ประสบการณ์การจัดการงานวิจัยระดับพื้นที่ภาคใต้


การจัดการงานวิจัยระดับพื้นที่ภาคใต้

ประสบการณ์การจัดการงานวิจัยระดับพื้นที่ภาคใต้

ผศ.ภก.พงค์เทพ  สุธีรวุฒิ
สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1.   บทนำ                                                                                             
การวิจัยระบบสาธารณสุขในระดับพื้นที่ (Area based   Program) เป็นแผนงานหนึ่งของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบวิจัยในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่และเสริมสร้างศักยภาพ ของบุคลากรในระยะยาว    แนวคิดที่สำคัญของแผนงานนี้ในระยะแรกจึงเป็นเรื่องของการพัฒนานักวิจัยในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาความคิด การปฏิบัติงานและการนำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่หรือการพัฒนาระบบงาน
   สวรส.เริ่มแผนงานนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2539  โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแห่งแรกและขยายกลไกแบบเดียวกันครบทั้ง 4 ภาค ในปี พ.ศ. 2542-2545 ในระยะแรกคาดหวังว่า สวรส.แต่ละภาคจะสามารถพัฒนาโครงการวิจัยระดับพื้นที่ประมาณปีละ 5-10 โครงการ ต่อมาได้มีการปรับแนวทางการทำงานจากการเปิดกว้างรับข้อเสนอโครงการวิจัยแบบไม่กำหนดหัวข้อมาสู่การวิจัยเพื่อชุมชน (Empowrment) มากขึ้น     เพื่อให้งานวิจัยในพื้นที่มีจุดเน้นและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่มากขึ้น
จากการทบทวนแผนงานในปีพ.ศ. 2545 นำมาสู่ข้อเสนอแนะในการปรับแนวทางการทำงานของสวรส.ภาค ที่สำคัญดังต่อไปนี้
1.        ปรัชญาของการวิจัยในระดับพื้นที่ (area-based research) ต้องมีความชัดเจนมากขึ้น ที่ผ่านมามักควบวัตถุประสงค์การพัฒนานักวิจัยในพื้นที่กับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยไม่แยกความสำคัญหลักรองอย่างชัดเจน จึงควรกำหนดให้ชัดว่าวัตถุประสงค์สำคัญที่สุด ก็คือ การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจเป็นปัญหาระบบบริการ หรือเป็นปัญหาของชุมชน หรือทั้งสองอย่าง การวิจัยในพื้นที่มิใช่เพื่อเป็นผลงานวิจัย
2.        นโยบายเปิดกว้างรับโครงการวิจัยระดับพื้นที่แบบไม่จำกัดหัวข้อควรเป็นนโยบายหลัก เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยในระดับพื้นที่นำปัญหาจริง ๆ ของพื้นที่มาสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาการรับรู้และแก้ไขปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยแบบระบุเรื่องหรือ theme แบบเฉพาะพื้นที่ และการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อค้นหา และสนับสนุนนักวิจัยระดับพื้นที่ที่มีศักยภาพ อาจทำได้ตามความเหมาะสม
3.        งานวิจัยสาธารณสุขระดับพื้นที่โดยการสนับสนุนของ สวรส. ควรเปิดกว้างให้ครอบคลุมทั้งปัญหาบริการและปัญหาชุมชน ไม่จำเป็นต้องเป็นปัญหาชุมชนทั้งหมด เงื่อนไขสำคัญของงานวิจัยระบบสาธารณสุขระดับพื้นที่ควรอยู่ที่โจทย์วิจัยเป็นปัญหาพื้นที่จริง ๆ และการวิจัยนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการเข้าร่วมอย่างเอาการเอางานของภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชุมชนและผู้รับบริการ
        เกณฑ์งบประมาณและระยะเวลาโครงการวิจัยระดับพื้นที่ สวรส. จะสนับสนุนไม่ควรตั้งเกณฑ์ไว้เลย โครงการวิจัยในระดับพื้นที่จำนวนไม่น้อยเป็นการวิจัยปฏิบัติการ การสนับสนุนโครงการควรครอบคลุมทั้งขั้นเตรียมการและปฏิบัติการ การพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณและระยะเวลาตามความจำเป็นของแต่ละโครงการจะเอื้อต่อการส่งเสริมการวิจัยระดับพื้นที่มากกว่า                       
4.        เครื่องชี้วัดความสำเร็จของแผนงาน area-based program และ สวรส.ภาค ในระยะ 3 ปี ข้างหน้า ควรเป็นจำนวนโครงการวิจัยระดับพื้นที่ที่สร้างผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหา ผลกระทบทางการพัฒนาความคิดของนักวิจัยและภาคีที่เข้าร่วม การพัฒนาระบบงาน และการขยายผลสู่เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องในระบบบริการและชุมชน การขยายตัวของเครือข่ายนักวิชาการที่เข้าร่วมทำการวิจัยระดับพื้นที่ หรือสนับสนุนโดยทำหน้าที่ที่ปรึกษาให้กับโครงการวิจัยระดับพื้นที่ ก็เป็นเครื่องวัดความสำเร็จของ สวรส.ภาค
5.        สวรส.ภาค ควรเปิดกว้างให้นักวิจัยในสถาบันการศึกษารับทุนวิจัยระดับพื้นที่ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าร่วมเป็นภาคีนักวิจัยและนักวิจัย เพื่อสร้าง critical mass ของนักวิจัยระดับพื้นที่ที่จะช่วยสนับสนุนงานวิจัยระดับพื้นที่ต่อไปในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากนโยบายต้องการให้ความสำคัญกับนักวิจัยในพื้นที่ (เป็นนักวิจัยหลัก) ก็อาจกำหนดสัดส่วนจำนวนโครงการที่จะสนับสนุนนักวิจัยในสถาบันการศึกษาตามความเหมาะสมได้
6.        ที่ผ่านมา รายงานการวิจัยของโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ยังมิได้แสดงผลลัพธ์การนำผลการวิจัยไปใช้และผลกระทบในพื้นที่แต่อย่างใด สวรส.ภาค ควรทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาโครงการวิจัยเกี่ยวกับความสำคัญในเรื่องนี้ กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบบริการและชุมชน ตลอดจนกระบวนการเข้าร่วมของภาคีนักวิจัยต่าง ๆ เป็นแนวทางให้นักวิจัยประเมินและเขียนผลกระทบของโครงการวิจัย  เมื่อมีฐานข้อมูลกระบวนการการวิจัยและผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาระบบงาน และชุมชนเป็นรายโครงการแล้ว สวรส.ภาค ควรต้องสรุปผลกระทบการวิจัยในระดับพื้นที่ในภาพรวมขึ้น
7.        ที่ปรึกษามีบทบาทสำคัญในงานวิจัยระดับพื้นที่ สวรส.ภาค ควรให้ความสำคัญกับการเลือกที่ปรึกษาที่เหมาะสมและทำงานกับนักวิจัยในพื้นที่ได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร และสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างที่ปรึกษา เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานพัฒนางานวิจัยระดับพื้นที่ จำนวนที่ปรึกษาควรกำหนดตามความจำเป็นของโครงการวิจัย            สวรส.ภาค ควรทำหน้าที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการที่จำเป็น แก่ที่ปรึกษาโครงการวิจัยฯ และนักวิจัยในการพัฒนาโครงร่างและดำเนินการวิจัย โดยเฉพาะการค้นและจัดหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยความร่วมมือของ สวรส.

2. ปรัชญาและแนวคิดของการวิจัยในระดับพื้นที่ (Area-based research)
                ข้อเสนอแนะจากการทบทวนแผนงานข้างต้น  ทำให้ สวรส.ภาคใต้ได้ปรับแนวคิด ของการวิจัยในระดับพื้นที่ (Area-based research) รวมถึงวิธีการทำงานหลายประการ โดยยึดปรัชญา “การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่”  เป็นฐานคิดของการทำงาน
                 แนวคิดการดำเนินงานของ สวรส.ภาคใต้ พัฒนาการมาจากการเรียนรู้ที่สำคัญจากหลายภาคส่วน อาทิเช่น
1.        พลวัตรของการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศ 
        จากฐานคิดเรื่อง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี องค์ประกอบหลักในขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพประกอบด้วย ภาคความรู้ ภาคประชาสังคม และภาคการเมือง ที่ผ่านมาพบว่าทั้งสามภาคส่วนยังไม่สามารถเชื่อมโยงกันเพื่อเป็นพลังของการขับเคลื่อนได้เท่าที่ควร 
        โดยเฉพาะภาคความรู้ดังกล่าว  จำเป็นต้องใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อให้เกิดการสร้างความรู้ ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้อย่างเป็นระบบ  การวิจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในภาคความรู้ การจัดการงานวิจัย(Research Management) จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันพบว่า มีผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้มากขึ้น แต่เป็นงานวิจัยที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ เป็นงานวิจัยที่ขาดการรับรู้ ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมหรือผู้คนในท้องที่  และสำคัญที่สุดคือมีการนำผลงานการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่น้อยมาก
       พันธกิจที่สำคัญของสวรส.ภาคใต้  จึงต้องขับเคลื่อนการจัดการงานวิจัยที่สอดคล้องกับบริบทของภาคใต้ และต้องเชื่อมผู้คนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าร่วมเป็นภาคีนักวิจัยและนักวิจัย เพื่อสร้าง critical mass ของนักวิจัยระดับพื้นที่ที่จะช่วยสนับสนุนงานวิจัยระดับพื้นที่ต่อไป  ตลอดจนการประสานกับ User เพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อให้เกิดผลในการพัฒนาพื้นที่ต่อไป
2.        การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

        โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกแห่งปัญญาและความรู้ ที่เรียกว่า KBES (Knowledge-Based Economy and Society) สถาบันที่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และต้องมีกระบวนการจัดการความรู้ 
         สวรส.ภาคใต้  พยายามพัฒนาสถาบันไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยกระบวนการดังต่อไปนี้

·        การสร้างบรรยากาศเปิด (Openness) ทั้งเวทีวิชาการตั้งแต่การตั้งประเด็น การพัฒนาโครงร่างการวิจัย   การติดตาม และการนำเสนอผลงานวิจัย  รวมถึงการสร้างบรรยากาศเปิดในด้านความคิดโดยผ่านกระบวนการพูดคุย ระหว่างสถาบันกับ Stakeholder

·        การสร้างวินัย 5 ประการให้เกิดในสถาบันและเครือข่าย ตลอดจนในกระบวนการทำงาน (Five Disciplines)  ได้แก่ การคิดเชิงระบบ (Systems  Thinking)   การมุ่งสู่ความเป็นเลิศโดยความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังแห่งตน  (Personal Mastery) แบบจำลองความคิด (Mental Models)  การสร้างและสานวิสัยทัศน์ร่วม (Building Shared Vision) และ เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  (Team Learning)

        การพัฒนาตัวผู้นำและในระดับปัจเจก(หมายรวมถึง ทีมจัดการงานวิจัยและเครือข่ายนักวิจัย)  ในเรื่องกระบวนทัศน์  ทักษะในกระบวนการจัดการความรู้และงานวิจัย ได้แก่  การให้ความหมายหรือนิยามความรู้ (identified)   การรวบรวมความรู้ (captured)    การสร้างความรู้ (created)  การแบ่งปันแลกเปลี่ยน ความรู้ (shared)  การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้   (analyzed and synthetized)    การนำไปใช้ความรู้  (used)  และการเผยแพร่ความรู้  (disseminated)

·        การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และ ทักษะ ผ่านทางกิจกรรมเช่น การจัดทำแผนที่วิจัย  เวทีวิชาการ เป็นต้น

·        การปรับระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบงาน ระบบบริหาร ระบบการเรียนรู้  ที่สอดคล้องกับลักษณะของเครือข่าย

·        มีการสร้างระบบการทำงานเป็นทีม สร้างเป้าหมายร่วม กำหนดบทบาทหน้าที่

3.  การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ
        การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศจะต้องมียุทธศาสตร์และแผนงานวิจัยแบบบูรณาการ  โดยจะต้องคำนึงถึงแนวคิดต่อไปนี้ คือ

· แนวคิดในการบริหารจัดการแบบใหม่ เช่น activity list scorecard โดยกำหนดหน้าที่ วิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (Mission) โดยมีระบบควบคุมการบริหารจัดการ เช่น pareto chart และ control chart ขององค์กรภาครัฐ ทั้งนี้ผู้บริหารองค์กรจะต้องถูกประเมินผลงานในลักษณะการจัดจ้าง (contract) รายปี โดยใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการแบบใหม่ คือ งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (performance based budgeting) ที่เชื่อมโยงกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (strategic planning)
·        แนวคิดเรื่องความสามารถในการแข่งขัน (competitive advantage) โดยการวิจัยจะต้องก่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมสามารถประเมินผลได้ และแปรรูปเชิงผลลัพธ์ (outcome) ที่มีผลกระทบ (impact) ต่อประชาชนอย่างชัดเจน จะไม่เน้นการวิจัยทุกเรื่องแบบแยกกระจาย แต่จะจัดการวิจัยเน้นกลุ่มกิจกรรม (cluster) ที่เชื่อมโยงกับการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (linkage) เน้นการพัฒนาองค์กรวิจัยในระยะยาว
·        แนวคิดเรื่องภัยคุกคามทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทำให้เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล เน้นการวิจัยที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติได้ทันที เน้นการวิจัยในหัวข้อประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่เป็นภัยคุกคาม เช่น ภัยด้านความมั่นคง ภัยจากความยากจน ภัยที่เกิดจากความไร้เสถียรภาพ ภัยจากการพัฒนาประเทศแบบไม่ยั่งยืน ภัยจากการขาดความยุติธรรม ภัยจากต่างประเทศ ภัยจากการขาดความสามารถในการแข่งขันด้านเกษตร อุตสาหกรรม บริการ
           
3. หลักการจัดการงานวิจัยในระดับพื้นที่
จากแนวคิดที่สำคัญดังกล่าวข้างต้น   สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ นำมาประยุกต์เข้ากับหลักการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในกระบวนการจัดการงานวิจัยในระดับพื้นที่ของสถาบัน
การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของสถาบันโดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม  เป็นกระบวนการการจัดการที่ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic analysis) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation) การปฏิบัติตามกลยุทธ์และการควบคุม (Strategy implementation and control) และการประเมินผลกลยุทธ์   (Strategic Evaluation)

               การจัดการงานวิจัยเชิงกลยุทธ์ สถาบันเน้นทั้ง 3 ส่วน คือ lกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ Strategic Planning lกระบวนการตัดสินใจ/การเลือก/การชี้นำ/ชักนำ Strategic Decision lกระบวนการเรียนรู้ ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน และพลิกแพลงตามสถานการณ์ ฯลฯ Strategic Thinking ขณะเดียวกัน สถาบัน ก็พยายามปรับองค์กรและวิธีทำงาน ให้สอดคล้องลักษณะขององค์กรในการบริหารเชิงกลยุทธ์ คือ lการจัดโครงสร้างองค์กรจะเป็นแนวราบ เน้นความเป็นเครือข่ายทั้งภาคีวิจัยและประเด็นการวิจัย lการกระจายอำนาจสู่การปฏิบัติมีมากขึ้น ตัดสินใจ เร็วขึ้น (Empowerment, not Power) lสถาบันและเครือข่ายช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น (Self - sustainable ) lให้ภาคประชาคมมีส่วนร่วมมากขึ้น (Participation) ทั้งในการกำหนดประเด็นวิจัย โจทย์วิจัย ร่วมทำวิจัย และร่วมนำผลวิจัยไปขับเคลื่อนต่อไป

4.  ตัวแบบการจัดการงานวิจัยระดับพื้นที่ภาคใต้
                ในการบริหารจัดการงานวิจัยของสวรส.ภาคใต้  แยกเป็น 2 ประเภท คือ การจัดการงานวิจัยเชิงสถาบัน และการจัดการงานวิจัยเชิงประเด็น  ในการจัดการทั้ง 2 ประเภทใช้ตัวแบบของการจัดการงานวิจัย เหมือนกันดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1   การวิเคราะห์สถานการณ์  (Conduct a situation analysis)และการกำหนดทิศทางของสถาบัน
o การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (Strategic analysis)
o  การวิเคราะห์ SWOT (SWOT analysis)
o กำหนดทิศทางของสถาบัน (Strategic Direction)
                ขั้นที่  2  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation)และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning)
ขั้นที่ 3   การปฎิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy implementation) และการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control)

5. การจัดการงานวิจัยเชิงสถาบัน

ขั้นที่ 1   การวิเคราะห์สถานการณ์  (Conduct a situation analysis)และการกำหนดทิศทางของสถาบัน
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดการวิจัย  พบว่า

1. ปัจจัยทางสังคม   คนในสังคมเห็นความสำคัญของปัญญาและความรู้มากขึ้น   มีการอ้างอิงทั้งในแวดวงวิชาการและเวทีสาธารณะมากขึ้น  ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มตระหนักว่า    ยุคนี้เครื่องมือขับเคลื่อนความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจ  ไม่ใช่ที่ดิน แรงงาน วัตถุดิบ หรือทุน อีกต่อไป  แต่เป็นปัญญาและความรู้  โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกแห่งปัญญาและความรู้ ที่เรียกว่า KBES (Knowledge-Based Economy and Society)  จึงเป็นโอกาสที่สำคัญที่คนในสังคมจะเข้าใจและเข้าสู่กระบวนการจัดการงานวิจัยมากขึ้น

2. ปัจจัยทางเทคโนโลยี  การสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล  การแลกเปลี่ยนข้อมูล เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น   โดยอาศัย Internet,  Electronic Data-based และ sofeware จึงเป็นโอกาสในการจัดการงานวิจัยได้มากขึ้น
3. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมดีขึ้น  งบประมาณที่สนับสนุนงานวิจัยมีโอกาสที่จะเพิ่มมากขึ้น เป็นโอกาสที่นักวิจัยและเครือข่ายนักวิจัยสามารถทำงานวิจัยได้มากขึ้น
4.ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาสำคัญที่สังคมโดยรวมให้ความตระหนักมากขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันส่งผลต่อสุขภาพ
5. ปัจจัยทางการเมือง  นโยบายของรัฐเน้นการสนับสนุนงานวิจัยมากขึ้น โดยมอบหมายให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พัฒนาระบบวิจัยของประเทศ ขณะที่อีกหลายหน่วยงาน เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ  ได้มีแผนงานขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อสุขภาพ 

 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดการวิจัย  พบว่า
1.        ปัจจัยที่เป็นโอกาส
· หน่วยงานและสถาบันวิจัยที่เป็นหลักให้ในพื้นที่  มีการเชื่อมประสานกันมากขึ้น ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  บัณฑิตวิทยาลัย  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุข
· หน่วยงานและสถาบันวิจัยที่เป็นหลักให้ในพื้นที่  มีทิศทางและนโยบายที่ชัดเจนขึ้น มีการมองและดำเนินงานในระบบวิจัยครบทั้งระบบมากขึ้น
· ภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าใจและตระหนักถึงเรื่องการจัดการความรู้และงานวิจัยมากขึ้น เช่น  เครือข่ายสมัชชา
สุขภาพภาคใต้  เครือข่ายประชาคมสุขภาพ  เครือข่ายลุ่มน้ำ  เครือข่ายเกษตรทางเลือก เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
2.        ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัด
·  หน่วยงานและสถาบันวิจัยที่เป็นหลักให้ในพื้นที่ ยังมีน้อย จึงทำให้ขาดเครือข่ายวิจัยทั้งเครือข่ายเฉพาะประเด็นและเครือข่ายระดับพื้นที่
·  หน่วยงานและสถาบันวิจัยที่เป็นหลักให้ในพื้นที่  ขาดการบริหารจัดการระบบวิจัย  การมองและดำเนินงานในระบบวิจัยไม่ครบทั้งระบบ ทำให้ขาดทิศทางและนโยบายที่ชัดเจน  ขาดการประสานเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานวิจัย ภาครัฐ-ภาคเอกชน โดยเฉพาะในพื้นที่ ขาดเครือข่ายนักวิจัย
· ผู้บริหารองค์กร หน่วยงานในพื้นที่ หลายแห่งไม่ได้ให้ความสำคัญหรือยังไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัย  ทำให้ขาดการลงทุนพัฒนาทั้งในส่วนทรัพยากร  บุคคล และงบประมาณ
·  นักวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักวิจัยในพื้นที่ และ นักวิจัยที่เป็นนักวิชาการในสถาบันการศึกษา
·  นักวิจัยในพื้นที่ไม่มีแรงจูงใจให้ทำวิจัย  ส่วนใหญ่ทำวิจัยเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ ทำงานประจำมากกว่างานพัฒนา ทำให้ขาดกระบวนทัศน์ในการบริหารงานวิจัย นักวิจัยในพื้นที่ขาดประสบการณ์ หรือความเชี่ยวชาญในการทำวิจัย นอกจากนี้ นักวิจัยในพื้นที่มีปัญหาในเรื่องคุณภาพของผลงานวิจัย ทำให้คุณค่าของงานวิจัยมีน้อย ทำให้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่มีน้อย
·  นักวิจัยที่เป็นนักวิชาการในสถาบันการศึกษา สามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภท เช่น           กลุ่มที่มีศักยภาพสูง มักจะมีงานล้นมือ ทำโครงการใหญ่ ค่าตอบแทนสูง กลุ่มที่มีศักยภาพปานกลาง กลุ่มนี้ทำงานวิจัยน้อย ทำงานอื่นมาก กลุ่มที่ยังต้องการพัฒนาศักยภาพ เป็นกลุ่มที่อยากทำวิจัย แต่ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร ต้องการพี่เลี้ยง นักวิจัยที่เป็นนักวิชาการต้องการงานวิจัยเพื่อเป็นผลงานและการตีพิมพิ์เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ มากกว่าการแก้ปัญหาท้องถิ่น · นักวิจัยส่วนใหญ่ต้องการระบบการสนับสนุนที่ไม่ยุ่งยาก ความสะดวกสบาย ไม่ต้องการการตรวจสอบที่เข้มงวด · งานเสร็จล่าช้า

 3.        ปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง
·  การบริหารจัดการระบบวิจัยของสถาบัน มีความอิสระสูง  ทั้งเรื่องการจัดการและการเงิน
· เป็นสถาบันที่สามารถเชื่อมประสานงานกับหน่วยงานและสถาบันวิจัยที่เป็นหลักในพื้นที่ โดยใช้เรื่องสุขภาพเป็นตัวเชื่อม   ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  บัณฑิตวิทยาลัย  คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุข
· เป็นสถาบันที่สามารถเชื่อมประสานงานกับภาคีในพื้นที่ เช่น  เครือข่ายสมัชชาสุขภาพภาคใต้  เครือข่ายประชาคมสุขภาพ  เครือข่ายลุ่มน้ำ  เครือข่ายเกษตรทางเลือก เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
· เป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูลการวิจัยระบบสุขภาพในบางเรื่อง เช่น มุสลิม ภูมิปัญญา ยางพารา ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา การบริการสุขภาพ และนโยบายสาธารณะ
4.        ปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน
· การพัฒนาโครงร่างวิจัยใช้เวลานาน มีขั้นตอนการพัฒนาหลายขั้นตอน  โดยเฉพาะการปรับกระทัศน์และวิธีคิดระหว่างทีมจัดการงานวิจัยกับนักวิจัย  ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณมากกว่าที่ควรจะเป็น
· การบริหารจัดการในส่วนสำนักงาน ใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานธุรการ การเงิน งานหนังสือราชการและเอกสาร  ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้  ในขณะที่คนจำกัด
·  ขาดเครือข่ายนักวิจัยในส่วนของนักวิชาการที่มีประสบการณ์  ที่จะช่วยให้งานวิจัยมีคุณภาพสูง
·  ขาดเครือข่ายนักวิจัยในส่วนของผู้ให้บริการสาธารณสุขที่จะเป็นนักวิจัยหลัก เช่น แพทย์  เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาล สัตวแพทย์

ทิศทางของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้
การปรับเปลี่ยนชื่อจาก สถาบันเครือข่ายพัฒนาการส่งเสริมการวิจัยระดับพื้นที่(สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ภาคใต้) เป็น สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้  เป็นนัยที่แสดงถึงทิศทางของสถาบัน 2 ประการ ประการแรกคือ เปลี่ยนมุมมองในเรื่องระบบสาธารณสุขเป็นระบบสุขภาพ  ประการที่สองคือ ไม่ได้มีพันธกิจเฉพาะพัฒนาการส่งเสริมการวิจัยเท่านั้น  แต่มองภาพรวมของการวิจัย อันหมายถึงการจัดการงานวิจัยทั้งระบบ และได้กำหนดทิศทางในวิสัยทัศน์  พันธกิจ และวัตถุประสงค์ ดังนี้

                 วิสัยทัศน์ (Vision) สวรส.ภาคใต้ มอ. เป็นสถาบันหลัก เป็นแกนนำในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานการจัดการงานวิจัยและความรู้ในระบบสุขภาพของภาคใต้

                 พันธกิจ (Mission) สวรส.ภาคใต้ มอ. เป็นสถาบันจัดการงานวิจัยและความรู้ในระบบสุขภาพ เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในพื้นที่ สร้างฐานองค์ความรู้ (Knowledge Base) เกิดการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge management) และ ขับเคลื่อนให้เกิดสังคมความรู้ ( Knowledge-Based society) โดยใช้ปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพที่ตอบสนองต่อพื้นที่ภาคใต้

                 วัตถุประสงค์(Objective) สร้างองค์ความรู้ การจัดการความรู้ พัฒนานักวิจัย เพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูประบบสุขภาพที่มีความเฉพาะและหลากหลายของชุมชนในพื้นที่ภาคใต้

ขั้นที่  2  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy formulation)และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning)
ยุทธศาสตร์หลัก การจัดการงานวิจัยเชิงสถาบันของ สวรส.ภาคใต้ มอ. 

                ในการจัดการงานวิจัย สวรส.ภาคใต้ มอ. ใช้ยุทธศาสตร์หลัก ต่อไปนี้ 1. ใช้กระบวนการทางวิชาการและงานวิจัย เป็นเครื่องมือและกลไกในการประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) จากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อกำหนดขอบเขต (Scope) ประเด็น (Theme) และกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมและกลวิธีในการจัดการกับประเด็นวิกฤตระบบสุขภาพภาคใต้ร่วมกัน 2. ใช้การทำงานแบบเครือข่าย ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยระดมนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เครือข่ายประชาคมสุขภาพ องค์กรชุมชนท้องถิ่น ผู้บริหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจ และนักวิเคราะห์ระบบในพื้นที่ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายทำงานและจัดการประเด็นวิกฤตระบบสุขภาพภาคใต้ ขณะเดียวกันก็เชื่อมประสานกับองค์กรแหล่งทุนต่างๆเพื่อเสริมการทำงานร่วมกันและลงทุนร่วมกัน 3. ใช้กระบวนการบริหารจัดการความรู้ การสร้างองค์กรและสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในเครือข่ายระดับต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นพลังในการขับเคลื่อนและจัดการระบบสุขภาพระดับท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง

แนวทางการเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นกลวิธีการปฏิบัติงาน

1.  การปรับกระบวนทัศน์ของนักวิจัย ให้คิดเชิงระบบ มองเห็นถึงความเชื่อมโยง ของระบบสุขภาพในภาคใต้โดย

1.1 จัดให้มีการนำเอาปัญหาในพื้นที่เป็นประเด็นในการพูดคุยในเวทีวิชาการให้ถี่มากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเวทีทั้งนักวิชาการ และ จากStakeholder ในพื้นที่(Grass root)

1.2 ใช้การทบทวน รายงานการศึกษาทั้งในพื้นที่ และ สากล (Systematic Review) เป็นปัจจัยเสริมกระบวนการเวทีวิชาการให้มีคุณภาพมากขึ้น

1.3 ใช้กระบวนการ การระดมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ  

1.4 จาก 1.1-1.3 นำไปสู่การสร้าง research mapping จากการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยกระบวนการวิชาการเพื่อสร้าง Research Mapping จะเป็นช่องทางที่จะสร้างกลุ่มและเครือข่ายนักวิจัยที่ตระหนักและสนใจในปัญหานั้นๆ นอกจากนี้ Research Mapping ยังเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย จุดสำคัญในการลงทุนวิจัย  การจัดสรรงบประมาณ  การตัดสินใจเพื่อการให้ทุนวิจัย ต่อไป

2.  การสร้างทีมนักวิจัยที่มีทั้งกลุ่มที่มีศักยภาพสูง ปานกลาง และกลุ่มที่ยังต้องการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน   โดยมีลักษณะเป็นเครือข่ายความรู้ (Knowledge Network) และใช้ระบบพี่เลี้ยง (Research Counselors : RC) ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนดังนี้
    2.1  แยกกลุ่มนักวิจัยตามความสนใจ  ให้ตรงกับเรื่องที่อยู่ในทิศทางของสถาบัน
    2.2  หา key person ซึ่งเป็นผู้ประสานงานหลักและติดตามแต่ละกลุ่มนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง และใช้การทาบทามนักวิจัยทั้งในและนอกพื้นที่ ที่มีศักยภาพ เป็นผู้ร่วมโครงการ
    2.3 ใช้การทำงานเป็นทีม เรียนรู้เป็นทีม และการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นของกลุ่มนักวิจัย รวมถึงการเน้นวิธีการสร้างการพูดคุยในเชิงวิชาการในแต่ละเรื่องแต่ละกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีหลักที่จะสามารถยึดเหนี่ยวนักวิจัยได้
    2.4 ใช้วิธีการสร้างระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย โดยนักวิจัยที่มีศักยภาพสูงอาจจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือผู้วิจัยก็ได้  และพยายามให้ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องโดยทีมผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ จะช่วยก่อให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาทั้งศักยภาพของนักวิจัยและพัฒนาคุณภาพของงานวิจัย   

    2.5 นอกจากนี้อาจจะต้องใช้ช่องทางบัณฑิตศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและสร้างงานวิจัยเพิ่มขึ้น

3. การพัฒนาระบบการสนับสนุน ระบบติดตาม ระบบการประเมินผล
ระบบการสนับสนุน ที่เป็นฐานสำคัญคือ 
    3.1 ระบบข้อมูล สารสนเทศ  เพื่อให้นักวิจัยรู้ช่องทางการเข้าถึงข้อมูล และได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ
    3.2 ระบบการบริหารทรัพยากร   เพื่ออำน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4835เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2005 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท