ละหมาดเป็นก็พอ ฉบับที่ ๑


กลับมานั่งดูคนที่ละหมาดอีกครั้ง เกือบทุกจังหวัด ทุกประเทศที่ไปมา พบว่าสิ่งเล็กๆน้อยในการละหมาดทุกอย่างเข้าองค์ประกอบในเงื่อนไขการละหมาดทั้งสิ้น แม้จะมีข้อแตกต่างบางตามมัซฮับหรือสำนักคิดที่ตนเองยึดเป็นแนวปฎิบัติ แต่สิ่งที่พบอยู่คือ การละหมาด แตกต่างอย่างไรกับการเข้าพบหัวหน้า

     จากที่ได้ละหมาดมาหลายที่ๆสามารถเดินทางไปถึงได้ จนถึงแง่คิดในการละหมาดจากการที่นั่งดูคนอื่นละหมาด และจากที่ได้เห็นศาสนาอื่นทำพิธีเข้าหาพระเจ้าหรือเคารพที่ตนเองศรัทธาอยู่ในใจ ทำให้พบได้ว่า มีอะไรในการละหมาดที่เราไม่ได้กล่าวถึง มีอะไรในการประกอบศาสนกิจนมาซหรือละหมาดที่ทำให้จิตใจเราว่างเปล่า จิตใจเราเร่งรีบ จิตใจเราเฉยเมย แม้บางคนจะปฎิเสธว่า จะรู้ได้งัยในจิตใจของคนอื่น แค่เรามีเจตนาดี อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตาลา พระองค์ท่านคงตอบรับการประกอบศาสนกิจด้วยใจบริสุทธิ์ของเราแล้ว เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับเนียตหรือการเจตนา และมอบหมาย(ตะวักกัลป์) ให้อัลลอฮฺแล้ว

     กลับมานั่งดูคนที่ละหมาดอีกครั้ง เกือบทุกจังหวัด ทุกประเทศที่ไปมา พบว่าสิ่งเล็กๆน้อยในการละหมาดทุกอย่างเข้าองค์ประกอบในเงื่อนไขการละหมาดทั้งสิ้น แม้จะมีข้อแตกต่างบางตามมัซฮับหรือสำนักคิดที่ตนเองยึดเป็นแนวปฎิบัติ แต่สิ่งที่พบอยู่คือ การละหมาด แตกต่างอย่างไรกับการเข้าพบหัวหน้า เจ้านาย ผู้นำ หรือพ่อแม่ของเรา มันมีความแตกต่างตรงไหน ในการให้เกีรยติ มีความแตกต่างที่ใดกับสถานที่ๆเราต้องเคารพ แตกต่างแค่ไหนกับมูลค่าที่ประเมินค่ามิได้ มาตรฐานให้ได้แค่ไหน ในความเป็นมุสลิม ผู้ซึ่งเคารพศรัทธาต่อพระผู้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ผู้มอบลมหายใจ จิตวิญญาณ อาหาร เพื่อความอยู่รอด โดยที่เรามองไม่เห็นว่าเป็นมอบให้ทางอ้อม ผ่านเหตุและผลทางธรรมชาติ จากความพยายามของเรา

     การละหมาดเป็นส่วนหนึ่งการแสดงออกถึงความศรัทธา การแสวงความโปรดปราน การน้อมรับในการสรรสร้างของพระองค์ แต่ที่เราพบเห็นอยู่ ณ ตอนนี้ คือ ทำไมเราถึงไม่ใส่ใจในรายละเอียด เหมือนที่เราใส่ใจเมื่อเราจะไปทำงาน ออกงานสังคม หรือทำกิจกรรมอย่างใด อย่างหนึ่งที่สร้างความชื่นชอบแก่ผู้ที่พบเห็น แม้ว่าส่วนหนึ่งจะมีหลักฐานทางศาสนาที่กล่าวว่า พระเจ้ามิได้มองที่ภายนอกแต่อย่างเดียว แต่มองที่จิตใจก็ตาม แต่ก็ยังพบว่าเราให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ตัวอย่างเช่น

     ๑. เมื่อเข้าถึงเวลาละหมาด เราพบว่าน้อยคนนักที่จะกุลีกุจอ เร่งรีบที่จะไปละหมาดให้ทันเวลา ให้ทันละหมาดร่วมกันเป็นญามาอะห์ ซึ่งได้ผลบุญมากกว่า หากว่าเราละหมาดคนเดียวถ้าจิตใจล่องลอยก็อาจทำให้การละหมาดของเราผลบุญลดลงได้ แต่ถ้าละหมาดร่วมกัน อย่างน้อยถ้าใจลอยไปไหนก็ยังมีอีก ๒๐ กว่าผลบุญให้ได้ทดแทนที่ขาดไปได้อีก แต่เราก็ยังประวิงเวลา

     เริ่มตั้งแต่การละหมาดช่วงเช้ามืด (ซุบฮิ) เราก็รอคอยให้จนถึงตอนที่เราอยากจะตื่น เพราะเหนื่อยมาทั้งวัน ทั้งคืน คิดได้เพียงว่ามีเวลาทั้งวันก่อนเที่ยง แต่ถ้าวันไหนเราอยากเดินทางไปแต่เช้า นอนไม่หลับ เราก็ยังตื่นเช้าได้อยู่ดี

     พอถึงช่วงเที่ยง (ซุหริ) ตรงนี้มีข้อยกเว้นหลายอย่างสำหรับคนที่ไม่คุ้นชินปฎิบัติ นั้นคือ การเลือกว่าจะรับประทานอาหารเที่ยงก่อนหรือจะละหมาด เพราะหากละหมาดแล้วท้องร้อง แน่นอนจิตใจไม่สามารถจะอยู่นิ่งได้ จิตใจตลิดไปไกลคิดถึงร้านอาหาร คิดถึงกับข้าว คิดถึงน้ำที่ดื่มหลังจากละหมาดเสร็จสิ้น แต่ถ้าเราคุ้นชินกับการเริ่มต้นหรือรอคอยการละหมาดล่วงหน้าอยู่ทุกวัน เราก็สามารถปรับตัวได้เอง มีช่วงหนึ่งที่เราสามารถปฎิบัติเป็นการนำร่องได้คือ ช่วงเดือนถือศีลอดหรือรอมฎอน เป็นเดือนแห่งความศรัทธา พิสูจน์ความอดทน อดอาหาร ตรงนี้ช่วยได้

     เมื่อมาถึงช่วงเย็น (อัสรี) ก็มีช่วงเวลาที่ขัดใจใครหลายคน แม้ว่าหลายคนจะให้เหตุผลไปต่างๆนานา แต่เราก็ปรารถนาที่จะให้ทุกคนได้ละทิ้งการงานที่ไม่สำคัญหรือคาบเกี่ยว เพื่อออกไปละหมาดในช่วงเวลาไม่ถึง ๑๐ นาทีนี้ ไม่เช่นนั้นแล้ว ถ้ารอให้กลับถึงบ้านหรือเลิกงาน ๔ โมงถึง ๕ โมงคงจะไม่ทันเสียแล้ว ถ้าพระเจ้าให้มาลาอิกัตมาดึงวิญญาณเราออกไป

     เย็นลงมากอีกนิดก็ช่วงหัวค่ำ (มักริบ) ตอนนี้วัดใจคนมากเลยเพราะเป็นช่วงที่กำลังสนุก ช่วงที่ตัดสินใจลำบากว่าจะเอาอย่างไรก่อน มีข้อแนะนำคือให้เตรียมตารางเวลาละหมาดเลย จะได้เตือนสติของเราให้อยู่กับการละหมาดตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่จดมาจากปฎิทิน เวลาในโทรศัพท์มือถือที่คิดว่าในป้จจุบันคงจะมีโปรแกรมเวลาละหมาดให้เตือนกันแล้ว ถ้าให้ดีก็สั่งพิมพ์จากโรงพิมพ์เฉพาะเลย ให้ทำขนาดเท่านามบัตรติดตัวไว้แต่ละเดือน ไม่ต้องคิดว่าจะสิ้นเปลือง หากทำอะไรเพื่อศาสนาแล้ว ไม่ต้องกลัว เพราะเราก็ไม่คิดว่าจะทำแจกเราคนเดียว ทำแจกจ่ายคนอื่น ทำเป็นที่ระลึกยังได้เลย ได้บุญต่อเนื่องด้วยซ้ำไป

      สุดท้ายก็เวลาของกลางคืนก่อนจะดึก (อิซาอฺ) อยากขอเลยว่าให้รอเวลาตรงนี้เลย ถ้าทำได้ ให้พักช่วงนี้เป็นเวลาอิบาดัต การอ่านคัมภีร์กุรอาน การพูดคุยเรื่องศาสนา หรือวิงวอนขอพรจากพระเจ้า เพราะมันเป็นเวลาที่ทำให้เราเลือกที่จะเดินออกไปแล้วไม่กลับมา ทำให้การละหมาดของเราต้องล่าช้าออกไปจนดึก หรือจนกระทั่งเช้า บางทีเลยเวลาไปเลยก็มี สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราไม่รักษาเวลาให้มีความสม่ำเสมอหรือบริสุทธิ์ใจที่จะทำ มันก็อาจจะทำให้เกิด ๒ มาตรฐานในสายตาพระเจ้าได้

     เน้นย้ำให้คิดอย่างหนึ่ง ทำไมเวลาเราเดินทางไกลในความดูแลของผู้อื่นเราถึงได้รักษาเวลาล่วงหน้ากัน ทำไมเวลาเราจะสอบ เราถึงเตรียมตัวก่อนเข้าสอบล่วงหน้า ๓๐ นาทีถึง ๑ ชั่วโมงกันได้ พร้อมทั้งเตรียมข้อมูลที่จะใช้อย่างหึกเหิม ทำไมเราจะสัมภาษณ์งาน เราถึงเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างดี

วันสุไลมาน เจะแวมาแจ
๑๓ เมษายน ๒๕๕๕

คำสำคัญ (Tags): #ละหมาด
หมายเลขบันทึก: 485554เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2012 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 04:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท