การเกิดโรคที่เกิดกับตัวอ่อนผึ่ง


การเกิดโรคที่เกิดกับตัวอ่อนผึ่ง
การเกิดโรคที่เกิดกับตัวอ่อนผึ่ง เช่นโรคจากเชื้อราชอล์คบรูด (Chalkbrood) โรคตัวอ่อนเน่า (American foulbrood) และโรคตัวอ่อนเน่ายูโรเปียน (European foulbrood) เนื่องจากโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายทำให้ตัวอ่อนผึ้งตาย อีกทั้งยังมีการแพร่ระบาดง่ายและรวดเร็วหากไม่มีการป้องกัน ซึ่งการป้องกันในปัจจุบันนั้นเป็นการใช้ยาในการรักษาที่ยังเป็นการใช้สารเคมีอยู่จึงได้มีการนำสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้ในการป้องกันการเกิดโรคโดยข้อมูลที่นำมากล่าวในที่นี้เป็นข้อมูลที่ได้จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย ในหัวข้อบทความสาระน่ารู้(http://www.trf.or.th/tips/x.asp?Art_ID=4646)การนำสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะสามารถนำมาใช้ในการรักษาควบคุมโรคในผึ้งได้และไม่มีสารตกค้างมาสู่ผู้บริโภคด้วย อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าสารสกัดธรรมชาติจากพืชบางชนิดนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์บางอย่างได้ รวมถึงนมผึ้งหรือรอยัลเจลลี่(royal jelly)ที่เป็นแหล่งอาหารของตัวอ่อนผึ้งและพรอพอลิส(propolis) ซึ่งเป็นสารป้องกันเชื้อโรคในรังผึ้ง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ค้นหาสารประกอบธรรมชาติตัวใหม่ที่สามารถต้านทานจุลินทรีย์ทำให้เกิดโรคในผึ้งและทำการทดลองใช้สารสกัดดังกล่าวทั้งในห้องปฏิบัติการและเพื่อการประยุกต์ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง
       ดร.ภาณุวรรณ กล่าวต่อว่า งานวิจัยนี้ได้เร่งสำรวจโรคในตัวอ่อนผึ้งแถบภาคเหนือตอนบนและนำมาแยกเชื้อในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุและบ่งชนิดเชื้อต้นตอของโรคที่ถูกต้อง จากนั้นนำตัวอย่างเชื้อก่อโรคที่แยกได้มาทำการทดสอบกับสารสกัดสมุนไพรเพื่อหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต้านเชื้อรังผึ้ง โดยขณะนี้พบว่า สารสกัดชะเอมและกานพลูสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย(Melisscoccus plutonius)สารสกัดอบเชยและพลูออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา(Ascoshaera apis)ได้ดีที่สุด สารสกัดจากสมุนไพรประเภทผสมจึงเป็นวิธีหนึ่งในการควบคุมโรคผึ้ง
       จากการศึกษาไม่เพียงทำให้เราพบสารสกัดสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคในไทยแล้ว ยังได้มีโอกาสทดสอบกับเชื้อก่อโรคที่แยกได้จากในรังผึ้งของประเทศออสเตรเลีย เยอรมัน และญี่ปุ่นพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรที่ค้นพบสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคเหล่านี้ได้เช่นกัน
คำสำคัญ (Tags): #apiculture
หมายเลขบันทึก: 48362เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท