เทคนิคการสร้างแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ 11/1 ชาตรี สำราญ


ในตัวบ่งชี้ย่อยของแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นนั้น บางตัวบ่งชี้มีเนื้อหาสาระหรือสถานการณ์มากเกินไปที่ซ่อนอยู่ในตัวบ่งชี้หนึ่งข้อ คุณครูไม่สามารถนำสถานการณ์เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมเรียนรู้ได้ทั้งหมดแต่จำเป็นต้องดึงมาใช้บางสถานการณ์จะทำได้โดยดึงสถานการณ์เรื่องนั้นออกมา

11. คุยเรื่องบูรณาการสอนกันต่อไป

 

                ตอนต้นที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงว่า  ทำไมเราจึงต้องบูรณาการสอนและเราวิเคราะห์มาตรฐานช่วงชั้นหรือที่เรียกกันว่าวิเคราะห์หลักสูตรกันแบบใดแล้ว  บทต่อไปนี้ผมจะนำเข้าสู่การนำตัวบ่งชี้มาบูรณาการกันแล้ววิเคราะห์แบบบูรณาการสู่การสร้างบทเรียนเป็นหน่วยการเรียนรู้ และนำเขียนการเรียนรู้ย่อย ๆ ต่อไป

                ถ้าหากว่า คุณครูฝึกฝนวิเคราะห์ตัวบ่งชี้รายข้อย่อย ๆ จากมาตรฐานช่วงชั้นเป็นแล้ว   ดังที่ได้นำเสนอในตอนที่ผ่านมานั้น  ขั้นต่อไปเราก็มาเลือกตัวบ่งชี้จากแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ว่า  ตัวบ่งชี้ย่อยตัวใดของกลุ่มสาระใดสามารถนำมาบูรณาการต่างกลุ่มสาระอื่นได้   วิธีการเลือกตัวบ่งชี้ย่อยนั้น   เราดูตรงที่เนื้อความที่ซ่อนอยู่ในตัวบ่งชี้ย่อยแต่ละตัวนั้น  ซึ่งผมเคยเรียกว่า  ตัวสถานการณ์ที่จะนำให้นักเรียนเรียนรู้ หรือ k  นั่นเอง  มาเทียบเคียงเข้าด้วยกัน  ถามว่า “จำเป็นไหมที่หน่วยการเรียนหนึ่ง ๆ จะต้องบูรณาการให้ครบทั้ง  8  กลุ่มสาระ”  ขอตอบว่า ไม่จำเป็น  จงดูที่ความสมน้ำสมเนื้อของตัวบ่งชี้ย่อยเหล่านั้นว่าไปในทิศทางเดียวกันได้ไหม   การบูรณาการนั้นเราสามารถบูรณาการกันภายในกลุ่มสาระเดียวกันก็ได้ หรือจะบูรณาการต่างกลุ่มสาระก็ได้  มันอยู่ที่เรา  ขอให้เข้าใจว่า อยู่ที่เรา เป็นเรื่องของเรา

                ในตัวบ่งชี้ย่อยของแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นนั้น   บางตัวบ่งชี้มีเนื้อหาสาระหรือสถานการณ์มากเกินไปที่ซ่อนอยู่ในตัวบ่งชี้หนึ่งข้อ  คุณครูไม่สามารถนำสถานการณ์เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมเรียนรู้ได้ทั้งหมดแต่จำเป็นต้องดึงมาใช้บางสถานการณ์จะทำได้โดยดึงสถานการณ์เรื่องนั้นออกมา  ส่วนที่เหลือก็ปล่อยให้อยู่ในมาตรฐานเดิม  ผมแนะนำให้คุณครูถ่ายเอกสารตัวมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นแผ่น ๆ ตัดออก  เฉพาะช่วงชั้นของตน  เก็บรวมไว้เป็นกลุ่มสาระเป็นชุด  ๆ  และแต่ละแผ่นที่ตัดออกมาจะต้องเขียน

                สาระที่

                มาตรฐานที่

ไว้ที่แผ่นกระดาษนั้น  เพราะจะไม่สับสนเวลานำบูรณาการ  เมื่อตัดเอาเฉพาะกลุ่มสาระและแผ่นที่จะใช้แล้วมาพิจารณาดูว่า  ตัวบ่งชี้ย่อยข้อใดที่เรานำมาบูรณาการกับกลุ่มอื่นได้  ก็ตัดมาปิดไว้ในกระดาษ  เช่น

 

ตรงนี้คุณครูเขียนไว้เอง

สาระที่  2

มาตรฐานที่  ค.2.1

 

1. เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาว    ( กม.ม. ซ.ม. ม.ม) การวัดพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร , ตารางเมตร , ตารางเซนติเมตร , ตารางวา)

ส่วนนี้เราไม่ได้นำใช้กันในสถานการณ์นี้ จึงกรีดออกไปปะติดในกระดาษคู่กับตัวบ่งชี้อื่นของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เขียน

สาระที่  2

มาตรฐาน ค. 2.1 ข้อ 1 ไว้ด้วย

การวัดน้ำหนัก      ( เมตริกตัน , กิโลกรัม , ขีด , กรัม )

 

 

                หน่วยที่  5   เรื่องหมู่บ้านสงบสุข  ช่วงชั้นที่  2

สาระที่  3

มาตรฐาน ส.3.2

4. เข้าใจภาษาที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน

 

สาระที่  8

มาตรฐาน ว. 8.1

1.  ตั้งคำถามที่เกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องหรือสถานการณ์ที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้หรือตามความสนใจ

 

สาระที่  2

มาตรฐานที่  ค.2.1

 

1. เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาว    ( กม.ม. ซ.ม. ม.ม) การวัดพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร , ตารางเมตร , ตารางเซนติเมตร , ตารางวา)

 

จะเห็นได้ว่าในแต่ละแผ่นกระดาษของแต่ละมาตรฐานช่วงชั้นที่เราตัดปิดไว้ในแผ่นกระดาษนั้นจะมีตัวบ่งชี้ย่อยหลายข้อ เมื่อเราตัดมาเพียง 1 ข้อ หรือ 2 ข้อ ที่นำใช้ก็จะทำให้มีข้อที่เหลืออยู่  ให้คุณครูดำเนินการดังนี้

                1.  ตัวบ่งชี้ที่เหลืออยู่เพราะบูรณาการกับกลุ่มชั้นในเรื่องนี้ไม่ได้  นำไปปะติดไว้ในกระดาษที่เตรียมไว้  เขียน สาระที่.... มาตรฐานข้อที่.......ไว้ให้ชัดเจนเก็บรวมไว้กับกลุ่มสาระที่ยังไม่นำใช้  ส่วนที่เหลือคือเรื่องราวที่จะใช้พิจารณานำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ เพื่อสร้างเรื่องใหม่ต่อไป

                2.  ตัวบ่งชี้ย่อยที่ตัดออกมา  1  ข้อ หรือ  2  ข้อเพราะสามารถบูรณาการเข้ากับกลุ่มอื่นในเรื่องนี้ได้  นำมาปิดไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกันที่เตรียมหน่วยหรือเรื่องที่บูรณาการก็จะได้เป็นรูปภาพ ดังนี้

 

                สังคม                     ภาษาต่างประเทศ                คณิตศาสตร์

 

 

ศิลปะ                        ชื่อหน่วยนั้น ๆ                 ภาษาไทย

 

 

 

วิทยาศาสตร์                  การงานฯ                     สุขศึกษาและ

                                                                                พลศึกษา

ผมได้บูรณาการหน่วยการเรียนช่วงชั้นที่  2 ( ป.4-6) มาแล้ว  4  เรื่อง และเรื่องที่จะบูรณาการต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ 5  ผมจึงตั้งว่า หน่วยที่  5  เรื่อง  หมู่บ้านสงบสุข  ชั้น ป.4-6   โดยที่ผมได้เลือกตัวบ่งชี้ย่อยของแต่ละกลุ่มสาระมาปะติดเรียงกันดังตัวอย่างข้างบน  แต่เพื่อความสะดวกในการจัดทำและชัดเจนในการอ่าน ขอนำมาเขียนเรียงกันดังนี้ก่อน

                สาระที่  6  ทักษะ / กระบวนการทางคณิตศาสตร์

                มาตรฐาน  ค.6.4

  1. นำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงในการเรียนรู้เนื้อหาต่าง ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นได้

สาระที่ 2  การวัด

มาตรฐาน  ค.2.1

1.  เข้าใจเกี่ยวกับการวัดความยาว (กิโลเมตร  เมตร  เซนติเมตร  มิลลิเมตร  วา )  การวัดพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร  ตารางเซนติเมตร  ตารางวา )  การวัดน้ำหนัก ( เมตริกตัน  กิโลกรัม  ขีด  กรัม )  และการวัดปริมาตร (ลูกบาศก์เมตร  เซนติเมตร  ลิตร  มิลลิลิตร  ถัง เกวียน )

            <-- ตัดออกไปปิดไว้ที่อื่นเพราะไม่นำบูรณาการ

 

              สาระที่  2  การเขียน

                มาตรฐาน  ท.2.1

1.  สามารถเขียนเรียงความ  ย่อความ  ชี้แจงการปฏิบัติงานการรายงาน  เขียนจดหมายสื่อสารได้เหมาะกับโอกาสและจุดประสงค์  เขียนเรื่องราวจากจินตนาการหรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง  รวมทั้งใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน

                สาระที่  3  การฟัง  การดูและการพูด

                มาตรฐาน  ท.3.1

2. สามารถสนทนาโต้ตอบ  พูดแสดงความรู้  ความคิด พูดวิเคราะห์เรื่องราว  พูดต่อหน้าชุมชนและพูดรายงาน  โดยใช้ถ้อยคำเหมาะแก่เรื่องและจุดประสงค์ตามหลักการพูด  มีมารยาทการฟัง การดูและการพูด

                สาระที่  3  เศรษฐศาสตร์

                มาตรฐาน  ส.3.2

4. เข้าใจภาษีที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน

                สาระที่  5  ภูมิศาสตร์

                มาตรฐาน  ส.5.1

1. เข้าใจมิติสัมพันธ์  เชิงทำเลที่ตั้ง ลักษณะทางกายภาพและกระบวนการของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดลักษณะกิจกรรมและปรากฏการณ์ในท้องถิ่น

                สาระที่  2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

                มาตรฐาน  ว.2.2

1.  สังเกต  สำรวจ  ตรวจสอบ  อภิปรายและอธิบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น  ผลของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์  แสดงแนวคิดและร่วมปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                สาระที่  4  เทคโนโลยีสารสนเทศ

                มาตรฐาน  ง.4.1

1. เห็นความสำคัญของข้อมูลและแหล่งข้อมูล

                สาระที่  1  ทัศนศิลป์

                มาตรฐาน  ศ.1.1

1. สื่อความคิด  จินตนาการ  ความรู้สึก  ความประทับใจด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างมั่นใจ

                สาระที่  1   ภาษาเพื่อการสื่อสาร

                มาตรฐาน  ต.1.2

1. ใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยใช้นวัตกรรมง่าย ๆ และสื่อเทคโนโลยีที่มีอยู่ในสถานศึกษา

                 สาระที่  4  การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค

                มาตรฐาน  พ 4.1

  1. วิเคราะห์ผลของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
  2. วิเคราะห์ผลกระทบของพฤติกรรมที่มีต่อการดำรงสุขภาพและการป้องกันโรค

ความจริงแล้วนั้น  เมื่อเรานำตัวบ่งชี้ย่อย (บางข้อ) ของแต่ละมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันมาร้อยเรียงเข้าเป็นหน่วยเดียวกันได้อย่างนี้  เราก็สามารถกำหนดเรื่องสอน  กำหนดกิจกรรมนำสอนได้แล้ว  เพราะเราเห็นทางที่จะเดินเรื่องต่อไปได้  แต่ตามหลักการเราทำอย่างนั้นไม่ได้  เราต้องวิเคราะห์มาตรฐานเหล่านั้นไปจนกระทั่งถึงสาระการเรียนรู้  ดังตัวอย่างในตอนต้นที่ผมทำให้ดู  ด้วยเหตุผลดังกล่าว  ผมจึงต้องวิเคราะห์มาตรฐานช่วงชั้นเสียก่อน  แต่ก่อนจะวิเคราะห์มาตรฐานช่วงชั้น  เราต้องตั้งชื่อหน่วยการเรียนก่อน

อ่านเป็นเล่มได้ที่ https://docs.google.com/docume...



หมายเลขบันทึก: 483101เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2012 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท