Module 3 Knowledge Management บทเรียนจาก CUP สิชล ตอนที่ 2


การจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน เครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

ขั้นตอนการดำเนินงาน ใช้กระบวนการจัดการความรู้ (KM) กับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิร่วมกันทั้งเครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล จำนวน 16 คนโดยการทบทวนความรู้ทางวิชาการเรื่องการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน และการฝึกทบทวนทักษะปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วย ด้วยตารางฝึกทบทวนทักษะ หรือ ตาราง 2 ticks* แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อใช้ในการดูแลผู้พิการที่บ้านได้แก่

-         ทักษะการทำแผล

-         การให้อาหารทางสายยาง

-         การใส่สายสวนปัสสาวะ

-         การพลิกตะแคงตัว การจัดท่าผู้ป่วย

-         การฝึกการหายใจ การเคาะปอดและดูดเสมหะ

-         การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อ

โดยจัดการทบทวนทักษะเหล่านี้ เป็นประจำทุก 6 เดือน ร่วมกับ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอกรณีศึกษา จากการลงเยี่ยมบ้านของแต่ละหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นผู้ให้คำแนะนำ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม (Holistic care) มีการถอดบทเรียนจากการลงติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เป็นประจำต่อเนื่องทุกเดือน ตั้งแต่ สิงหาคม 2552 ถึง กุมภาพันธ์ 2554

การประเมินผล ใช้การประเมินความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล เรื่องการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้พิการ, การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมแนวทางของเวชศาสตร์ครอบครัว และการฝึกทบทวนทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลดูแลผู้ป่วยด้วยตาราง 2 ticks

ผลการดำเนินงาน พบว่ามีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในทุกหน่วยบริการปฐมภูมิ จากการติดตามประเมินผล ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล ในระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน พบว่า มีความรู้เรื่องการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้พิการ ร้อยละ 82.50 มีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมตามแนวทางของเวชศาสตร์ครอบครัว ร้อยละ72.81 เจ้าหน้าที่ผ่านการฝึกทบทวนทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลดูแลผู้ป่วยด้วยตาราง 2 ticks ร้อยละ85 และมีความมั่นใจในการทำหัตถการขณะเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้น

ตารางที่ 1 ผลคะแนนการประเมินความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล

หัวข้อประเมิน

Mean(percentage)

SD

1.ความรู้ในเรื่องการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้พิการ

82.50

10.65

2.ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

72.81

8.75

3.การฝึกทบทวนทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลดูแลผู้ป่วยด้วยตาราง 2 ticks

85.11

11.52

นอกจากนี้ จากการติดตามผลของผู้รับบริการ พบว่าได้รับการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่อง ลดความวิตกกังวลของครอบครัว เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย/ญาติผู้ดูแล กับสถานบริการใกล้บ้าน ผู้ป่วยและผู้พิการมีความพึงพอใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตัวอย่างการถอดบทเรียนจากเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในCUPสิชล

สถานีอนามัยบ้านจอมพิบูลย์  นำเสนอผู้ป่วยผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนชาย  อายุ 25 ปี ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งปรัง ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยรูปร่างอ้วน ลงพุง (รอบเอวประมาณ41 นิ้ว) เป็นอัมพาตมาประมาณ 3 ปี เท้าทั้งสองข้างอ่อนแรง เดินไม่ได้ใช้มือช่วยในการเคลื่อนไหว BP 134/99 mmHg, P=86 ครั้ง/นาที On Fowley’s Cath ปัสสาวะสีเหลืองใส ไหลดี มีแผลกดทับบริเวณก้นแผลมี discharge ลึกประมาณ 2 นิ้ว มีกลิ่นเล็กน้อย ผู้ป่วยชอบรับประทานอาหารเค็ม มันและหวาน ผู้ป่วยรู้สึกท้อแท้ในชีวิตและมีอาการซึมเศร้าช่วงเวลาที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว เนื่องจากแต่เดิมเป็นคนแข็งแรง ทำงานหาเงิ นให้พ่อแม่ใช้ทุกเดือน การไปเยี่ยมบ้านได้ให้คำแนะนำเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายให้มีการหัดยกตัวขึ้นลง แนะนำการบริหารกล้ามเนื้อแขน ขา การทรงตัวในท่ายืนโดยใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง เช่น การใช้รอกฝึกกล้ามเนื้อแขน ขา การใช้ราวเกาะยืน แนะนำให้รับประทานผักมากๆรวมทั้งได้สอนมารดาในการทำแผลโดยใช้เทคนิค Sterilization รวมถึงการพูดคุยปัญหาด้านจิตใจกับ มารดาซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย และได้ประสานทางโรงพยาบาลเรื่องอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการที่ชำรุด

สรุปปัญหาผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม

Biomedical

  1. Paraplegia
  2. Bedsore at coccyx
  3. Obesity and poor dietary behavior

Psychosocial

  1. Depressive mood
  2. Family of disabled patients
  3. Poverty and lack of social support

บทเรียน สิ่งที่ได้จากการเยี่ยมบ้าน

  1. สัมพันธภาพระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วยแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยไว้วางใจ
  2. ได้ทราบปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อจะได้วางแผนแก้ปัญหาต่อไป
  3. เพิ่มทักษะและความมั่นใจในการใส่สายสวนปัสสาวะ
  4. รู้สึกมีความสุข ที่ได้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องลำบากไปโรงพยาบาล

                ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับ

  1. ผู้ป่วยมีความสะดวกสบายมากขึ้นลดค่าใช้จ่ายไม่ต้องลำบากมาเปลี่ยนสายสวนที่โรงพยาบาล
  2. ได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เช่นการทำแผล
  3. มีความใกล้ชิดกับทีมสุขภาพสามารถบอกปัญหาและความต้องการได้
  4. ได้รับทักษะการบริหารกล้ามเนื้อแขน ขาและการทรงตัว
  5. ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีคนคอยดูแลเอาใจใส่ ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลกหรือไม่ได้อยู่แต่เฉพาะครอบครัว
หมายเลขบันทึก: 483654เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2012 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์หมอค่ะ หนูเป็นนักกายภาพบำบัด รพร.ฉวาง เรียนรบกวนสอบถามค่ะมีตัวอย่างแบบประเมิน 2 tick ของเรื่องดังกล่าวบ้างไหมค่ะหนูอ่านบทความของอาจารย์แล้วน่าสนใจค่ะ

การฝึกทบทวนทักษะปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วย ด้วยตารางฝึกทบทวนทักษะ หรือ ตาราง 2 ticks* แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อใช้ในการดูแลผู้พิการที่บ้าน ได้แก่- ทักษะการทำแผล- การให้อาหารทางสายยาง- การใส่สายสวนปัสสาวะ- การพลิกตะแคงตัว การจัดท่าผู้ป่วย- การฝึกการหายใจ การเคาะปอดและดูดเสมหะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ

อาจารย์หมอค่ะ หนูเป็นนักกายภาพบำบัด รพร.ฉวาง เรียนรบกวนสอบถามค่ะมีตัวอย่างแบบประเมิน 2 tick ของเรื่องดังกล่าวบ้างไหมค่ะหนูอ่านบทความของอาจารย์แล้วน่าสนใจค่ะ

การฝึกทบทวนทักษะปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วย ด้วยตารางฝึกทบทวนทักษะ หรือ ตาราง 2 ticks* แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อใช้ในการดูแลผู้พิการที่บ้าน ได้แก่- ทักษะการทำแผล- การให้อาหารทางสายยาง- การใส่สายสวนปัสสาวะ- การพลิกตะแคงตัว การจัดท่าผู้ป่วย- การฝึกการหายใจ การเคาะปอดและดูดเสมหะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท