รากฐานการศึกษาสู่การอ่านจิตอ่านใจ


ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าคิดสนุกๆ ขึ้นมาเอง ... ว่า 

ในการศึกษาของเด็กที่เริ่มตั้งแต่การฝึกฝนในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ ตั้งแต่ภาคบังคับนั้น ทำไมเราไม่สอนเด็กๆ ให้ได้เรียนรู้ภาวนาเข้ามาในจิตในใจไปพร้อมๆ กัน ...

การดูจิตดูใจ...อ่านจิตอ่านใจ

ไปควบคู่กับการอ่าน ก กา ก ไก่

แบบฝึกปฏิบัติสำหรับหนูตัวน้อยๆ... ให้หมั่น อ่านอารมณ์ อ่านความคิด ความรู้สึก ... 

เด็กที่ร้องไห้ คือ สภาวะการณ์ที่เด็กกำลังถูกคุกคามด้วยความทุกข์ที่บีบคั้น เช่น เด็กปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ หิว เจ็บปวด ...การร้องไห้ออกมาของเด็กๆ คือ ความพยายามนำพาตนเองออกจากความทุกข์ที่บีบคั้นนั้น

ดังนั้นเมื่อเด็กเริ่มสู่การเรียนรู้และการสามารถสื่อสารได้นั้น เราน่าจะได้นำพาเด็กให้ฝึกฝนการอ่านจิต อ่านใจตนเอง

แล้วสะท้อนออกมา...พร้อมทั้งเพิ่มทักษะการฝึกใคร่ครวญ

เพราะเมื่อใด ที่เราสามารถอ่านจิตใจเราออก เราจะเกิดเป็นความเข้าใจในตนเอง และเมื่อใดที่เราสามารถเข้าใจในเราเมื่อนั้น เราจะสามารถเข้าใจผู้อื่น และเข้าใจโลกทั้งโลกได้

แล้ว...เส้นทางการเรียนรู้ ก็จะเป็นเส้นทางการเรียนรู้อย่างตื่นรู้และเบิกบาน พร้อมทั้งมีความหมายอย่างมากมายต่อชีวิตการเกิดและดำรงอยู่

...

๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕

หมายเลขบันทึก: 485613เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2012 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

..ที่เห็น..ก็ได้เริ่ม...ฝึกหัดกันบ้างแล้ว..กับโรงเรียน..นอกระบบ..แต่..ในระบบ..ยังคงต้วมเตี้ยมกันอยู่..น้ะะ...(ยายธี)

ได้ข้อคิดค่ะ    การฝึกระบบโรงเรียนจะทำได้เมื่อครูเห็นพ้อง  เห็นดี  เห็นงาน ได้วยกัน จึงจะเกิดประสิทธิผลนะคะ

 

 

 

เรียน อาจารย์ ที่เคารพครับ...ผมว่า น่าจะเป็นการจัดการศึกษาแนวใหม่มาก ๆ นะครับ...เพราะทำให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง...ผ่านการฝึกทบทวนในใจตนเอง...คิดเอง และทำเอง...ใช่ครับ...การศึกษาปัจจุบัน ทำให้เราศึกษาสิ่งนอกตัวเรามาก และบางอย่างแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท