แผนการเรียนรู้บูรณาการ 5 ชาตรี สำราญ


สาระการเรียนรู้ (เนื้อหา)

1. วิธีการปฏิบัติตนตามคำแนะนำเกี่ยวกับหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มเพื่อนและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

2.  การเขียนขั้นตอนการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มเพื่อนและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

3. วิธีการวางแผนและการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

4. วิธีการตรวจสอบข้อมูลการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

5. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ  ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

6. วิธีการอภิปรายผลการวิเคราะห์

7. การนำเสนอผลการเรียนรู้

8. การบวก  ลบ  จำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้มา

9. การ  คูณ หารจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้มา

10. การเขียนภาพระบายสีแสดงออกถึงความรู้สึกในการรับรู้ความงามต่อธรรมชาติที่ได้เรียนรู้มา

11.  การบอกแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัว

 12. การนำข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้

13. วิธีการรวบรวมข้อมูลที่สนใจจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  ที่เชื่อถือ

14.  การอธิบายวัฏจักรของชีวิตมนุษย์

15. วิธีการใช้ภาษา(ต่างประเทศ)ง่าย ๆ สั้น ๆ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

16.  วิธีการนำสื่อ  นวัตกรรม  ง่าย ๆ ประกอบการใช้ภาษาง่ายๆ   สั้น ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

17. วิธีการเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาประกอบการเขียน

18. วิธีการเขียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มา

19. การใช้ทักษะการเขียนจดบันทึก ความรู้ประสบการณ์และเรื่องราวในชีวิตประจำวัน

 

กิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

  1. ครูตั้งคำถาม ถามนักเรียนว่า “อะไรบ้างที่อยู่ในบริเวณโรงเรียนนี้ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา” (เพื่อสำรวจความรู้เดิม) และให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคำตอบลงในกระดาษ

( ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน)

 

 

 

 

 

  1. ขั้นสอนครูพูดกับนักเรียนว่า “บทเรียนเรื่อง โอ้...เรื่องที่ฉันต้องเรียนรู้” นี้เราจะต้องไปเรียนที่ในหมู่บ้าน

1.1    นักเรียนแต่ละคนเขียนคำตอบของตนลงไปในแผ่นกระดาษที่ครูมอบให้

1.2    เมื่อเขียนเสร็จแล้วต่างนำเสนอผลคำตอบของตนให้ครูเขียนลงไปในกระดานดำ สิ่งใดซ้ำกันจะเลือกเพียง 1 เท่านั้น

1.3    ทุกคนร่วมกันสรุป ความหมายของคำว่า “สิ่งแวดล้อม”

(ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ด้วย)

2.1 นักเรียนช่วยกันแบ่งกลุ่มการเรียนตามข้อตกลง (ครูบันทึกพฤติกรรมการแบ่งกลุ่มไว้ด้วย)

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

       นักเรียนจะต้อง

1)      แบ่งกลุ่ม

2)      วางแผนการเรียนรู้

 

2.2    นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการเรียนรู้ในประเด็น

ก)      เราเรียนเรื่องนี้ทำไม

ข)      เราจะเรียนเรื่องย่อย ๆ อะไรบ้าง

ค)      เราจะตั้งคำถามในแต่ละเรื่องย่อย ๆนั้นว่าอย่างไรบ้าง

ง)      คำถามนี้เราจะสามารถนำถามใครได้บ้าง

จ)      เราจะมีวิธีการเก็บข้อมูลแบบใคร

ฉ)     เราจะนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใด

 

 

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

 

 

 

 

 

 

 

3.เมื่อนักเรียนร่วมกันวางแผนการเรียนรู้เสร็จ  ครูตรวจสอบความเป็นไปได้เรียบร้อยแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนไปสำรวจข้อมูลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตามแผนที่กำหนดไว้

 

 

 

ช)     เราจะไปสำรวจข้อมูลสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างไร และควรปฏิบัติตนแบบใด

ซ)     เราจะใช้วิธีการใดตรวจสอบข้อมูลความรู้ทั้งหมดได้

3. นักเรียนผ่านการตรวจสอบแผนการเรียนรู้แล้ว ก็ออกไปปฏิบัติการสำรวจข้อมูล สิ่งแวดล้อมในชุมชน ตามแผนการเรียนรู้ที่วางไว้

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

4.1    เมื่อนักเรียนกลับจากสำรวจชุมชนมาสู่ห้องเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไปแล้ว ครูถามว่า “อะไรบ้างในชุมชนที่เป็นสิ่งแวดล้อม ทำไมจึงคิดว่าเป็นสิ่งแวดล้อม”

4.2    เมื่อเรียนรู้ข้อ 4.1 เสร็จแล้ว ครูถามต่อว่า

ก)      ในการไปปฏิบัติงานร่วมกันเรามีข้อปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง

ข)     ข้อปฏิบัติตน ตนเอง กลุ่มเพื่อน และสิ่งแวดล้อมนั้นสอดคล้องกับหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถืออย่างไรบ้าง

4. 1นักเรียนร่วมกันนำข้อมูลที่กลุ่มสำรวจได้ นำเสนอ ครูบันทึกไว้บนกระดานดำ ทั้งรายชื่อและเหตุผล

เป็นสิ่งแวดล้อม

เพราะ........

ภูเขาเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ

มีอยู่มานานนับพัน ๆ ปี

 

 4.2  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปรึกษา รำลึกข้อปฏิบัติตนและเขียนแสดงขั้นตอนการปฏิบัติตนพร้อมกับเขียนบอกผลที่ได้รับจากการปฏิบัติตนดีต่อตนเอง กลุ่มเพื่อน และสังคมโดยแบ่งในประเด็น

    1) ต่อตนเอง

    2) ต่อกลุ่มเพื่อน

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

ค)      ผลที่ได้จากการปฏิบัติตนดีนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

(ข้อ 4.2 ครูต้องรีบสอนทันทีเพราะทิ้งระยะข้ามวันไป นักเรียนจะนึกขั้นตอนปฏิบัติตนไม่ได้)

5.  เมื่อนักเรียนเสร็จกิจกรรมข้อ 4 แล้ว ครูถามว่า “ข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนหามาได้ทั้งหมดนั้น สามารถเขียนเป็นผังความคิดรูปแบบใดได้และง่ายต่อการโยงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อกันและกัน

 

    3)  ต่อสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว

    เสร็จแล้วแต่ละกลุ่มตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลคำตอบก่อนนำส่งครู

 

 

5.นักเรียนร่วมกันเสนอความคิดและคัดเลือกรูปแบบเพียงหนึ่งเพื่อจะร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่อไป

( ครูควรมีตัวอย่างรูปแบบผังความคิดที่หลากหลายให้นักเรียนเลือกในกรณีเด็ก ๆยังนึกไม่ออก ถ้าเคยสอนมาก่อนแล้ว ตรงนี้วัดได้ว่าสามารถนำความรู้เดิมมาใช้เรียนรู้ใหม่ได้ไหม)

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

6.ครูกล่าวต่อไปว่า “เราได้รูปแบบผังความคิดแล้วต่อไปเรามาช่วยเขียนแสดงภาพโยงให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้

 7.เสร็จจากการวิเคราะห์ข้อมูล (ตามข้อ 6 ) แล้วนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการวิเคราะห์

 

6.นักเรียนร่วมกันคิดและเขียนลงในกระดาษปรู๊ฟแผ่นใหญ่ที่ปิดไว้แสดงให้เห็นภาพความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กัน(โดยใช้กระดาษปรู๊ฟปิดต่อกันหลายแผ่นให้ใหญ่ เพื่อจะได้ข้อมูลที่ร่วมกันวิเคราะห์ได้อย่างหลากหลาย)

7.นักเรียนร่วมกันคิดประเด็นที่จะอภิปรายผลการวิเคราะห์และร่วมกันอภิปรายตามประเด็นที่วางไว้พร้อมสรุปผลการอภิปราย

 

 

 

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

8.นักเรียนอภิปรายผลเสร็จแล้ว เปิดโอกาสให้นำผลการเรียนรู้ทั้งหมด ตั้งแต่ข้อ 1-7 เขียนเป็นหนังสือเล่มเล็ก (ทำเป็นการบ้าน นัดหมายวันส่ง)             การจัดทำหนังสือเล่มเล็กควรเปิดโอกาสให้นักเรียนนำผลงานขณะเขียนนั้นไปปรึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยและนำแหล่งอ้างอิงมาบันทึกไว้ในเล่ม  “นี่คือการสอนวิธีการเรียนรู้” ให้ผู้เรียน

 

  1. นัก เรียนร่วมกันเก็บรวบรวมผลการเรียนรู8.ทั้งหมด แบ่งหน้าที่กันเพื่อจัดทำหนังสือเล่มเล็ก นำส่งภายหลังจัดทำเสร็จแล้ว

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

9.ครูสนทนากับนักเรียนถึงสภาพของสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นว่าเป็นอย่างไรบ้างนักเรียนประทับใจตรงไหนบ้าง แล้วครูก็ให้นักเรียนวาดภาพที่ตนประทับใจ

10.เมื่อนักเรียนวาดภาพเสร็จให้นำภาพไปปิดไว้ข้างฝาผนัง เพื่อจะร่วมกันดูภาพและสนทนาเรื่องการใช้สี การจัดภาพ ความเด่นของภาพ สิ่งที่ต้องพัฒนา

11.ครูให้นักเรียนกำหนดราคาของภาพของนักเรียนแต่ละคน เขียนปิดไว้ที่ภาพของตน

9.นักเรียนสนทนากับครูถึง

9.1    สภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ตนได้เห็นมา

9.2    ความประทับใจต่อสิ่งที่ตนได้เห็นมา

นักเรียนวาดภาพที่ตนประทับใจตามความถนัดของตน

10.นักเรียนร่วมสนทนากับครูเกี่ยวกับเรื่องสี การจัดภาพ ความเด่นของภาพ สิ่งที่ต้องพัฒนา หาข้อสรุปเป็นบทเรียนเรื่องศิลปศึกษา

11.นักเรียนกำหนดราคาภาพของตนเขียนปิดไว้ที่ภาพ 

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

12.ครูให้นักเรียนนำราคาภาพของตนและเพื่อน ๆ มาสร้างโจทย์ปัญหาแสดงวิธีการหาคำตอบและอธิบายถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้มา

13.ครูนำภาพแผนผังความคิด (จากข้อ 5 ) มาสนทนากับนักเรียนถึงเรื่องที่เรียนรู้มาเป็นการทบทวนความรู้เดิมแล้วครูถามว่า

             “ภาพจากแผนภาพความคิดนี้แสดงให้เห็นถึงวัฏจักรของชีวิตมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง” หรือ “สิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับชีวิตของ

12.นักเรียนแต่ละคนนำภาพของตนและของเพื่อน ๆ มาสร้างโจทย์ปัญหาพร้อมแสดงวิธีการหาคำตอบและอธิบายถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้มา

 13.นักเรียนดูภาพให้แผนภาพความคิดแล้วร่วมกันหาคำตอบตอบครู ครูบันทึกคำตอบไว้บนกระดาษปรู๊ฟ

     เมื่อทุกคนร่วมกันตอบจนเห็นว่าหมดแล้ว ก็ร่วมกันพิจารณาว่า คำตอบใดใช่ และควรเพิ่มเติมคำตอบใดบ้าง เพราะนักเรียนยังคิดไม่ถึง  เมื่อได้คำตอบพอสมควรแล้ว เปิดโอกาสให้

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

       นักเรียนอย่างไรบ้าง”

       ครูเลือกคำถามที่เหมาะกับความเข้าใจของผู้เรียน

 14.ครูกับนักเรียนนำภาพวาดบางภาพมาสนทนาเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น ๆ  เหมาะกับพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน

 

ตั้งแต่ข้อ 2-14  เป็นขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือขั้นสอน

 

       นักเรียนเข้าไปศึกษาค้นคว้าต่อในห้องสมุด (ซึ่งครูเตรียมหนังสือไว้ให้แล้ว ) และนำมาเขียนรายงานส่งครูเรื่อง วัฏจักรชีวิตมนุษย์

14.นักเรียนกับครูสนทนาเกี่ยวกับภาพวาดที่ครูนำมาให้ดู ด้วยภาษาง่าย ๆ สั้น ๆ (เป็นภาษาต่างประเทศ) เท่าที่ตนสามารถพูดได้

 

 

 

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

15.ครูสนทนากับนักเรียนในประเด็นที่เรียนผ่านมาแล้วคือ

15.1  เราได้เรียนรู้เรื่องใดบ้าง

ก)วิธีการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกลุ่ม ทำงานกลุ่ม

ข) หลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ค) วิธีการวางแผนและการสำรวจสิ่งแวดล้อม

ง) วิธีการตรวจสอบข้อมูลที่สำรวจได้มา

จ) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

 

 

    นักเรียนสนทนากับครูและตอบคำถามทั้งหมด  ครูบันทึกไว้ในกระดาษปรู๊ฟ เพื่อเป็นหลักฐานการเรียนรู้

     ทั้งนี้ในกิจกรรมข้อนี้ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำหมู่บ้าน มาร่วมสนทนาและฟังบทสรุป บทเรียน อีกทั้งสามารถเสริมเพิ่มเติมบทเรียนให้สมบูรณ์ขึ้นด้วย เป็นการร่วมวัดประเมินผลการเรียนรู้ไปในตัว

 

 

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

ฉ) วิธีการสร้างประเด็นอภิปรายและการอภิปราย

ช) วิธีการนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้

ซ)  การบวกลบคูณหาร

ฌ) การเขียนภาพระบายสีจากความประทับใจสิ่งที่ได้เรียนรู้มา

ญ) การนำแหล่งข้อมูลใกล้ตัวมาทำประโยชน์ในการเรียนรู้

ฎ) วิธีการรวบรวมข้อมูล

ฏ) วัฏจักรชีวิตของมนุษย์

ฐ) การใช้ภาษา(ต่างประเทศ) ง่าย ๆ   สั้น ๆ ในการสื่อสาร

 

 

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

ฑ) การนำสื่อ นวัตกรรมง่าย ๆ มาประกอบการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

ฒ) วิธีการเขียนแหล่งอ้างอิง

ณ) การเขียนบันทึก เขียนรายงานผลการเรียนรู้

15.2  เรียนรู้ด้วยวิธีการใด

15.3  รู้สึกอย่างไรบ้าง

16.  เมื่อนักเรียนตอบคำถามทั้งหมดในข้อ 15 ได้แล้ว  ครูถามต่อไปว่า “สิ่งแวดล้อมที่เราเห็นในท้องถิ่นนั้นมีตรงไหนบ้างที่คิดว่ามีปัญหากับท้องถิ่น มีปัญหาอย่างไร ทำไมจึงเป็นปัญหา และเราจะหาทางแก้ปัญหาได้อย่างไร

 

 

   

 

 

        นักเรียนจะต้องนำเสนอสภาพสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านที่ส่งผลต่อมลภาวะในท้องถิ่นให้ได้ เช่น แหล่งน้ำเน่า ขยะที่ทิ้งอยู่ริมถนนหนทาง หรืออื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดมลภาวะในท้องถิ่นได้

     นักเรียนต้องเสนอปัญหาสภาพของปัญหาแล้วร่วมกัน

 

กิจกรรมสำหรับครู/

คำถามนำ

กิจกรรมสำหรับนักเรียน

 

กระตุ้นให้ชุมชนที่มาร่วมรับฟัง  คิดหาวิธีการแก้ไข และนำสู่ภาคปฏิบัติต่อไป กลายเป็นการร่วมกิจกรรมชุมชนขึ้นมาทันที  บทเรียนจะมีคุณค่าตรงนี้เอง เรียนไม่เสียเปล่า นี่คือการเรียนรู้จากชีวิตจริง

 อ่านเป็นเล่มได้ที่ https://docs.google.com/docume... 



หมายเลขบันทึก: 485926เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2012 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท