Knowledge Aplication


ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ที่นำไปใช้งานจริงเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ สู่การแบ่งปันความรู้หรือการแลกเปลี่ยนนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เมื่อเข้าใจวิธีการใช้งานและแนวทางการสร้างแบบจำลองเป็นการส่งเสริมการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่แต่ละกลุ่มและองค์กรสามารถเชื่อมโยง เปรียบเทียบ ระหว่างการเรียนรู้และทำความเข้าใจ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวสนับสนุน

การประยุกต์ใช้ความรู้ 

            บทนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายในวงจรการจัดการความรู้เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ที่นำไปใช้งานจริงเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้  การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ สู่การแบ่งปันความรู้หรือการแลกเปลี่ยนนเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เมื่อเข้าใจวิธีการใช้งานและแนวทางการสร้างแบบจำลองเป็นการส่งเสริมการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่แต่ละกลุ่มและองค์กรสามารถเชื่อมโยง  เปรียบเทียบ ระหว่างการเรียนรู้และทำความเข้าใจ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวสนับสนุนความรู้ที่แตกต่างกันเพื่อให้นำความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร วัฒนธรรมขององค์กรต่อไป

            การจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติกิจกรรมจากวงจร KM  เป็นวิธีการคิดเชิงระบบที่เน้นเป็นแบบวงจรที่เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามสภาพจริง แล้วนำมาประยุกต์ใช้ซึ่งเป็นลักษณะของการคิดเชื่อมโยงได้อย่างสร้างสรรค์โดยมองภาพรวม มองเห็นผลของการปฏิบัติหรือผลงานที่สร้างขึ้นจากการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์เชิงลึก และประเมินผลจากการปฏิบัติเพื่อความสมดุลและการดำรงอยู่ได้ในสังคม ถ้ากิจกรรมใดยังด้อยหรือยังต้องพัฒนาก็ต้องย้อนกลับไปที่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่อีกครั้งเป็นการทบทวนตามระบบวงจร  จึงเกิดเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า  ดังแนวคิดของ porter ที่จะต้องดำเนินกิจกรรม เชื่อมโยงกันสัมพันธ์กัน ขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ หรือของ เดมมิ่ง ที่พูดถึงวงจร PDCA ในการจัดการความรู้ตามวงจรดังกล่าว

             ด้วยการปฏิบัติงานที่อาศัยระบบอิเลกทรอนิกส์ เป็นตัวสนับสนุนจึงเอื้อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา  ทำให้การจัดการความรู้นั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ สามารถลดเวลา ประหยัดทรัพยากร   สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายในองค์กรโดยมีการเชื่อมเครือข่ายเป็นเกลียวความรู้ที่มีอย่างต่อเนื่อง ที่ส่งไปยังโปรแกรมที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นวิธีการที่พวกเขาสามารถที่จะกลับเข้ารับฝึกอบรมได้ด้วยตัวเองเพราะโปรแกรมที่ตั้งไว้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเดิมที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมาใช้ได้อีก

            ทฤษฎีของ บลูม( Bloom ;1956) กล่าวว่า ในการประยุกต์ใช้ความรู้ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ในองค์กรและด้วยความคุ้นเคยจากประสบการณ์  ทัศนคติหรือรูปแบบการคิดเดิม ๆ  ย่อมเกิดความคิดต่าง ดังนั้น ต้องเข้าถึงบุคคลที่มีลักษณะที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้รวดเร็ว  มีทัศนคติเชิงบวก  สนใจในการใช้ประโยชน์จากความรู้ เพื่อสร้างเป็นต้นแบบในการถ่ายโอนความรู้ต่อไป และค่อย ๆสานต่อจนเกิดเป็นการเรียนรู้เป็นทีม(Team Learning)หรือการมีส่วนร่วมและการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Building  Shared  Vision) ขององค์กร

            ฉะนั้นในการศึกษาวิเคราะห์งานต้องทำเฉพาะที่สอดคล้องเหมาะสมกับภาระงานที่จะต้องทำและงานที่บุคลากรกำลังปฏิบัติอยู่เท่านั้น  วิธีการใช้กันมากที่สุดคือการแบ่งงานจากระดับสูงสู่เบื้องล่างเพื่อเป็นการกระจายงาน ให้อำนาจการตัดสินใจและมีรูปแบบที่เห็นเป็นกระบวนการตามขั้นตอนเพื่องานประสบผลสำเร็จ เป็นการบริหารทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

            ระบบการจัดการความรู้(KMSs) เป็นเครื่องมือสนับสนุนการการจัดการความรู้ด้วยระบบอิเลกทรอนิกส์ ที่สามารถเรียกข้อมูลกลับคืนได้จากซอฟแวร์คอมพิวเตอร์หรือส่วนประกอบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทำให้ลดความซับซ้อนหรือลำดับขั้นตอนลง     

แปลบทสรุปจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

KNOWLEDGE APPLICATION

            This chapter brings us to the final step in the knowledge management cycle when the knowledge has been captured, coded, shared, and otherwise made available in actual use.

            Knowledge management typically addresses one of the two general objectives: knowledge reuses to promote efficiency and innovation to introduce more effective ways of doing things. Individual differences play a major role in knowledge-sharing behaviors (Hicks and Tochtermann, 2001). Knowledge workers have various background with respect to their familiarities with the subject matter, their personalities and cognitive styles.

             Bloom (1956) had considered knowledge as the hierarchical scheme that distinguishes between psychomotor skills, the affective domain (e.g., attitudes), and the cognitive domain (e.g., knowledge). The cognitive domain is more commonly used, although attitudinal changes often required in knowledge management too. The task analysis learns about what knowledge workers must do with respect to the specific actions to be taken and/or cognitive processes, which must be called upon to achieve a particular task (e.g., Preece et al., 1994).

            In the groundbreaking book, Electronic Performance Support Systems, Gery (1991) defined EPSS as an integrated electronic environment that is available to and easily accessible by each employee and is structured to provide immediate, individualized online access to the full range of information, software, guidance, advice and assistance, data, images, tools, and assessment and monitoring systems to permit job performance with minimal support and intervention by others.

           Knowledge Management Systems (KMSs) are the tools aimed at supporting Knowledge Management (KM). Reusing knowledge in such a way involves in recall and recognition, as well as actually apples the knowledge in reality, if we use Bloom’s taxonomy. Reusing knowledge typically begins with the formulation of a search question. It is also stated here that the expert–novice differences quickly become apparent, as the experts know the right questions to ask in a proper way.

             Therefore, what has been mentioned above may concluded in brief that knowledge repositories are usually regarded as the intranets or portals of some kind that serve to preserve, manage, and leverage organizational memory.

 

หมายเลขบันทึก: 484469เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2012 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท