การเปิดตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตอนที่ 1


การปรับตัวเปิดประเทศของพม่าครั้งนี้ไม่เพียงแต่ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกให้หันมาจับตามองพม่า แต่ยังทำให้ความสนใจติดตามข่าวการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดูเข็มแข็งขึ้นเด่นชัดขึ้นในสายตาประชาคมโลกอีกด้วย

ตั้งแต่เขียนถึงพม่าคราวที่แล้วก็เริ่มใช้เวลากับการหาข้อมูลหลายๆ แง่มุมของการค้าการลงทุนในประเทศพม่า การปรับตัวเปิดประเทศของพม่าครั้งนี้ไม่เพียงแต่ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกให้หันมาจับตามองพม่า แต่ยังทำให้ความสนใจติดตามข่าวการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดูเข็มแข็งขึ้นเด่นชัดขึ้นในสายตาประชาคมโลกอีกด้วย กลุ่มประเทศอาเซียนที่โดดเด่นด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ติดต่อกับประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาถึงขีดสุดอย่างจีนและอินเดีย อีกทั้งค่าจ้างแรงงานฝีมือที่ถูกเมื่อเทียบกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ ในโลก ช่วงนี้อาเซียนก็ดูเนื้อหอมกว่าใครๆ ที่จะดึงดูดนักลงทุนจากหลายๆ ชาติให้เข้ามาร่วมวางรากฐานการเติบโตของภูมิภาคนี้

ประเทศต่างๆ ในอาเซียนต่างขยับตัวปรับกลยุทธ์เพิ่มเติมในการดึงดูดนักลงทุนดึงเงินตราเข้าประเทศของตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆ ในการตัดสินใจลงทุนแล้ว ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในประเทศนั้นๆ ก็เป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนอีกด้วย ช่วงนี้ประเทศเพื่อนบ้านของเราเริ่มส่งลูกหลานเข้ามาเรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยของไทยมากขึ้น ในขณะที่ไทยที่นอกจากจะมีคะแนนความตระหนักรู้ในการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียนน้อยที่สุดในภูมิภาคแล้ว ยังมีความสามารถในการสื่อสารภาษากลางทั้ง 5 ของโลกอย่างอังกฤษ จีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและสเปนได้น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างเราอีกด้วย นับถอยหลังจากเวลานี้เหลือเวลาไม่ถึง 3 ปีกับการเตรียมพร้อมกับการเป็นพื้นแผ่นดินเดียวกับเพื่อนร่วมประชาคมอีก 600 กว่าล้านคน คนไทยคงไม่สามารถยืนหยัดอยู่เองได้ด้วยการเข้าใจหรือพูดได้แค่ภาษาไทยภาษาเดียวอีกต่อไป คงเป็นงานหนักของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะช่วยกันให้ศักยภาพของไทยก้าวไปในอาเซียนทุกๆ ด้าน รวมไปถึงศักยภาพของคนไทยด้านภาษาที่จะใช้ได้ในระดับสากลอีกด้วย

สืบค้นดูก็พบหน่วยงานของมหาวิทยาลัยนึงที่เปิดตัวทำงานกับการพัฒนาภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียนกับภาคประชาชนพร้อมรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วก่อนใครๆ คือ สถาบันพัฒนาวิชาการด้านภาษา (Naresuan University Language Centre: NULC) มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เปิดอบรมภาษาอาเซียนพื้นฐานฟรีจนถึงเดือนกันยายนนี้

ขณะนี้ความต้องการแรงงานที่สามารถสื่อสารได้หลายภาษาโดยเฉพาะภาษาท้องถิ่นในภูมิภาคอาเซียนยังมีอีกมากและสร้างรายได้ที่ดีให้กับผู้ที่สามารถสื่อสารได้หลายๆ ภาษา ช่วงนี้เพื่อนชาวสิงคโปร์ที่รู้จักหลายคนเริ่มเรียนภาษาอาเซียนอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากภาษาจีน มลายูและอังกฤษที่พวกเค้าพูดได้กันอยู่แล้ว ดูเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับประเทศที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของอาเซียนอย่างประเทศไทยที่อาจจะเพลี่ยงพล้ำเสียทีประเทศอื่นๆ ให้แซงหน้าไปได้เพราะเรื่องพูดภาษาแบบเค้าไม่ได้ สื่อสารแบบเค้าไม่ได้เพียงเรื่องเดียว ถึงเวลานี้แล้วเราคนไทยคงต้องเริ่มกังวลกันแล้วค่ะ ว่าเหลือเวลาอีกแค่ 3 ปีนี้แล้วพวกเราจะเรียนภาษาอะไรเพิ่มกันดี? สู้ๆ ไปพร้อมๆ กันนะคะทุกคน 

 

หมายเลขบันทึก: 483125เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2012 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ช่วงนี้ ผู้เขียนมีเวลาเขียนบทความยาวๆ ในรูปแบบบล็อคน้อยลง สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูล หรือต้องการการแบ่งปันความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการค้าขายกับประเทศจีน และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน สามารถเขียนอีเมลมาพูดคุยกันหรือติดตามเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในการทำการค้าต่างประเทศผ่าน https://www.facebook.com/pages/International-Trade-Focus ในระหว่างที่ยังไม่มีบทความยาวฉบับใหม่ออกมาค่ะ จะพยายามเขียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้าในจีนหรืออาเซียนที่น่าจะเป็นประโยชน์ให้มากขึ้นเร็วๆ นี้ค่ะ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท