Module 3 Knowledge Management บทเรียนจาก CUP สิชล ตอนที่ 3


Knowledge Management in Disabled Patients Care at Sichon District

สรุปผลการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ เรื่องการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน มีวิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้(Knowledge vision) คือ การใช้แนวคิดการทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่ายทั้งอำเภอในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและพิการอย่างเป็นองค์รวม เน้นการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน มีการติดตามเยี่ยมบ้านที่เป็นระบบ โดยมีการประสานความร่วมมือของทีมงานบุคลากรทางสาธารณสุขทั้งจากโรงพยาบาลชุมชน, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, ศูนย์สุขภาพชุมชนและสถานีอนามัย วิธีดำเนินการใช้กระบวนการจัดการความรู้ของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิให้มีความรู้ และทักษะทางการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างมั่นใจ มีกระบวนการจัดการทบทวนทักษะการทำหัตถการทางการพยาบาล โดยวิธีการเรียนรู้ ร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญจากโรงพยาบาล เป็นการจัดการความรู้ภาคปฏิบัติ(Practical knowledge management) และมีการจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการเยี่ยมบ้าน (Knowledge sharing) ด้วยวิธีการนำเสนอกรณีศึกษาเยี่ยมบ้านและเรื่องเล่าจากการลงชุมชน นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในทีมสหวิชาชีพ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นแล้วสามารถนำไปปฏิบัติจริงในพื้นที่ได้อย่างมั่นใจ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยและครอบครัว และช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในระดับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิได้เป็นอย่างดี ทำให้มี ประชาชนผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ในชุมชนชนบท สามารถได้รับบริการที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมากขึ้น การนำรูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้าน(Home health care)มาใช้ ในการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนที่ทำให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งผู้รับบริการและสถานบริการ โดยผู้รับบริการจะได้รับการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่อง มีความอบอุ่นที่ได้อยู่กับครอบครัวลดภาระ และความวิตกกังวลของครอบครัวสามารถดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย/ญาติผู้ดูแล กับสถานบริการและภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในสายตาประชาชนดีขึ้น ผู้ป่วยและผู้พิการมีความพึงพอใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้พิการในชุมชน เป็นนวัตกรรมการจัดการระบบการดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะผู้พิการในชุมชนระดับปฐมภูมิ โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนในเครือข่าย และมีรูปแบบการเยี่ยมบ้านในทิศทางเดียวกันทั้งอำเภอ

 

การนำผลการจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน โดยใช้กระบวนการเยี่ยมบ้าน เป็นนวัตกรรมการจัดการระบบการดูแลสุขภาพประชาชนในระดับปฐมภูมิ โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนในเครือข่าย และมีรูปแบบการเยี่ยมบ้านในทิศทางเดียวกันทั้งอำเภอ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง รวมรวบเป็นคลังความรู้ของเครือข่าย (Knowledge Assets) เช่นการทบทวนทักษะเจ้าหน้าที่ด้วยตาราง 2 Tick สามารถนำกระบวนการทบทวนความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ ไปใช้ในการทำงานประจำ ทำให้เกิดความมั่นใจในผู้ปฏิบัติเรื่องหัตถการต่างๆ ที่ต้องใช้ในการลงไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน นอกจากนี้ หัวหน้าหน่วยงาน มีความมั่นใจในความสามารถของลูกน้องเพิ่มมากขึ้น ว่าสามารถดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องมากขึ้น

บทเรียนที่ได้รับ

1. การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการอย่างต่อเนื่อง สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้พิการที่บ้าน และลดการนำผู้ป่วยกลับเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลได้ (Re-admission)

2. การถอดบทเรียนจากการลงติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความเข้าใจถึงเรื่องวิถีชีวิต สภาพครอบครัวและสังคมของผู้ป่วยมากขึ้น ตลอดจนมีการใช้เครื่องมือวิถีชุมชน มากขึ้น

3. ผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้พิการ เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าร่วมเป็นทีมดูแลผู้ป่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทุกระดับ

4. การดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน (Home health care) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ สามารถนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้เข้าใจบริบทของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนที่อยู่อาศัย ได้มากขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ.

1. การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ทุกคนทั้งจากโรงพยาบาล หน่วยบริการปฐมภูมิ และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่ทำงานร่วมกัน โดยมุ่งเน้นที่ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลักสำคัญในการทำงาน

2. ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ ผู้พิการ อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนได้เป็นอย่างดี

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร การสนับสนุนจากทีมนำของCUP ตั้งแต่ระดับนโยบายของCUP ที่ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน การจัดการความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน และความร่วมมือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการทำงานร่วมกันทั้งเครือข่ายสุขภาพ

หมายเลขบันทึก: 483655เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2012 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมากเลยครับ

น่าจะเผยแพร่ไปทางกลุ่มใน Facebook ให้เพื่อนร่วมชั้นเราแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะครับ

เป็นรูปแบบ community-based rehabilitation ที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ

ขอบคุณมากครับ สำหรับทุกความคิดเห็น

@KangJude ช่วยนำไป Link into Group Facebook na krub! Thanks.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท