จัดอันดับมหา’ลัยไทย เชื่อถือได้แค่ไหน ?


บทนำ           

กระแสตอบรับและผลกระทบเรื่อง  การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย  เป็นไปอย่างกว้างขวางในสังคม  และมีวิวาทะเล็กๆ ว่าใครควรทำหน้าที่นี้  ระหว่าง  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ  สำนักงานรับรองคุณภาพมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

นานาทัศนะ          

อธิการบดีหลายท่าน  มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดอันดับ  อาทิ  อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เห็นว่าการจัดอันดับจะเป็นกระจกสะท้อนจากภายนอกว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด  ขณะที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เห็นว่า  คงไม่ทำให้มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นได้  เพราะแต่ละแห่งแตกต่างกันระหว่างมหาวิทยาลัยเพิ่งก่อตั้งกับมหาวิทยาลัยเก่า  เช่น  จุฬาลงกรณ์  และธรรมศาสตร์  ส่วนด้านผู้ปกครอง  นายเจริญ  นะธรรมสมบัติ  เห็นด้วยอย่างมากในการจัดอันดับ เพื่อ  ข้อมูลที่ได้จะทำให้เห็นว่าแต่ละสถาบันมีจุดเด่นตรงไหน

ด้านนายภาวิช  ทองโรจน์  เลขาธิการ สกอ.  กล่าวว่า  ข้อมูลที่ได้มีพลังอำนาจสูงมากที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมหาวิทยาลัยไทย  เพื่อสิ่งที่ต้องตามมาคือกติกาในการจัดสรรทรัพยากร  งบการผลิตบัณฑิต  มองว่าต้องเอาคุณภาพเข้ามาจับ  ถ้าคุณภาพดีก็ได้งบมาก  จึงจะชอบธรรม  รวมถึงกองทุนกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ด้วย

ข้อสรุป           

ผลการจัดอันดับครั้งนี้  น่าจะมีข้อสรุปดังนี้           

1.  อธิการบดีส่วนใหญ่  ไม่ขัดข้องในการจัดอันดับ  แต่เห็นว่าควรมีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย  และมีตัวบ่งชี้ที่ครอบคลุม           

2.  ผู้ปกครองเห็นด้วยอย่างมาก  เพราะข้อมูลที่ได้จะทำให้เห็นจุดเด่นของแต่ละสถาบัน           

3.  เลขาธิการ สกอ.  เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าข้อมูลที่ได้น่าเชื่อถือ และจะนำไปเป็นกติกาในการจัดสรรงบประมาณ ดัชนีชี้วัดอะไรที่นำมาจัดอันดับ           

ดัชนีที่ใช้ชี้วัดในการจัดอันดับ 

น่าจะประยุกต์มาจากการจัดอันดับของ World University Ranking  ดังนี้           

ด้านการวิจัย (Research Ranking Indicators) สกอ.  ใช้ดัชนีชี้วัด 4 กลุ่ม  ได้แก่  งบประมาณ (Funding) 20%  บุคลากร (Personnel) 20%  ผลงาน (Output) 45%  และบัณฑิตศึกษา (Graduate) 15%  รวม 100%           

ด้านการเรียนการสอน (Teaching Ranking Indicators)  สกอ.ใช้ดัชนีชี้วัด 5 กลุ่ม  ได้แก่  อัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ (Student Ratio) 20%  บุคลากร (Faculty Resources) 20%  งบประมาณ (Financial Resources) 20%  ความเป็นนานาชาติ (Internationality) 10%  และการได้รับรางวัล (Quality of Education) 10%  รวม 80%           

สมมติฐานของการใช้ดัชนีชี้วัด  น่าจะเพื่อความเป็นสากล  แต่บริบทของการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยไทยต่างกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศอย่างมาก  โดยเฉพาะการขาดแคลนทั้งงบประมาณ  และอัตรากำลัง (อาจารย์และบุคลากร) ของมหาวิทยาลัยไทย 

ดัชนีชี้วัดคุณภาพได้จริงหรือ ?           

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า  ดัชนีชี้วัดคุณภาพถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้           

ด้านการวิจัย  มี 4 ดัชนีชี้วัด  จำแนกเป็น  ตัวป้อน (Input) ใช้ดัชนีงบประมาณ  และบุคลากร  รวม 40%  และผลผลิต (Output) ที่แสดงถึงคุณภาพ  ใช้ดัชนีผลงาน  และบัณฑิตศึกษา  รวม 60%           

ด้านการเรียนการสอน  มี 5 ดัชนีชี้วัด  จำแนกเป็น  ตัวป้อน (Input) ใช้ดัชนีอัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์  บุคลากร  และงบประมาณ  รวม 60%  ส่วนผลผลิต (Output) ที่แสดงถึงคุณภาพ  ใช้ดัชนีความเป็นนานาชาติ  และการได้รับรางวัล  รวม 20%           

การใช้ดัชนีชี้วัดที่เน้นตัวป้อน (Input)  โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอน  ทำให้คะแนนการประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยใหม่  และมหาวิทยาลัยเล็ก  ดิ่งลงเหว  เพราะอาจารย์น้อย  บุคลากรน้อย  งบประมาณน้อย  ดังตัวอย่างข้อมูลเปรียบเทียบของมหาวิทยาลัยนเรศวร  ดังนี้

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">              การประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย  จึงควรพิจารณาคะแนนจากผลผลิต (Output)  ให้หลากหลายดัชนีชี้วัดมากกว่าคะแนนจากตัวป้อน  (Input)  ยิ่งถ้าใช้ผลรวมของการประเมินครั้งนี้ ไปจัดสรรกองทุนกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ด้วยแล้ว  ก็จะเป็นบาปหนักกับทั้งสถาบันและตัวนักศึกษาโดยตรง</p>

             ที่สำคัญผู้เขียนได้ลองสุ่มรวมตัวเลขในการจัดกลุ่มด้านการวิจัยจากเอกสารประกอบการสัมมนา  เรื่อง  ระบบฐานข้อมูล online เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2549    โรงแรม     แอมบาสเดอร์  กรุงเทพฯ  พบข้อมูลที่น่าจะมีความคลาดเคลื่อน  ดังนี้

หาวิทยาลัย           ได้คะแนน กลุ่ม          สกอ. จัดได้อยู่กลุ่มคะแน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เชียงใหม่                     71.478   (ดีเยี่ยม)          มากกว่า 75  (ดีเลิศ)</p>

นิด้า                           67.288   (ดี)                  75 70 (ดีเยี่ยม)

นเรศวร                       66.299   (ดี)                  75 70 (ดีเยี่ยม)

เกษตรศาสตร์              66.170   (ดี)                  75 70 (ดีเยี่ยม)                 <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            </p>

                หมายเหตุ   คะแนนรวมแต่ละมหาวิทยาลัย คิดจากการถ่วงน้ำหนักร้อยละของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว

                 จากความเห็นและข้อมูลข้างต้น  จึงน่าจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า  การจัดอันดับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย  ปี 2548  เป็นความคิดริเริ่มที่ดี  แต่เชื่อถือได้แค่ไหน ?

</span></span>

หมายเลขบันทึก: 48376เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
การจัดลำดับของมหาวิทยาลัยนับเป็นเรื่องใหม่มาก แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งดี เห็นด้วย และต้องจัดกันต่อไป โดยมีวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากมหาวิทยาลัยด้วย ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ จึงนำมาจัด หลายมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มุ่งคุณภาพ มีเพียงปริมาณ ซึ่งความจริงอุดมศึกษานั้นต้องมุ่งคุณภาพมากกว่าปริมาณ หากมีคุณภาพดีปริมาณไม่มากก็ไปได้ หลายอย่างเรามีปริมาณมากแต่ไม่เป็นประโยชน์ ต้องสร้างคุณภาพให้สังคมมากกว่า ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้หลายปัญหาเกิดจากการขาดคุณภาพ มุ่งเพียงปริมาณจึงสร้างปัญหาเชิงปริมาณตามมามากมายที่เดียว
ถ้าถามว่าเป็นเรื่องดีไหม ผมว่าเป็นเรื่องดี (มาก ๆ) ถ้าถามว่าคนทำทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน ผมยังตอบไม่ได้ แต่คิดว่าของดี ๆ อย่างนี้ สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยกันติเพื่อก่อ ให้มันกลับมาดี (ถ้าคิดว่ามันยังไม่ดี) หรือช่วยกันให้กำลังใจให้มีการทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น (ถ้ามันดีอยู่แล้วระดับหนึ่ง) การกระทำอะไรที่มีเจตนาที่นอกเหนือจากนี้ ผมจึงคิดว่าไม่น่าจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวม นี่เป็นทัศนะโดยรวมทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ เน้นว่าไม่ใช่กรณีเฉพาะนะครับ เป็นความคิดเห็นแบบทั่วไปจริง ๆ

ผมเป็นนักเรียนม. 6คนหนึ่งที่กำลังมองหาที่เรียน อยู่ตอนนี้ สำหรับการจัดลำดับมหาวิทยาลัยนั้นก็ไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจของผมมากนัก แต่ก็กังวลกับกระแสข่าวเล็กน้อยว่า  ที่จริงแล้วข้อมูลที่ออกมาเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นอยากจะฝากไปยังผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการจัดลำดับมหาวิทยาลัยว่า การจัดลำดับนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้แต่วิธีการทำก็ควรระมัดระวังมากๆด้วยเพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอยากให้ผู้ที่มีส่วนในการกระทำครั้งนี้ ได้นำเอาประเด็นข้อขัดแย้งไปคิดด้วย  เพราะยังไงซะเมื่อมีคนไม่เห็นด้วยก็แปลว่าสิ่งที่ออกมานั้นอาจจะมีข้อผิดพลาดก็เป็นได้..................................

ด้วยความเคารพครับ

ขอแสดงความยินดีกับ มน. ด้วยครับถึงแม้จะเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดว่ายังใหม่อยู่แต่การจัดอันดับก็สู้มหาวิทยาลัยเก่าๆได้

ยังคิดถึงท่านอาจารย์อยู่เสมอในลีลาการถ่ายทอดความรู้ให้โดยนักศึกษาไม่ง่วงนอนและเบื่อหน่ายเลยครับ ( เคยเรียนกับท่านอาจารย์ตอน ป.โทบริหารที่ศูนย์อุตรดิตถ์รุ่น 2 )

   ผมไม่เห็นด้วยกับการจัดลำดับ ตามความคิดของผม ผมว่าสิ่งที่ตามมาจะมีผลเสียมากกว่า ปัจจุบันถ้าท่าน ๆ สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออก และแนวความคิดของคนในสังคม ที่มีต่อบุคลากรที่จบออกมาจากสถาบันต่างๆ มีการแบ่งชั้นกันกันอย่างเห็นได้ชัด มีการตัดสินโดยใช้ความคิดและทัศนคติของตนเองตัดสินคน

  ถ้าลำดับการได้เมื่อไหร่ปัญหาเหล่านี้จะทวีคูณขึ้นไปอีก 

   แล้วเด็กที่มีความสามารถแต่จบจากมหาลัยที่ไม่มีชื่อหรือไม่มีอันดับจะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมไทยๆได้อย่างไร

คิดแล้ว..น่าสงสารเนาะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท