มีโครงสร้างหรือเข้าไปและแทนที่  จะต้องการชนะคู่แข่ง แต่จะทำให้คู่แข่งล้าสมัยไปเลย

 

25 เมษายน  2555

Art & Feeling of Presentation โดย จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล

            คราวนี้มารู้จักการนำเสนองาน ดูแล้วก็น่าจะง่ายแต่เข้าใจแล้วหล่ะว่า  เป็นศิลปะเพราะการรับรู้ข่าวของคนฟังนั้น  ท่าทาง  น้ำเสียง  สีหน้า ที่แสดงออกมา  มีอิทธิพลมากกว่าเนื้อหาที่ได้ยิน  เข้าใจถึงการใช้ Power of “3”  ในการนำเสนอ  ตลอดจนเหตุผลของความสำคัญของสมองซีกซ้ายและซีกขวา  สมองซีกขวาที่ควบคุมความคิดทางด้านศิลปะ  การสร้างสรรค์  สามารถทำให้เกิดการนำเสนอที่สมองซีกซ้ายที่จะควบคุมความคิดทางวิทยาศาสตร์ การคำนวณต่างๆ  Passion -- > Inspiration -- > Innovation

 

White Ocean โดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

            เริ่มต้นฟังบรรยายก็ทำให้บรรยากาศในห้องเอ่อล้นไปด้วยน้ำตาเชียวหล่ะ  สร้างบรรยากาศให้เข้าใจได้มากกว่าการบรรยายของอาจารย์เสียด้วยซ้ำ (ผมเองก็ไม่ได้รับการยกเว้น)

            ความเข้าใจที่จะทำให้สังคม ด้วยความรับผิดชอบบนพื้นฐานของจริยธรรม เริ่มจาก Individual -- > Cooperate -- > City -- > Country Social Responsibility ดูแล้วคงจะต้องปรับ Mind Set กันครั้งใหญ่ทีเดียว กฟผ.คงปรับตัวได้ไม่ลำบากนักในแนวนี้เพราะเราได้รับการปลูกฟังมาในแนวนี้ เช่น  ลดความเห็นแก่ตัว  รู้จักการให้  รู้จักพอเลยครับ  ดูแล้ว สังคมเราคงจะดีกว่านี้มากเลย (ถ้าเราทุกคนช่วยกันทำ คนละไม้คนละมือ)

ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหนึ่งหยุดการเรียนรู้

  คนที่มีพฤติกรรมหยุดการเรียนรู้จะมีลักษณะเข้าข้างตัวเองคิดว่าตัวเองเก่งและดูดีอยู่แล้ว  เขามองว่าความเฉลียวฉลาด ,ความรู้,ประสบการณ์ที่เขาได้สะสมมาจนถึงวันนี้เพียงพอแล้ว สำหรับตัวเขาเชื่อว่าเหนือกว่าทุกคน(ในองค์กร)เขาคิดว่าเป็นพรสวรรค์ เขาไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามที่จะเรียนรู้หรือต้องปรับปรุงแก้ไข เขามองข้ามและไม่สนใจคำวิพากวิจารณ์ 

หากมีข้อผิดพลาดเขาก็จะแก้ตัวโดยการโทษคนอื่นหรือปัจจัยภายนอกอื่น ซึ่งไม่ใช่เกิดจากเขา

    แต่เขาลืมไปว่าโลกภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวันโลกไม่ได้หยุดนิ่ง แต่เขาหยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆหากเขาเป็นผู้นำองค์กร เชื่อได้ว่าความสามารถในแข่งขันในระยะยาวขององค์กรน่าจะมีปัญหา

 

    ส่วนคนที่มีพฤติกรรมพร้อมจะเรียนรู้ จะเป็นคนที่คิดไปในทางบวก มองโลกในแง่ดี เป็นพวกทีมี Personality Mindsetและรู้ตัวเองว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็งอะไรเขาจะพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขโดยการเรียนรู้ ฝึกฝน รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ และมีความเชื่อที่ว่าการฝึกฝน,อบรม,เพิ่มความใส่ใจ,การทุ่มเทอย่างมีเป้าหมายสามารถพัฒนาความฉลาดหรือบุคลิคภาพได้

 

ทำอย่างไร จึงจะเปลี่ยนMindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์

  ก่อนอื่นต้องมาค้นหาก่อนว่าคน กฟผ.มีกรอบความคิดแบบ Fixed Mindsetหรือไม่? หากเป็นเช่นนี้จริงมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนี้?จากเรื่องราวที่บอกเล่าผ่านหนังสือMindsetในบทที่5 Business:Mindset And Leadership มีตัวอย่างของ CEO ที่เป็นแบบอย่างด้าน Growth Mindsetหลายท่าน ในส่วนของ กฟผ.คงต้องนำมาพิจารณา และผมเห็นว่าคงต้องเริ่มจากบนลงล่าง การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์และค้นหาจุดอ่อนจริงๆของเราอย่างตรงไปตรงมา และแสดงออกอย่างมุ่งมั่นที่จะปรับปรุง สร้างให้คนกฟผ.เกิดแรงบันดาลใจ พร้อมกับ

 

 

24 เมษายน 2555

Mindset คุณ อนุรัตน์ กองธรณินทร์ สถาบันจะยั่งยืนต้องมี Development กฟผ. มี rule ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้มีการพัฒนา กฟผ. เปรียบเสมือนเป็นบ้านที่สอง ท่านต้องลุกขึ้นมาสร้างองค์กรของท่านให้ท่ายทำงานอย่างเป็นสุข ท่านต้องเริ่มที่ตัวท่านก่อน บทสรุป Mindset * การนำมาใช้กับองค์กร - สิ่งแวดล้อมขององค์กร เป็นสิ่งประกอบที่ดี แต่อารมณ์สำคัญกว่า สิ่งแวดล้อมเป็นเสมือนสิ่งจูงใจ - ความยุติธรรม ต้องส่งเสริมความยุติธรรม ทำอย่างไรให้รู้สึกว่ายุติธรรม - เพื่อนร่วมงาน ทำอย่างไรให้รู้สึกถึงความเป็นกลุ่ม เป็นเพื่อนร่วมงาน เมื่อเป็นเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้เกิด engagement - เวทีแลกเปลี่ยนความคิด ใช้ควมผิดเป็นการปรับปรุง - KPI เปลี่ยนจากวัดผลเป็นเน้นความพยายาม

บุคคลิกของนักบริหารยุคใหม่ หม่อมราชวงศ์ เบญจภา ไกรฤกษ์

การเข้าสังคม เริ่มต้นจากการสร้างความประทับใจ ครั้งแรก เป็นจุดประทับใจ

วิสัยทัศน์  -  จะบ่งบอกบอกการแสดงออก
เครื่องประดับ -  แสดงบุคคลิกภาพ (เช่น นาฬิกา)
การแต่งกาย  -  สะอาด
กายภาพ  -  สันหลังตรง เป็นสง่า

การเข้าสังคมต้องเริ่มจากความประทับใจ การเข้าสังคม เป็นการพบกัน เป็นเพื่อนกัน ให้ได้ประโยนช์ในงาน สิ่งที่ทำให้คนชื่นชมต่อเรา : - การแต่งกาย - ท่าทาง - ความสะอาดเรียบร้อย และมีสุขภาพอนามัย - การพูด น้ำเสียง กังวาล มีพลัง ต้องให้ความสนใจผู้พูด ไม่พูดเรื่องศาสนา การเมือง ความขัดแย้ง - การแนะนำให้รู้จัก การไหว้พร้อมก้ม สำคัญว่า การไหว้เพียงอย่างเดียว - กายภาพ การนั่ง การเดิน การยืน ต้องสันหลังตรง - นามบัตร เรียบสีขาว หมึกเข้ม ไม่มีลวดลาย - มรรยาทในการสนทนา ฟังมากกว่าพูด - มรรยาทในการใช้โทรศัพท์ การปิดโทรศัพท์ - การเดินถนน เดินตัวตรง เดินทางซ้ายของสุภาพสตรี เดินหลีกทางเมื่อสวนทาง และเดินนำหน้าผู้อาวุโส งานศพ - ควรไปก่อนเวลา - กราบพระ ถอดรองเท้า - จุดธูปเคารพศพ 1 ดอก - ตั้งใจอุทิศส่วนกุศล - ตั้งใจรับพรจากพระ - ลาศพและเจ้าภาพก่อนกลับ

งานเลี้ยงรับรอง - ไม่ควรใส่สีน้ำตาล - ไปถึงต้องเคารพเจ้าภาพ

งานเลี้ยงอาหารค่ำ Sit down dinner 1. แต่งกายตามบัตรเชิญ (ให้สอบถามก่อน ถ้าไม่ทราบ) ถ้าไม่ทราบให้ใส่สูทไว้ก่อน ตามธรรมเนียม คนนั่งทางขวา จะเป็นผู้มีเกียรติ ถ้าถูกเชิญนั่งทางขวาของภรรยาเจ้าภาพ จะถือว่าเป็น Guest of Honor ของงาน ให้ไปก่อนเวลา แต่เข้างานตรงเวลา Guest of Honor ควรจะเข้างานหลังคนอื่น (แต่ตรงเวลา) 2. แนะนำตัวเองกับผู้ที่ท่านจะนั่งข้างๆ ก่อนลงนั่ง 3. เลื่อนเก้าอี้ให้ผู้หญิงนั่ง 4. สนทนากับผู้ที่อยู่ด้านขวาก่อน แล้วทางซ้าย 5. ให้ทานเวลาอีกฝ่ายหนึ่งพูด และป้อนคำถามให้อีกฝ่ายหนึ่งตอบ

Blue Ocean อ. ดร. กุศยา ลีฬหาวงศ์ เราอยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งสภาพแวดล้อมนั้นไม่ได้อยู่เฉยๆ เปลี่ยนไปตลอดเวลา และนับแต่จะเพิ่มอัตราการเปลี่ยนเร็วขึ้นๆ และไม่เพียงแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น ถึงแม้อยู่ห่างตัวเราก็มีผลกระทบกับเราได้ ภาวะการแข่งขัน 5 Force model - ผู้บริโภค Buyers - New Entrants - Substitutes - Existing competitor - Suppliers สภาพการแข่งขันแย่งชิงผู้บริโภค ทำให้เกิดสงครามราคา เปรียบเสมือน Red Ocean → The war → Bomb → dead ซึ่งในที่สุดก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ จึงเกิดแนวคิดใหม่เพื่อความอยู่รอด เลิกสงครามราคา ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เริ่มจากการเปลี่ยนใจ ให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงเปลี่ยนความคิด Trap Ridden Thinking คนเรามักจะติดอยู่ในกับดักหรือกรอบบางอย่าง ทำให้หาทางออกไม่ได้ ต้องทำลายกรอบความคิดเสียก่อน เช่นคนเราไม่อยากเปลี่ยน สาเหตุมาจากความกลัว ความไม่รู้ เคยชิน Blue Ocean น่านน้ำสีคราม คือ พื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีใครจับจอง มีความต้องการมีโอกาสเติบโตและสร้างกำไรอย่างมหาศาล

ทำไมจึงต้องหาน่านน้ำสีคราม - ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบทวีคูณ - แนวโน้มสู่โลกไร้พรมแดน - อุปสงค์ส่วนใหญ่มีน้อยกว่าอุปทาน - ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าโดยพิจารณาราคาเป็นหลัก - แบรนด์ที่มีความแตกต่างกันจริงๆ หายากขึ้น Blue Ocean Strategy หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้งสองฝ่าย โดยองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะไม่สนใจต่อการแข่งขันหรือตัวผู้แข่งเท่าใด เรียกได้ว่าจะไม่เข้าไปแข่งขันในตลาดหรืออุตสาหกรรมเดิมๆ แต่พยายามที่จะสร้างตลาดหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครสร้างหรือเข้าไป และแทนที่จะเอาชนะคู่แข่งกลับการทำให้คู่แข่งล้าสมัยไป

Red Ocean - แข่งขันในตลาดในพื้นที่ที่มีตลาดอยู่แล้ว - ห้ำหั่นคู่ต่อสู้ - ใช้ความต้องการที่มีอยู่แล้ว - ต้องแลกระหว่างคุณค่ากับต้นทุน Blue Ocean - สร้างพื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีการแข่งขัน - การแข่งขันไม่อยู่ในความสนใจ - สร้างและจับความต้องการใหม่ๆ - ทลายกำแพงระหว่างคุณค่ากับต้นทุน

25 เมษายน 2555

4 L’s แห่งการเรียนรู้ 1. Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ที่ดี 2. Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 3. Learning Opportunities สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ 4. Learning Community สร้าง/เกิด ชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2 R’s - Reality มองความจริง - Relevance ตรงประเด็น

กฎของ Peter Serge (หนังสือ Rethinking the Future) - Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง - Mental Models มีแบบอย่างทางความคิด - Share Vision มีเป้าหมายร่วมกัน - Team Learning เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน - System Thinking มีระบบความคิด มีเหตุมีผล

พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างเรื่องการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการคิด 4 ประเด็น ก่อนที่จะเริ่มงานใดๆ ให้คิดสิ่งต่อไปนี้ 1. ให้คิดว่าตัวเองกำลังทำอะไร 2. ทำอย่างไร 3. ทำเพื่อใคร 4. ทำแล้วได้อะไร ประโยชน์สูงสุดคืออะไร

25 เมษายน 2555

Arts of Feeling of Presentation อ. จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

“Movement” สมองต้องการ Movement Inspiration + passion = innovation คนเรามีความฝัน โลกของความฝันมักจะเป็นความสุข ปราศจากกรอบ หากเราขายฝัน ผู้ซื้อก็จะซื้อเพราะรัก หลง ดูดดื่ม ไม่เสื่อมคลาย

Presentation ผู้ฟังจะประเมินสิ่งต่างๆของผู้พูด นับแต่เทคนิคของการPresentation จนกระทั่งจากการประเมินจากจิตใต้สำนึก

Peak Stage เปรียบเสมือนการจุดระเบิดจากภายใน หากภายในร่างการมีความรู้สึกถึงการมี movement ตลอดเวลา ก็จะทำให้การแสดงออกทางร่างกาย นิ่ง สง่างาม ร่างกายเป็นเส้นตรงเช่นตัวตรง

การพูดให้เข้าเป้า เคล็ดลับคือ “Power of 3” มีหลักมาจากความจำมักจะหยุดแค่ 3 สิ่ง ดังนั้นให้รวบรวมความคิดให้เหลือ 3 ประเด็น 1. ปัญหา 2. ทางออก 3. ผลลัพธ์ เปรียบเที่ยบกับ นิยาย 1. ผู้ร้าย 2. พระเอก 3. Happy ending

-ตัวช่วยอีกตัวหนึ่งในการ Presentation “script” คือการเพิ่มรสชาด ใส่อารมณ์ในPresentation -ใช้แผนภูมิในการนำเสนอ

เทคนิคที่ใช้ทั้งหมดมาจากการทำงานของสมอง คือ การใช้ประโยชน์จากสมองซีกขวา

    L           R

7 % WORD 93 % WAY ( movement , สีสรรค์ , น้ำเสียง , อารมณ์ )

การ Presentation จะเร้าใจถึง 93 % ด้วยการ movement

25 เมษายน 2555

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร อ. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

บุคคลต้นแบบทางจริยธรรมมีอยู่หลายท่าน ในหลวงทรงเป็นต้นแบบจริยธรรม แต่เหตุใดสังคมจึงยังมีการทะเลาะกัน มีคอร์รัปชั่น เป็นเพราะคนในสังคมขาดจริยธรรม ปัจจุบันเราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลง สิ่งสำคัญที่สุดในยุคนี้คือ “Spend of Trust” เกมการแข่งขันในโลกปัจจุบันคือ Trust ซึ่ง Trust มาจาก จริยธรรมนั่นเอง

การทำงานของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา

สมองซีกซ้าย - Logical - Sequential - Rational - Analytical - Objective - Looks at parts สมองซีกขวา - Random - Intuitive - Holictic - Synthesizing - Subjective - Looks at wholes ถ้าเราติดอยู่กับความคิดเพียงอย่างเดียว เรากำลังใช้สมองซีกซ้ายเพียงอย่างเดียว เราจะเกิดความไม่รู้สึกตัว ถ้าเราใช้สติสัมปชัญญะ จะเป็นการใช้สมองซีกขวาเราจะรู้สึกตัว มีความสุข ทุกลมหายใจ การมีสติสัมปชัญญะ การพิจารณาอย่างแยบยล มีจริยธรรม นำสู่การทำธุรกิจบนเส้นทางอรหันต์ ความรับผิดชอบต่อสังคม จึงจะอยู่รอดในยุคของการแข่งขันปัจจุบัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรวันที่ 24-25 เมษายน 2555

 วันที่ 24 เมษายน 2555

 เช้า- หัวข้อ มารยาทการเข้าสังคมและการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความประทับใจ

โดย ม.ร.ว.เบญจาภา ไกรฤกษ์

 - ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพในการเข้าสังคมในเรื่องต่างๆ ได้แก่ วิธีสร้างความประทับให้ผู้พบเห็นตั้งแต่ต้นด้วยการสร้างบุคลิกที่ดีในด้านต่างๆ ทั้งการแต่งกาย การวางท่วงท่า และกิริยามารยาทในอิริยาบถต่างๆ การแนะนำให้บุคคลรู้จักกัน การแสดงความเคารพ การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ การใช้นามบัตร มารยาทในการสนทนา การใช้โทรศัพท์ การเดินถนน การเข้าร่วมงานมงคล งานเลี้ยงรับรอง งานเลี้ยงอาหารค่ำ และการดื่มถวายพระพร

 - ได้เรียนรู้วิถีไทย/เทศ ในการเข้าสังคมและมารยาทไทยที่ควรช่วยกันรักษา - ได้เรียนรู้หลักการเจรจาธุรกิจและคุณสมบัติของนักเจรจา - ได้ชมการสาธิตการรับประทานอาหารตามมารยาทสากล

 

 บ่าย-หัวข้อ Blue Ocean

 โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

- ได้เรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในการทำงานเปลี่ยนไป มีภาวะการแข่งขันสูงขึ้นอันเนื่องมาจาก ปัจจัยหลักๆได้แก่ ผู้บริโภค คู่แข่งรายใหม่ๆ คู่ค้า และสินค้าทดแทน ในเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เราต้องหาจุดแข็งของตัวเองเพื่อพัฒนา ถ้าแข่งขันกันแบบต่างฝ่ายต่างห้ำหั่นกัน สุดท้ายจะเสียประโยชน์ทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม การหาจุดแข็งของตัวเอง เราต้องมีการเปลี่ยนกรอบการคิด (paradigm shift) ซึ่งคนส่วนใหญ่มักคิดตามกรอบเพราะติดกับดักในการคิดหลายประการ เช่น ติดสถานภาพ เชื่อมั่นในตัวเองสูง เสียดายค่าใช้จ่าย เชื่อการคาดการณ์ เป็นต้น แต่หากเราขจัดกับดักความคิดออกไป ก็จะมองเห็นทางออกมากขึ้น ในทางธุรกิจ หากเราหลุดพ้นจากกับดักความคิด และไม่มุ่งห้ำหั่นกัน เราจะค้นพบ Blue Ocean หรือน่านน้ำสีคราม ซึ่งเป็นพื้นที่ในตลาดที่ยังไม่มีใครจับจอง แต่เป็นพื้นที่พึงประสงค์ มีโอกาสเติบโตและสร้างกำไรได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้ น่านน้ำสีครามมีหลัการสร้างได้โดยการกำหนดขอบเขตการตลาดเสียใหม่ มุ่งเน้นที่ภาพรวมใหญ่ ไม่ใช่เน้นเฉพาะตัวเลข ก้าวให้เกินความต้องการที่มีอยู่แล้ว และดำเนินการตามขั้นตอนเชิงกลยุทธ์ให้ถูกต้อง โดยมีหลักปฏิบัติคือ เอาชนะอุปสรรคหลักๆในองค์กร และหากลยุทธ์สู่การดำเนินการ ซึ่งอาจหาด้วยตนเอง หรือ หาพันธมิตรก็ได้ ในปัจจุบันมีการกล่าวถึง นวัตกรรมเชิงคุณค่า (value innovation) กันมาก ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นน่านน้ำสีครามแบบหนึ่ง ที่อาจสร้างได้ด้วยเทคนิคต่างๆกัน ได้แก่ เทคนิคการขจัดองค์ประกอบที่ธุรกิจของเราทึกทักมานานว่าสำคัญ แต่แท้ที่จริงอาจไม่สำคัญมากอย่างที่เราคิด เทคนิคการลด คือลดหลายๆสิ่งให้เหลือเพียงเท่าที่จำเป็นตามมาตรฐานของธุรกิจของเรา เทคนิคการยกระดับของอีกหลายๆสิ่งให้เหนือกว่ามาตรฐานของธุรกิจนั้นๆ เทคนิคการสร้าง สิ่งใหม่ๆที่ธุรกิจนั้นๆไม่เคยนำเสนอมาก่อน

 

 วันที่ 25 เมษายน 2555

 เช้า- หัวข้อ สุนทรียภาพแห่งการพูดและการนำเสนอ

โดย อ.จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล - ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ทฤษฎี Power of 3สำหรับการนำเสนอส่วนเนื้อหา แต่ในส่วนของรูปแบบการนำเสนออาจตรึงผู้ฟังด้วยการใช้น้ำเสียงและลีลาท่าทางประกอบ ชวนให้น่าติดตาม และหากต้องทำpresentation อาจดึงความสนใจด้วยการใช้ภาพมากกว่าข้อความบรรยาย นอกจากนี้ท่าสัญลักษณ์ต่างๆยังมีอิทธิพลต่อผู้รับชมด้วย

 

 บ่าย อ. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

- ได้เรียนรู้เพิ่มเติมและแบ่งปันความรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 - ได้รับรู้เกี่ยวกับโครงการต่างๆที่บุคคลต่างๆได้พยายามทำให้สังคม

- ได้ตระหนักว่า CSR ควรทำไม่เฉพาะระดับองค์กร แต่ควรถึงระดับประเทศด้วย

 

 สิ่งที่เรียนรู้จากหนังสือ Mojo : How to Get It, How to Keep It, and How to Get It Back When You Lose It

 

 Mojo มีที่มาจากความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติของพวก voodoo

 - Mojo ทำให้เกิดความสุข และ คุณค่า เพราะช่วยให้บรรลุ 2 สิ่ง ได้แก่ ความรักในสิ่งที่ทำ และ การทำสิ่งนั้นได้สำเร็จ Mojo เกิดขึ้นภายในตัวเราเอง แต่ก็จะแสดงออกมาให้เห็นและมีอิทธิพลต่อเนื่องถึงคนรอบตัวเราด้วย

 - องค์ประกอบที่ทำให้เกิด Mojo มี 4 ประการ ได้แก่ identity, achievement reputation และ acceptance

 - ผู้เขียนหนังสือนี้ เน้นสิ่งที่เราจะเริ่มต้นทำเพื่อช่วยสร้างความสุขและคุณค่าให้มากขึ้นได้ใน ชีวิต ในชีวิตคนเรามี Mojo อยู่ 2 แบบ คือ Professional Mojo ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะและทัศนคติที่ดี และ Personal Mojo ที่สร้างประโยชน์หรือผลกำไรหรือผลที่จับต้องได้ ซึ่งคนที่มี Mojo ในงาน มักมี Mojo ในชีวิตส่วนตัวด้วย

- ในส่วนของ Professional Mojo ผู้เขียนหนังสือนี้กล่าวไว้ว่า คนเราจะทำงานให้ดี ได้ ต้องประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ แรงจูงใจ (motivation) ความรู้ (knowledge) ความสามารถ (ability) ความเชื่อมั่น (confidence) และความน่าเชื่อถือ(authenticity) สำหรับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผลสำเร็จที่ดีของงาน คือ ความสุข (happiness) รางวัล (reward) คุณค่า (meaning) การเรียนรู้ (learning) และ (gratitude)

- เรื่อง identity ผู้เขียนกล่าวถึงการเปลี่ยน Mojo ว่า ต้องสร้างตัวตนของเราใหม่ หรือฟื้นฟูตัวตนเดิมที่หายไปกลับคืนมา

 - พยายามนิยามเป้าหมายความสำเร็จให้ชัดเจน แล้วไปให้ถึง เราจะ smart หรือ effective

- reputation ของเราจะเป็นทางบวกหรือลบ ขึ้นกับภาพของเราที่ฉายให้คนอื่นเห็น หลายๆครั้ง

- ในเรื่องการยอมรับ (acceptance) หนังสือนี้สะท้อนแนวคิดแบบพุทธ ซึ่งต่างจากแนวคิดเดิมของพวกตะวันตกซึ่งจะมีความสุขได้ต้องมีเงื่อนไขของสถานการณ์อื่นเกิดขึ้นก่อน แต่แท้จริงความสุขจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องเกิดจากการยอมรับความเป็นไปของสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เพราะเราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ ต้องปรับเปลี่ยนที่ตัวเราเอง

 

ขยายความปัจจัยที่ทำให้เกิด Mojo 4 ประการ

 1.Identity สร้างได้ด้วยเครื่องมือ 4 อย่าง

1.1 ตั้งเกณฑ์หรือเป้าหมายที่เหมาะกับเรา

 1.2 เมื่อทำกิจกรรมใดๆในชีวิต ให้สำรวจตัวเองว่าเราใช้เวลาอยู่ในภาวะใดใน 5 modes ของความสุขและคุณค่า มากที่สุด - แบบ surviving คือ จำใจทำเพื่อให้ผ่านไปได้ มีความสุขน้อย คุณค่าต่ำ - แบบ stimulating คือ กิจกรรมที่สร้างสุขชั่วครู่ชั่วยาม และคุณค่าต่ำ - แบบ sacrificing คือ จำเป็นต้องทำ แต่มีคุณค่าในระยะยาว - แบบ succeeding คือ เต็มใจทำ และให้คุณค่าสูงมากในระยะยาว - แบบ sustaining คือ แบบที่อยู่ตรงกลาง รักษาสมดุลระหว่างความสุขและคุณค่าในระยะยาว

1.3 มองโลกในแง่ดี 1.4 สร้างแรงบันดาลใจโดยขจัดอุปสรรคบางอย่างออกไปจากชีวิต

2. Achievement สร้างได้ด้วยเครื่องมือ 3 อย่าง คือ

 2.1 ตั้งเป้าหมายไว้ก่อน

2.2 ไม่ละเลยภารกิจสำคัญของตน แม้ในช่วงเวลาสั้นๆ

 2.3 หาพื้นที่แห่งความสำเร็จที่ไม่ต้องสร้างผลกระทบต่อคนอื่น

 

3. Reputation สร้างได้โดย

 3.1 แยกให้ออกระหว่างสิ่งที่ต้องทำเองกับสิ่งที่ต้องมอบหมายให้ผู้อื่นทำ

3.2 เตรียมการป้องกันไว้บ้าง แก้ไขสถานการณ์ให้ทัน ทำสิ่งใหม่ๆ โดยให้ความสำคัญกับผู้อื่นด้วย

 3.3 หมั่นตรวจสอบข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเรา

3.4 ไม่ยกตนข่มท่าน

 

 4. Acceptance สร้างได้โดย

 4.1 ชนะใจผู้บังคับบัญชาด้วยการปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาเสมือนที่ปฏิบัติต่อ ลูกค้าคนสำคัญ

 4.2 จดจำบทเรียนจากสถานการณ์สำคัญต่างๆ เข้าใจโลกรอบตัวให้มาก

4.3 ให้อภัยและ รักษามิตรภาพที่ยืนยาวด้วยการมองข้ามเรื่องบกพร่องเล็กๆน้อยๆ

 

สิ่งที่ทำให้ Mojo หายไป

 - อย่าทำอะไรเกินกำลัง อย่าเพียงรับปากเพื่อให้ผู้อื่นเกิดความสุขหรือความพอใจในระยะสั้น แต่ทุกข์จะตกกับเรา ถ้าเราทำไม่ได้

 - เตรียมตัวเองให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ เพราะเราเปลี่ยนโลกไม่ได้

- รู้จักยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องถามหาตรรกะหรือเหตุผลในทุกๆเรื่อง

- อย่าบ่นว่านินทานาย

- อย่ามัวเสียดายสิ่งที่ลงทุนไปแล้ว แต่ไม่เกิดผล (sunk cost)

 - วางตัวให้ถูกกาละเทศะ และเหมาะควรรแก่ฐานะและตำแหน่ง

- ในการวิสาสะกับผู้คน พึงหลีกเลี่ยง : - การถกเถียงตลอดเวลา

                                                   - การแสดงว่าตัวเองเหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ

                                                   - การคาดคั้นเอาคำตอบ

                                                   - การถามหาความยุติธรรมในสถานการณ์ที่เราไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ

เลือกบุคคล 5 คนจาก The 100 Most Influential People in the World

1.ประธานาธิบดี U Thein Sein สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า U Thein Sein เป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ที่กำลังเปลี่ยงแปลงประเทศครั้งใหญ่ ต้องประคับประคองสภาพ รักษาสมดุลระหว่างอำนาจรัฐที่อยู่ในมือเผด็จการทหาร(ซึ่งก็คือตนเองและพรรคพวก) ในขณะที่ต้องผ่อนคลายอำนาจนั้นให้แก่องค์กรท้องถิ่น เจรจาต่อรองกับชาติพันธุ์ต่างๆ และให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งได้บ้าง เพื่อประโยชน์ในการเปิดประเทศ การถูกยกเลิกการคว่ำบาตรจากประเทศมหาอำนาจ การสร้างโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจ กับการจะเข้ารับหน้าที่ประธานอาเซียนในปี 2557 จึงถือได้ว่ามีวิสัยทัศน์ มีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ท้าทายต่ออำนาจเดิมและความไม่แน่นอนของอนาคต การกล้าท้าทายและเปลี่ยนแปลงของพม่าอาจเป็นแรงบันดาลใจให้เราชาว กฟผ.ปรับวิธีคิด มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับ กล้าที่จะก้าวไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2.Wang Yang นักปฏิรูปผู้เปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึง Wang Yang ผู้บริหารมลฑลกวางตุ้ง ได้แสดงความกล้าหาญในการเปลี่ยนแปลงระบอบอำนาจของจีน ในกรณีประชาชนในหมู่บ้าน Wukan ออกมาประท้วงการ Corruption ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น Yang จัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นชุดใหม่โดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน นับว่า Yang กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากขนบเดิมของระบอบคอมมิวนิสต์จีน จึงเป็นข้อคิดสำหรับ กฟผ.ที่อาจต้องกล้าเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ดีกว่าเดิม แม้จะขัดกับประเพณีปฏิบัติแบบเดิมๆไปบ้าง

3.Donald Sodaway สถาปนิกแห่งระบบไฟฟ้าในอนาคต Donald Sodaway วิศวกรจาก MIT ได้ทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยแบตเตอรี โดยปฏิวัติวิธีคิดจากเดิมๆที่ ค้นคว้าหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตออกมามากๆ ให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ เปลี่ยนเป็นคิดจากพื้นฐาน ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มากมายเพื่อให้ราคาถูก ใช้งานง่าย บำรุงรักษาต่ำ จนเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่เป็นแบตเตอรีโลหะเหลว โดยที่ Sodaway ไม่ได้ใช้มืออาชีพมาช่วยในการทดลองผลิตแบตเตอรีโลหะเหลว เขาใช้เพียงแค่กลุ่มนักศึกษาเท่านั้นส่วนเขาทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ซึ่ง Sodaway ได้บอกว่าในเชิงทรัพยากรมนุษย์ มันไม่ใช่เพียงแค่การประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นการทำให้เกิดศักยภาพของคนมากที่สุด ในฐานะคนไฟฟ้า ต้องยกย่อง Sodaway ที่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่นี้ ในยุคที่การผลิตไฟฟ้าเกิดจากพลังงานหมุนเวียนที่ขาดความแน่นอนสม่ำเสมอ แบตเตอรีโลหะเหลวของ Sodaway อาจเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาในอนาคต

4.Sara Blakely เศรษฐีนีชุดชั้นในพันล้าน Sara Blakely คือตัวอย่างของผู้หญิงผู้ไม่เคยยอมแพ้ เธอลองผิดลองถูกมามากมาย ในที่สุดเธอค้นพบไอเดียใหม่จากถุงน่องตัดขา ซึ่งเธอคว้าโอกาสนั้นไว้ได้ โลกนี้จึงมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ผู้หญิงโดยเฉพาะไซส์ใหญ่ทั้งหลายต้องการ ชุดชั้นในไร้ตะเข็บ Spanx ช่วยให้ผู้หญิงมีรูปร่างที่สวยงามได้สัดส่วนมากขึ้นและใส่ชุดสวยๆได้อย่างที่ใจต้องการ กฟผ.ก็เป็นเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการทั่วไปที่หวังผลเลิศ และยอมรับไม่ได้กับความล้มเหลว แต่ถ้าเราต้องการสิ่งใหม่ๆ เราต้องหัดกล้าที่จะทดลอง อดทนต่อความล้มเหลว (ภายใต้การจำกัดความเสียหายที่ดี) เพื่อที่จะพบสิ่งใหม่ๆ หนทางใหม่ๆให้ กฟผ.ก้าวต่อไปทั้งในธุรกิจพลังงานและอื่นๆ ได้อย่างแข็งแกร่ง

5.Salman Khan ติวเตอร์ระดับโลกในยุคดิจิตอล Salman Khan ซึ่งอาศัยอยู่ที่ Silicon Valley ไม่ได้ตั้งใจ ในทีแรกเขาต้องการติววิชา Algebraให้กับญาติข้ามประเทศผ่านระบบ Online ทางเน็ต แต่กลับกลายเป็นว่าเขาได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ มากกว่า 3,000 บทเรียนให้กับเด็กๆทั่วโลกฟรี การกระทำของเขาสามารถเป็นบทเรียนให้พวกเราชาว กฟผ.ได้ว่าการทำ CSR อาจเป็นเรื่องเล็กๆ อะไรก็ได้ที่อาจกลายเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ได้ในที่สุด โดยเฉพาะกรณีของ Khan ทำให้คิดถึงว่า กฟผ.มีคนเก่งๆมากมาย ถ้าจะทำเป็นสถาบันกวดวิชาให้กับน้องๆเยาวชนผ่านทางเน็ตบ้าง ซึ่งคงใช้เงินไม่มาก ถ้าดังขึ้นมาคนไทยน่าจะมอง กฟผ.ใหม่ น่าจะเชื่อถือและไว้วางใจมากขึ้น และอาจได้เยาวชนที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตเป็นพวกอีกด้วย การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อาจได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น

สรุปสาระสำคัญจากหนังสือ MOJO

Mojoคือการทำสิ่งต่างๆอย่างมีเป้าหมาย เต็มเปี่ยมด้วยพลัง และคิดบวก ปราถนาให้โลกได้รับรู้และเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ โดยเริ่มจากภายในแล้วค่อยแผ่ออกไปสู่ภายนอก MOJO ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ความเป็นตัวเรา (Identity ) 2. ความสำเร็จ (Achievement ) 3. ชื่อเสียง (Reputation) 4. การยอมรับความจริง (Acceptance) การวัด Mojo 1. Identity: ในความคิดของเรานั้น เราต้องรู้ว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไร 2. Achievement : เราประสบความสำเร็จอะไรบ้าง 3. Reputation : ผู้อื่นมองเราอย่างไร และคิดอย่างไรกับสิ่งที่เราทำ 4. Acceptance : การยอมรับความจริงว่า บางอย่างเราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ MOJO Paradox ความสุขและการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่เรากลับตอบสนองต่อสิ่งต่างๆที่เข้ามาในชีวิตอย่างเฉยชา ใช้ชีวิตอย่างที่ทำมันทุกๆวันเหมือนเดิม เราจึงควรเปลี่ยนแปลงตนเองโดยตัดความเฉยชาทิ้งไป เปลี่ยนไปเป็น Professional Mojoโดย 1. ทำให้ตัวตนของเรามีความหมาย โดยกำหนดเป้าหมายให้เหมาะกับตัวเรา เมื่อทำกิจกรรมใดๆให้สำรวจตัวเราว่าเราอยู่ในภาวะใด มีความสุขและรู้สึกถึงคุณค่านั้นเพียงใด หรือเพียงจำใจทำเพื่อให้ผ่านสิ่งนั้นๆไปให้ได้ได้ ซึ่งมีความสุขน้อยและรู้สึกว่ามีคุณค่าต่ำ หรือเป็นสิ่งที่สร้างความสุขได้แค่ชั่วครู่ชั่วยามซึ่งแน่นอนว่ารู้สึกถึงคุณค่าที่ต่ำ หรือจำใจต้องทำ แต่มีคุณค่าในระยะยาว หรือเต็มใจทำและสิ่งที่ทำนั้นให้คุณค่าสูงมากในระยะยาว และสุดท้ายแบบที่ต้องรักษาสมดุลระหว่างความสุขและคุณค่าในระยะยาว นอกจากนี้ควรมองโลกในแง่ดี และมีแรงบันดาลใจ 2. ตั้งเป้าหมายและแน่วแน่ไม่ละเลยภารกิจสำคัญของตน มองหาโอกาสแห่งความสำเร็จที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น 3. เขียนบทบาทและกำหนดชีวิตตัวเอง กำหนดสิ่งที่ต้องทำกับสิ่งที่ต้องมอบหมายให้ผู้อื่นทำอย่างชัดเจน คิดถึงโอกาสที่อาจเกิดความผิดพลาด เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที ให้ความสำคัญกับผู้อื่น ตรวจสอบตัวเราเองอยู่เสมอ เคารพในการกระทำของผู้อื่น 4. ชนะใจผู้บังคับบัญชาด้วยการปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาเหมือนกับปฏิบัติต่อลูกค้าคนสำคัญ เรียนรู้บทเรียนจากสถานการณ์สำคัญต่างๆ เข้าใจโลกที่อยู่รอบตัวเรา ให้อภัยและ รักษามิตรภาพให้ยืนยาว หัดมองข้ามเรื่องบกพร่องเล็กๆน้อยๆไป และปล่อยวางสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เมื่อเราเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นProfessional Mojo สิ่งที่เราจะได้คือ 1. ความมีสุขภาพดี 2. ความมั่งคั่ง 3. ความสัมพันธุ์และความผูกพันที่ดีกับผู้อื่น 4. ความสุข 5. การมีชีวิตอย่างมีคุณค่าและความหมาย

ดังนั้น MOJO จึงไม่ไช่การบรรลุความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่เป็นการเข้าถึงการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและกอรปไปด้วยความหมายแห่งชีวิต ซึ่งความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้นเป็นผลพลอยได้

สิ่งที่ได้จากหนังสือ MOJO

MOJOคือพลังเชิงบวกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างมุ่งมั่นมีเป้าหมาย ซึ่งออกมาจากภายในจิตใจ แล้วกระจายสู่ภายนอก ทรงพลังพอที่จะทำให้คนอื่นรับรู้ได้ เป็นคำที่ใช้กันมากในแวดวงกีฬา ธุรกิจและการเมือง เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้พบกับความสุขและความหมายของชีวิต

ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะทำให้คุณมี Mojo ที่เพิ่มขึ้น -ความเป็นตัวตนของเรา (Identity) คุณคิดว่าคุณเป็นใคร ต้องรู้ว่าเราเป็นใคร -ความสำเร็จ (Achievement) เรามีความสำเร็จอะไรเมื่อเร็วๆนี้ -ชื่อเสียง (Reputation) คนอื่นมองว่าเราเป็นอะไร -การยอมรับ (Acceptance) เราต้องยอมรับความเป็นจริง ปล่อยวางบางสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

สิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของคนเรามี 5 อย่าง -สุขภาพที่ดี -ความร่ำรวย -ความสัมพันธ์ สมรรถภาพ -ความสุข -ชีวิตที่มีความหมาย

Mojo จะเกิดขึ้นสูงสุดในเวลาที่เราได้รับทั้งความสุขและความหมายในสิ่งที่เรากำลังทำ พูดง่ายๆ Mojo คือสิ่งที่จะทำให้คุณได้พบทั้งความสุขและความหมายในชีวิต

ประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน

วันที่ 24 เมษายน 2555

วันนี้ได้อะไร

ช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยการสรุปการบ้านที่อ่านหนังสือ Mindset ของแต่ละกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม โดยมีโจทย์ว่า

1)     ทำไมคนในโลกมีพฤติกรรมแตกต่างกัน คนหนึ่งพร้อมเรียนรู้ อีกคนหยุดการเรียนรู้ และ

2)     ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGAT ให้บ้าคลั่งความรู้ พร้อมทำงานมุ่งสูวิสัยทัศน์

 

สรุปได้ว่า Mindset มีการจำแนกคนได้เป็น 2 แบบ แบบแรกเป็นพวก Fixed Mindset ความคิดไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าในอดีตหรือในอนาคต แบบที่สองเป็น Growth Mindset ปรับเปลี่ยนความคิดได้ ขยับขยายได้

 

และอาจารย์อนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ ได้สรุป ดังนี้

กลุ่มหนึ่ง คุณบรรพตพูดเปิดโรงได้มีมีเนื้อหาสาระ ผู้บริการ กฟผ. ควรที่จะ 1) ปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน (HR Environment) เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน 2) ส่งเสริมความเป็นธรรม แต่อาจารย์ให้ข้อสังเกตว่า Fair doesn’t equal หมายความว่าความยุติธรรมไม่จำเป็นว่าต้องเท่ากันหรือหารสองเสมอไป 3) เป็นเพื่อนร่วมงานนำมาสู่ การสร้างความผูกพัน (Engagement) และผู้บริหารต้องเป็นคนง่ายๆ (Back to basic)

กลุ่มสอง พร้อมเรียนรู้ ไม่ท้อแท้ ผู้บริการ กฟผ. ควรที่จะ 1) มุ่งสู่วิสัยทัศน์คือผู้ร่วมงาน 2) สร้างบรรยากาศการทำงาน 3) มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิด 4) การตั้งเกณฑ์ KPI มาให้คะแนนความพยายาม ไม่เน้นผลสำเร็จ เรื่องลูกน่ะ ให้ชมเชยความพยายามอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ เมื่อทำเต็มที่แล้วจะได้ 4 หรือไม่ ก็ไม่เป็นไร เราว่าตัวเราก็ยังไม่คิดแบบนี้นะ เราก็ต้องเปลี่ยนมาชมความพยายามของเขาเหมือนกัน

กลุ่มสาม คุณชญาดา ดึงเกร็ดเรื่องครอบครัวมาใช้ได้ครบ ผู้บริการ กฟผ. ควรที่จะ 1) ทำงานแบบมีกลยุทธ์ 2) กระตุ้นเพื่อนร่วมงานให้ทำงาน และ 3) ไม่จำกัดครอบงำความคิดของลูกน้อง

กลุ่มสี่ คุณรัตนา เน้นว่าผู้บริการ กฟผ. ควรที่จะต้องเป็น Growth Mindset ไม่ใช่ว่าแพ้ไม่เป็น เป็นคนเก่งแต่โกงก็ไปไม่รอด มีข้อเสนอการปรับปรุงสักษณะการบริหารงานของ กฟผ. เยอะ

กลุ่มห้า ใช้ Diagram ในการอธิบายความหมายของ Mindset ซึ่งสุดท้ายจะมุ่งสู่ Growth Mindset ในที่สุดนั่นเอง

 

ห้อข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดยอาจารย์ มรว. เบญจาภา ไกรฤกษ์ ภริยาเอกอัครราชทูตที่ได้ย้ายไปหลายๆ ประเทศ

 

ความประทับใจเมื่อแรกพบ หรือ First Impression นั้นสำคัญมาก เกิดจาก

1)     การแต่งกาย   เครื่องประดับผู้ชายนาฬิกาไซโก้ Rolex Ok พระเครื่องก็เป็นที่สนใจได้ดี หวีผมสะอาดเรียบร้อย

2)     ท่าทาง          การไหว้ค้อมตัว ก้มศีรษะไหว้พระ ผู้ใหญ่ การรับไหว้เด็ก

3)     ความสะอาดเรียบร้อย/สุขภาพอนามัย

4)     การพูด          น้ำเสียงกังวานจะชนะน้ำเสียงแหบแห้ง ไม่ใช้คำว่า “เค้า” การพูดเรื่องโจ้ก หายากที่จะไม่มี Dirty Joke พยายามเลี่ยง เพราะเพิ่งรู้จักกัน

5)     จิตใจ            เราใส่ใจในตัวเขา เมื่อเขาถามเขาสนใจ ไม่พูดเรื่องเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ ศาสนา เรื่องที่ทำให้แตกแยก

 

  • มารยาทในการยืน การเดิน การนั่ง มีการสาธิตให้ดูตัวอย่าง มีเคล็ดลับในการนอนไม่ให้ปวดหลังโดยการมีหมอนหนุนหลังด้วย
  • มารยาทในการสนทนา
    • ฟังมากกว่าพูด
    • คุยเรื่องที่มีสาระและมีความรื่นรมย์
    • สร้างอารมณ์ขันอย่างสุภาพ
    • ละเว้นการสนทนาที่กระทบจิตใจผู้ฟัง
  • มารยาทในการเดินถนน
    • เดินตัวตรง
    • เดินทางซ้ายของสุภาพสตรี ยกเว้นฟุตบาทให้เดินกันด้านนอก
    • เลี่ยงการเดินสวนหรือเดินนำหน้าผู้อาวุโส บางครั้งไม่ทราบทางเราก็ขออนุญาตเดินนำทางได้
  • มารยาทการเข้าร่วมพิธีสงฆ์
    • การแต่งกายใช้สีดำมาตั้งแต่ ร.5 ไม่ใช่สีดำ-ขาว ห้ามลาย ก่อนหน้านั้นเป็นสีขาวล้วน นุ่งซิ่นยาว กระโปรงคลุมเข่า
    • ไปตรงเวลา
    • มีของขวัญมอบให้เจ้าภาพ
    • กราบพระพุทธรูปแล้วพระสงฆ์
    • ตั้งใจรับพรจากพระ (อย่ากระซิบกระซาบคุยกัน วันหลังค่อยคุยก็ได้)
    • ลาศพ และ เจ้าภาพ ก่อนกลับ
  • มารยาทในงานเลี้ยงรับรอง (Reception ไม่นับงานแต่งงาน)
    • ตอบรับการไปร่วมงานก่อนวันงาน 7 วัน
    • แต่งกายให้เหมาะกับงาน ดูตามบัตรเชิญ ถ้าไม่ระบุก็ Smart Jacket เสื้อ baser
    • ไปถึงงานก่อนเวลานัดหมาย ยกเว้นงานเลี้ยงรับรอง หรือเราเป็นแขกเกียรติยศ ต้องมาช้าซัก 10 นาที ให้แขกพร้อมเพรียงก่อน
  • งานเลี้ยงอาหารค่ำ (Sit-down Dinner)
    • แต่งการตามบัตรเชิญระบุ
    • การเดินทางให้เผื่อเวลาบ้าง ไปถึงก่อนเวลา ก็วนรถก่อนเข้าตรงเวลา คนไทยพร้อมกัน คนญี่ปุ่นไปก่อนเวลา
    • ที่นั่งของแขกเกียรติยศ นั่งข้างขวาของภริยาเจ้าภาพ
    • แนะนำตัวกับผู้ที่ท่านจะนั่งข้างก่อนที่จะนั่งลง
    • สนทนากับคนด้านขวามือก่อนคนด้านซ้าย
    • คลี่ผ้าเช็ดปากวางบนตัก
    • ตักซุปออกนอกตัว ไปฝึกไว้นะ เมื่ออิ่มซุป ให้วางช้อนเป็นฉาก
    • อังกฤษจับส้อมด้วยมือซ้ายส่งอาหารเข้าปาก อเมริกันใช้มือที่ถนัดคือมือขวา
    • มีจดหมายขอบคุณตามหลังมา

 

อ.จีระเสริม

  1. ระบบเครือข่ายสังคมของ กฟผ. ต้องเปิดให้ไปตามงานสังคม และสถานทูตต่าง ๆ
  2. รุ่น 8 น่าจะให้มีโอกาสไปงานที่สามารถคุยแลกเปลี่ยนกันได้ ฝึกการคุยในงาน Cocktail  ต้องรู้จักคนอื่น ๆ ด้วย อย่าคุยแต่คนที่รู้จัก  และให้พกนามบัตรที่มีภาษาอังกฤษด้วย มีกล่องสวย ๆ แต่บางครั้งการไปงาน Cocktail ที่ไม่รู้จักคน บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกประหม่าได้
  3. ในการจัดคราวหน้าสำหรับ กฟผ. อยากให้จัดการกินตามสถานการณ์จริง เพราะใน กฟผ. การมีทักษะทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญและต้องฝึกให้ดี อย่างเช่นการรับประทานอาหาร เห็นช้อนส้อมเยอะ ๆ เวลาเห็นแรก ๆ อย่ารีบร้อน ให้เริ่มจากการนิ่งก่อน ถ้าไม่แน่ใจให้ดูข้าง ๆ ขอระมัดระวังในการทำและเคลื่อนย้าย ต้องสำรวมระวังตลอดเวลาว่าจะไม่ทำผิดพลาด
  4. ข้อผิดพลาดที่เห็นกันบ่อยๆ คือ 1) มีดมีไว้สำหรับหั่น อย่าเอามีดใส่ปากเวลาทานกาแฟ 2) ช้อนมีไว้สำหรับชง ห้ามตักเข้าปากเด็ดขาด การให้ความสำคัญเรื่องมารยาท
  5. Three law of Performance เวลามี Conflict ในองค์กร เรามักจะเก็บความคับแค้นใจอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเวลาเป็นผู้ใหญ่ ต้องทำให้ผ้าเป็นผ้าขาว เคลียร์ความรู้สึกไม่ดีออกไป  ต้องทำให้ผ้าสะอาด บริสุทธิ์ เวลาอยู่กับลูกน้อง  ต้องรู้จักให้อภัย อย่าเก็บความแค้น และความขะมุกขมัวในจิตใจ ผู้ใหญ่ต้องทำให้ตัวเองเป็นผ้าที่สะอาด
  6. Mindset ที่พร้อมจะเปลี่ยนคือ Eager to Learn คือความใฝ่รู้  และหลังจากไม่ได้เรียนกับ ดร.จีระ แล้วควรมีนิสัยใฝ่รู้ และอยากรู้อยากเห็น
  7. สนับสนุนให้มี Knowledge and Networking  สร้างความภูมิใจในการแสดงออก

ประเสริฐศักดิ์ ช.อศง-ลท.

ประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน

วันที่ 24 เมษายน 2555

วันนี้ได้อะไร

 

หัวข้อ Blue Ocean โดยอาจารย์ ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

 

อาจารย์เริ่มเล่าจากการแทนภาพให้เห็นว่าองค์กรอยู่ตรงกลาง ถัดขึ้นมาเป็นการงาน และสิ่งแวดล้อมภายนอกตามลำดับ โดย 1) องค์กรที่อยู่ตรงกลางประกอบด้วยเจ้าของ กรรมการบริหาร ผู้จัดการและลูกจ้าง  2) การงานประกอบด้วยคู่แข่ง ผู้ผลิตของให้ สหภาพ หน่วยงานรัฐท้องถิ่น รัฐบาล ที่ปรึกษา ผู้ให้ความเห็นทางการเงิน และลูกค้า และ 3) สิ่งแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยแรงกดจากสังคม-วัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจและการเมือง/กฎหมาย

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น เริ่มต้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน สภาวะการแข่งขันเปลี่ยน และการเปลี่ยนแปลงมหภาค โดยยกตัวอย่าง 1) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาเช่น ความคิดของเด็กรุ่นใหม่แตกต่างจากรุ่นเก่า  เด็กสามารถหาความรู้ที่ไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องครูบอก ประชาชนมีการหาข้อมูลมากขึ้น ให้ความสนใจมากขึ้น และ Comment กฟผ.  ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น มีข้อมูลมากขึ้น ฉลาดขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนมากขึ้นสิ่งที่จะเกิดตามมาคือ 2) ภาวะการแข่งขัน และ 3) เชิงมหภาคเช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกิดจากธรรมชาติ และประเทศอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น

ภาวการณ์แข่งขัน อาจารย์ยกภาพ 5-Force Model ที่มีสภาพการแข่งขันในปัจจุบันอยู่ตรงกลาง รายล้อมด้วย 1) ผู้ผลิตรายเดิม 2) คู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามาในตลาด 3) สินค้าที่ทดแทนกันได้และ 4) ลูกค้า โดยชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงมีมากขึ้นทั้งจากผู้บริโภค สภาวะการแข่งขันและถึงแม้ไม่มีคู่แข่ง เราก็ต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา อาจใช้ KPI ที่เกณฑ์ในการประเมินจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ

กลยุทธ์การแข่งขัน ภาพที่อาจารย์ฉายให้ดูคือ Porter’s Generic Competitive Strategies) ที่เป็นสี่เหลี่ยมสี่ช่อง โดยด้านซ้ายเป็นกรอบการแข่งขัน 2 แบบคือ ภาพกว้างและภาพแคบ และด้านบนเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันคือ ต้นทุนถูกและ ความต่างของสินค้า ดังนั้น Matrix ที่เกิดขึ้นในช่องซ้ายบนเป็น 1) ผู้นำต้นทุนถูก ขวาบนเป็น 2) ข้อต่างสินค้ากว้างๆ ล่างซ้ายเป็น 3) การจับจุดต้นทุน และล่างขวาเป็น 4) การจับจุดข้อแตกต่างของสินค้า

ทะเลสีแดง หรือสีเลือด Red Ocean ก็คือช่องซ้ายบนนี่แหละ แต่ก่อนกลยุทธ์ที่ใช้กันคือ ราคาและความแตกต่าง คือของถูกเป็นของไม่ค่อยดี ของดีก็ราคาแพง ของดีราคาถูกไม่เคยมี ผลที่ตามมาจากกลยุทธ์ Red อันนี้ คือการลดราคา ให้บริการดีกว่า ปริมาณมากกว่า เท่ากับเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ทะเลสีฟ้า เลยกลายเป็นทะเลสีแดง  ในการแข่งขัน คนอยู่รอดคือคนที่แข็งแรงที่สุด ดังนั้น เราจึงต้องหาจุดแข็งของตัวเราเองให้ได้ ซึ่งถ้าเราเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จะเกิดแบบสงครามนิวเคลียร์ คือคนทิ้งระเบิดก็ตาย ตลาดจะตายหมู่หมดเลย  ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ เกิดการแข่งขันเกิดขึ้น เป็นการแข่งขันด้านราคา คือสงครามราคา   จนกระทั่ง Hutch ก็ตายไป ต่อมามีการจับมือกันว่าจะไม่ดัมพ์ราคากันอีกแล้ว

เปลี่ยนความคิด Paradigm Shift   ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด คือคิดใหม่ ทำใหม่ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Paradigm Shift คือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนสันดาน โดยต้องเริ่มจากการเปลี่ยนที่ใจก่อน è ความคิด è พฤติกรรม è สันดาน

ใจต้องเล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงแล้วไปปรับเปลี่ยนกระบวนคิดเสร็จแล้วพฤติกรรมจึงจะตามมา ทำไปนานๆ กลายเป็นสันดานไป

ยกตัวอย่าง พนักงานห้างแห่งหนึ่ง มีบางคนไม่อยากใส่สีสดๆ อยู่มาจนแก่ไม่เคยใส่ ไม้แก่ดัดยากก็ต้องดัดนะ คนเรามักติดอยู่ในกับดักหรือกรอบอย่างใดอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนระบบความคิดให้ได้ต้องทะลายกรอบ เอากับดักออกก่อน ต้องเปลี่ยนใจให้เขายอมรับก่อนว่าเพื่อหารายได้ให้ห้างต้องช่วยกันทำอะไรบ้าง ไม่ใช่ว่าตัดชุดมาให้เลย

กับดักความคิด (Trap Ridden Thinking)  อาจารย์ยกภาพการพับกระดาษเป็นรูป ปีกนก 2 ข้าง ที่มีคนยืนอยู่ตรงกลาง ส่วนมากก็จะคิดไปปิกซ้ายบ้าง บางครั้งครั้งก็ไปทางปีกขวา แต่จะไม่ค่อยมีใครคิดถึงปีอันใหม่ที่งอกออกมาตรงกลางระหว่างปีกซ้ายและขวาก็ได้

บ่วงความคิด นึกถึงพวก Fixed Mindset ขึ้นมาเลยนะเวลาอาจารย์พูดถึงคนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงมีสาเหตุมาจากความไม่เปิดใจ ความกลัว ความไม่รู้ ความเคยชิน ความเป็นตัวของตัวเอง  หลงตัวเอง เปลี่ยนแล้วมีค่าใช้จ่าย เป็นต้น

กระบวนการตัดสินใจติดบ่วงความคิด ได้หลายแบบ 1) บ่วงสมอเรือ (Anchoring) การยึดติดอยู่กับอย่างใดอย่างหนึ่ง 2) ชอบและพอใจสิ่งที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน (Status-Quo) 3) เสียดายเงินที่จ่ายไปแล้ว (Sunk-Cost) 4) เหตุการณ์เหล่านั้น เกิดขึ้นซ้ำ ๆ แล้วมีการยืนยัน (Confirming-Evidence) 5) กรอบที่ตัวเราตีไว้เอง (Framing) 6)  ประมาณการณ์และคาดการณ์แล้วเชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริงแล้วถูกต้อง (Estimating and Forecasting) 7) หลงตัวเอง เชื่อมันในตนเองมากเกินไป (Overconfidence) 8) กลัวสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในแง่ลบ (Prudence) และ 9) การจำได้ว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้ว (Recall ability) มักเกิดขึ้นกับคนมีประสบการณ์มาระยะหนึ่ง และมีอายุงานมาระยะหนึ่ง การประสบความสำเร็จในอดีตทำให้ตนเองมีความเชื่อมั่นมากเกินไป

ถ้าคนเรามีสิ่งเรานี้เยอะๆ จะเปลี่ยนแปลงได้ยาก  ดังนั้นต้องทลายกรอบเหล่านี้ให้ได้ก่อน

Thinking Paradigm ระบบคิด แบ่งเป็น 4 ระดับ เริ่มจาก

คิดบวก à คิดสร้างสรรค์ à คิดกลยุทธ์  à คิดปรัชญา

  1. Positive Thinking คิดเชิงบวกให้เป็น เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องปรับตัวเองให้ได้ก่อน ต้องคิดว่าสิ่งต่าง ๆในโลกสามารถเกิดขึ้นได้
  2. Creative Thinking คือคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรใหม่ ๆ เป็นลักษณะของการคิดนอกกรอบ เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร (ถ้าคิดนอกกรอบ ไม่สร้างสรรค์ ไม่เป็นประโยชน์ก็เป็นพวกนอกคอกไป) มีแนวคิดอยู่ 3 วิธีคือ

2.1. ต้องเอาความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตั้ง (Customer Centric)

2.2. ถ้าคิดแบบเดิม ๆ อยู่ ก็จะไม่รอด ต้องหาอะไรที่แปลกใหม่ คิดอะไรที่คนยังไม่เคยมี หรือยังไม่ได้คิด (Non-Competitive Benchmarking)

2.3. ในปัจจุบันโลกมีอยู่ระนาบเดียว (The World is flat)  ไม่มีความแตกต่างกันในมิติต่าง ๆ เป็นลักษณะของโลกมิติเดียว  การติดต่อธุรกิจแต่ก่อนไม่กว้างและเจริญขนาดนี้ แต่ปัจจุบันการเดินทางและการติดต่อสะดวกขึ้น  ดังนั้นความรวดเร็วมีมากขึ้น มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้รอบโลก ดังนั้นเราต้องหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ  เกิดแนวคิดทฤษฎี Blue Ocean

 

Blue Ocean คือน่านน้ำใส  พื้นที่ในตลาดยังไม่มีการจับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเติบโต และสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล” ทำไมเป็นเช่นนั้น เพราะอะไร

  • ลูกค้าไม่มีทางเลือก
  • ลูกค้าบอกไม่ได้ว่าแพงหรือเปล่า ไม่มีตัวเปรียบเทียบเกิดขึ้น

เพราะว่าการเข้าตลาดคนแรก เรากำหนดกฎ กติกา มารยาท คนเข้ามาตลาดรายแรก จึงรวยมาก

 

คนคิดทฤษฎีเป็นคนที่เกิดในสิงคโปร์แต่ไปอยู่อเมริกา นำทฤษฎีการตลาดมาปรับแล้วเรียกใหม่ว่า Blue Ocean แล้ว Blue Oceanมีความจำเป็นอย่างไร

  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบทวีคูณ
  • แนวโน้มที่มุ่งสู่โลกไร้พรมแดน ไม่ว่าจะเกิดอะไรที่ไหน มีผลกระทบกับเราทั้งสิ้น  ร้านขายหนังสือแข่งกับ E-Book , แข่งกับ Amazon (ลูกค้าสามารถซื้อที่ไหนก็ได้)
  • อุปสงค์โดยรวมแล้วมีน้อยกว่าอุปทาน
  • ผู้บริโภคซื้อสินค้าโดยพิจารณาราคาเป็นหลักเพราะสินค้าไม่ค่อยมีความแตกต่างเท่าไหร่
  • แบรนด์ที่แตกต่างกันจริงๆ หายากขึ้น เน้นเรื่องการจดทะเบียน และภาพลักษณ์มากกว่า

 

กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม Blue Ocean Strategy

เป็นการหลีกเลี่ยงการห้ำหั่นราคา ค้นหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มเดิม  เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการ แต่ยังไม่มีใครมองเห็น อย่างเช่น กฟผ. สามารถเพิ่ม Product Line เพิ่ม Service ได้หรือไม่ ตัวอย่างกลุ่มลูกค้าของ Dell Computer ไม่ใช่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป ลูกค้าของ Dell คือคนใช้คอมพิวเตอร์มีความรู้ทางด้าน Hardware  สามารถกำหนด Specs สั่งของได้

อาจารย์ฉายภาพ  RED VS BLUE แล้วเปรียบเทียบ ดังนี้

  • Red Ocean เป็นกลุ่มลูกค้าเดิม ตลาดเดิม แต่ Blue Ocean ไปในพื้นทีไม่มีการแข่งขันจะสร้างลูกค้าใหม่เลย
  • Red Ocean คิดวิธีทำอะไรให้ชนะคู่แข่ง ห้ำหั่นคู่ต่อสู้ แต่ Blue Ocean การแข่งขันไม่อยู่ในความสนใจ
  • Red Ocean ใช้ความต้องการที่มีอยู่แล้ว  แต่ Blue Ocean ไปสร้างความต้องการลูกค้าให้เกิดความจำเป็นขึ้น ตัวอย่างเช่นโทรศัพท์มือถือกลายเป็นทุกอย่างไปแล้ว
  • Red Ocean เดิมสินค้าต้องแลกระหว่างคุณค่ากับต้นทุน แต่ Blue Ocean ทลายกำแพงสิ่งนี้
  • Red Ocean ต้องแลกระหว่างการสร้างความต่างกับต้นทุน ถ้าเพิ่มคุณภาพจะเพิ่มราคา ลดคุณภาพลดราคา  แต่ Blue Ocean ทำทั้ง 2 อย่าง เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า Value Innovation

หลักการ 6 อย่าง (Six Principles of Blue Ocean Strategy) กับแนวทางลดความเสี่ยง

  1. กำหนดขอบเขตใหม่  เราต้องไม่ผลิตอย่างเดียว  ตัวอย่าง กฟผ. ผลิต จัดหา พัฒนา  และยังเป็นข้อได้เปรียบธุรกิจอื่น ๆ เนื่องจากเป็นกึ่ง Monopoly อยู่ แต่เป็นการดูในภาพรวม [มองหาความเสี่ยง]
  2. ภาพรวมขององค์กร ไม่ใช่ตัวเลข [วางแผนเรื่องความเสี่ยง]
  3. ก้าวข้ามความต้องการที่มีอยู่แล้ว [กำหนดขนาดความเสี่ยง]
  4. ทำตามขั้นตอนกลยุทธ์ให้ถูกต้อง [ความเสี่ยงทางรูปแบบธุรกิจ]
  5. ชนะอุปสรรคภายในองค์กร [ความเสี่ยงในองค์กร] อะไรเป็นข้อด้อย เป็นปัญหาภายในองค์กร ต้องสะสางให้ได้เสียก่อน
  6. นำกลยุทธ์สู่การดำเนินการ [ความเสี่ยงในการบริหาร] เป้าหมายหลัก ๆ คือลดความเสี่ยง มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงภายในเป็นเรื่องควบคุมได้ แต่ผู้บริหารในองค์กรต้องเปิดใจให้กว้าง

สิ่งที่ยากที่สุดในการจัดการกลยุทธ์คือ การทำ SWOT

นวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation)

อาจารย์แสดงภาพสามเหลี่ยม 2 รูป รูปแรกเป็นสามเหลื่ยมหันชี้ปลายลง แทนต้นทุน อีกสามเหลี่ยมหนึ่งหันปลายชี้ขึ้น แทนคุณค่า  ส่วนที่สามเหลี่ยมสองรูปนี้เหลื่อมกันอยู่คือ คุณค่า

หลัก ๆ คือที่จะทำคือ ทำสินค้าให้มีต้นทุนต่ำลง  è  เป็นการเพิ่มคุณค่าให้ผู้ซื้อสินค้า

ตัวอย่างการเกิดนวัตกรรมเชิงคุณค่า

  • CNN  มีข่าว 24 ชั่วโมง ใครจะไปคิดเสพข่าวทั้งวัน
  • Apple คือทุกอย่างในชีวิต ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์
  • Fedex เป็นสื่อกลางในการนำอะไรไปส่งอีกที่หนึ่ง
  • Cirque de Soleil การปฏิวัติธุรกิจละครสัตว์
  • South West Airline เป็นสายการบิน Budget Airline งบน้อยซื้อตั๋วเร็วหน่อย งบเยอะ ซื้อตั๋วช้าหน่อย
  • Starbuck  ไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แต่เป็นที่พักผ่อน เล่นอินเตอร์เน็ต ติวหนังสือ ทำกรณีศึกษาสำหรับปริญญาโท เป็นต้น It’s your third place
  • Red Bull เป็นสิ่งที่อาจารย์ได้ข้ามไป เป็นตัวอย่างของคนไทยที่มองน้ำดื่มเกลือแร่ในบ้านเรา เป็นสินค้าให้ฝรั่ง ซึ่งต่างชาติไม่มี มีแต่น้ำเปล่ากับน้ำแร่

 

การเกิดนวัตกรรมเชิงคุณค่า เกิดขึ้นได้จาก

  • ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องมีที่เดิมคิดว่าจำเป็นต้องมี
  • ลดสิ่งที่มากเกินไปให้เหลือเท่ากับมาตรฐาน
  • ยกระดับอะไรที่จำเป็นหรืออย่างน้อยให้เท่ากับมาตรฐาน
  • อะไรที่ไม่เคยมีก็สร้างให้มีเกิดขึ้น สร้างอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีทำหรือนำมาใช้

 

ตัวอย่างบริษัท Netjets เกิดเป็นธุรกิจใหม่เกิดขึ้นคือจากแนวคิดของ วอเรนท์ บัฟเฟร์ ที่มีเครื่องบินส่วนตัวที่เดินทางสะดวก อยากมีเครื่องแต่ไม่อยากดูแลเพราะเสียค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นจึงไปซื้อสายการบินจากกัปตันคนหนึ่งที่ทำสายการบิน Netjets เอา 2 อย่างมารวมกัน คือซื้อเครื่องบินได้ในสัดส่วน 1/16 ต่อลำ เพียง $400,000 จากราคาเต็มลำ m$6 ได้สิทธิ์ในการบิน 50 ครั้ง สามารถบอกล่วงหน้าแค่ 4 ชั่วโมง ทำทุกอย่างเหมือนเครื่องบินส่วนตัว เพียงแต่บอกว่าจะทำอะไร หรือจัดอะไรก็ได้ แต่ไม่สามารถชี้ว่าต้องเป็นลำนี้ ลำนี้เท่านั้น 

 

ธุรกิจไวน์ Yellow Tail ของออสเตรเลีย

ดูว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้สำเร็จ และกำหนดธุรกิจเหล่านี้ ไวน์ชั้นดีจะราคาสูงมาก  มีธุรกิจเห็นช่องว่างเกิดขึ้น คือมีไวน์คุณภาพใกล้เคียงแต่ราคาถูกกว่า  มีคนอยากดื่มไวน์ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ราคาไม่สูงมาก เกิดธุรกิจไวน์ Yellow tail ที่ออสเตรเลีย คือราคาสูงกว่าไวน์ประหยัดแต่ต่ำกว่าไวน์

ชั้นดี มีแต่ไวน์แดง และไวน์ขาว ชื่อเสียงไร่องุ่นออสเตรเลียมีมาตรฐานอยู่แล้ว เพิ่มจุดขาย 3 อย่างคือ 1) ดื่มง่าย 2) เลือกง่าย คุณภาพการบ่มแค่ปีเดียวเหมือนกันหมด และ 3) สื่อว่าเป็นไวน์เพื่อสร้างความสนุกสนาน และเพื่อความบันเทิง  จับกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยดื่มไวน์มาก่อนเลย แต่อยากดื่มไวน์

 

ทฤษฎีเกมส์ คือการแพ้ชนะ ความเสี่ยง ทางเลือก ทำให้มองธุรกิจ Blue Ocean สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร มาดู Game Theory Concept กัน

  • Zero Sum Game การที่ได้กับได้ เสียกับเสียบางครั้งลูกค้าจะไม่เลือกเลยเพราะเสีย
  • Positive Sum Game มีแต่ได้กับได้ เพียงแค่ใครได้มากกว่ากันขึ้นอยู่กับการต่อรอง  ตัวอย่าง กฟผ. มี Regulator มาช่วยถ่วงอำนาจ มาในบทบาทของการช่วยเจรจาของลูกค้า เพราะว่าธุรกิจไฟฟ้ามีความแตกต่างของธุรกิจอื่น ๆ เป็น Monopoly
  • Negative Sum Game คือ มีแต่เสียกับเสียไม่ต้องดู
  • Decision Tree เป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ  เราต้องสามารถประมาณความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น เป็นการคิดอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น Blue Ocean สามารถเกิดขึ้นได้

 

คำถาม  Blue Ocean ถ้าการเข้าตลาดใหม่ที่ยังไม่มีใครเข้าไปเลย เรามีโอกาสเจ๊งหรือไม่ แล้วต้องมีการทำตลาดหรือไม่

ตอบ  แน่นอนว่า เข้าไปคนแรก ความเสี่ยงสูง มีลักษณะ High Risk  High Return ถ้าสำเร็จจะได้ผลตอบแทนสูง  การพิจารณาขึ้นกับการดูความต้องการตลาด  หรือไปสร้าง Need หรือความต้องการของตลาด

 

คำถาม การลงทุนตลาดครั้งแรก แต่มีข้อบกพร่องไม่ถูกใจลูกค้าทั้งหมด แต่มีอีกบริษัทหนึ่งจ้องหาโอกาสในการเข้าตลาด ศึกษาตลาดที่ผิดพลาดจากครั้งแรก

ตอบ Second Comer  สามารถสำเร็จได้ จากการที่คนเข้าตลาดเบอร์ 1 พลาด แต่อย่าลืมว่าเขากำหนดกติกาไว้เรียบร้อยแล้ว  แต่มีข้อดีคือไม่เสี่ยงมากเกินไป

 

ตอนเย็นเป็นงานสระเกล้าดำหัว อ.จีระและคณะ บรรยากาศดีมาก

 

สรุปเพิ่มเติมได้ขนาดนี้จากเอกสารของทีมงานอาจารย์ที่ post ไว้ด้วยครับ

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

 

ประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน

อาจารย์กุศยา รายการ Money Channal ช่อง 178 ทาง TRUE Vision ครับ

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

สรุปจากเนื้อหาในหนังสือMOJO MOJO คือพลังเชิงบวกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน และสิ่งๆ นี้ได้แพร่ไปหาคนอื่นด้วย จนเป็นอิทธิพลที่ส่งต่อให้คนอื่นรู้สึกถึงพลังนี้ องค์ประกอบของ MOJO ประกอบด้วย 1. “ อัตลักษณ์ ”

ตัวเราเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าตัวตนที่แท้จริงของเราเป็นอย่างไร จากสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลง เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราในแบบปัจจุบันไปสู่แบบใหม่ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเรา

  1. “ความสำเร็จ” ความสำเร็จนั้นมีความหมายและมีผลส่งไปถึงคนอื่น ด้วย
    ความสำเร็จจะต้องมีองค์ประกอบ 2 มุมมองคือ

     - เราให้อะไรกับงาน
      -งานให้อะไรกับเรา    
    
    

    มาตรวัดความสำเร็จของคนเรามี 2 แบบ 1.ความสำเร็จที่ทำให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความสามารถของเรา และผลคือการยอมรับจากคนอื่น 2.ความสำเร็จที่ “มีแต่เราคนเดียวเท่านั้น” ที่รับรู้ และทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเอง รู้สึกดีกับความสามารถของเรา การที่เราสามารถทำให้คนอื่นประทับใจในความสามารถของเรา ย่อมทำให้ตัวเราเองรู้สึกดีกับตัวเอง แต่บางครั้งทำอย่างดีที่สุดและได้รับคำสรรเสริญเยินยอมากมาย แต่ตัวเราเองกลับไม่ได้รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นเลย บางครั้งเราทำสิ่งที่ดีที่สุดให้คนอื่น แต่กลับไม่มีใครมองเห็น เราสามารถเพิ่ม MOJO ในตัวได้ ด้วยการ “เปลี่ยน” ระดับของความสำเร็จที่เราตั้งไว้ (ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น รู้สึกชีวิตมีความหมายมากขึ้น) หรือเปลี่ยนมาตรวัดหรือนิยามความสำเร็จเฉพาะของเราเอง ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่ทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตนี้ไม่ไร้ความหมาย

  2. “ชื่อเสียง”( Reputation)

    ชื่อเสียงเกิดจากผลรวมของ อัตลักษณ์   กับ ความสำเร็จ  ชื่อเสียงก็มาจาก การที่คนอื่นๆ ยอมรับ หรือปฏิเสธ ความเป็นตัวตนของเรา หรือสิ่งที่เราทำนั่นเอง ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับความเห็นเหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม หลายครั้งเรายังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าเราได้รับการยอมรับหรือถูกปฏิเสธ  ตัวเราเองไม่อาจสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองได้ เพราะชื่อเสียงเกิดจากความ เห็นของคนอื่นๆ ที่มีต่อตัวเราจึงไม่สามารถควบคุมชื่อเสียงนี้ได้ แต่เราก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะทำเพื่อรักษาหรือพัฒนาชื่อเสียงได้
    
    
  3. “การยอมรับ” (Acceptance) เราต้องยอมรับก่อนว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง และต้องดูว่าอะไรบ้างที่จะต้องเปลี่ยนแปลง อะไรที่เปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าเราเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น การยอมรับความจริงและปล่อยวาง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราสามารถปลดปล่อยอารมณ์ที่เป็นลบออกไป การเข้าใจผลกระทบและปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อ อัตลักษณ์, การบรรลุความสำเร็จ,ชื่อเสียงและการยอมรับ ทั้ง 4 ข้อนี้นั้นสามารถเปลี่ยนให้เป็น MOJO ของเราได้ทั้งในชีวิตการทำงาน และในชีวิตประจำ MOJO จะเกิดขึ้นสูงสุดในเวลาที่เราได้รับทั้งความสุข และความหมายในสิ่งที่เรากำลังทำ

MOJO Paradox ก็คือความขัดแย้งของ MOJO แทนที่เราจะทำอะไรให้เกิดความสุข หรือให้เกิดความหมาย แต่เรากลับไปทำตัวเฉื่อยๆ ทำในสิ่งที่ไม่ได้ทั้งเกิดความสุข และความหมายเลย แต่เราก็ไม่รู้ว่าทำไปทำไมและก็ยังคงทำสิ่งนั้นอยู่ เราสามารถทำการตรวจสอบและการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จากการพิจารณาสิ่งที่เราต้องการจะทำดังนี้ ๐ สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นจะมีประโยชน์ในระยะยาว หรือทำให้เรารู้สึกได้ว่างานที่ทำอยู่นั้นมีประโยชน์จริงๆ หรือเปล่า ๐ เรากำลังมีความสุขกับงานนั้นอยู่หรือไม่ หรือว่าอึดอัดน่าเบื่อ ไม่น่าทำเลย เมื่อไหร่ก็ตามเราประเมินได้ว่ากิจกรรมใดที่ทำให้เรามีความสุข และมีความหมาย ได้มากที่สุด กิจกรรมใดทำให้เรามีความสุข และมีความหมายน้อยที่สุด เราก็จะสามารถเลือกคงอยู่และตัดทิ้งกิจกรรมแต่ละกิจกรรมทิ้งออกไปได้

Mojo

                Mojo เป็นจิตวิญญาณด้านบวกในสิ่งที่เราทำ ซึ่งเริ่มจากภายในตัวเราและเปล่งรัศมีออกมาภายนอก Mojo มีบทบาทสำคัญในการทำให้เรามีความสุขและมีความหมายในชีวิต โดยต้องรักในสิ่งที่เราทำและแสดงมันออกมา

มีส่วนประกอบ 4 ด้าน ที่จะทำให้เรามี Mojo คือ

  1. Identity การระบุตัวตนของเรา คือ เราคิดว่าเราเป็นใคร ไม่ใช่ที่คนอื่นคิดว่าเราเป็นใคร
  2. Achievement การประสบความสำเร็จ อะไรที่คุณทำประสบความสำเร็จเมื่อไม่นานนี้ เรามองความสำเร็จใน 2 ด้าน คือ 1. สิ่งที่เราทำกับงาน  2. สิ่งที่งานให้กับเรา
  3. Reputation คนอื่นคิดว่าคุณเป็นใคร ต่างกับ Identity และ achievement คือ Reputation เป็นคะแนนที่คนอื่นให้กับเรา และแสดงความเห็นของเขาที่มีต่อเราให้โลกรับรู้ แม้ว่าเราไม่สามารถควบคุม Reputation ได้ แต่เราสามารถรักษาและปรับปรุงได้
  4. Acceptance การยอมรับความจริง ทำให้เรารู้ความจริง ว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ปรับตัวเราให้เข้ากับความเป็นจริง

 

ที่น่าสนใจคือ “อะไรคือคุณภาพที่ทำให้คนที่ประสบความสำเร็จแตกต่างจากคนอื่น” คำตอบคือ คนที่ประสบความสำเร็จใช้ส่วนใหญ่ของชีวิตในกิจกรรมที่มีความหมายและความสุขอย่างต่อเนื่อง โดยการมี Mojo     มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่สามารถกำหนดความหมายและความสุขของชีวิตได้ คือ ตัวเรา

Mojo อาจพูดในความหมายอื่นได้ว่า คือ ทิศทาง (เราจะเป็นคนที่อยากเป็นได้อย่างไรเริ่มจากขณะที่เป็นอยู่) และความเร็ว (จะเร็วแค่ไหนถ้าเราทำ) และ Mojo ยังเป็นการสิ่งที่เราคิด รู้สึกข้างใน ออกมาภายนอก บางครั้งเรามีความตั้งใจดีทางด้านบวก แต่เราแสดงออกมาไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงออกมา ทำให้ถูกเข้าใจผิดได้ ทำให้ Mojo ออกมาไม่เต็มศักยภาพ ถ้ากิจกรรมที่เกี่ยวกับคนเราไม่สามารถสมมติเองได้ว่า คนอื่นรับรู้สิ่งที่เรารู้สึกภายใน ต้องแสดงออกมาให้รับรู้ได้โดยคนภายนอก

และมีสิ่งที่ตรงข้าม กับ Mojo คือ Nojo คือ จิตวิญญาณด้านลบที่อยู่ข้างใน และเปล่งออกมาเป็นข้างนอก

 Mojo ในชีวิตเรามี 2 แบบ คือ

1.Professional Mojo วัดจากความชำนาญ , ทัศนคติ ที่เราใช้ในการทำกิจกรรม มีคุณภาพ 5 ประการ ที่ใช้ทำกิจกรรมให้ดีคือ motivation, knowledge, ability, confidence, authenticity

2.Personal Mojo วัดจากผลตอบแทนที่กลับมาหาเราจากกิจกรรมนั้น มีผลตอบแทน 5 ประการ ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมได้ดี คือ happiness , reward , meaning , learning , gratitude

เราสามารถวัด Mojo ของเราได้ โดยใช้ Mojo Scorecard โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Professional Mojo และ Personal Mojo และเราสามารถเรียนรู้ตัวเราเองได้จาก Mojo scorecard 

สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตมีตัวแปร5อย่างที่สำคัญในชีวิต คือ สุขภาพ,ความมั่งคั่ง,ความสัมพันธ์,ความสุข และ ความหมาย Mojo เน้นไปที่ความสุข และความหมายของชีวิต

สิ่งที่ทำให้ Mojo ตาย(Mojo Killer) คือ การพลาดโอกาสครั้งใหญ่, การไม่ได้รับ Promotion, การเสียเงินมาก,การถูกออกจากงาน,การล้มละลาย ถ้าเราทำงานได้ดีและชอบงานที่เราทำ จะมี Mojo มาก คนที่มีMojo สูงจะมีโอกาสมาก

คนจะเปลี่ยน Mojo เป็น Nojo เพราะ ทำความผิดมากไป , รอคอยที่จะเปลี่ยนแปลง, ใช้ตรรกะผิดสถานที่, วิจารณ์เจ้านายอย่างรุนแรง,ปฏิเสธที่จะเปลี่ยน เพราะ Sunk cost, สับสนว่าอยู่ในฐานะอะไร การโต้แย้งที่ไม่เป็นประโยชน์ก็มีผลกระทบต่อ Mojo เป็นการสร้างศัตรูโดยไม่จำเป็น ควรรู้ว่าการโต้แย้งไหนควรจะสู้ หรือควรหลีกเลี่ยง

เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Mojo ซึ่งช่วยในการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  1. สร้างเงื่อนไขให้เหมาะกับตัวเรา
  2. ค้นหาว่าเราอยู่ที่ไหน? มีเส้นทางที่ถูกต้องไหม?เส้นทางที่ดีที่สุดคืออะไร?
  3. จงมองโลกในแง่ดี : เมื่อคนต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อยกระดับ Mojoของตัวเอง เช่น ลดน้ำหนัก,ขจัดนิสัยไม่ดี,ออกกำลังกายมากขึ้น, เป็นมิตรกับผู้อื่น  แต่ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงมักไม่ประสบความสำเร็จเพราะ ใช้เวลามากกว่าที่คิด,ยากกว่าที่เราคิด,มีสิ่งอื่นต้องทำ,ไม่ได้รางวัลตามที่คาด,ประกาศชัยชนะเร็วเกินไป และต้องทำตลอด
  4.  เมื่อสูญเสียสิ่งหนึ่งไป หาสิ่งใหม่มาทดแทน คนเรามักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง จนกว่าจะถูกบังคับให้เปลี่ยน
  5. ทำอย่างต่อเนื่อง ทำนิสัยด้านบวกซ้ำๆ
  6. ต้องนึกถึงภารกิจ
  7. ย้ายไปอยู่ในที่ที่ยังไม่มีการแข่งขัน(Blue Ocean)
  8. รู้จังหวะว่าเมื่อไหร่ควรอยู่ เมื่อไหร่ควรไป
  9. Hello,Good Bye
  10. ปรับ Matrics System
  11. ลดตัวเลขบางอย่างลง
  12. Influent Up as well as Down
  13. Name it, Frame it, Claim it
  14. Give your friends a Lifetime Pass

Mojoเป็นเรื่องของการปรับปรุงตนเอง ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น ชีวิตมีความหมายมากขึ้น เชื่อมั่นตนเองมากขึ้น โดยเราอาจให้คนอื่นมาช่วยในการปรับปรุงตัวเราก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำตามลำพัง ปกติคนเราต้องการให้คนที่เรารักมีความสุข แต่เราต้องมีความสุขเป็นคนแรก จึงจะทำให้คนอื่นมีความสุขไปด้วย

การสำรวจ Mojo เป็นการประเมินเบื้องต้นเพื่อหาโอกาสที่จะตอบสนองต่อโอกาสที่จะใช้เวลาและแบ่งเวลาที่ทำกิจกรรมให้เกิดความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข) และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) ทั้งในที่ทำงานและนอกที่ทำงาน

 

การสำรวจ Mojo เราต้องคิดใน 2 มิติ คือความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข) และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต)

  ความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข)เป็นความพอใจในกิจกรรมนั้นๆ ส่วนประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต)เป็นผลด้านบวกจากการทำกิจกรรมนั้น

 

   กิจกรรมที่เราทำมีทั้งความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข) และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) ร่วมกัน มากน้อยแตกต่างกันไป โดยมี5 อย่างดังนี้

  1. Surviving : มีความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข) และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) ต่ำ เป็นกิจกรรมที่ไม่สนุกหรือไม่น่าพอใจ และไม่มีประโยชน์ในระยะยาวในชีวิต
  2. Stimulating:มีความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข)สูง และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) ต่ำ เป็นกิจกรรมที่สนุก น่าพอใจ แต่ไม่มีประโยชน์ในระยะยาวในชีวิต เช่น การดูโทรทัศน์,การซุบซิบนินทา
  3. Sacrificing:มีความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข)ต่ำ และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) สูง เช่นคนที่ทำงานที่ตัวเองไม่ชอบ
  4. Sustaining:มีความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข) และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) ปานกลาง เช่น การตอบ e-mail หรือ การไป Shopping, การทำกับข้าว,การทำความสะอาด
  5. Succeeding:มีความพึงพอใจระยะสั้น(ความสุข) และประโยชน์ในระยะยาว(ความหมายในชีวิต) สูงทั้งสองอย่าง เป็นกิจกรรมที่เรารักจะทำและได้ประโยชน์อย่างมากในการทำกิจกรรมนั้น

  โดยสรุปเราต้องเพิ่มความพอใจให้กับชีวิตโดยเน้นกิจกรรมที่ให้ทั้งความสุขและความหมายในชีวิต โดยเน้นกิจกรรมที่ Succeeding และSustaining

                                                                                

                                                                  ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง

นรชัย หลิมศิโรรัตน์

อ่านนิตยสาร TIME “The 100 Most Influential People in the World” 2012

บุคคลผู้ที่ได้รับการคัดเลือกครั้งนี้ คือผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ความท้าทายและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด ไม่เพียงแต่ผู้ที่กำลังมีบทบาทอยู่ในขณะนี้ แต่ยังรวมไปถึงบุคคลที่เป็น ดาวรุ่งน่าจับตามองเป็นพิเศษด้วย บุคคลที่ชื่นชอบ ได้แก่

  1. 1.              ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง (U Thein Sein) ของพม่า

ผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการเมืองในพม่า ได้เดินหน้าเปลี่ยนแปลงประเทศหลากหลายด้าน นับตั้งแต่ขึ้นมามีอำนาจเมื่อปีก่อน ปี 2554 นับเป็นปีแห่งการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของพม่าสู่การเป็นประชาธิปไตยและการยอมรับจากประชาคมโลก โดยบุคคลที่เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ ก็คือ พลเอกเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่าคนปัจจุบัน ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์ดีที่สุดหนึ่งของประเทศ หลังการปฏิรูป หลายประเทศทั่วโลก นำโดยสหรัฐฯ และรัฐสมาชิกในสหภาพยุโรปได้เพิ่มความช่วยเหลือให้แก่พม่าและมีแผนที่จะยกเลิกมาตรการกีดกันทางเศรษฐกิจที่มีต่อพม่ามากว่า 10 ปี

  1. 2.              เจเรมี หลิน (Jeremy Lin) นักบาสเก็ตบอลดาวรุ่ง

ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กๆที่รักกีฬา นักบาสเกตบอลดาวรุ่งชาวอเมริกัน เชื้อสายไต้หวันกลายเป็นนักบาสเกตบอลที่ร้อนแรงที่สุดในเอ็นบีเอขณะนี้ เขามีวันนี้ได้ เพราะเขามีความฝันอันแน่วแน่ และทำงานอย่างหนัก เพื่อเดินตามฝันของตัวเอง แม้ว่าเขาจะได้เข้าไปเรียนในสถาบันที่สุดยอดในด้านวิชาการอย่างฮาร์วาร์ด ซึ่งหลายคนมองว่า มักไม่เก่งเรื่องกีฬา แต่เขาทำให้เห็นแล้วว่า เขาทำได้ดีทั้งสองอย่าง นั่นเป็นเพราะความมุ่งมั่นของเขาที่มีอย่างเต็มเปี่ยม เขาเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชาวเอเชีย เพราะไม่ว่าคุณจะสูงหรือเตี้ย พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในกีฬานี้ได้ ไม่ว่าจะคนเอเชียหรือชาติไหนๆ ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ แม้ว่าจะไม่สูง แต่สิ่งสำคัญคือ พวกเขาจะต้องเชื่อมั่นในความฝัน พยายามฝึกฝนอย่างจริงจัง พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และฉวยโอกาสที่เข้ามาในชีวิต

  1. 3.              ทิม คุก (Tim Cook) ซีอีโอแอปเปิล

ในฐานะ CEO ผู้ขับเคลื่อนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านนวัตกรรมและมีมูลค่าสูงสุดในโลก ทิม คุก ได้เข้ามาถือหางเสือควบคุมบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่นี้ หลังจากที่ สตีฟ จ๊อบส์ ได้ลาโลกเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแอปเปิลอย่าง ทิม คุก ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันนัก หากไม่มีชายผู้นี้ เราอาจจะไม่ได้เห็นแอปเปิลแบบที่เป็นอยู่ในวันนี้ก็ว่าได้

  1. 4.              เชอรีล แซนด์เบิร์ก (Sheryl Sandberg) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Facebook

เชอริล แซนด์เบิร์ก ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของเว็บไซต์ Facebook.com เว็บไซต์ที่มีผู้ใช้เป็นอันดับที่ 1 ในหลายประเทศทั่วโลก ยักษ์ใหญ่เครือข่ายสังคมออนไลน์ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลก ปัจจุบันได้ขยายศักยภาพความเป็นเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมแบบออนไลน์ที่มี ผู้คนทั่วพิภพกว่า 700 ล้านคนเชื่อมโยงกันในหลายมิติ ที่ผ่านมาเธอขึ้นพูดในหลายๆ เวทีเพื่อปลุกพลังใจให้ผู้หญิงอย่าหยุดที่จะ เดินตามความฝัน แม้จะมีสามีและลูกต้องดูแล แต่ความปรารถนาในใจยังคงพลุ่งพล่านต่อไปได้ และเมื่อไหร่ที่อยากรู้ว่าฝันนั้นจะเป็นจริงเมื่อไหร่ แค่เริ่มจากก้าวแรกที่ “กล้า” ลงมือทำ

  1. 5.              วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) มหาเศรษฐีเจ้าของอาณาจักรลงทุน Berkshire Hathaway

สุดยอดนักลงทุนมือฉมัง ต้นแบบของมืออาชีพที่ผลตอบแทนการลงทุนต่อปีไม่เคยแพ้ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด เขาเป็นนักลงทุนในหุ้นคุณค่า (Value Investor) หรือหุ้นที่มีคุณค่าของกิจการ หรือมีมูลค่าหุ้นที่แท้จริงสูง แม้เขาไม่ใช่คนรวยที่สุด แต่เขาได้รับการยอมรับอย่างมากจากความใจกว้างที่บริจาคทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่ให้กับการกุศล

 

 

 

“MOJO”  เป็นคำแทนความรู้สึกในขณะเกิด  PURPOSEFUL;POWERFUL;POSITIVE

“Mojo” หมายถึงความรู้สึกภายในที่แผ่ออกมาภายนอกโดยมีความคิดเชิงบวกมีสติรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เกิดตนเองมีความสูขและมีความหมาย

Mojo ของเราจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 4 ประการ

               1.ความเป็นตัวเรา ตัวตนแท้จริงของตัวเองเป็นอย่างไรใน “ปัจจุบัน” ในความคิดของคุณ

               2. ความสำเร็จ มีทั้งความสำเร็จที่มีความหมายต่อตัวเอง และความสำเร็จที่มีความหมายต่อคนอื่นหรือต่อโลก แต่คุณสามารถเลือกได้ว่าความสำเร็จไหนทำให้คุณมีความสุขและมีความรู้สึกดีกับความสามารถของตนเอง

               3. ชื่อเสียงมาจาก การที่คนอื่นๆ ยอมรับ หรือปฏิเสธจากการเป็นตนของคุณ  กับสิ่งที่คุณทำความสำเร็จ

               4. การยอมรับความจริงคือการ ปล่อยวาง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คุณสามารถปลดปล่อยอารมณ์ที่เป็นลบ และเพิ่ม Mojo ในตัวเอง อภัยให้เขาในสิ่งที่เขาเป็นและอภัยให้ตัวคุณเองในสิ่งที่คุณเป็น


    เป้าหมายของการเพิ่มMOJO

             - ช่วยให้มีชีวิตที่มีความสุขและและมีคุณค่า

             - เพิ่มพูนความผูกพัน

             - พัฒนาตนเอง

             - เข้าใจชีวิต 

  MOJOคือความสัมพันของตัวบุคคล กิจกรรมที่ทำและเวลา

           

 สาระของชีวิตประกอบด้วย

               - สุขภาพ

              - ความร่ำรวย มั่งคั่ง

             -  ความสัมพันธ์

            -   เป้าหมายของชีวิต

            -  ความสุข

                                                   ชวลิต ตั้งตระกูล

                                                            ช อรม1.

 

สรุปจากหนังสือ MOJO MOJO ในความหมายเดิมเป็นเรื่องของความเชื่อในพลังที่เหนือธรรมชาติ MOJO ตามความหมายของ Marshall Goldsmith คือ พลังบวก (positive spirit) ต่อสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน เริ่มจากภายในแผ่ออกมาสู่ภายนอกจนให้คนอื่นได้เห็นสิ่งที่เรากำลังทำ MOJO เป็นสิ่งที่จะทำให้เราได้พบทั้งความสุขและความหมายในชีวิต ( Happiness and Meaning ) องค์ประกอบที่ทำให้เกิด MOJO ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 4 ประการคือ ความเป็นตัวเรา (Identity) ความสำเร็จ (Achievement) ชื่อเสียง (Reputation) และ การยอมรับ (Acceptance) เราสามารถเพิ่ม MOJO ได้ด้วยการเปลี่ยนระดับของความสำเร็จที่ตั้งไว้ ให้สูงขึ้นหรือต่ำลงจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น รู้สึกชีวิตมีความหมายมากขึ้น หรือเปลี่ยนนิยามความสำเร็จเฉพาะของเราเอง ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่ทำให้มีความรู้สึกว่า ชีวิตนี้ไม่ไร้ความหมาย เพิ่ม MOJO ในตัวเอง โดยเมื่อมีใครมาทำให้รู้สึกโกรธแค้น เจ็บปวด ลองเลิกคิดหาเหตุผลความถูกต้องทุกอย่าง และแค่เพียงยอมรับว่า เขาก็เป็นอย่างที่เขาเป็น อภัยให้เขาในสิ่งที่เขาเป็น และอภัยให้ตัวเองในสิ่งที่เราเป็น

24 เมษายน 2555 คุณอนุรัตน์ ก้องธรณินทร์ อธิบายว่า ในโลกปัจจุบันธุรกิจครอบครัวจะอยู่รอดได้ ต้องให้ความสนใจคนที่อยู่รอบตัว(Stakeholders) และต้องปรับกรอบความคิดเป็นแบบ Growth Mindset สำหรับ กฟผ. จะต้องปรับสภาพแวดล้อมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข ส่งเสริมเรื่องความยุติธรรม เรียนรู้จากความผิดพลาด และต้องถือว่าทุกคนเป็นเพื่อนร่วมงาน เปิดกว้างในการรับความคิดเห็นต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่เป็นแบบ Growth Mindset

หม่อมราชวงศ์เบญจภา ไกรฤกษ์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเข้าสังคม โดยเริ่มแรกจะต้องการสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบ (First Impression) การแต่งกาย ท่าทาง ความสะอาดเรียบร้อยและสุขภาพอนามัย และใด้ให้ความรู้วิธีการ การแนะนำให้รู้จักกัน การสนทนา มารยาทในการร่วมงานต่างๆ ตั้งแต่งานพิธีสงฆ์ งานศพ งานเลี้ยงรับรอง และมารยาทในการรับประทานอาหาร

ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ได้ให้ความรู้เรื่อง Red Ocean ซึ่งเป็นการแข่งขันกันทางธุรกิจอย่างเอาเป็นเอาตาย ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย แต่ Blue Ocean จะเป็นกลับตรงกันข้าม คือเป็นการทำธุรกิจในตลาดใหม่ หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าไปในตลาด ทำให้ยังไม่มีคู่แข่งในตลาด สามารถกำหนดราคาได้เอง   25 เมษายน 2555 อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล ให้ความรู้เรื่อง Art & Feeling of Presentation เป็นการฝึกการใช้สมองซีกขวาอย่างเป็นระบบ และอาจารย์ได้ให้สูตร Power of Dream 3 ซึ่งเป็นการจัดหมวดหมู่ในการจำ โดยให้นึกถึง 3 ประเด็น คือ ปัญหา  ทางออก  และผลลัพธ์ ซึ่งจะช่วยให้ไม่ลืมประเด็นที่จะพูดในที่สาธารณะ

อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ให้ความรู้เรื่อง ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร ซึ่งท่านได้พูดถึง ในหลวงทรงเป็นบุคคลต้นแบบที่เก่งที่สุดในเรื่องนี้ และท่านได้พูดถึงการแข่งขันในปัจจุบันได้เปลี่ยนหลักการจาก Economy of Scale เป็น Speed of Trust กล่าวคือ ถ้าองค์กรไหนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์กร แสดงว่า องค์กรนั้นใกล้จะถึงจุดจบ นอกจากนั้น อาจารย์ได้พูดถึง กลยุทธ์น่านน้ำสีขาวซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ไม่เห็นผลกำไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่จะให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วน รวมทั้งสภาพแวดล้อมรอบตัว นอกจากนั้นอาจารย์ยังได้ย้ำอยู่เสมอว่าเมืองไทยโชคดีที่มีในหลวง

เลือกบุคคล 5 คนจาก The 100 Most Influential People in the World 1. Novak Djokovic นักเทนนิสชาวเซอร์เบีย เมื่อปี 2007 ยอโควิช อยู่อันดับ 3 ของโลก เขาพยายามฝึกเพิ่มเติมการตีลูกที่เส้น Base lineจนกระทั่งได้ขึ้นมาเป็นมือ 1 ของโลกในปี 2011โดยได้แชมป์ Australian Open , Wimbledon และU.S. Open และเมื่อต้นปี 2012 ที่ผ่านเขาก็สามารถชนะนาดาล ได้อีกใน Australian Open โดยต้องตีถึง 5 เซ็ท ใช้เวลาเกือบ 6 ชั่วโมง การที่เขาสามารถขึ้นมาเป็นมือ 1 ของโลกได้ เป็นผลมาจากการฝึกซ้อมอย่างหนักของเขา 2. Wang Yang ผู้บริหารมลฑลกวางตุ้ง ได้แสดงความกล้าหาญในการเปลี่ยนแปลงระบอบอำนาจของจีน โดย จัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นชุดใหม่โดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน หลังจากประชาชนในหมู่บ้าน Wukan ออกมาประท้วงการ Corruption ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งนับว่า Wang Yang กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากขนบธรรมเนียมเดิมของระบอบคอมมิวนิสต์จีน 3. Salman Khan ติวเตอร์ระดับโลกในยุคดิจิตอล Salman Khan อาศัยอยู่ที่ Silicon Valley ในช่วงแรกเขาติววิชา Algebraให้กับญาติข้ามประเทศผ่านระบบ Online ทางเน็ต แต่กลับกลายเป็นว่าเขาได้เผยแพร่ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ มากกว่า 3,000 บทเรียนให้กับเด็กๆทั่วโลกฟรี 4. Jeremy Lin นักบาสเก็ตบอล NBA เชื้อสายจีน เขาเป็นนักกีฬาอาชีพระดับ world-class เมื่ออยู่ในสนาม และเมื่อเป็นนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เขาก็มีผลการเรียนยอดเยี่ยม เขาเป็นผู้ที่มีทั้งความกล้าหาญ ความอดทน มีวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม 5. Donald Sodaway สถาปนิกแห่งระบบไฟฟ้าในอนาคต จากปัญหาพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมักไม่สม่ำเสมอ ทำให้ต้องมีแบตเตอรี่เก็บพลังงานไว้ใช้ในยามที่พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนไม่เพียงพอ ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องมีขนาดใหญ่และราคาถูก Donald Sodaway วิศวกรจาก MIT จึงทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัยแบตเตอรี จนเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่เป็นแบตเตอรีโลหะเหลว โดยที่ Sodaway ไม่ได้ใช้มืออาชีพมาช่วย เขาใช้เพียงแค่กลุ่มนักศึกษา โดยเขาทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และเขามุ่งมั่นทำให้เกิดศักยภาพของคนมากที่สุด

บุคคลสำคัญ 5 คน ที่คัดเลือกจาก 100 บุคคลสำคัญของโลกในนิตยสาร TIME

1. Salman Khan ติวเตอร์ระดับโลกในยุคดิจิทัล วัย 35 ปี ผู้ริเริ่มการวางบทเรียนคณิตศาสตร์ไว้ในเว็บไซต์และจัดทำบทบรรยายคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กว่า 3,000 บทเรียน ไว้ในห้องสมุดออนไลน์ในเว็บไซด์ khanacademy.com เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

2. Andrew Lo นักเศรษฐศาตร์วัย 52 ปี เป็นอาจารย์อยู่ที่ MIT’s Sloan School of Management เขาเป็นเจ้าของทฤษฎี “adaptive markets” วิเคราะห์ตลาดการเงินด้วย สหวิทยาการ ซึ่งช่วยให้ได้ภาพกลไกการทำงานของตลาดที่แจ่มชัดขึ้น และเขายังมีบทบาทในการจัดตั้งสถาบันวิจัยด้านการเงินแห่งใหม่ แนวทางการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การเงินของเขาพิสูจน์ให้เห็นว่า สหวิทยาการ จำเป็นต่อการแสวงหาและจัดการความรู้ในปัจจุบัน

 3. Sheryl Sandberg ผู้หญิงวัย 42 ปี เป็นตัวอย่างของคนซึ่งมีความเข้าใจศักยภาพของ Social Networking ในการขยายขอบเขตของการสื่อสารในวงกว้างด้วย face book ซึ่งช่วยสร้างโอกาส ขจัดอุปสรรค และทำให้เกิดความแตกต่างขึ้นอย่างมากในชีวิตของผู้คน

4. Wang Yang นักปฏิรูปจีนผู้พลิกความคาดหมาย หลังจากชาวจีนในหมู่บ้าน Wakan ลุกขึ้นต่อต้านอำนาจการปกครองท้องถิ่น Wang Yang ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในมณฑลกวางตุ้งวัย 57 ปี ได้ให้จัดการเลือกตั้งใหม่และตรวจสอบเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นตามข้อร้องเรียนของประชาชน ทำให้เขาได้กุมอำนาจ เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ใส่ใจในสังคม

5. Adele เจ้าของเพลง Hometown Glory ผู้มีเสียงร้องไม่เหมือนใคร เสียงร้องได้อารมณ์และมีชีวิต และยังเป็นนักแต่งเพลงด้วย เธอผู้นี้ทำให้รู้สึกว่าโลกเรานี้มีรสนิยมที่ดี เป็นตัวอย่างของผู้ที่รู้จักค้นหาศักยภาพของตัวเองและพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ

 

สิ่งที่เรียนรู้จากหลักสูตรวันที่ 15-18 พฤษภาคม 2555

วันที่ 15 พฤษภาคม 2555

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ผู้ว่าการฯ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

- ได้รับทราบเรื่องสถานการณ์ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาบุคลากรในมุมมองของผู้ว่าการ

- ได้รับทราบคุณลักษณะ 5 ประการของทุนมนุษย์ที่จะช่วยขับเคลื่อน กฟผ.ในยุคนี้ ซึ่งผู้ว่าการฯ เน้นมากใน 2-3 เรื่อง ที่เห็นว่าบุคลากรของ กฟผ. ต้องพัฒนาขึ้นอีก ได้แก่ เรื่องความสามารถในการสร้างความเข้าใจ/ความสัมพันธ์กับ Stakeholders เรื่อง การพัฒนาขีดความสามารถในเชิงธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจของ กฟผ. มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ขณะนี้มีการเตรียมการเรื่อง ASEAN Grid ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในหลายมิติ กล่าวคือ เอื้อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ด้านการแลกเปลี่ยน/ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า และในส่วนผู้นำ กฟผ. แต่ละคน ก็ต้องมีความเป็นเลิศในภารกิจ เพราะมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าของ กฟผ.ถูก Benchmarked กับนานาชาติ ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดเวลาจะเป็นทางหนึ่งในการรักษามาตรฐานของ กฟผ. นอกจากนี้ การจะเป็นผู้นำที่ดี นอกจากต้องเก่งแล้ว ยังต้องมีจิตใจที่นึกถึงส่วนรวม ต้องสามารถสร้างความผูกพันและนำองค์กรให้เข้มแข็ง หากเห็นว่าเรื่องใดเป็นสิ่งที่ดีให้ลงมือทำทันที และต้องสร้างทีมที่แข็งแกร่งพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดี

 หัวข้อ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

 โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

 - ได้เรียนรู้แนวคิดที่ว่า คนเป็นทุนสำคัญที่สุดขององค์กร เพราะคนเป็นผู้สร้างผลงาน (performance) แต่การที่จะสร้างผลงานได้ดี ต้องมีทั้งสมรรถนะความสามารถ (Competency) และแรงจูงใจ (motivation)

- การจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องเรียนรู้และมีเวลาให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาให้มาก - ผู้นำมีบทบาท เป็นทั้ง path finder โดยต้องกำหนดเส้นทาง (alignment) ของผู้ใต้บังคับบัญชา และต้องมีการมอบหมายงาน/มอบอำนาจหน้าที่ (empowerment) รวมทั้งวางตัวเป็นแบบอย่างที่ดี (role model)

- องค์กรที่เข้มแข็ง จะมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ซึ่งวัฒนธรรมที่เข้มแข็งจะเห็นได้จากพฤติกรรมร่วมของพนักงานในองค์กร

- ในส่วนของการบริหารการเปลี่ยนแปลงนั้น ผู้นำต้องประเมินให้ได้ว่า ในแต่ละช่วงเวลาจะมีแรงผลักดันใดบ้างที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และต้องใช้ทักษะต่าง ๆ ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

- ได้เรียนรู้ model การเปลี่ยนแปลงของ GE และเรียนรู้ว่าเครื่องมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีหลายอย่าง อาจเปลี่ยนเครื่องมือได้ แต่ต้องรู้ว่าจะไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง

- การเปลี่ยนแปลงจะยั่งยืนได้ต้องประกอบด้วยการเปลี่ยนทั้งโครงสร้างและระบบ

- การเปลี่ยนแปลงมีพัฒนาการตามลำดับ เริ่มต้นจากความคิด – ความเชื่อ – ความคาดหวัง – ทัศนคติ – พฤติกรรม

 หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์

- ได้เรียนรู้เรื่องปัญหาพลังงานของโลกว่า โลกนี้ใช้น้ำมันมาก แต่สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกมีความผันผวน และมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด 40 ปีที่ผ่านมา และจะแพงและหาได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้โลกยังใช้พลังงานฟอสซิลมาก ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และปัญหาภาวะโลกร้อน แต่เป้าประสงค์สูงสุดคือ ใช้พลังงานสะอาดโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากนัก

- สำหรับประเทศไทย ใช้น้ำมันเป็นพลังงานสำคัญที่สุด (45%) ก๊าซธรรมชาติ 41% ที่เหลือนอกนั้นเป็นพลังงานหมุนเวียน แต่ไทยต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ไทยยังมีปัญหาจากนโยบายการตรึงราคาขายปลีกเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ

- แนวทางการแก้ปัญหาพลังงานของไทย คือ พึ่งพาเชื้อเพลิงในประเทศให้มากขึ้น แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันก็ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน ใช้ถ่านหินนำเข้ามากขึ้น และใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เนื่องจากการเลื่อนแผนงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เป็นผลกระทบมาจากปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นที่เป็นผลจากแผ่นดินไหวและซึนามิในเดือนมีนาคม 2554 แต่การใช้พลังงานหมุนเวียนก็ยังมีปัญหาเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ จึงควรแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงกรรมวิธีและเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า บำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักร เปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มี energy intensity ลดลง ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้พลังงาน กำหนดมาตรการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน จัดให้มีกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปรับโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงให้เหมาะสม เป็นต้น

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555

 หัวข้อ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ.

โดย ดร.กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์

 - ได้เรียนรู้เรื่องพลังงานและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย - ได้เรียนรู้เรื่องสถานภาพโรงไฟฟ้าฟูกูชิมาไดอิชิ ที่ญี่ปุ่น

- ได้เรียนรู้เรื่องการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของไทย

- ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งสำคัญ ๆ ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย

หัวข้อ ทิศทางพลังงานกับการทำงานของ กฟผ.

โดย อดีตผู้ว่าการฯ ไกรสีห์ กรรณสูต และรองผู้ว่าการบริหาร วิรัช กาญจนพิบูลย์

- ได้เรียนรู้จากผู้ว่าการฯ ไกรสีห์ฯ ว่า สถานการณ์การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต เนื่องจากนโยบายรัฐบาล ซึ่งนโยบายเป็นเรื่องที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของ กฟผ. เช่น ราคาผลิตแพงกว่าเอกชนหรือไม่ ความสำเร็จในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองนโยบายความมั่นคงในด้านพลังงาน กฟผ.จึงจำเป็นต้องใส่ใจสังคม โดยเฉพาะส่วนที่จะกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน ขณะนี้กระแสโลกในเรื่อง green house effect ชัดเจนยิ่งขึ้นทุกที รัฐบาลจึงส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน โดยให้ adder เป็นแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนในอุตสาหกรรมไฟฟ้า แต่โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไม่ค่อยมีความเสถียร จึงเป็นปัญหาว่าจะเตรียมความมั่นคงอย่างไร ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีแนวโน้มการใช้ไฟมากขึ้น จึงควรเตรียมแผนงานเรื่องการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับบทบาทของ กฟผ. ให้สังคมยอมรับและไว้เนื้อเชื่อใจมากขึ้น

 - ได้เรียนรู้จากรองผู้ว่าการบริหารว่า ทุกวันนี้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นขณะที่แหล่งพลังงานลดลง และการสร้างโรงไฟฟ้าก็ถูกคัดค้านต่อต้านมากขึ้น กฟผ.ไม่ด้อยในเรื่องเทคนิค แต่ต้องพัฒนาการบริหารจัดการปัญหาสังคมและชุมชน นอกจากนี้ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด โดยให้น้ำหนักกับ demand side ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาให้มากขึ้น กฟผ.ต้องสร้าง Trust และต้องมี CSR in process ในทุก ๆ งาน

หัวข้อ Trendy Technology and Social Medias

โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช

- ได้เรียนรู้เรื่องการคาดการณ์ Technology trend and Hype cycle จากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ CNN Trend-watch และ IDC

- ได้เรียนรู้เรื่องสถานการณ์ Social Media

- ได้เรียนรู้เรื่องการจัดการข้อมูลความรู้ที่ท่วมท้นในปัจจุบัน และตัวอย่างการสร้างผู้นำยุคใหม่

 วันที่ 17 พฤษภาคม 2555

 หัวข้อ High Performance Organization (HPO)

โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ และคุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

- ได้เรียนรู้แนวคิดต่าง ๆ ขององค์กรที่มีสมรรถนะสูง จากแนวคิดของ Gartner Group จาก Linder & Brooks และจาก Jupp and Younger

- ได้เรียนรู้เกณฑ์การประเมินองค์กรที่มีสมรรถนะสูง และเกณฑ์ประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA)

- ได้รับทราบรายงานผลการประเมินการดำเนินงานตามระบบ SEPA ประจำปี 2554 ในภาพรวม และเฉพาะส่วนของ กฟผ.

 - ได้รับทราบความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการไม่บรรลุถึง HPO เนื่องจากโครงสร้าง กระบวนการ บุคคลากร และกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ดังนั้น จำเป็นต้องพัฒนาคน ซึ่งการพัฒนาคนนั้น ต้องทำคนให้เป็นคนตามความหมายของท่านอาจารย์ ป.ปยุตโต ซึ่งเทียบกับเรื่อง the whole people ตามแนวคิดของ Steven Covey ซึ่งชี้ว่าต้องพัฒนาคนใน 4 ด้าน ได้แก่ IQ (สติปัญญา) EQ (วุฒิภาวะทางอารมณ์) PQ (สุขภาพ) และ SQ (จิตวิญญาณ/คุณธรรม/จริยธรรมที่กำกับพฤติกรรมของคน) ดังนั้น แนวคิดการบริหารจัดการในสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรมที่กล่าวว่า การบริหารประกอบด้วย การบริหาร man, money, material นั้น วิธีบริหาร man ต้องแยกบริหารให้แตกต่างจากอีก 2 M

สำหรับการสร้าง HPO ต้องสร้างด้วยทีมที่เข้มแข็ง ซึ่งคนไทยยังมีจุดอ่อนเรื่องการทำงานเป็นทีม และการแปลง Intellectual หรือ wisdom ให้เป็น Value innovation

 ในส่วนขององค์กรเอง ต้องสร้าง trust ต้องมี KM/LO และต้องให้แรงจูงใจให้คนในองค์กร ซึ่งคนในองค์กรโดยทั่วไปแยกได้เป็น 3 กลุ่ม

1. พวก cream จะมีประมาณ 20-25 %

 2. พวก average จะมีประมาณ 50-55 %

3. พวกอ่อนด้อย จะมีประมาณ 20-25 %

ต้องแยกจัดการให้ดี ทำอย่างไรจะใช้กฎกับคนกลุ่ม 3 ให้ทำงานได้ และทำอย่างไรให้อีก 2 กลุ่ม รวมกันเป็น 70-80 % ทำงานให้ดี งานต้องมีเป้าหมายชัดเจน และสร้างความผูกพันต่องาน โดยมีอิสระตามสมควร

นอกจากนี้ การสร้าง HPO ผู้นำต้องใช้หลักการมีส่วนร่วม แต่ต้องแยกกลุ่มคนให้ออก คนไหนมอบหมายให้ทำได้โดยอิสระ คนไหนต้องควบคุม และองค์กรจะไปถึง HPO ได้ต้องสร้าง Corporate Culture แต่ละคนต้องเก่งและ share ความรู้ด้วย

หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน

โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ และ รองผู้ว่าการกิจการสังคม กฟผ. ธวัช วัจนะพรสิทธิ์

- ได้เรียนรู้ตัวอย่างวิถีชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ

- ได้เรียนรู้ว่าในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ คนที่จะอยู่รอดได้ ต้องมีทั้งทรัพยากรและความรู้ โลกยุคนี้เป็นยุคแห่งความรู้ การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมจะอยู่รอดอย่างมีความสุขได้ ต้องช่วยกันทำสังคมให้เป็นสังคมความรู้ เพื่อให้ชุมชนในสังคมพึ่งพาตนเองได้

- ได้เรียนรู้ว่าทางออกของ กฟผ.ในขณะนี้น่าจะเป็น social innovation เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบประชาชนมีส่วนร่วม คน กฟผ.ควรมี competency ในการอยู่ร่วมกับสังคม และปรับตัวจากสังคมดั้งเดิมแบบ engineering-based เป็น social-based และหาวิธีการดูแลชุมชนให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อให้ห้สังคมเกิดความไว้วางใจ ทั้งนี้ ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์มหาชนกับสิทธิมนุษยชน และดูแลเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป

 หัวข้อ การบริหารความขัดแย้งและเทคนิคการตัดสินใจ

 โดย รศ.สุขุม นวลสกุล

- ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับความขัดแย้ง ได้เรียนรู้ว่า ความขัดแย้งมีทั้งแบบที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรค และแบบที่ทำให้เกิดการพัฒนา ความขัดแย้งมี 3 ประเภท ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับหน่วยงาน และความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน และเรียนรู้วิธีการลดความขัดแย้งประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ดี

- ได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่ต้องใช้/พิจารณาประกอบการตัดสินใจ ได้แก่ ข้อมูล ประสบการณ์ การคาดการณ์ การพิจารณาผลกระทบ และสถานการณ์ ซึ่งผู้นำจะตัดสินใจได้รวดเร็วเพียงใด ขึ้นกับความแม่นยำในกฎระเบียบ การลดความเกรงใจ และการไม่โอ้อวดในการตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้ว่า ผู้นำต้องตัดสินใจบนพื้นฐานที่ประกอบด้วย ความถูกต้อง ถูกใจ และถูกจังหวะ และยิ่งเป็นผู้นำระดับสูงมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งต้องตัดสินใจข้ามสายความถนัดของเรามากขึ้น ๆ

 วันที่ 18 พฤษภาคม 2555

 หัวข้อ HR for Non-HR

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

- ได้เรียนรู้ว่าองค์กรจะก้าวหน้าได้โดยมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ และมีเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกองค์กร สำหรับบุคลากรทั่วไปก็ต้องมีวัฒนธรรมองค์กร ส่วนหน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล ก็ต้องกำหนดแผนเส้นทางความก้าวหน้าของคนไปพร้อม ๆ กับความก้าวหน้าขององค์กร นอกจากนี้หน่วยงาน Non-HR มีหน้าที่สร้าง Talent , ให้คุณให้โทษบุคคล , นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และเป็นตัวแทนของ CEO ในการถ่ายทอดนโยบาย อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ทั้ง 3 ฝ่าย (ได้แก่ ผู้นำ, หน่วยงานด้าน HR และหน่วยงาน Non-HR) ต้องทำร่วมกัน เพื่อให้องค์กรบรรลุความสำเร็จ ได้แก่ การกำหนดนโยบายร่วมกัน การออกแบบระบบงาน การกำหนดบุคลิกของคนในองค์กรและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ ต้องมีการบันทึกความรู้ และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้

หัวข้อ บทบาทของ Regulator และ Energy Tax

โดย ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

- ได้เรียนรู้สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

 - ได้เรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับ Energy Tax มาตรการทางภาษีเกี่ยวกับพลังงานในต่างประเทศและในประเทศไทย กองทุนพัฒนาไฟฟ้าภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 การทำงานของ กฟผ.กับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และ กกพ.กับการทำงานของ กฟผ.

จากการอ่นหนังสือ Mindset มีโจทย์ที่จะต้องตอบ 2 ข้อดังนี้ 1.ทำไม่คนในโลกนี้มีพฤติกรรมต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหนึ่งหยุดการเรียนรู้

จากการอ่านหนังสือ Mindset ทำให้ทราบว่าการที่คนเรามีพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ต่างกันมาจากการที่คนเรามี Mindset หรือกรอบความคิดที่ต่างกัน
คมที่มี Growth Mindset เชื่อว่าความฉลาดสามารถพัฒนาได้ ชอบความท้าทาย พ้อมที่จะต่อสู้กับอุปสรรค น้อมรับและเรียนรู้จากคำวิจารณ์ มองความสำเร็จของผู้อื่นเป็นแรงดลใจ ดังนั้นจึงเป็นคนที่บรรลุถึงความสำเร็จเต็มที่ตามศักยทีมีอยู่ เพราะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่เสมอ
คนที่มี Fixed Mindset จะเป็นคนที่เชื่อในพรสวรรค์ เชื่อว่าความเฉลียวฉลาดความสามารถเป็นสิ่งตายตัว จะหลีกเลี่ยงความท้าทาย ล้มเลิกความตั้งใจง่ายๆเมื่อเจออุปสรรค ละเลยคำวิจารร์ที่มีประโยชน์ รู้สึกหวาดกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น ดังนั้นจึงเป็นคนที่บรรลุถึงความสำเร็จต่ำกว่าศักยภาพที่มีอยู่ เพราะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมหยุดการเรียนรู้และพัฒนา  

2.ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGATให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ในข้อนี้มีความเห็นว่า 1. จะต้องเริ่มในระดับผู้บังคับบัญชา จะต้องเปลี่ยน Mindset ให้เป็น Growth Mindset ก่อนเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา 2. จัดการอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาตนและการใฝ่เรียนรู้ 3. ส่งเสริม สร้างบรรยากาศ และโอการแห่งการเรียนรู้ในที่ทำงาน 4. ในการประเมินผลบุคลากรประจำปี ดวรเพิ่มการประเมินในเรื่องความพยายามหรือให้น้ำหนักให้มากขึ้น 5. กระตุ้นตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัว ไม่ให้หยุดการเรียนรู้

EADP 8 ช่วงที่ 4

สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือ MOJO MOJO คือพลังเชิงบวกต่อสิ่งที่เราทำอยู่ในเวลาปัจจุบัน ออกจากภายในตัวเราแผ่ออกสู่ภายนอกให้คนอื่นรับรู้ถึงพลังนี้ได้ องค์ประกอบของ MOJO 4 ประการ 1.Identify (ความเป็นตัวเรา) ตัวตนของเราในความคิดของเราเอง เรามองตัวเองว่าเป็นอย่างไรในปัจุบัน หากรู้สึกดีก็สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกได้ 2.Achievement (ความสำเร็จ) ตัวเราทำอะไรมาแล้วบ้าง และต้องพิจารณาดูว่าความสำเร็จนั้นต้องเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตเราจริงๆ เราสามารถเพิ่ม MOJO ในตัวเราได้ ด้วยการเปลี่ยนระดับของความสำเร็จ ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง ที่จะทำให้ตัวเราเองมีความสุขมากขึ้น 3.Reputation (ชื่อเสียง) คนอื่นคิดอย่างไรกับตัวเราและคิดอย่างไรกับสิ่งที่เราทำ 4.Acceptance (การยอมรับ) การยอมรับความจริง และปล่อยวางบางอย่างที่เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ บางครั้งการเป็นทุกข์กับอดีต การกังวลกับอนาคต การเก็บความโกรธแค้นและความรู้สึกลบในตัวเองเป็นการลด MOJO ในตัวเอง แต่ถ้าหากยอมรับความจริงและปล่อยวางก็สามาถเพิ่ม MOJO ในตัวเองได้ MOJO Paradox : ความขัดแย้งของ MOJO : ทั้งๆที่ทุกคนรู้ว่าสิ่งที่ต้องการที่สุดในชีวิต คือ ความสุข “Happiness” และการมีชีวิตที่มีความหมาย “Meaning” แต่มีปฏิกิริยาทางธรรมชาติบางอย่างที่ทำให้เราไม่ทำอย่างที่ต้องการแต่ทำทุกอย่างด้วยความเฉี่ยยชา “Inertia”และยังทำเหมือนเดิมทุกวันจนกลายเป็นวงจรความเฉื่อยชา”Cycle of inertia” ซึ่งจะมีผลต่อเรามากในอนาคต ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยนเพื่อตัดวงจรนี้ โดยทำแบบสอบถามตัวเองประเมินกิจกรรมที่ทำใรเรื่อง “ความสุข” และ’ความหมาย” ประเมินทุกวัน จะทำให้มีสคิรับรู้ได้ทุกช่วงเวลาและรับรู้ได้ว่า มันควรค่าแก่การทำหรือไม่ ตัวผมเองเพิ่งรู้ว่าตัวเองว่าบ่อยอยู่เหมือนกันที่ตกอยู่ในวงจรความเฉื่อยชา ชึ่งต้องพยามตัดมันออกไป ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.จิระ ที่ทำให้เรารู้จัก MOJO 15 พ.ค.2555 การบรรยาย ของ ท่านผู้ว่าการ สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ท่านได้แนะนำว่า การเป็นผู้นำต้องเห็นในด้านกว้างเพราะศาสตร์ในการตัดสินใจกว้างขวางมากและพลาดไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องพัฒนาตนเองให้พร้อมตลอดแวลา มีต้นทุนที่เก็บเกี่ยวไว้ตลอดเวลา ต้องฝึกคิดให้ใหญ่กว่าตำแหน่งที่เป็นอยู่อย่างน้อย 1 ตำแหน่ง นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจ NGO เข้าใจเรื่องสังคม และมีความรู้ทางด้านธุรกิจ ท่านชี้ให้เห็นว่า ปัญหา HR ใน กฟผ. มี 2 ปัญหา 1. Generation ขาดช่วง เนื่องจากมองจากภายนอกจำนวนคนต่อ MW มีจำนวนมาก เลยถูกกดอัตราเอาไว้ 2. สร้างผู้นำมาไม่ทัน เนื่องจาก กฟผ. คนจะถูกพัฒนามาตาม Function ซึ่งต่างจาก บริษัทที่สามาถดูภาพรวมได้ แม้ปัจจุบันจะมีแผนอัตรากำลัง 5 ปี ปีละ 700 คน โดยเฉลี่ย แต่ กฟผ. ไม่ใช่องค์กรที่ดีที่สุดที่คนอยากมาอยู่ และเงินเดือนก็ไม่ได้สูงสุด คนที่เข้ามาใหม่ก็จะเป็นพวกที่ชอบงานท้าทาย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน ที่จะต้อง train และปลูกฝังอย่างไรให้เขารักที่จะทำงานกับเราอีกนาน กฟผ.จะขับเคลื่อนไปได้ต้องสร้างต้นทุน ต้นทุนนั้นคือคน กฟผ.จะพัฒนาให้ยั่งยืนได้ ก็อยู่ที่คน เพราะถ้าคนโกง คนตัดสินใจผิดพลาดก็จะทำให้องค์กรพังได้ นอกจากนี้ท่านไดย้ำอีกว่า การเป็นผู้นำไม่ต้องการเฉพาะสมองสติปัญาอย่างเดียว ต้องมีหัวใจที่จะให้ เสียสละ อดทน ไม่เสแสร้ง การสร้างบารมีต้องทำด้วยจิตใจซึ่งเป็นต้นทุนที่ได้มาโดยไม่รู้ตัว

Leadership in Changing World โดย อ.ประกาย ชลหาญ การเป็น Leadership (ผู้นำ) จะต้องมีผลงาน (Performance)ให้กับองค์การ ซึ่งมี 2 ส่วน คือ Competency และ Motivation
การเป็น Leadership ที่ดีจะต้องมีบทบาท 4 ข้อ คือ 1. กำหนดนโยบายให้กับองค์กร 2. สร้างทิศทางให้กับคนในองค์กร 3. มีการกระจายอำนาจ มอบอำนาจ ให้กับลูกน้อง และมีการติดตาม 4. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกน้อง นอกจากนี้หากองค์กรมี วัฒนรรมองค์ที่แข็งแรง ก็จะทำให้องค์กรก้าวย่างไปอย่างมั่นคง Change management : การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ ถ้ารู้อยู่แล้วว่าต้องเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

พลังงานกับเศรษฐกิจไทย โดย ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ จากที่ได้ฟังบรรยายของ ศ.ดร.พรายพล ในวันนี้สิ่งที่ได้รับความรู้จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ก็คือเรื่องโครงสร้างราคา น้ำมัน และก๊าซ โครงสร้าภาษี ราคาน้ำมันและก๊าซที่เหมาะสม (ตามที่อาจารย์ทำตารางคำนวนมาให้ดู) แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่มีโอกาสได้สอบถามเนื่องจากเวลาไม่พอ ก็คือราคาค่าการกลั่นของทั้งน้ำมันและก๊าซมีรายละเอียดเป็นมาอย่างไรมีความเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากในบรรยายของอาจารย์ระบุว่าถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรก จึงได้มีโอกาศได้ชี้แจงว่าด้วยเทคโนโลยี่ปัจจุบันสามารถทำให้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดแล้ว หาก กฟผ.มีโอกาสได้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็จะใช้เทคโนโลยี่นี้และที่แม่เมาะ กฟผ.ก็ได้แก้ไขปัญหาแล้ว อาจารย์ได้แย้งว่ายังมีปัญหาเรื่อง CO2 หลังจากนั้นก็มีผู้อภิปรายต่ออีกหลายท่าน ผมก็เลยไม่มีโอกาสได้ทราบว่าในความเห็นของอาจารย์เชื้อเพลิงอะไรที่เหมาะกับเศรษฐกิจไทนในอนาคต

16 พ.ค.55 ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อนโยบายพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคตของ กฟผ. โดย ดร.กมล ตรรกบุตร และ ศ.ดร.ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ ท่าน ดร.กมล ท่านได้บรรยให้เราได้รับทราบถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเภทต่างๆ ท่านได้เล่าถึงก่อนการเกิดเหตุการณ์ ระหว่างการเกิดเหตุการณ์ และหลังเหตุการณ์และปัจจุบัน ทีเกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูจิม่า ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว จนมีผลทำให้โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกต้องกลับมาทบทวนรวมทั้งของประเทศไทย โดยรัฐบาลนี้ให้เลื่อนไปอีก 6 ปี (โรงแรกปี 2026) ท่านได้ฝากข้อความกับเราว่า “เราสร้างโรงไฟฟ้ามาไม่ใช่เพื่อชื่นชม เราสร้างมาเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย” ท่าน ศ.ดร.ปณิธาน ท่านได้บรรยายถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวต่างๆทั่วโลก ท่าได้เปรียบเทียบให้เห็นถึงขนาดความรุนแรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นและท่านได้เปรียบเทียบให้เห็นว่า หากอาคารมีการออกแบบไว้ดีก็จะเกิดความเสียหายที่น้อยกว่า ท่านได้ทิ้งท้ายกับเราว่า “ธรรมชาติเป็นเรื่องไม่แน่นอน เราต้องจัดการกับความไม่แน่นอนนั้น”

ทิศทางพลังงานการทำงานของ กฟผ. โดย อดีต ผู้ว่าการ ไกรสีห์ กรรณสูตร และ รวห วิรัช กาญจนพิบูลย์ ท่านอดีต ผู้ว่าการ ไกรสีห์ ท่านได้เล่าให้เราฟังว่า ในอดีต กฟผ.ขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถกำหนดนโยบาย วางแผนทุกอย่างเองหมด และผลิตไฟฟ้าแต่ผู้เดียว แต่ปัจจุบันมี Regulator กำกับดูแล รับนโยบายจากรัฐบาลผ่านกระทรวงพลังงาน มีเอกชนมาแบ่งสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า แต่หน้าที่ของ กฟผ.ยังคงต้องผลิตไฟฟ้าให้มีคุณภาพคำนึงถึงความมั่นคงพลังงานที่จะต้องมีเพียงพอ ท่านได้มองทิศทางพลังงานในอนาคตว่า จะมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากขึ้น (พลังงานทดแทน) กฟผ.จะต้องเตรียมตัวเรื่องระบบไฟฟ้าว่าจะเอาอยู่หรือไม่ อาจต้องใช้เทคโนโลยี่ Smart grid ต้องส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี่โรงไฟฟ้าและสายส่งจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ท่านมองว่าการต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นมาก คนกฟผ.จะต้องสร้างความไว้วางใจให้ประชาชนยอมรับ ท่าน รวห.วิรัช ท่านชี้ให้เห็นว่าทิศทางพลังงานในอนาคต อัตราการใช้พลังงานจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่แหล่งพลังงานในประเทศจะหมดไป การต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่มีมากขึ้น ที่ผ่านมามีการถกเถียงกับ NGO ที่ปลายเหตุคือปริมาณการใช้ไฟ อาจจะต้องกลับมาพิจารณากันที่ต้นเหตุว่าจำเป็นต้องใช้ไฟหรือไม่ ท่านมองว่าที่ผ่านมา ปัญหา CSR ของ กฟผ.เกิดจากความไม่รับผิดชอบ ดังนั้นต่อไป กฟผ.จะต้องมี CSR in process คือต้องทำงานทุกขั้นตอนอย่างมีความรับผิดชอบ ท่านทิ้งท้ายไว้ว่า “ จะได้สัดส่วนการผลิตเท่าไรไม่สำคัญถ้าเราได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเราก็สามารถส้างได้มากขึ้นเอง” Trendy Technology and Social Media for EGAT Executive โดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ดร.วิรัช ท่านได้บรรยายให้รับทราบในเรื่อง IT Technology ว่ามีทิศทางอย่างมีแนว โน้มเป็นเช่นไร มีหลายเรื่องเหมือนกันที่ท่านพูดถึงผมไม่รู้จักอาจต้องกลับมาดูอีกครั้ง ท่านได้ให้ความคิดของผู้นำยุคใหม่จากต้องมีวิธีการทำงานใหม่ เช่น สนับสนุนพนักงานเสนอโครงการเอง มีการให้รางวัลคนทำผิดพลาด ในด้านการพัฒนาท่านให้คำนึงถึง 3 เรื่อง คือ Vision, Mission และ Passion

จากการอ่นหนังสือ Mindset มีโจทย์ที่จะต้องตอบ 2 ข้อดังนี้ 1.ทำไม่คนในโลกนี้มีพฤติกรรมต่างกัน คนหนึ่งพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกคนหนึ่งหยุดการเรียนรู้

จากการอ่านหนังสือ Mindset ทำให้ทราบว่าการที่คนเรามีพฤติกรรมในการเรียนรู้ที่ต่างกันมาจากการที่คนเรามี Mindset หรือกรอบความคิดที่ต่างกัน
คมที่มี Growth Mindset เชื่อว่าความฉลาดสามารถพัฒนาได้ ชอบความท้าทาย พ้อมที่จะต่อสู้กับอุปสรรค น้อมรับและเรียนรู้จากคำวิจารณ์ มองความสำเร็จของผู้อื่นเป็นแรงดลใจ ดังนั้นจึงเป็นคนที่บรรลุถึงความสำเร็จเต็มที่ตามศักยทีมีอยู่ เพราะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่พร้อมจะเรียนรู้อยู่เสมอ
คนที่มี Fixed Mindset จะเป็นคนที่เชื่อในพรสวรรค์ เชื่อว่าความเฉลียวฉลาดความสามารถเป็นสิ่งตายตัว จะหลีกเลี่ยงความท้าทาย ล้มเลิกความตั้งใจง่ายๆเมื่อเจออุปสรรค ละเลยคำวิจารร์ที่มีประโยชน์ รู้สึกหวาดกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น ดังนั้นจึงเป็นคนที่บรรลุถึงความสำเร็จต่ำกว่าศักยภาพที่มีอยู่ เพราะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมหยุดการเรียนรู้และพัฒนา  

2.ทำอย่างไรถึงเปลี่ยน Mindset ของคน EGATให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ พร้อมทำงานมุ่งสู่วิสัยทัศน์ ในข้อนี้มีความเห็นว่า 1. จะต้องเริ่มในระดับผู้บังคับบัญชา จะต้องเปลี่ยน Mindset ให้เป็น Growth Mindset ก่อนเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา 2. จัดการอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาตนและการใฝ่เรียนรู้ 3. ส่งเสริม สร้างบรรยากาศ และโอการแห่งการเรียนรู้ในที่ทำงาน 4. ในการประเมินผลบุคลากรประจำปี ดวรเพิ่มการประเมินในเรื่องความพยายามหรือให้น้ำหนักให้มากขึ้น 5. กระตุ้นตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัว ไม่ให้หยุดการเรียนรู้

The 100 Most Influential People in the World

SALMAN KHAN เขาได้ก่อตั้ง Khan Academy (www.khanacademy.com) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่คนทั้งโลกผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น ซึ่ง กฟผ.น่าจะนำแนวคิดนี้มาใช้ โดยนำหัวข้อ e-learning ของ กฟผ.ที่ทำไว้มาเผยแพร่ผ่านทาง website ของ กฟผ. ซึ่งจะทำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีและได้พันธมิตรในแวดวงการศึกษาขึ้นทั้งอาจารย์และนิสิตนักศึกษา

ELINOY OSTROM

นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2009   จากงานวิจัยว่าด้วยเรื่องการจัดการทรัพยากรสาธารณะ โดยมีแนวคิดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าควรให้การบริหารนั้นดำเนินการโดยชุมชนผู้ใช้ทรัพยากรนั้นเป็นผู้ออกแบบ กฎ กติกาเองโดยมีรัฐ หรือ กลไกการตลาดเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อ กฟผ. ในการที่จะนำหลักการที่ ELINOY ศึกษาไว้มาปรับใช้และอยู่ร่วมกันกับชุมชนรอบ กฟผ.  อย่างมีความสุข

DONALD SADOWAY PROFESSOR MIT ผู้กำลังพัฒนา Liquid-metal batteries ขนาดที่มีราคาต่ำ เพื่อจะตอบโจทย์ของการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวียนเช่น แสงอาทิตย์, พลังงานลม ฯลฯ ในกรณีไม่มีแสงแดดและลม ซึ่งถ้าสามารถพัฒนาจนนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ ต่อ กฟผ. ในการลดจำนวนโรงไฟฟ้าที่จะต้องสร้างเพิ่มเติมได้มาก

WARREN BUFFETT มหาเศรษฐี ที่ร่ำรวยเป็นอันดับ ที่ 3 ของโลก ผู้ประกาศยกมรดกหุ้นจำนวน 85 % ที่เขาถืออยู่ให้องศ์กรการกุศล คิดเป็นเงินมากถึงประมาณ 3.7 หมื่นเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมตามหลัก CSR ซึ่ง กฟผ. สามารถนำหลักคิดนี้มาประยุกต์ใช้ต่อไป

WANG YANG เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน มณฑลกวางตุ้งได้รักการยกย่องในกรณีหมู่บ้านอู่ขาน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐได้ยึดที่ดินอย่างไม่เป็นธรรมซึ่งเขาไม่ใช้อำนาจปราบปรามชาวบ้านที่ประท้วงแต่สั่งตรวจสอบการทุจริตอย่างเคร่งครัด

กฟผ. สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาในด้านการใช้อำนาจรัฐและฟังความเห็นของชุมชน

วันนี้ได้อะไร วันที่ 25 เมษายน 2555

Learning Forum & Practice หัวข้อ Art & Feeling of Presentation โดยอาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

  • เริ่มต้นด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อต้องการให้ผู้บริหารทั้งหลายย้ายการใช้งานจากสมองซีกซ้ายมาใช้งานสมองซีกขวาบ้าง ที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การสื่อสาร
  • กิจกรรมให้เริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหวเพื่อให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมสำหรับการทำงาน การยื่นมือออกมาบิดไขว้กันเหนือศีรษะก็เป็นการปรับสมดุลให้สมองซ้ายและขวา
  • กิจกรรมอยากเป็นอะไร ปิ๊งแว๊บเพื่อให้ย้ายการคิดจากสมองซีกซ้ายมาซีกขวา โดยให้บอกความต้องการลึกๆ ของเราออกมา แล้วคิดท่าทางประกอบ
  • คน กฟผ. บ้างาน ควรหันมาบ้าความสุขกันบ้าง
  • ต้องทำในสิ่งที่ชอบ รักในสิ่งที่ทำ แล้วจะเกิด Passion+Innovation -- > เช่น Steve Job  Walt Disney Starbuck ขายบ้านหลังที่ 3 ถัดจากบ้าน ที่ทำงาน แล้วไม่ใช่แค่ขายกาแฟ
  • การฝึกพลัง จิตใต้สำนึกให้สง่างาม Peak State ไม่เดินตัวงอ ยืนด้วยสะดือ
  • การสื่อสาร Delivery Skill ฝึกให้ดูว่า Presenter แล้ว 1) เห็นอะไร 2)ได้ยินอะไร 3) รู้สึกอย่างไร ถ้าผู้พูดมีข้างในดี ก็จะสื่อออกมาได้ดี
  • Power of Three สร้างสามเหลี่ยมขึ้นในใจคือ 1) ปัญหา 2) ทางออกและ 3) ผลลัพท์ที่จะได้ จะได้ไม่พูดวกวน Sharp, short, got to the point
  • ขายอสังหาริมทรัพย์ 3L งง Location, Location, Location ให้วาดภาพไว้ในใจแล้วค่อยพูดออกมาให้คนเห็นภาพนั้นเหมือนเรา
  • การใช้คำพูด (Word) จะสื่อได้แค่ 7% แต่การใช้วิถี (Way) จะสื่อให้เข้าใจได้ถึง 93% (สมองซีกขวา)ดังนั้นการนำเสนอผลงานควรใช้ภาพเป็นหลัก ถ้ามี Script ในการพูดก็ต้องมีใส่อารมณ์ไปด้วย แซ่บๆ
  • way เช่น เห็นคนกางมือยืนอยู่บนหัวเรือ หรือ Jack and Rose ก็จะนึกถึงเรื่อง Titanic วิถีในการสอนหนังสือ ก็เช่นกันนักเรียนเบื่อฟิสิกส์เพราะอะไร เพราะเขาไม่สามารถจินตนาการได้เอง เด็กยังไม่รู้ ไม่มีประสบการว่าอะไรเป็นอะไร เล่าอย่างไรเขาก็ไม่สามารถจินตนาการขึ้นมาเองได้ ดร. เลวิน us เลยสร้างห้อง Lab ในหน้าห้องเรียน เด็กก็สนุกสนาน และจำได้เพราะให้สมองซีกขวาในการเรียนรู้
  • Happy workplaceใช้สมองซีกขวา สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

วันนี้ได้อะไร วันที่ 25 เมษายน 2555

อ. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

 อาจารย์มาถึงก็เล่าเรื่องทำไมคนไทยรักในหลวง พร้อมกับให้ดูหนัง 4 แผ่นดิน และเล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่เรียนอยู่อเมริกา คน US เขาสงสัยกันมากว่า “ทำไมคนไทยรักในหลวง” เลยต้องเสาะแสวงหาเนื้อหาไปเล่าให้ฝรั่งฟัง แต่มาวันนี้ต้องมาเล่าให้คนไทยด้วยกันฟังกันเอง วัดกับวัง ฝรั่งไม่มี การรู้ความสำคัญหรือกว่าจะรู้ว่ามีค่าก็ต่อเมื่อไม่มีแล้ว เช่น ลมหายใจ อากาศ ข้าวหอมมะลิ อเมริกากับเวียดนามปลูกข้าวหอมมะลิแล้วมากกว่าไทยเสียอีก

  • จะหาใครดีกว่าในหลวงไม่มีอีกแล้วเพราะมีความรู้สึกว่าในสังคมมันแตกแยกกันมา ภาพแรกที่อาจารย์ให้ดูคือธนบัตรฉบับละ 20 บาท ที่มุมล่างขวาด้านหลังของธนบัตร จะมีพระราชดำรัส ร.9 ซาบซึ้งใจมาก

                       

  • แต่ก็มีคำถามว่า คนไทยโชดดีที่มีในหลวง แต่ทำไมคนไทย 1) ทุจริต 2) แตกแยก และ 3) ฆ่ากันเอง
  • ลองทายว่ารางวัลไหนเป็นรางวัลที่คุณดนัย ภูมิใจมากที่สุดในชีวิต คำตอบคือ การได้เกิดมาเป็นคนไทยในแผ่นดินรัชกาลที่ 9
  • ดังนั้น จึงขอเปลี่ยนหัวข้อในการพูดวันนี้ ขอพูดถึง “ธรรมดีที่พ่อทำ” พูดไปแล้ว 402 ครั้ง มีคนฟัง 82,051 คน วันนี้ก็จะเพิ่มขึ้นอีก 1 ครั้ง 32 คน
  • คนไทยมี Idle มี Idol แต่ไม่มี I do คือรู้ว่าดี แต่ไม่ทำตามซะงั้นล่ะ
  • พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า “ภิกษุจับจีวรเราแต่ไม่ปฏิบัติก็ไม่มีวันได้เห็นตถาคต” โอปนยิโก ต้องทำเองจึงจะได้เอง

 

White Ocean Strategies

  • Change happens! Change is constant! Shift happens การเปลี่ยนแปลงเป็น นิรันดร์
  • 4,500 ล้านปีโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอด  อุณหภูมิโลก 10 องศาเซนเซียสมานาน แต่ขยับขึ้นมา 5 องศาเป็น 15 องศาในช่วงเวลาแค่แป็บเดียว มีเทนเพิ่มขึ้นมหาศาล สิ่งที่ไม่เคยเกิด ไม่เคยเห็นก็เกิด และมีให้เห็น เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย โรงแรมเลคพาเลสกลางทะเลสาบอุทัยปุระในอินเดีย น้ำท่วมในทะเลทราบทางเหนือของปากีสถาน น้ำท่วมในรัฐเท็กซัส มีหิมะตกในรัฐฟลอริดาที่มีชื่อว่า Sun shine state แผ่นดินไหว Tsunami ในญี่ปุ่นและในไทย น้ำท่วมหาดใหญ่ ดินโคลนถล่ม น้ำท่วมดอนเมือง
  • GE If the rate of change on the outside is faster than the rate of change on the inside…the end is sight.
  • 30 ปีที่แล้วเขาจัดกลุ่มกันแบบนี้

         ไทย        เกาหลีใต้       เวียดนาม

                      ไต้หวัน           พม่า

                      สิงคโปร์         ลาว

                      มาเลเซีย        เขมร

  • แต่ตอนนี้เวียดนามส่งออกขาวแซงไทยแล้ว พม่า+อินเดีย เป็นลำดับ 1
  • ไทยเตรียมพร้อมน้อยที่สุดในการก้าวสู่ AEC2015
  • ผลการสำรวจ Pole บอกว่าเด็กไทยยอมรับการโกงเป็นเรื่องปรกติ 70% ถ้ามันเป็น 100% มันก็โกงกันทั้งประเทศล่ะคราวนี้
  • เด็กมีหน้าตาดีร้องเพลงเก่งก็มีเวทีให้แสดง อาจารย์จึงได้จัด D Ambassador ที่ช่อง 3 ให้เด็กไม่ต้องหน้าตาดี จะได้มีเวทีให้แสดงความดีได้ เด็กคิดเป็น คิดเก่ง 1)ต้านคอรัปชั่น 2)ยาเสพติด และ 3) ท้องวัยเรียน ผลการคิดของเด็กนำเสนอยุทธการปราบคอรัปชั่นได้เท่ากับฮ่องกงที่ทำมา 40 ปี
  • The 5 Ages of Civilization’s Choices ประกอบด้วย 1) Hunter 2) Agriculture 3) Industrial 4) Information 5) Wisdom ช่วงนี้ เป็นช่วง 4 ต่อยุดที่ 5
  • Speed of Trust
    • High -- > ต้นทุนดำเนินงานจะต่ำ
    • Low -- > ต้นทุนดำเนินงานจะสูง
  •  ความคิดของสมองสองขั้ว

Left

Right

สมองซีกขวา

1. Logical

1. Random

  •   ไม่เป็นระบบ

2. Sequential

2. Intuitive

  •   ไม่เรียงลำดับ

3. Rational

3. Holistic

  •   ไม่เป็นเหตุเป็นผล

4. Analytical

4. Synthesizing

  •   ไม่วิเคราะห์ ใช้สังเคราะห์

5. Objective

5. Subjective

  •   ไม่มุ่งวัตถุประสงค์

6. Looks at part

6. Look at whole

  •   ไม่มองแยกส่วน
  •  อาการที่สมองซีกซ้ายคิดมากเกินไป เช่น เปิดตู้เย็น แต่ไม่รู้จะหยิบอะไร แย่แล้ว ต้องผ่อนลงบ้าง
  • ชมรมชมกันเอง สร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน แม้แต่น้ำยังรู้สึกได้เลย ศ.อิโบโตะ ทดลอง ชมน้ำ แช่น้ำให้แข็ง โมเลกุลที่ตกผลึกจะสวยดังผลึกคริสตัล แต่แก้วที่ด่าน้ำ ไม่สามารถตกผลึกได้ โลกเรา 70% เป็นน้ำ คนเรา 70% ของร่างกายก็เป็นน้ำ กัลยาณมิตร “โยนิโสนมัสิการ”
  • 70% ของโรคที่เป็นมาจากใจ อีก 30% เป็นจากเชื้อโรค ถ้าใจสงบรักษาได้หลายโรค
  • การรับผิดชอบต่อสังคม ตัวเราเป็น Individual Social Responsibility: ISR ต้องทำความดีทุกๆ วัน ทำความดีทุกลมหายใจเข้าออก
  • องค์กรเราทำแค่ CSR ไม่พอ ต้องไล่ตั้งแต่ Children SR, Corporate SR, City SR และจนกระทั่งถึง Country SR

 เรานำหนังสือ White Ocean ให้อาจารย์เซ็นชื่อให้ ไม่ได้เซ็นชื่ออย่างเดียวนะครับ “ขอให้มีความสุขทุกลมหายใจ” ชื่นใจจัง

 ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

สรุปหนังสือโมโจ

 การบ้านให้อ่านหนังสือโมโจ และ การประยุกต์ใช้โมโจกับ กฟผ.

  • หนังสือโมโจเริ่มต้นด้วยคำนิยมจาก 22 ผู้นำ นักคิด ที่มีชื่อเสียงในโลก แทบทุกวงการพูดถึงมาร์แชล โกลด์สมิธให้คำนิยมไว้ในสถาบัน วารสารดังของโลก อย่างยิ่งใหญ่ในรอบ 25 ปี 80 ปี ให้เป็นสมาชิก HR แห่งชาติ Forbes จัดเป็น Top 15 ผู้ทรงอิทธพลของโลก แต่น่าแปลกใจว่า เราเองไม่รู้จักชื่อโมโจ หรือมาร์แชล โกลด์สมิธ เลย
  • แต่สิ่งที่โมโจบอกเล่ามานั้นกลับอยู่ใกล้ตัวมาก เป็นสัจธรรมคำสอนในศาสนาพุทธ เสียส่วนมาก “I am awake”  “ฉันตื่นแล้ว” เหมือนเรารู้แล้วรู้เห็นชอบด้วยตนเองแล้ว คล้ายๆ กับที่พระองค์ตรัสกับองคุลีมาลว่า “เราหยุดแล้ว” เราหยุดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตแล้วแต่ตัวท่านซิยังไม่หยุด
  • คำว่าโมโจ ดั้งเดิมเป็นความเชื่อพื้นบ้านในอำนาจเหนือธรรมชาติของชนเผ่าวูดู เหมือนกับความเชื่อว่าการเริ่มต้นเล่นไพ่ เริ่มได้ก็จะได้ตลอดวัน หรือเล่นกีฬา ทำธุรกิจ เลือกตั้งการเมือง เป็น sense ดีๆ ที่อยู่ในตัวเราที่แผ่รังสีออกมาให้คนรอบข้างรับรู้ได้ ดังภาพวาดพระพุทธเจ้าที่มีรัสมีด้านหลังศีรษะ ซึ่งเขาเหล่านั้นคงไม่ได้เห็นแสงจริงๆ เพียงแต่รับรู้ได้ถึงพลังดีๆ ที่สาดส่องออกมา

Mojo is that positive toward what we are doing now that starts from inside and radiates to the outside

ระดับการคงอยู่ของโมโจขึ้นอยู่กับ Identity, achievement, reputation และ acceptance

  • สิ่งแรกเลยคือตัวตนของเรา เราคิดว่าเราเป็นเช่นไร ไม่ต้องคิดว่าคนอื่นคิดว่าเราเป็นเช่นไร
  • สิ่งที่สองคือรับรู้ซึมซับได้ถึงผลสำเร็จที่กระทบความรู้สึกของเราโดยไม่มากไม่น้อยเกินไป
  • สิ่งที่สามคือภาพของเรา ที่คนอื่นคิดว่าเราเป็นเช่นไร คนอื่นเขาระลึกถึงสิ่งที่เราทำล่าสุดได้ว่าอย่างไร
  • สิ่งที่สี่คือการยอมรับ อะไรที่เราเปลี่ยนได้ อะไรที่นอกเหนือการควบคุมของเรา

ในทางศาสนา มีคำสอนง่ายๆ อยู่ว่า อารมณ์ความรู้สึกของเราเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเราโกรธก็ให้มีความรู้สึกรับรู้ว่าเวลานี้เรากำลังโกรธ เมื่อเราเกลียดก็ให้รู้สึกตัวว่ากำลังเกลียด ไม่ต้องกังวล ไม่นำความรู้สึกลงไปติดกับอารมณ์นั้น คอยดู เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ต่อไป

ความขัดแย้งกันของโมโจ (Paradox)

  • สิ่งที่เราต้องการมากที่สุดคือความสุขและความหมายในชีวิต แต่เรากลับไม่แสวงหาสิ่งเหล่านี้ กลับไปมุ่งทำงาน หาเงิน ทำเช่นนี้เหมือนเดิมทุกๆ วัน เพื่อที่จะแสวงหาความสุขในบั้นปลายของชีวิตหรือ แล้วใครเล่าจะรู้ว่าชีวิตจะสิ้นสุดลงในวันใด ถ้าเราไม่ใส่ใจกับความหมายในชีวิตวันนี้แล้ว เราจะอยู่ไปเพื่ออะไรกัน
  • ทไลลามะของทิเบต เคยกล่าวไว้ว่า มนุษย์เราแสวงหาทรัพย์สินไว้มากๆ เก็บไว้รักษาสุขภาพตอนแก่ชรา แล้วเหตุใดเล่า พวกเราจึงไม่แสวงหาสุขภาพที่ดีไว้ในวันนี้เล่า

สิ่งที่จะนำมาใช้ได้กับ กฟผ.

  • ง่ายมากเลย สัจจธรรมเหล่านี้มีอยู่แล้วเพียงแต่ทุกคนรู้ แต่ไม่ลงมือทำ เหมือนกับเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรทั้งหลายที่มีอยู่มากมายหลายพันเครื่องมือ กฟผ. ก็นำมาใช้ 40 กว่าเครื่องมือ แต่ไม่มีใครเชื่อว่าเครื่องมือเหล่านั้นจะได้ผล มีแต่บอกว่านายสั่งให้ทำก็ทำไป ไม่มีอะไรเสียหาย
  • เราต้องเชื่อและศรัทธาก่อนแล้วคนอื่นจะสามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกดีๆ เหล่านั้นของเรา เราจะปล่อยวางงานได้มากขึ้น เชื่อมั่นว่าลูกน้องจะทำได้ดี เมื่อลูกน้องเชื่อว่าเราเชื่อมั่นในตัวเขา เขาก็จะแสดงความรู้สึกดีๆ เช่นนั้นออกมาในเนื้องานเช่นเดียวกัน
  • พูดง่ายนะ แต่ก็ทำได้ง่าย อย่าไปคิดมาก เชื่อผมเถอะ

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท. -การลงทุน -- > การลาทุกข์ บ๊ายๆ

5 ผู้ทรงอิทธิพลที่ชื่นชอบ

 จากนิตยสาร Time April 30, 2012 The 100 Most Influential People in the World

การบ้านให้เลือกว่าใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลต่อโลกใบนี้ มีที่ท่านชื่นชอบซัก 5 ท่าน เพราะเหตุใด

1. Oscar Pistorius เป็นนักวิ่ง 400 เมตร 4x400 เมตร แม้ว่าจะพิการตั้งแต่กลางแข้งลงไปต้องมีแผ่นเหล็กเป็นเท้าแทน แต่ก็วิ่งท้าทายนักวิ่งแข่งปกติได้ทั่วโลก เป็นผู้สร้างกำลังใจ สู้ไม่ถอย ลุยหน้าลูกเดียว

2. Anthony Kennedy เป็นศาลสูงวัย 75 ผู้ทรงอิทธิพลต่อชนอเมริกัน ชอบตรงที่มีจุดยืนในการตัดสินใจบนความถูกต้อง คะแนน 5-4 ทำให้คะแนนของท่านเป็นผู้ตัดสินสุดท้ายไป

3. Salman Khan นักการศึกษา เป็นติวเตอร์จำเป็น ชอบตรงที่เป็นผู้ห่วงใยลูกพี่ลูกน้องที่อยู่ห่างไกลคนละประเทศ ต้องการติว Algebra เลยต้องจัดทำบทเรียนผ่านสื่อดิจิตอล กว่า 3,000 บทเรียน กลายเป็น Innovation ในวงการศึกษาผ่านสื่อ On-line ไป

4. Samira Ibrahim เป็นเหยื่อผู้หญิงจากทหารอียิปต์ที่ทำ “virginity tests” ชอบตรงที่ลุกขึ้นสู้ มาประกาศให้คนรู้ ไม่ยอมแพ้ต่อชะตากรรม

5. Andrew Lo เป็นศาสตราจารย์ผู้คิดค้นทฤษฏีเศรษฐศาสตร์การเงินใหม่ “Adaptive market” ชอบตรงที่เขาเปรียบเทียบไปถึง Adam Smith กับ Charles Darwin โดยศึกษาข้อมูลมากมายมหาศาลจนได้ข้อสรุปที่เปลี่ยนแนวความเชื่อจากทฤษฎีที่ว่าตลาดเคลื่อนไหวอย่างมีเหตุมีผล เป็นทฤษฎีตลาดมีชีวิตชีวาที่ซับซ้อน

ประเสริฐศักดิ์

ช.อศง-ลท.

 

สรุปสิ่งที่ได้จากการเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร EADP 8 ช่วงที่ 3

 

วันที่ 24 เมษายน 2555

 

1) ช่วงเช้า             บุคลิกภาพของผู้บริหารรุ่นใหม่ (2) มารยาทการเข้าสังคม และการเจรจาธุรกิจเพื่อสร้างความประทับใจ  โดย มรว.เบญจภา  ไกรฤกษ์

 

                สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ เริ่มจากเทคนิตการเข้าสังคม เทคนิคการสร้างความประทับใจจากการถูกมองเห็นในครั้งแรก การสนใจในเสื้อผ้า หน้า ผม รองเท้า และสิ่งประดับตามจำเป็น การแต่งกายที่เข้ากัน  เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการวางบุคลิก ท่าทาง รวมถึงวิธีการแสดงออกทางจิตใจด้วย การให้คำนิยมต่างๆ และการไหว้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการมีอารมณ์ขันบ้างตามความเหมาะสม

                จากนั้นได้เรียนรู้ถึงการไปร่วมงานต่างๆ อาทิเช่นการไปร่วมงานศพ  การไปร่วมงานเลี้ยง (Recption) การร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ (Sit-down dinner) เรียนรู้การเจรจูรกิจ  การอยากรู้จักใคร การขอบคุณที่เชิญมาร่วมงานต่างๆ สรุปปิดท้ายด้วย อ.ดร.จีระ ที่มุ่งเน้นให้ ผู้บริหาร กฟผ. ฝึก Social Skill ให้ดี ให้ความรู้เรื่อง Three Law of Performance และจะต้องมี Mindset of Eager to Learn อยู่ตลอดเวลา

 

2) ช่วงบ่าย   แนวคิดBlueOcean กับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างนวัตกรรม ของ กฟผ. โดย ดร. กุศยา ลีฬหาวงศ์

 

                สิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า Blue Ocean คือน่าฟ้าใส พื้นที่ในตลาดที่ยังไม่จับจอง มีความต้องการ มีโอกาสเติบโต และสร้างผลกำไรได้อย่างมากมาย สิ่งที่ได้ตระหนักถึงปัญหาที่สภาพแวดล้อมเปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว ปัญหาการแข่งขันของตลาดที่รุนแรง ที่ฆ่าฟันและเอาชนะกัน ทำให้ต้องมี Paradigm Shift  คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือคิดใหม่ ทำใหม่นั่นเอง รู้ว่าจะต้องมี Thinking Paradigm และมีต้อง Positve Thinking และ Creative Thinking  ผมได้รู้ถึง Blue Ocean Strategy และหลักการ 6 อย่างในการดำเนินการและการหานวัตกรรมเชิงคุณค่า  ได้เรียนรู้จากตัวอย่างของบริษัท Netjets และธุรกิจไวน์ Yellow Tail ของออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังรู้จักกับ Game Theory Concept ว่าคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้การมองธุรกิจแบบ Blue Ocean สามารถเกิดขึ้นได้

 

 

 

Self Study 3 Assignment : การอ่านหนังสือ และวิเคราะห์ หนังสือเรื่อง Mojo

 

                สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ และวิเคราะห์ หนังสือเรื่อง Mojo คือทำให้รู้ว่าความหมายจริงๆคือ ความสุขและการมีชีวิตที่มีความหมาย ( Happiness and Meaning ) แต่รากฐานมาจากความเชื่อเหนือธรรมชาติแต่ปัจจุบัน คือพลัง และความคิดบวกจากภายในตัวเราเอง  ได้รู้อีกว่า Mojo คือ ความรู้สึกที่ดีที่เรามีต่อสิ่งที่เรากำลังทำ โดยเริ่มจากภายใน ก่อนจะแผ่รัศมีออกมาสู่ภายนอก และเรียนรู้ว่ามีปัจจัย 4 ประการที่มีผลต่อระดับ Mojo ในตัวเราคือ Identity,Achievement ( ซึ่งมีผลต่อ Meaning and Impact ),Reputation และ Acceptance (การยอมรับความจริง ) นอกจากนี้ยังได้รู้จัก Mojo Paradox ว่าคือความจริงที่ขัดแย้งกันเอง และจะส่งผลให้เกิดความเฉื่อยชา (Inertia) และทราบถึงผลสรุปของ 5 ตัวแปรของสิ่งที่มีความสุขและมีชีวิตที่มีความหมายของคนที่ประสบความสำเร็จ คือ Health,Wealth,Relationship,Happiness และMeaning

 

Assignment : เลือก 5 ท่านจาก “ The 100 Most Influenential People in the World”จาก  Time Magazine ฉบับ April 30,2012 บอกเหตุผลที่ชอบหรือประทับใจและสิ่งที่จะมีประโยชน์ต่อ กฟผ.

 

1)              Warren Buffett ( An Investor in Values ) – Business Man ชอบเพราะตอนอายุ 11 ปีได้ลงทุน 120 ดอลลาร์ในหุ้น City Service Preferred แล้วขาดทุนเพราะหุ้นตกกราวรูด แต่ท่านก็บากบั่นจนเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกคนหนึ่งได้  ประโยชน์ในมุม กฟผ.คือ การจะต้องไม่ยอมแพ้ต่อความผิดพลาดที่ผ่านมาและต้องเดินหน้าอย่างแยบยลเพื่อสร้างให้ กฟผ.มั่งคั่งในระดับโลก

2)              Cami Anderson ( Equal – opportunity educator ) – Superintendant ชอบเพราะเธอได้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและเท่าเทียมทางการศึกษาและคิดค้นโปรแกรมมากมายในเรื่องดังกล่าว  ประโยชน์ในมุม กฟผ.คือ การทำให้ชุมชนได้รับการศึกษาเรื่องกิจการพลังงานและความสำคัญของการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน คือต้องออกแบบกลไกต่างๆ อย่างเหมาะสม

3)              Ben Rattray ( A conduit for change ) – Organizer ชอบเพราะเขาคือผู้ให้ กำเนิดเว็บไซต์ Change.org ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมวิถีทางที่ผู้คนในโลกจะบอกเล่าเรื่องราว ประโยชน์ในมุม กฟผ.คือ การเป็นผู้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทางความคิด ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ไม่ต้องใช้กำลัง

4)              Maryam Durani ( Kandahar’s Defiant Voice ) – Broadcaster ชอบเพราะเขาคือผู้ให้ความจริงแก่โลกอย่างกล้าหาญในฐานะผู้สื่อข่าวที่จังหวัดกันดาฮาร์ ประเทศอัฟการ์นิสถานในกรณีกองทัพ นาโต้กับทหารอัฟกัน ท่มกลางการต่อสู้รายวันกับนักรบตาลิบัน เคยยืนอยู่ตรงกลางระหว่าง ปธน.โอบาม่า กับ รมต.ต่างประเทศ อเมริกาในยุคนั้น ประโยชน์ในมุม กฟผ.คือความกล้าหาญที่จะให้ความจริงแก่สาธารณะในทุกๆเรื่อง ถ้า กฟผ.มีความกล้าหาญก็จะสมาร์ทมากในสังคม

5)              Henrik Scharfe ( Face to face with machinery ) –  Inventor ชอบเพราะเขาคือศาสตราจารย์ที่ม.เดนมาร์ค ออลบอร์กที่แทบไม่มีใครรู้จัก แต่เค้าสร้างหุ่นยนต์เป็นตัวเค้าเองและไปดังใน YouTube เขาคือนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่และผู้นำทางเทคโนโลยี ประโยชน์ในมุม กฟผ.คือ อยากให้ กฟผ.สร้างนักประดิษฐ์ หรือ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ จาก ประสพการณขององค์กรที่อยุกว่า 40 ปีแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท