จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๓


จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๓

 

 

 

จดหมายถึงลูก "เพรียง" ฉบับที่ ๓

 

 

วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นวันหยุดราชการ

 

เนื่องจากเป็นวันพระราชทานเพลิงศพ ฯ

 

และก็เป็นวันสำคัญที่แม่ไม่อาจจะลืมเลือนไปจากชีวิตของแม่

 

เลย นั่นคือ "เป็นวันที่ "น้องเพรียง" ซึ่งได้ขึ้นบัญชีเป็นทหาร

 

กองเกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ แล้ว (ตามแบบ สด.๙)

 

เนื่องจากลูกเกิดมาเป็นผู้ชายไทย...

 

 

 

และลูกก็ได้รับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร

 

(ตามแบบ ส.ด.๓๕) ในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๕

 

เวลา ๐๗.๐๐ น. ณ ที่ศูนย์ประสานแผนพัฒนาประจำ

 

อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

 

 

 

 โดยใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการ

 

ทหารกองประจำการ พ.ศ. ๒๕๕๕ (แบบ สด.๔๓)

 

นั้นรายงานผลการตรวจเลือกว่า "น้องเพรียง" มีร่างกาย

 

สมบูรณ์ดี ควรเป็นคนจำพวกที่ ๑ มีส่วนสูง ๑๗๙ ซม.

 

ขนาดรอบตัว ๘๑/๘๔ ซม.

 

(ซึ่งขนาดมาตรฐานต้อง ๗๖ ซม. ขึ้นไป)

 

 

 

แม่กับน้องอ้อมได้พากันซ้อนรถมอตอร์ไซด์มาที่หน้าอำเภอ

 

พรหมพิราม เพราะว่าบ้านของเราอยู่ใกล้กับอำเภอประมาณ

 

๒ กิโลเมตรเท่านั้นเอง...ในรอบเช้าแม่กับน้องอ้อมพากันมา

 

หาลูกรอบหนึ่งแล้ว แต่ลูกบอกว่า ให้มาตอนบ่ายโมงก็แล้วกัน

 

เพราะทหารเขาจะเรียกกันตอนนั้น...แม่ก็เลยกลับมาเลี้ยง

 

เจ้าฟ้าครามอยู่ที่บ้านของยายก่อน...

 

 

 

เวลาเกือบบ่ายโมง แม่กับน้องอ้อมก็มาที่อำเภอกันอีก

 

รอบหนึ่ง  คราวนี้ พวกเราขึ้นมาบนชั้น ๒ รอให้ทหารเรียกตัว

 

ทหารให้เรียบร้อยกันก่อน แม่จึงจะเข้าไปดูการตรวจเลือกในครั้งนี้ได้  เพราะวันนี้มีหลายตำบลที่เข้ารับ

 

การตรวจเลือก โดยตำบลพรหมพิรามซึ่งเป็นตำบลที่

 

น้องเพรียงได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ก็โดนเรียกเป็น

 

ลำดับแรก ซึ่งในภาคเช้า ตอนแม่มาหาลูก แม่เห็นแล้วว่า

 

"น้องเพรียง" ได้เลข ๑๓ ซึ่งความหมายของแม่ว่า

 

มันเป็นเลข Luckly Number ซึ่งถ้าในความหมายของแม่

 

นั่นคือ วันเกิดของแม่ และก็มีอีกหลาย ๆ สิ่งที่แม่ได้เลขนี้

 

แล้วมันมีผลดีกับตัวของแม่...แต่นี่ลูกได้เลขนี้...

 

มันจะเกิดอะไรขึ้นสำหรับตัวลูก...แม่คิดอยู่ในใจว่า...

 

"น้องเพรียง คงติดทหารแน่ ๆ เลย" แต่แม่ก็ไม่ได้พูดอะไร

 

รอฟังผลในตอนบ่ายจะดีกว่า เพราะพูดไปก็ไม่ดี...

 

 

 

สุดท้าย น้องเพรียงก็จับได้ "ใบแดง"

 

โดยได้ ทหารบก ผลัดที่ ๒ จทบ.พ.ล.

 

เพราะ "น้องเพรียง" ได้นั่งแถวหน้าสุด ลำดับแรก ๆ เขาก็จับ

 

กันได้ "ใบดำ" แต่พอมาที่ "หม่ำ" เพื่อนของน้องเพรียง

 

คนบ้านเดียวกัน "หม่ำ" จับได้ "ใบแดง" โดยได้

 

ทหารอากาศ ผลัดที่ ๒ จทบ. พ.ล.

 

เรียกเสียง "เฮ" กันทั้งอำเภอ แต่แม่เห็นลูกแสดงความเป็น

 

ลูกผู้ชายอย่างมาก ลูกไม่ร้องไห้ ได้แต่ยิ้ม เพราะวันก่อน ๆ

 

ลูกบอกว่า "เครียด" เพราะลูกเป็นห่วงเรื่อง "การทำนา" +

 

ห่วงเจ้าฟ้าคราม...

 

 

 

แต่พอออกมาด้านล่าง เมื่อเห็นหน้าแม่ ลูกถึงกับน้ำตาไหล

 

ทำให้แม่เข้าใจในตัวลูก เพราะลูกเคยบอกแม่ว่า...

 

ถ้าลูกเป็นโสด ไม่มีภาระ ลูกจะไม่ว่าสักนิดเดียว

 

จะไปเป็นทหารได้ด้วยความสบายใจ...

 

แต่นี่ ลูกมีห่วง คือ เจ้าฟ้าคราม...และแม่ก็เคยสังเกต

 

หลายคนแล้วที่เขาก็เป็นลักษณะคล้าย ๆ กับลูก คือ

 

คนที่ไปเป็นทหารส่วนใหญ่ก็จะมีลูกเล็ก ๆ ประมาณ

 

เจ้าฟ้าครามนี่แหล่ะ...

 

แต่แม่ก็ได้บอกลูกและเตือนสติลูกว่า..."หนูเป็นลูกผู้ชาย

 

นะลูก...การเป็นทหารครั้งนี้เป็นการรับราชการทหาร...

 

ลูกได้ทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่สำหรับลูกผู้ชายแล้ว คือ การได้รับ

 

ใช้ประเทศชาติ...หนูโชคดีกว่าคนอื่น ๆ ที่เขาไม่ได้เป็น...

 

คนที่อยากเป็นเขาก็มี แต่เขาจับ "ใบแดง" ไม่ได้...

 

หนูได้ทำหน้าที่ที่ได้เกิดมาเป็นลูกผู้ชายแล้ว...จงภูมิใจ

 

ในตัวเองเถอะ..."

 

 

 

 

 

เพราะก่อนหน้านี้...ลูกก็เคยบอกว่า จับก็จับ ได้ใบอะไร

 

ก็ช่างมัน แต่แล้วลูกก็จับได้ "ใบแดง"...ผลการจับสลาก

 

 ลูกได้ ทบ.๒ จทบ. พ.ล. ซึ่งในรุ่นนี้ มี ๔ หนุ่มที่เข้ามา

 

รายงานตัว คือ "น้องเพรียง" + หม่ำ + นิก + เจตน์

 

ซึ่งนิกนั้นจับได้ "ใบดำ" ส่วนเจตน์ เรียนต่อ จึงขอผ่อนผัน

 

สำหรับหมู่บ้านของเราก็จะมี "น้องเพรียง + หม่ำ" ที่ได้

 

การที่ลูกได้ผลการตรวจเลือกในครั้งนี้ ทำให้แม่ทราบว่า

 

ลูกได้เข้ารับราชการทหาร + รู้ถึงใบสำคัญต่าง ๆ ที่มีความ

 

สำคัญต่อคนที่ได้ชื่อว่าเป็น "ลูกผู้ชาย"

 

เพราะว่า "พี่ภัคร" ไม่ได้จับ "ใบดำ - ใบแดง" เหมือนเช่นลูก

 

พี่ภัครเรียน ร.ด. ๓ ปี จึงไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือก

 

เข้ารับเป็นทหารกองประจำการ เช่นกับน้องเพรียง...

 

 

 

เอกสารดังต่อไปนี้ เป็นเอกสารสำคัญที่ลูกผู้ชายไทย +

 

คนไทยทุกคนควรทราบ...เพราะมีความสำคัญต่อตัวท่าน

 

และการทำงานเป็นอย่างมาก...

 

 

 

 (ด้านหน้า)

 

 

 (ด้านหลัง)

 

บันทึกการสำรวจครอบครัวทหารกองประจำการ

 

เมื่อได้รับผลการตรวจเลือกแล้ว ต้องกรอกส่ง...

 

 

(แบบ สด.๙) เป็นใบสำคัญที่เข้าบัญชีเป็นทหารกองเกิน

 

 

 

(ด้านหลังของแบบ ใบ สด.๙)

 

 

 

 (ด้านหน้า)

 

(แบบ ส.ด.๓๕) คือ หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร เมื่อ

 

อายุครบแล้ว

 

 

 

(ด้านหลังของ แบบ ส.ด.๓๕)

 

 

 

(ด้านหน้า)

 

(แบบ สด.๔๓) คือ ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน

 

เข้ารับราชการทหารกองประจำการ

 

 

 

(ด้านหลัง)

 

 

 

(แบบ สด.๔๐) คือ หมายนัดเข้ารับราชการทหาร

 

ซึ่งสำหรับน้องเพรียงต้องเข้ารับราชการทหาร ในวันที่ ๑

 

พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เพราะว่า น้องเพรียงได้ ผลัด ๒

 

 

 

(ด้านหลัง) ของ สด.๔๐

 

นี่คือ เอกสารทั้งหมดสำหรับคนที่เกิดมาเป็นผู้ชายไทยที่ควร

 

ต้องทราบ...

 

 

 

และนี่ก็คือ "เจ้าฟ้าคราม" ที่น้องเพรียงยังห่วง เพราะจะไม่

 

ได้ดูแลลูก เมื่อยามที่น้องเพรียงไปเข้ารับราชการทหารแล้ว

 

...แต่เจ้าฟ้าครามก็ยังมี แม่ + พ่อเร + ตา + ยาย + แม่อ้อม

 

ที่คอยดูแลแทนลูกอยู่...

 

แม่ขอให้ลูกไปทำหน้าที่ของลูกให้ดีที่สุด...

 

"สมกับที่ได้เกิดมาเป็นผู้ชายไทยคนหนึ่ง...สำหรับชาตินี้

 

ลูกได้ทำหน้าที่ของลูกอย่างสมบูรณ์และดีที่สุดแล้ว...

 

ได้เป็นคนดีและทำความดีต่อแผ่นดินและต่อการที่ได้เกิดมา

 

เป็นชายไทยเพราะบางคนก็ยังทำได้ ไม่เท่ากับลูก"

 

 เหมือนกับโชคชะตารู้ว่า ในครอบครัวของเรามีการรับราชการทุกคน ยกเว้น "น้องเพรียง" ที่พยายามจะไม่เรียนต่อ แต่ขอใช้ชีวิตด้วยโลกส่วนตัว...แต่ฟ้าก็ยังลิขิตให้ชีวิตของหนูได้มาเพื่อเข้ารับราชการทหารอย่างนั้นแหล่ะ...และตอนนี้ก็แสดงว่าครอบครัวของเราทุกคน...รับราชการ...กันหมดทุกคน เพียงแต่แตกต่างกันที่หน้าที่และหน่วยงานที่ตนเองสังกัดเท่านั้นเอง...

 

อ่านจดหมายถึงลูกทุกฉบับ ได้จากที่นี่

"จดหมายถึงลูก"

 

 

หมายเลขบันทึก: 484779เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2012 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2013 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุกท่านค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท