แนวทางการจัดการ กับ อุปสรรค 7 ประการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริหารมือใหม่ ตอนที่ 2


ผู้นำคนใหม่

2.คำสั่งจากผู้บริการมีต้นทุนที่สูง 

     เรื่องต่างๆในองค์กรดูเหมือนจะประดังเข้ามารออยู่ที่หน้าประตูห้องผู้บริหารคนใหม่ เพราะลูกน้องเกือบทุกคนของคุณยังไม่แน่ใจว่าคุณคิดอย่างไร มีวิธีการตัดสินใจแบบใด เมื่อเกิดความไม่แน่ใจจึงต้องเลือกเอาแบบที่แน่ใจเสียก่อนนั่นก็ คือไม่ตัดสินใจดีกว่า ส่งเรื่องให้คุณป็นผู้ตัดสินใจ เรื่องต่างๆจึงเดินทางมาคอยที่โต๊ะทำงาน ทั้งๆที่แต่ละเรื่องกว่าจะเดินทางมารอคำตอบว่าจะอนุมัติหรือไม่ ก็ผ่านการตรวจสอบจากหลายระดับมาแล้ว อีกทั้งใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารมาพอสมควร แต่ก็ต้องมากองรอการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจากคุณผู้ซึ่งเป็น ผู้บริหารใหม่ของพวกเขาเลยกลายเป็นคอขวด (Bottleneck) ของบริษัท ที่เรื่องต่างๆเดินทางมากระจุกรอคำสั่งจากผู้บริหาร ดังนั้นคำสั่งแต่ละคำสั่งจึงกลายเป็นคำสั่งที่มีต้นทุนสูง 

     ซึ่งเรื่องนี้เองถือว่าเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องรีบแก้ไขเลยก็ว่าได้ เนื่องจากหลายๆคนมีแนวคิดถึงเรื่องการปรับโครงสร้างบริษัทให้มีความกระชับมากขึ้น เพราะมีความรู้สึกว่าบริษัทเชื่องช้า และไม่คล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ โดยที่บริษัทส่วนใหญ่จะมุ่งประเด็นไปที่การลดจำนวนคนลง เพียงเพราะหวังว่าบริษัทมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ประเด็นที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ จริงหรือไม่ ว่าการที่บริษัทมีพนักงานจำนวนมากทำให้บริษัทไม่กระฉับกระเฉง บางครั้งอาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไปเนื่องจาก ปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่กระฉับกระเฉงของบริษัทจริงๆแล้วเกิดจากระบบหรือขั้นตอนที่มีมากเกินไปหรือเปล่า หรือว่าผู้บริหารชอบหวงอำนาจเกินไปหรือไม่ เพราะกลัวว่าถ้ามอบหมายอำนาจหรือกระจายอำนาจให้แก่ผู้อื่นแล้วจะทำให้ตนเองหมดความสำคัญ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิด ดังนั้นการลดต้นทุนในการตัดสินใจที่ดีที่สุดคือการกระจายอำนาจให้กับผู้ที่เหมาะสม โดย ณ. ปัจจุบันมีการกระจายอำนาจหรือมอบหมายอำนาจในหลายรูปแบบ ซึ่งไม่มีวิธีใดถูกหรือผิด แต่วิธีการกระจายอำนาจที่น่าสนใจคือ การบริหารธุรกิจแบบอะมีบา คือ การแบ่งซอยองค์กรออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เหมือนตัวอะมีบา (Ameba) ที่กำลังแบ่งตัวขยายพันธุ์ ทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ทันท่วงที เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น เป็นกลไกหนึ่งในการสร้างผู้นำ ด้วยการส่งเสริมให้ทุกคนเป็นตัวเอกในการบริหารกิจการ และสร้างเสริมจริยธรรมของพนักงานทุกระดับในองค์กร แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้บริหารยังคงจำเป็นต้องตรวจสอบสิ่งที่ได้มอบหมายให้กับลูกน้องอยู่ห่างๆ และสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหลังจากที่มีการกระจายอำนาจให้กับลูกน้องแล้วคือ การทบทวนความเข้าใจถึงเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของบริษัทให้มีความเข้าใจตรงกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการตัดสินใจของลูกน้องเนื่องจากเป้าหมายของทุกคนในองค์กรเป็นเป้ากหมายเดียวกันที่สำคัญจะได้ไม่ต้องเกิดปัญหาคอขวดอีกต่อไป

3.เป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจริงๆ 

    เป็นเรื่องที่ไม่อยากจะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แต่ในความเป็นจริงบ่อยครั้งที่ผู้บริหารกลายเป็นผู้รู้เรื่องคนสุดท้าย เพราะข้อมูลที่ประดังเข้ามาสารทิศ ข้อมูลถูกบิดเบือน หรือตัดทอน จะด้วยความปรารถนาดี หรือความประสงค์ร้ายแฝงจากลูกน้องที่บรรจงปั้นแต่งข้อมูลหรือไม่ก็ตาม จึงเห็นได้บ่อยๆที่ผู้บริหารมักเจอกับ เรื่องน่าประหลาดใจอยู่เสอม หรือถึงแม้จะได้รู้ความจริงก็เมื่อเกิดเหตุผ่านไปแล้ว เพราะข้อมูลที่ไปสู่ผู้บริหารเดินทางตามขั้นตอนอย่างเป็นทางการ ข้อมูลหลายเรื่องผู้บริหารมารู้เอาจากรายงานในห้องประชุม  ซึ่งไม่เป็นผลดีเลยกับคุณซึ่งเป็นผู้บริหารคนใหม่เลย

      ดังนั้นเราก็มีแนวทางที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการเรื่องนี้ได้ในระยะยาวเช่นกัน ก่อนอื่นคุณต้องพยายามค้นหาพนักงานในระดับใต้บังคับบัญชาของคุณซึ่งเห็นด้วยกับความคิดของคุณ และพร้อมที่จะเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แต่มีอยู่อีกวิธีที่คนนิยมใช้กันแพร่หลาย คือ การสร้างความเชื่อให้กับพนักงานทุกคนว่าการที่คุณเข้ามาบริหารงานในบริษัท แทนผู้บริหารคนเก่า จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงบริษัทเกิดความมั่งคั่งและ พนักงานเกิดความมั่นคงมากกว่า ก่อนที่คุณเข้ามาบริหารงาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการโน้มน้าวความคิดทุกคนให้มีความเชื่อในตัวคุณ มีความไว้วางใจในตัวคุณ เพื่อที่คุณจะได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ต้องลังเลที่จะใช้ข้อมูลดังกล่าวที่ได้มา แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่คุณจำเป็นต้องมีอีกอย่างคือ การดูคนให้ออก ว่าลูกน้องที่ให้ข้อมูลกับคุณกำลังโกหกคุณอยู่หรือไม่ โดยอาจใช้ทฤษฎีการจับโกหก ของ David J. Lieberman  ช่วยเพิ่มเติม โดย ในหนังสือได้กล่าวถึงวิธีการจับโกหกในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจับโกหกขั้นพื้นฐานด้วยการจับโกหกทางภาษากาย หรือการยิงคำถามเพื่อล้วงความจริง รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการพิจารณาว่าลูกน้องของคุณกำลังโกหกคุณหรือไม่ 

 มีต่อตอนที่ 3

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน NANA
หมายเลขบันทึก: 485729เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2012 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2014 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท