ค่ายสร้างเสริมประสบการณ์นักศึกษาแพทย์ ครั้งที่ 47


ค่ายสร้างเสริมประสบการณ์นักศึกษาแพทย์ ครั้งที่ 47

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา อ.สรรัตน์  เลอมานุวรรัตน์  แพทย์ศัลยกรรมกระดูก รพ.มหาราช  นำทีม นักศึกษาแพทย์ จากศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.มหาราชนครราชสีมา สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมทำกิจกรรม  ค่ายสร้างเสริมประสบการณ์นักศึกษาแพทย์  ครั้งที่ 47   ที่ วัดบ้านดงใหญ่  ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย  จ.นครราชสีมา   ซึ่งกิจกรรมนี้ร่วมกับ ที่ว่าการอำเภอพิมาย ,สำนักงานสาธารณสุข อำเภอพิมาย,  รพ.สต.ดงใหญ่  ,องค์การบริหารส่วนตำบลดงใหญ่, และโรงพยาบาลพิมาย  โดยมีวัตถุปรสงค์ในการดำเนินกิจกรรมคือ  ต้องการให้นักศึกษาแพทย์ ได้มีประสบการณ์ ในการ เห็นรูปแบบการทำงงานทางด้านสาธารณสุข ที่เชื่อมโยงจากชุมชน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( เดิมคือสถานีอนามัย ) และ โรงพยาบาลชุมชนที่มีการดำเนินงานในการดูแลผู้ป่วยเป็นเครือข่าย  ซึ่งการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้คาดหวังว่าจะส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์ ได้ ได้มีทัศนคติที่ดีในเป็นแพทย์ ซึ่งได้จากการเห็นรูปแบบผ่านการสอนแบบพี่สอนน้อง  ซึ่งนักศึกษาที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1-5 มีแพทย์พี่เลี้ยงมาร่วมเป็นที่ปรึกษา ซึ่งเป็นทีมแพทย์จากรพ.มหาราช และโรงพยาบาลพิมาย 

งานนี้แพทย์รพ.พิมาย ก็กระชุ่มกระชวย  ได้สวมวิญญาณอาจารย์แพทย์ สอนน้องนักศึกษาแพทย์ วันละอ่อนอย่างใกล้ชิด  นำทีมโดย นายแพทย์ชาญศักดิ์  คงเศรษฐกุล นายแพทย์อธิคม  สงวนตระกูล อายุรแพทย์  และแพทย์หญิงรัฐกานต์  ขจีกุล นับว่าเป็นอีกบทบาทหนึ่งของแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน ที่นอกจากการตรวจรักษาผู้ป่วยแล้ว  ก็ยังมีบทบาทในการสอนนักศึกษา เช่น นักศึกษาพยาบาล  นักศึกษาแพทย์  เราจึงมักเรียกแพทย์ว่า อาจารย์ เสมอ ....

   

 นอกจากแพทย์แล้ว  ยังมีเภสัชกร  ได้แก่น้องบอย และน้อง ซิน อีกทั้งน้องบุ้ง จพ.เภสัชกรรมชุมชน  เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

สำหรับทีมสาธารณสุขอำเภอนั้นก็นำทีมเจ้าหน้าที่มาร่วมกันอย่างคับคั่ง  ทุก รพ.สต.  และยังมีทีม อบต.  อปภร. กำนันผู้ใหญ่บ้าน  อสม. ร่วมกิจกรรมจนเต็มวัดไปหมด ตอนนี้รู้สึกว่า คนไข้และเจ้าหน้าที่จะมีพอๆกัน  

 

 

กิจกรรมในช่วงเช้าจะประกอบไปด้วย

  1.   การตรวจรักษาโรคทั่วไป

  2. การตรวจรักษาโรคทางกระดูก

  3. ตรวจตา

  4. ตรวจพัฒนาการเด็ก

  5. ตรวจรักษาทางด้านสูตินรีเวชกรรม รวมถึงตรวจมะเร็งปากมดลูก  หลังจากตรวจคนไข้ในช่วงเช้าเสร็จแล้วเราก็ได้รับประทานอาหาร ที่ชาวบ้านช่วยกันทำมาให้รับประทาน เป็นอาหารพื้นบ้านที่อร่อยมาก  อ.สรรัตน์ ออกปากชมไม่ขาดระยะ  ปรกอบไปด้วย  ผัดหมี่พิมาย  ไข่เจียว  หมูทอด  ส้มตำ น้ำพริกปลาทู ผักต้ม  แกงส้ม   ขนมห่อ และแตงโม  เรียกว่า อิ่มกันถ้วนหน้า แถมขอห่อกลับอีก 

      หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ ฝนก็ตกลงมาห่าใหญ่ ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดด้วย  อ. สรรัตน์ จึงให้ นักศึกษาแพทย์แบ่งเป็นกลุ่ม สรุปบทเรียนที่ได้จากการ ตรวจรักษาผู้ป่วย  น้อง นศ.แพทย์ก็ช่วยกันแสดงวามคิดเห็น  และแพทย์ staffก็สรุปประเด็นอีกรอบ

    พอฝนเริ่มซา เราก็แบ่งทีมเยี่ยมบ้านออก เป็น 5 สาย มี อสม. และผู้นำชุมชน เป็นผู้นำทางแต่ละสาย โดยมีพาหนะนำ นศ.แพทย์ออกเยี่ยมบ้านแบบหลากหลาย ทั้งเกวียน  รถอีแต๊น  รถอีแต๊ก  รถปี๊กอัพ รถตู้  สร้างความตื่นเต้นให้ นศแพทย์ เป็นอย่างยิ่ง 

 

 

งานนี้ชลัญธรก็ไม่ยอมเสียเที่ยว  แอบขึ้นเกวียนกับเขา  เข้าท่าดีทีเดียว

ถ่ายรูปบนเกวียน

คนไข้ที่ลงไปเบี่ยมก็จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  เช่น ไตวาย อัมพฤกษ์ พัมพาต จิตเวช เป็นต้น

 โดยมีแพทย์ staff เป็นผู้นำเยี่ยม  อธิบายให้ นศ.แพทย์ เชื่อมโยงการเยี่ยมบ้านให้ครอบคลุมกายจิต วิญญาณ สังคม  ไม่ใช่เพียงการรักษาโรคแต่รักษาคนด้วย

สุดท้ายก็มาสรุปกิจกรรมที่ได้จากการค่ายนี้ โดยให้นักศึกษาแพทย์ร่วมแสดงความคิดเห็น  ว่าได้อะไรจากค่าย  บ้าง

    กิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จ ทำให้นักศึกษาแพทย์ เรียนรู้ รูปแบบการบริการสุขภาพจากครอบครัว ชุมชน  รพ.สต.  รพ.ชุมชน และ รพ.ศูนย์ อย่างเป็นรูปธรรม  โดยผ่านกระบวนการพี่สอนน้อง  ให้น้องเห็นตัวอย่างการทำงาน จากแพทย์ต้นแบบที่เป็นรุ่นพี่  อย่าใกล้ชิด  ไม่ใช่เพียงการเรียนทฤษฎีในห้อง  นศ.แพทย์ หลายคนเห็นความทุกข์ยาก ของชาวบ้าน แล้ว เป็นพลังเสริม ให้ตนเองมุมานะในการเรียนแพทย์ ที่จะออกไปทำประโยชน์ ให้กับสังคมประเทศชาติต่อไป 

     ขอชื่นชม อ.สรรัตน์  และทีม ที่ทำให้เกิดกิจกรรมดี ๆที่เหมือนยิงปืนครั้งเดียวได้นก 2 ตัว หรืออาจมากกว่า  ชุมชน ได้ประโยชน์ จากการออกหน่วย  สถานบริการ ได้ บรรลุ KPI  นศ. แพทย์ ได้เห็นรุปแบบการทำงานที่เชื่อมโยง  ได้เห็นจิตใจของประชาชน  ได้รู้การประสานงาน ได้มีทักษะการทำงานเป็นทีม  ....งอื่นๆอีกมากมาย

    สำหรับชลัญธร  ที่ติดสอยห้อยตามอาจารย์ชาญศักดิ์  ก็ ได้ประโยชน์  ในการกินฟรี อิอิอิ....และมีเรื่องดีๆ  มาเล่า ชาว Gotoknow  จ้า .........

คำสำคัญ (Tags): #ค่าย นศ.แพทย์
หมายเลขบันทึก: 484699เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2012 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นกิจกรรมที่ดีมากนะคะ ได้ประโยชน์หลายด้าน ใช้กระสุนนัดเดียว ยิงนกได้ตั้งหลายตัว
  • ตอนที่ลูกสาวเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 4 เธอออกค่ายในชนบทและเล่าให้แม่ฟังถึงประสบการณ์กับชาวบ้านที่เธอมีความประทับใจ แต่เสียดายว่าพอเรียนปี 5 เธอกลับพบว่า เธอไม่เหมาะกับอาชีพแพทย์ แม้จะไปตรวจสอบความรู้สึกนึกคิดของตนในวัดเป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้วกลับไปเรียน แต่อีกเดือนต่อมาเธอก็ขอลาออก เลยได้แค่ วท.บ.วิทยาศาสตร์การแพทย์ ค่ะ 
  • สนใจที่หนูบอกว่า "...ให้ นศ.แพทย์ เชื่อมโยงการเยี่ยมบ้านให้ครอบคลุมกาย จิต วิญญาณ สังคม  ไม่ใช่เพียงการรักษาโรคแต่รักษาคนด้วย" อยากจะขอให้หนูช่วยยกตัวอย่างค่ะว่า อย่างไรที่เรียกว่าเชื่อมโยงแต่ละด้าน (กาย จิต วิญญาณ สังคม)  เพื่อจะได้นำไปเสริมการอธิบายเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้าน ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของทางโรงเรียน ให้กับนักศึกษาหลักสูครครุศาสตรบัณฑิต ขอบคุณมากนะคะ

ขอบคุณท่านอาจารย์ค่ะที่มาให้กำลังใจ
ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุม ในด้าน กาย จิต วิญญาณ และ สังคมนั้น ถือเป็น หัวใจสำคัญ ของการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่ง ในปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยนั้น เน้นเพียงกาย ก็คือการรักษา โรคให้หาย เอา เป็นอะไร ก็รักษาไปตามนั้น แต่คนๆหนึ่งไม่ได้มีเพียงกาย คนยังมีจิตใจความรู้สึกนึกคิด สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เราต้องนึกถึง ไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะแต่โรคแต่ไม่ได้รักษาคน เวลาที่แพทย์พยาบาลดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่ ถูกรักษาโรค คือด้านกาย เช่นมีผู้ป่วยมาตรวจที่ รพ.ด้วยเรื่องไส้เลื่อน แกเป็นผู้ชายอายุ 45 ปี มากับแม่อายุ 78 ปี แกนั่งรอตั้งแต่เช้า เข้าคิว แล้วก็ไม่ได้เรียกตรวจสักที เพราะรอแพทย์ศัลยกรรม ซึ่งแพทย์กำลังผ่าตัดอยู่ พอผ่าตัดเสร็จแพทย์ศัลยกรรมลงมาตรวจ ตอน 15.30 น. แล้ว บอกพยาบาลว่า ขอแค่ 5 คน เพราะ 16.00 น. มีผ่าตัดอีกคน ปรากฏว่าคิวแกเป็นคนที่ 6 ของศัลยกรรม ก็จะถูกตัดคิว ไม่ได้ตรวจ พยาบาลที่ดูแลเรียกแกมาคุยบอกให้มาใหม่ พรุ่งนี้นะ วันนี้หมอติดผ่าตัด สุดท้ายแกไม่ได้พบแพทย์ แล้วกลับบ้านไป ด้วยความที่แกเป็นชาวบ้านหรือจะกล้าโวยวาย ก็ก้มหน้ากลับบ้านพร้อมแม่ แพทย์ ก็ไม่รู้เพราะไม่มีใครรายงานเห็นว่าไม่ใช่ case เร่งด่วน ก็เลยนัดใหม่ ถ้าเราไม่เคยเยี่ยมบ้านและรู้พื้นฐานแก เราจะไม่รูเลยว่า 2 แม่ลูกนี่ลำบากยังไง พอดีชลัญธร ชอบรู้เรื่องของชาวบ้าน แต่วันนั้นช่วยอะไรเขาไม่ได้ เพราะชลัญธรติดประชุม คิดว่าคนไข้ได้ตรวจแล้ว พอกลับลงมาถามน้องๆบอก อ๋อ ไม่ได้ตรวจนัดใหม่พี่ ชลัญธร หา! ตกใจสุด เพราะ สองแม่ลูกนี่ชีวิตรันทดสุด ลูกชาย อายุ 45 นั้น สติไม่ค่อยจะสมบูรณ์ กินยาจิตเวชอยู่ ทำงานไม่ได้ ไม่มีใครจ้าง แม่ อายุ78 ปี มีอาชีพ หาของเก่าขาย แกจะจูงจักรยานคู่ชีพแกออกหาเก็บของเก่าไปทั่ว ได้วันหนึ่งก็ไม่กี่ตังค์ ยังจะต้องเลี้ยงลูกสติไม่ดีอีก ยิ่งตอนนี้น้ำท่วมบ้านแก ตอนออกมาก็พายเรือ มา รพ. ต้องมาแต่เช้าเพราะมีรถโดยสารเที่ยวเดียว ตอนกลับนี่ค่ำป่านนี้ต้องเหมารถกลับแน่ ค่ามอเตอร์ไซด์ น่าจะประมาณ 150-200 บาท กลับไป แกต้องพายเรือเข้าบ้านอีก แล้วนัดมาใหม่คนไข้จะเอาปัญญาไหนมา ชลัญธรรู้สึกหงุดหงิดใจยิ่ง รอดูวันนัด เป็นไปตามคาดผู้ป่วยไม่มารักษา นี่แหล่ะค่ะอาจารย์ ถ้าเราใส่ใจเขาสักนิด ว่า นอกจากโรคที่เขาเป็นอยู่นี่ เขายังมีปัญหาอะไรมั๊ย ที่จะส่งผลต่อการรักษาในครั้งนี้ บ้างคงช่วยเขาได้มากกว่านี้

 อีก case นะค่ะอาจารย์ เป็นคุณลุงอายุ ประมาณ 67 ปี มาด้วยปวดท้องน้อยข้างขวา  แพทย์ ตรวจสงสัยไส้ติ่งอักเสบ  จะให้นอน รพ.ดูอาการ รอแพทย์ศัลยกรรมตรวจอีกรอบ  ผลปรากฏว่า ผู้ป่วยไม่ยอมนอน  พูดยังไงแกก็ไม่ยอม จะขอกลับบ้านก่อนถ้าเป็นมากจะมาใหม่ คุณหมอคงรำคาญ ส่งออกมาให้เซ็นใบไม่ยินยอมรักษา แก ก็ยอมเซ็น เดือนร้อนถึงชลัญธร  ก็เลยพาแกไปสงบสติอารมณ์ สอบถามได้ความว่า  ลุงแกอยู่กับป้า 2 คน  ปกติจะไปไหนมาไหนด้วยกันตลอด แต่ครั้งนี้ป้าติดธุระ มีประชุมสำคัญที่แกต้องเข้าร่วมเซ็นชื่ออะไรไม่รู้  ลุงแกปวดท้องก็เลยต้องมาคนเดียว   ไม่ได้บอกป้าไว้  คิดว่ามาเอายาแล้วก็กลับ  ที่แกกังวลก็คือ  กลัวป้าจะตามหาแกเพราะแกหายไป  ติดต่อใครก็ไม่ได้เพราะไม่มีใครรู้จัก ไม่มีโทรศัพท์  และแกผูกวัวไว้ 2 ตัว ถ้าไม่กลับไปพาเข้าบ้าน เกิดมีคนมาขโมยวัวแกจะทำยังไง  แกห่วงสารพัด  สุดท้ายชลัญธรก็แก้ปัญหา ให้ โดยโทรศัพท์ ให้ เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัยดำเนินการให้ในสิ่งที่แกห่วง  จนท.สอ.ก็แสนดี โทรบอก อสม.ที่รับผิดชอบบ้านแก จัดการให้เพียบ  แล้วโทรกลับมารายงานผลในครึ่งชั่วโมง  สรุปก็คือแกหมดห่วงยอมนอน รพ. และแกก็เป็นไส้ติ่งจริงๆ ได้รับการผ่าตัด  ป้าแกก็มาเยี่ยมในตอนเช้า  นี้ถ้าเราไม่พยายามรักษาคนด้วยปล่อยให้แกกลับบ้านไป  ก็อาจจะไส้ติ่งแตกเสียชีวิตได้ ค่ะ 

มีอีกหลายๆ ตัวอย่างค่ะอาจารย์ ในการตรวจรักษาคนไข้ ที่จะทำให้คนไข้หาย จากโรคจริงๆ เราช่วยได้ถ้าจะพยายามค้นหาปัญหาให้ครอบคลุม ตัวอย่างที่เคยเขียนไว้ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480591 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480847 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/480793 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484043

  • เข้ามาขอบคุณคุณชลัญธรแล้วจัดเก็บข้อมูลไม่สำเร็จไป 2 ครั้ง ในช่วงเที่ยงเศษๆ วันนี้ค่ะ เลยต้องออกไปทำธุระข้างนอกก่อน คิดว่าได้ Copy ความเห็นไว้แล้ว แต่พอมาตามหากลับปรากฏว่า ไม่มีค่ะ
  • ซาบซึ้งใจจริงๆ ค่ะ ที่คุณชลัญธรได้ให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากต่อคำถาม อุตส่าห์เข้ามาตอบในเวลาที่ควรจะได้พักผ่อน (02.53 น.) ขอโทษจริงๆ ค่ะ ที่รบกวนเวลานอนของคุณชลัญธร
  • คุณชลัญธรยกกรณีตัวอย่างพร้อมอธิบายรายละเอียดการเชื่อมโยงการเยี่ยมบ้านให้ครอบคลุมกาย จิต วิญญาณ สังคมได้ชัดเจนดีมากค่ะ จะขอยกข้อความทั้งหมดไปให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูนะคะ ซึ่งในเรื่องของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จะมีเรื่องการเยี่ยมบ้านอยู่ด้วย และที่สำคัญการให้บริการคนไข้ของคุณชลัญธรจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า การให้บริการด้วยจิตวิญญาณเป็นอย่างไร  
  • ชื่นชมจริงๆ ค่ะกับการให้บริการของคุณชลัญธร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บอกว่า "...สุดท้ายชลัญธรก็แก้ปัญหา ให้ โดยโทรศัพท์ ให้ เจ้าหน้าที่ สถานีอนามัยดำเนินการให้ในสิ่งที่แกห่วง  จนท.สอ.ก็แสนดี โทรบอก อสม.ที่รับผิดชอบบ้านแก จัดการให้เพียบ  แล้วโทรกลับมารายงานผลในครึ่งชั่วโมง  สรุปก็คือแกหมดห่วงยอมนอน รพ. และแกก็เป็นไส้ติ่งจริงๆ ได้รับการผ่าตัด  ป้าแกก็มาเยี่ยมในตอนเช้า  นี้ถ้าเราไม่พยายามรักษาคนด้วยปล่อยให้แกกลับบ้านไป  ก็อาจจะไส้ติ่งแตกเสียชีวิตได้ ค่ะ" เป็นบริการที่ไม่คิดว่าจะมีในชีวิตจริง (นึกว่าจะมีแต่ในหนังในละคร) และขอชื่นชมจนท.สอ.รวมทั้ง อสม.ด้วย ที่ได้ร่วมมือกันในการให้บริการคนไข้อย่างดีเยี่ยมดังกล่าว
  • ตัวเองเคยได้รับบริการที่เป็นไปในลักษณะที่แตกต่างจากที่กล่าวมา คือ หลายสิบปีมาแล้ว ได้ไปพบหมอที่คลินิกด้วยอาการปวดหลัง โดยไปติดต่อเวลาประมาณ 08.30 น. และนั่งรอการเรียกให้เข้ารับการตรวจตามคิว พอถึงเวลาเที่ยงวันหน้าห้องหมอบอกว่าหมอจะพักทานอาหารกลางวัน จะตรวจอีกทีเวลาบ่ายโมง ขณะนั้นเหลือคนไข้รอรับการตรวจเพียง 3 คนและตนเองก็เป็นคิวต่อไป รู้สึกกังวลเพราะมีประชุมบ่ายโมงครึ่ง แต่ก็ไม่ได้เรียกร้องอะไร ปรากฏว่า หมอทานข้าวเที่ยงเสร็จก่อนบ่ายโมงประมาณ 15 นาที รู้สึกใจชื้นว่าหมอจะตรวจก่อนบ่ายโมง กลับกลายเป็นว่า หมอคุยกับหน้าห้องในเรื่องสัพเพเหระและไม่มีการเรียกตรวจจนเวลาประมาณ 13.10 น. รอไม่ได้แล้วเลยร้องขอและแจ้งว่ามีประชุม อีก 5 นาทีต่อมาจึงถูกเรียกให้เข้าพบหมอและหมอก็ตรวจและซักถามโดยใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้นแล้วก็เขียนใบสั่งยาให้ เสร็จแล้วจึงขับรถบึ่งไปประชุมได้ทันเวลาพอดี ค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะ ที่ให้ Link ที่เกี่ยวข้องมา จะตามเข้าไปดูในภายหลังค่ะ
  • มาเชียร์
  • ดีจังเลยนักศึกษาได้เรียนกับของจริง
  • เอานักศึกษาแพทย์มาฝากด้วย
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/257196?

ต้องกราบขอบพระคุณ ท่าน ผศ.วิไล แพงศรี มากกว่าค่ะที่กรุณา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ค่ะ ไม่ได้ลำบากหรือรบกวนเลยค่ะ ยังรู้สึกเกรงใจท่านอาจารย์มากกว่ากลัวตอบช้าไปด้วยซ้ำ กลัวจะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน น่ะค่ะ คือชลัญธร ไม่ได้มีวุฒิการศึกษาสูงมาก สิ่งที่ทำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ที่เราทำด้วยหัวใจที่รักในงานน่ะค่ะ สำหรับเวลา 02.53 น. คือเวลาตื่นปกติน่ะค่ะอาจารย์ วันหนึ่งมี 24 ชม. สำหรับคนอื่นบอกเวลามีน้อย ไม่มีเวลาทำงาน แต่สำหรับชลัญธร ชีวิตเหมือนปิดเปิดสวิตซ์ เพราะจะนอน เร็ว ประมาณ 3-4 ทุ่ม ไม่เคยดูละคร ค่ะ แล้วจะตื่นอีกที ตี 2-3 แล้วยาวเลย ก็เลยทำให้มีเวลาในการทำอะไรมากกว่าคนอื่น ถ้าอาจารย์ได้อ่าน บันทึกที่ชลัญธรเขียน ส่วนใหญ่ เวลาประมาณนี้แหล่ะค่ะ

ขอขอบคุณท่าน อ.ขจิต ค่ะที่มาให้กำลังใจ กิจกรรมของอาจารย์น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณ คุณชลัญธร มากครับ...ที่สรุปกิจกรรมได้รวดเร็วและครบถ้วนทุกมิติ... ฝีมือจริงๆ

 - ดีจังเลย....ให้นศพ....เรียนรู้...สู่ชุมชน

- ขอบคุณค่ะ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท