ตำรากับอาจารย์พยาบาล


อาจารย์พยาบาลกับการเขียนตำรา

ตำรากับอาจารย์พยาบาล

   เรากำลังเปลี่ยนบทบาทผู้ใช้มาเป็นผู้สร้าง นี่เป็นคำกล่าวของ รองศตราจารย์ ดร.สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล สำนักบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาบรรยายในหัวข้อ การผลิตผลงานวิชาการ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมความรู้และทักษะด้านการเขียนและบรรณาธิการตำรา

อาจารย์เริ่มถามว่า เรากำลังเผชิญอยู่กับสถานการณ์อะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงของวิทยากร

การประกันคุณภาพการศึกษา

ความก้าวหน้าในสายอาชีพ

ความก้าวหน้าของวิธีการหาความรู้

อาจารย์ก็เริ่มย้อนรอยตำราทางการพยาบาล โดยแบ่งเป็น 2 ยุค ยุคโรงเรียนพยาบาล กับยุคอุดมศึกษา

       ยุคโรงเรียนพยาบาล ตำราส่วนใหญ่จะเป็นตำราประกอบการสอนวิชาพื้นฐาน เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา เขียนโดยแพทย์ แต่ตำราที่เขียนโดยพยาบาลมีน้อยเช่น จรรยาพยาบาล ประวัติการพยาบาล ลักษณะการเขียนในยุคนี้ ผู้เขียนจะเป็นคนเดียว และเป็นเอกสารคำสอนแบ่งเป็นบทๆ พิมพ์และใช้ในแต่ละสถาบัน มีการจำหน่ายเผยแพร่ในสถาบันอื่นบ้าง

      ยุคการศึกษาพยาบาลเข้าสู่อุดมศึกษา ในยุคนี้มีการสนับสนุน มีนโยบายสนับสนุนการแต่งตำราภาษาไทยในทุกสาขา ในยุคนี้พยาบาลเริ่มร่วมกลุ่มกันเขียนตำรา เปลี่ยนจากการเขียนคนเดียวเป็นการเขียนหลายคน

ส่วนสถาบันพระบรมราชชนก ส่วนใหญ่จะเป็นตำราในการพยาบาลแต่ละสาขา ใช้เฉพาะสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณะ เช่น การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ฯลฯ

     ตำราทางการพยาบาลมีเนื้อหาหลากหลาย เป็นตำราการพยาบาลในชิงลึกหรือมีเนื้อหาเจาะจงกลุ่มเฉพาะบางกลุ่มมากขึ้น แสดงตัวอย่างการใช้กระบวนการพยาบาล  นำทฤษฏีการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ สรุปสาระ เตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพ

หมายเลขบันทึก: 485845เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2012 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท