บทเรียนที่ไม่ตาย 5 ชาตรี สำราญ


การเขียนภาพความคิดแบบแตกแขนงสาขาออกได้มากเท่าไร ย่อมแสดงให้เห็นคุณภาพความรู้จริงของผู้เรียน ผู้นั้นได้มากเท่านั้น

คิดแบบพัฒนาความคิด

 

                ถ้าหากผู้สอนสังเกตเห็นแล้วว่า   ผู้เรียนสามารถคิดเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนเองรู้ได้แล้ว ( ดังที่นำเสนอในตอนที่ 1-2 ที่ผ่านมา)  ผู้สอนลองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดแบบพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น   คือคิดบ่อย ๆ    คิดหลายรูปแบบเพื่อไม่ให้ผู้เรียนเบื่อที่ต้องคิดซ้ำแบบซ้ำเรื่อง  อีกทั้งเป็นการสอนวิธีคิดให้แก่ผู้เรียน  ไม่ใช่สอนให้คิดแต่เพียงวิธีเดียว  และเวลาผู้สอนประเมินผลอย่าเพียงแต่ประเมินว่า ผู้เรียน คิดเรื่องอะไรได้  ถูกต้องเพียงใด  แต่ควรประเมินให้รู้เห็นว่า ผู้เรียน คิดด้วยวิธีการใด  พัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใด

ถ้าผู้เรียนสามารถแตกย่อยกิ่งก้านสาขาออกได้ดังแบบที่นำมาให้ดู  แสดงให้เห็นว่า  ผู้เรียนเข้าใจเรื่องคำนาม  สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาพความคิดได้  ผู้เรียนสรุปภาพความคิดนั้นเป็นความเข้าใจของตนเองหรือที่เรียกว่า ความคิดรวบยอดของตนเองได้แบบว่า  “คำนามเป็นคำที่ใช้เรียกคำพวกหนึ่งที่บอกชื่อสิ่งที่มีรูป  เช่น  สัตว์   สิ่งของ  สถานที่  และสิ่งที่ไม่มีรูป เช่น  เวลา  อายุ   ใจ  อำนาจ  บาป   บุญ   คำนามแบ่งออกเป็น  5  พวกด้วยกัน  มีสามานยนาม  วิสามานยนาม  สมุหนาม  ลักษณะนาม   อาการนาม

                การลงรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ  ที่นำมาแตกกิ่ง ก้านสาขานั้นจะมีปริมาณมาก  น้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับข้อมูลความรู้และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนที่จะสามารถคัดสรรประเด็นความที่ตนรู้มาถ่ายทอดเชื่อมร้อยเป็นรูปแตกกิ่งก้านสาขาภาพความคิดออกมาให้เห็น  ถ้าผู้เรียนมีรายละเอียดมากก็จะสามารถวิเคราะห์ประเด็นออกมาแตกกิ่งก้านสาขาเป็นเส้นย่อย ๆ ได้มาก  ดังนั้น  การเขียนภาพความคิดแบบแตกแขนงสาขาออกได้มากเท่าไร   ย่อมแสดงให้เห็นคุณภาพความรู้จริงของผู้เรียน  ผู้นั้นได้มากเท่านั้น

                ขอพูดถึงชนิดของคำนามที่ผ่านมาจะเห็นว่า                 สามานยนามกับวิสามานยนามนั้น มีความคล้ายกันมาก  ถ้าไม่   การคิดแบบผังแมงมุมแบบนี้  ผู้เรียนระดับประถมศึกษามักจะคิดแบบนี้เป็นส่วนมาก  ไม่ค่อยพบที่จะคิดแบบขยายวงออกไปให้มากเท่าที่จะมากได้   ซึ่งเรียกว่า คิดแบบหลายชั้น  เห็นว่าถ้าฝึกให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดแบบขยายวงนอกออกไปอีกจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาการคิดได้มากขึ้น  และสามารถวิเคราะห์คำนำใช้ได้มากขึ้น  อีกทั้งจะมีรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ  มากขึ้นด้วย  ส่งผลให้ความรู้ของผู้เรียนเพิ่มขึ้น  ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการคิดแบบที่ผู้เรียนสามารถจำแนกประเภทของคำนามออกได้เป็นกลุ่ม ๆ  คือ

คำนาม

คน

สถานที่

กิริยาอาการ

สัตว์

บ้าน

นา

โรงเรียน

แม่น้ำ

วัด

พี่    น้อง   พ่อ   แม่   ปู่   ย่า   ตา   ยาย   มนุษย์

ความดี  ความสวย  การยืน  การนั่ง

วัว

ควาย

นก

ปลา

ช้าง

 (ดูภาพประกอบได้ที่ https://sites.google.com/site/chatreesamran/hnangsux/-doc-13ครับ)

ภาพประกอบหมายเลข  6

ถ้าผู้เรียนสามารถจำแนกคำนามออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  ได้ดังนี้  จะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้ว่า  คำนามเป็นอะไร  แบบใด  ได้ง่ายยิ่งขึ้น   ตัวอย่างแบบว่า

                - คำนาม     เป็นคำแสดงชื่อคน  สัตว์  สิ่งของ  สถานที่และกิริยาอาการต่าง ๆ

                -  คำ  แสดงชื่อคน  สัตว์   สิ่งของ  สถานที่  กิริยาอาการต่าง ๆ เรียกว่า คำนาม   ถ้าผู้เรียนคิดแบบเชื่อมโยงความคิด (แบบตอนที่ 1-2 ) และคิดแบบผังแมงมุมได้คล่องแล้ว   ลองให้ผู้เรียนฝึกคิดแบบ  Mind  Mapping  ดูบ้างก็จะสนุก  เท่าที่เคยสอนผ่านมาแรก ๆ  ผู้เรียนจะวิเคราะห์ได้เพียงชั้นเดียว  ไม่สามารถแตกกิ่งก้านสาขาออกไปได้  ทำให้ความคิดอยู่ในวงแคบ  ความรู้ที่ได้มาก็มีน้อย  เวลาให้สรุปเป็นองค์ความรู้หรือสรุปเป็นความคิดรวบยอดจะสรุปไม่ค่อยได้   แต่พอกระตุ้นให้ฝึกคิดแบบขยายกิ่งก้านสาขาออกไปมาก ๆ  ผู้เรียนจะสามารถสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้ไม่ยากนัก  อย่างภาพการคิดของผู้เรียนคนหนึ่งเรื่องชนิดของคำนาม

    ภาพประกอบหมายเลข  7

                การคิดไปพร้อม ๆ กับสร้างแผนภาพความคิด  จะช่วยให้ผู้เรียน เห็น ความคิดของตนเองชัดเจน  ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสร้างสมาธิ  ในการคิดของตนเองได้  เพราะเมื่อผู้เรียนเห็นภาพความคิดตั้งแต่เริ่มต้นก็จะคิดต่อ ๆ ไปจนตลอดสาย   ด้วยเหตุว่าจิตของผู้เรียนมุ่งอยู่แต่เรื่องนั้นเรื่องเดียว  ผู้เรียนก็จะคิดเรื่องเดียว  จิตไม่วอกแวก  เมื่อฝึกคิดเรื่องเดียวได้อย่างต่อเนื่องบ่อย ๆ   ก็จะเกิดเป็นนิสัยของการคิดที่ดีของผู้เรียนเอง นิสัยการคิดที่ดีจะเป็นวินัยที่ดี และในทางตรงข้าม  ถ้าผู้เรียนสร้างวินัยในตนเองได้ต่อเนื่องก็จะเกิดเป็นนิสัยที่ดีได้เช่นกัน

                อีกอย่างหนึ่งการสร้างภาพความคิดได้บ่อย ๆ จะฝึกนิสัยผู้เรียนให้สร้างความสำเร็จในการทำงานของตนเองได้  ในชีวิตจริงมักจะมีผู้เรียนจำนวนหนึ่ง  ทำงานเพียงให้เสร็จ เพื่อจะได้ส่งงานให้พ้น ๆ และก็ยังมีผู้เรียนอีกจำนวนหนึ่งที่มุ่งมั่นสร้างงานได้สำเร็จ  ผลงานจึงออกมาดี    สวยงามน่าหยิบอ่าน  หยิบดู  เนื้อหาสาระสมบูรณ์ตามศักยภาพของผู้เรียนคนนั้น   ผู้เรียนแบบนี้มักจะมุ่งมั่นทำงานด้วยความตั้งใจ   เขาอาจจะทำงานช้าไปบ้างแต่เมื่อผลงานสำเร็จออกมาจะดีมาก  ผู้สอนจะต้องคอยช่วยให้กำลังใจ อย่าไปเร่งรีบให้ผู้เรียนทำงานให้เสร็จ ๆ   ต้องให้เวลาให้โอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผลงาน  สิ่งที่

สังเกตให้ดีจะสับสนว่าคำไหนเป็นสามานยนาม  คำไหนเป็น      วิสามานยนาม  ตรงนี้เองที่ผู้สอนจะต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับอ่อน  เห็นความแตกต่างให้ได้  เช่น  หนังสือ กับหนังสือเรื่องโนรี  ต่างกันตรงไหน  ทำไมคำ ๆ นี้จึงจัดอยู่ใน     สามานยนาม  และคำ ๆ นี้จัดอยู่ในวิสามานยนาม  นกเขาชวา กับนกเขา สายพิณ”  คำคำไหนเป็นคำสามานยนาม  คำไหนเป็นคำวิสามานยนาม “ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น”  และคำลักษณะนามกับสมุหนามต่างกันอย่างไร  ทำไมจึงต่างกันอย่างนั้น  ผู้เรียนกับผู้สอนจะต้องร่วมกันอธิบายความเหล่านี้ให้กระจ่าง  ให้เห็นภาพชัดเจนว่า  ชนิดคำเหล่านี้มีความต่างกันแบบใด  โดยการช่วยกันยกตัวอย่างคำมาให้เห็นมาก ๆ   แล้วร่วมกันระบุชนิดคำ ๆ นั้นว่าเป็นคำชนิดใด  เหตุใดจึงเป็นอย่างนั้น  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคน  ค้นหาคำหรือประโยคจากสื่อสิ่งพิมพ์มาร่วมกันระบุชนิดของคำ  กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียน เพิ่ม ความเข้าใจต่อการเรียนรู้เรื่องชนิดของคำนามได้มากยิ่งขึ้น

 

ทำบ่อย ๆ  ฝึกบ่อย ๆ  ก็ค่อยชำนาญยิ่งขึ้น

อ่านเป็นเล่มได้ที่ https://docs.google.com/docume... 

 

หมายเลขบันทึก: 483501เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2012 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท