การผลิตเกษตรทางเลือกที่สืบทอด


องค์ความรู้ ที่ถ่ายทอดทางความคิด มาจากเดิมบิดาและมารดา ของเขาเป็นอาจารย์สอนหนังสือทั้งคู่

    เมื่อวันที่ ๗-๘ เมษายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ผมตั้งใจขึ้นไป เยี่ยมคุณแม่ของผมที่แก่ชรา ซึ่งท่านไม่ค่อยสบายคือป่วยเป็นโรคชรา  เพราะว่าท่านพึ่งจะออกจากโรงพยาบาลมาเมื่อไม่กี่วันนี้ ช่วงที่ท่านรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลลานนา  จังหวัดเชียงใหม่ผมก็ได้ลางานขอไปดูแลท่านอยู่ระยะหนึ่งแล้ว ขณะนี้อาการป่วยของท่านได้ดีขึ้นแล้ว  ปัจจุบันท่านคุณแม่ผมมีอายุ ๙๑ ปีแล้ว ผมดีใจมากที่คุณแม่แข็งแรงขึ้น และยังทานอาหารเองได้ทุกวัน

 

 

 

         ช่วงระยะเวลา ๒ วันอยู่ ที่บ้านโฮ่ง  จ. ลำพูน ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับคุณนิมาน วรรณวงศ์   ซึ่งมีการศึกษาจบ คณะฟิสิกส์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมาหลายปี ประกอบกับรักอาชีพด้านการเกษตรจึงหันไปเลือกประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยปัจจุบันทำการเกษตรทางเลือก คือ  กิจกรรมที่๑ ปลูกลำไย เพื่อการค้า กิจกรรมที่๒ ปลูกมะม่วงเพื่อการค้า  กิจกรรมที่๓ เลี้ยงผึ้งพันธุ์ลูกผสมเพื่อจำหน่ายน้ำผึ้ง ทั้ง ๓ กิจกรรมดังกล่าวซึ่งฐานองค์ความรู้ ที่ถ่ายทอดทางความคิด มาจากเดิมบิดาและมารดา ของเขาเป็นอาจารย์สอนหนังสือทั้งคู่( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปหลายปีแล้ว) แต่เดิมเลือกทำกิจกรรมทางการเกษตรเป็นอาชีพเสริมของการเป็นอาจารย์ของคุณพ่อและคุณแม่ของเขา

 

 

ถังบรรจุน้ำผึ้งที่ปั่นได้จากเกสร/น้ำหวานจากดอกลำไยเตรียมไปจำหน่ายณ.โรงงานที่รับซื้อ

 

 

 

 ต้นลำไยที่เก็บผลผลิตแล้ว

 

 

 

          ความรู้จากเรื่องเล่า เท่าที่ผมได้รับฟังจากประสบการณ์ตรงของคุณนิมาน วรรณวงศ์ ได้เล่าว่า สถานการณ์ผลิต ที่บ้านโฮ่งในปัจจุบัน ฐานความรู้ในการผลิตทางการเกษตรของชาวสวนลำไย  ในปัจจุบันนี้มีความสำคัญมากเลยทีเดียว ชาวสวนลำไยที่มีการทำการผลิตลำไยออกนอกดฤดูกาลในระยะเริ่มแรกก็หลายปี ทำให้เกษตรกรชาวสวนมีรายได้ที่ดีที่อยู่ได้ แต่ระยะต่อมาในปัจจุบัน ที่มีการผลิตตามกระแสก็ว่าได้ ที่มีการผลิตที่ติดต่อกันมาหลายช่วงระยะเวลาของการผลิต แต่ในขณะเดียวกันก็มีเกษตรกรชาวสวนลำไยบางรายได้ลงทุนในการซื้อปัจจัยในผลิตเป็นการลงทุนที่สูงเกินไป ได้แก่ปุ๋ยเคมี สารเคมี และฮอร์โมนต่างๆ แล้วไปเอามาจากร้านค้าเคมีเกษตรมาก่อนแล้วค่อยส่งเงินคืนตอนนี่ได้จำหน่ายผลผลิตไปแล้ว ในฤดูการผลิตที่ผ่านมานี้ จะไปไม่ค่อยรอด หลายรายเลยทีเดียว คำตอบก็คือขาดทุนอย่างยับเยินที่ ไปเอาปัจจัยการผลิตของเขามาใช้ก่อนแล้วส่งจ่ายทีหลังนั่นเอง

 

        แต่ในขณะเดียวกันในการผลิตของฟาร์มของตนเอง(สวนของคุณนิมานเอง) มีหลักคิดอยู่ว่า เราจะต้องทำการศึกษาการผลิตความต้องการอาหาร ที่เราจะเสริมให้แก่ต้นพืช ควรจะมีหลักคือ การผลิตที่ไม่ใช้ปัจจัยการผลิตเช่นปุ๋ยและยาเคมีที่เกินความจำเป็น ต้องใช้ อยู่ให้พอเหมาะพอดีกับความต้องการของพืชโดยการสังเกตจากประสบการณ์ที่เคยทำมาติดต่อกันหลายปี(ไม่ใช้ตามกระแสที่โฆษณา)ในขณะเดียวกันก็ต้องให้สอดคล้องกับเงินทุนที่เรามีอยู่ ต้องใช้อย่างจำกัดไม่เกินความจำเป็นที่ทุนมีอยู่(เราจะไม่สร้างหนี้)  นี่คือหลักคิดฃองคุณนิมาน  ซึ่งทำให้รายได้ฟาร์มของเขาจึงอยู่ได้ ในปัจจุบัน 

 

 

         ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งรายได้ของฟาร์มในฤดูการผลิตที่ผ่านมา นอกจากจะมีรายได้จากผลผลิตลำไย มะม่วง แล้ว กิจกรรมอีกประการหนึ่งการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ผสม ในปีนี้ได้ปริมาณน้ำผึ้ง น้อยกว่าทุกปี เพราะมันมีสาเหตุมาจากผลผลิตคือดอกลำไยมีลักษณะช่อสั้น เกสรและมีปริมาณน้ำหวานที่น้อยเกินไป ทำให้การเลี้ยงผึ้งไม่ค่อยจะสมบูรณ์  ได้ปริมาณน้ำผึ้งที่ทำการปั่นออกมาน้อย ปัญหานี้ก็คงจะมีสาเหตุมาหลายปัจจัยที่สำคัญ เช่น ความสมบูรณ์ของต้นลำไยที่ต้นอายุมากเกินไป การดูแลการเพิ่มความสมบูรณ์คืนให้กับต้นลำไย มีน้อยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีน้อยเช่นกัน เกษตรกรบางรายก็มีทุนที่น้อยการลงทุนด้านการดูแลต้นลำไยก็น้อยตามไปด้วยเช่นกัน ผลตามมาของการผลิตน้ำผึ้งก็คือ ขาดแหล่งน้ำหวานและเกสรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและในชุมชนข้างเคียงนั่นเอง

 

ตันลำไยอายุประมาณ๔oปีแต่ทำแต่งเป็นสาว

 

 

           บางรายยังมีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ในขณะที่ช่อลำไยบาน ส่งผลกระทบให้ผึ้งที่ไปช่วยผสมเกสร หรือไปดูดน้ำหวาน ถูกสารเคมีก็ตายไปไม่ใช่น้อยเช่นกัน เกษตรกรบางรายยังขาดประสบการณ์และขาดความรู้ ในการป้องกันกำจัดไรผึ้งก็คือศัตรูของผึ้งนั่นเอง  ซึ่งเขา ทำการป้องกันรักษาไม่ถูกต้อง หรือทำการป้องกันไม่ทัน ตายไปก็ไม่ใช่น้อยเช่นกัน

 

 

          จากการสังเกตเชิงวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตโดยประสบการณ์ตรง  ในระดับท้องถิ่นอำเภอบ้านโฮ่ง ขณะนี้พบว่าบางรายได้ล้ม(ตัดทิ้ง)สวนลำไยที่ค่อนข้างมีอายุหลายปีเกินไป ทิ้งโดยมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นๆแทน เช่นบางสวนหันไปเริ่มปลูกต้นมะม่วง บางรายหันกลับไปปลูกพืชผักเหมือน ๑0 ๒0 ปีที่แล้วก็มี แต่ที่สำคัญ บางสวนไม่มีลูกหลานที่สืบอาชีพการเกษตรแทนพ่อแม่ ที่แก่เฒ่า  จึงได้ประกาศขายสวนลำไยไปก็มีไม่ใช่น้อยเช่นกัน

 

            คุณนิมาน วรรณวงศ์ เกษตรกรหนุ่ม ยังได้ให้ข้อคิดดีๆว่า ณ.วันนี้เราต้องเริ่มปลูกฝังความคิดด้านการพัฒนาอาชีพการเกษตรให้มีความสำคัญให้แก่คนรุ่นหลังๆ มิใช่พูดอย่างเดียวว่าเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่อาชีพด้านเกษตรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยจริงๆจะไปไม่ค่อยรอดคือ ณ.สถานการณ์ปัจจุบัน  ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาการเกษตรควรทำกันอย่างจริงจังและจริงใจต่อกันทุกภาคส่วน   เกษตรกรชาวสวนถึงจะไปรอด ครับ..

 

เขียวมรกต

๙ เมย.๕๕

คำสำคัญ (Tags): #การเกษตรสืบทอด
หมายเลขบันทึก: 484649เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2012 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

- ทางเลือกที่สืบทอดมาจากคุณพ่อ...ดีจัง

  • ขอขอบคุณท่านสมศรี
  • ที่แวะมาทักทายกัน
  • ยินดีครับ
  • สวัสดีครับ
  • เยี่ยมมากครับ
  • เกษตรกรรุ่นใหม่
  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก
  • ที่ยังแวะมาทักทายและให้กำลังใจกันเสมอมา
  • ขอขอบคุณและขอสวัสดีปีใหม่ไทยแด่อาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ
  • จงมีความสุข มีอายุมั่น ขวัญยืน
  • จงมีสุขภาพที่แข็งแรง ตลอดไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท