อาหารประจำธาตุไฟ


ธาตุไฟเป็นธาตุเจ้าเรือน

 

 

พระคัมภีร์ปฐมจินดา


กล่าวไว้ว่าเมื่อตั้งครรภ์ในฤดูใด

ให้เอาธาตุของฤดูนั้นเป็นที่ตั้งแห่งธาตุกำเนิดของกุมาร กุมารี นั้นเช่น

 

ตั้งครรภ์ในเดือน  5, 6, 7      เป็นลักษณะแห่งไฟ

ตั้งครรภ์ในเดือน  8, 9, 10    เป็นลักษณะแห่งลม

ตั้งครรภ์ในเดือน  11, 12, 1  เป็นลักษณะแห่งน้ำ

ตั้งครรภ์ในเดือน  2, 3, 4      เป็นลักษณะแห่งดิน

 

ซึ่งคือธาตุเจ้าเรือนนั่นเอง แต่คนส่วนใหญ่มักจำเพียงแต่วันเกิดคำว่าตั้งครรภ์ในเดือนใดหมายถึง การเริ่มมีครรภ์ หรือมีการปฏิสนธิ ดังนั้นจากข้อสังเกตของคนโบราณดังกล่าว ถ้านำอายุการตั้งครรภ์มาพิจารณาแล้ว สามารถประมาณการได้ว่า

 

ผู้ที่เกิดเดือน  5, 6, 7    จะมีธาตุลมเป็นเจ้าเรือน

ผู้ที่เกิดเดือน  8, 9, 10   จะมีธาตุน้ำเป็นธาตุเจ้าเรือน

ผู้ที่เกิดเดือน  11, 12, 1 จะมีธาตุดินเป็นธาตุเจ้าเรือน

ผู้ที่เกิดเดือน  2, 3, 4    จะมีธาตุไฟเป็นธาตุเจ้าเรือน

 

การวินิจฉัย

นำอาการที่ได้จากการบอกเล่า และตรวจพบมาประมวล จะสามารถบอกถึงสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยยึดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ ตัวสุขภาพ หรือตัวควบคุมธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

 

 

 

อาหารประจำธาตุไฟ

ควรรับประทานผักผลไม้ และอาหารที่มี รสขม เย็น จืด ตัวอย่าง

ได้แก่ ผักบุ้ง ตำลึง แตงโม บัวบก ฟักข้าว สะเดา มะระ ขี้เหล็ก ฯลฯ


ธาตุไฟ

มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ

 

พัทธปิตตะ

คือ ดีในฝัก บางท่านอาจสับสนว่า น้ำดีคือธาตุน้ำ เหตุใดจึงจัดเป็นไฟ ผู้เขียนเข้าใจว่าพัทธปิตตะในที่นี้ คือการควบคุมการทำงานของน้ำดีและการย่อยสลาย จากการทำงานของน้ำดี ส่วนน้ำดีจัดเป็นธาตุน้ำ อาการบ่งบอกการทำงานที่ผิดปกติไป จึงน่าจะหมายถึง การปวดท้อง น้ำดีอุดตันภาวะการณ์ผลิตน้ำดีของตับผิดปกติ ตับอักเสบ เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดถุงน้ำดีอักเสบ เป็นนิ่ว เป็นต้น

เป็นเรื่องที่ควบคุมการทำงานของธาตุน้ำ เป็นอาการบ่งบอกถึง การทำงานที่ผิดปกติไป จึงน่าจะหมายถึง การปวดท้อง น้ำดีอุดตัน การทำงานของน้ำดีในตับและถุงน้ำดี ที่เรียกว่า ดีในฝัก นั่นเอง ดีในฝักพิการจะมีอาการ คุ้มคลั่งเหมือนผีเข้า ถ่ายเป็นสีเขียว

 

อพัทธปิตตะ

ดีนอกฝัก หมายถึง การทำงานของน้ำดีในลำไส้ การย่อยอาหาร อาการคือจุกเสียด อืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ดีนอกฝักพิการ จะทำให้เหลืองทั้งตัว

 

กำเดา

องค์แห่งความร้อน เป็นตัวควบคุมความร้อนในร่างกาย น่าจะหมายถึง ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายนั่นเอง การตรวจสามารถดูที่อาการไข้ ว่าตัวร้อนจัดหรือไม่เพียงใด

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ การแพทย์แผนไทยกับการดูแลสุขภาพ สถาบันการแพทย์แผนไทย การพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก สนับสนุนโดย กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

และขอบคุณ คุณจงถนอม บ้านปันสุขภาพ สุพรรณบุรี

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

 

หมายเลขบันทึก: 483141เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ให้ตอบ แล้วคำถาม จะถามว่าอย่างไร ? ของ มะระ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท