ชีวิตที่สุขสมบูรณ์


คุณค่าของชีวิตที่สำคัญคือการฝึกฝนตนเองสู่มนุษย์ระดับ 6 ของ Lawrence Kohlberg คือเป็นคนที่ทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน เส้นทางนี้เป็นเส้นทางแห่งกุศล จะทำให้ชีวิตเป็นชีวิตที่ดี

          ในการประชุม HA National Forum ครั้งที่ 13 ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้บรรยายในหัวข้อ "ชีวิตที่สุขสมบูรณ์"

          ชีวิตที่สุขสมบูรณ์อย่างยิ่งคือชีวิตที่ให้มากกว่าได้หรือมากกว่าเอา มากกว่าที่จะแสวงประโยชน์แก่ตัวเอง

          ชีวิตที่ดีเป็นชีวิตที่เรียนรู้ เพราะว่าโลกไม่แน่นอน  ชีวิตที่เรียนรู้จะเผชิญกับความไม่แน่นอนได้ดีกว่า  การเรียนรู้อยู่ที่ไหน  การเรียนรู้ไม่ได้มีแต่ในมหาวิทยาลัยหรือห้องเรียนหรือการฝึกอบรมเท่านั้น แต่มีอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วไปหมด

          การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ team learning, interactive learning through action แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ต้องมีการปฏิบัติเป็นหัวใจ จากการปฏิบัติทุกคนจะสัมผัส รู้สึก ทุกคนจะตีความแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน สิบคนทำด้วยกันแล้วมาพอตีความแล้วมาแลกเปลี่ยนกันมันจะไม่เหมือนกัน อันนั้นคือพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะเราสัมผัสแล้วเรารู้สึกไม่เหมือนกัน เราตีความไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีพลัง ที่งอกงามมากกว่าเรียนคนเดียว

       คนเรานั้นสามารถฝึกอารมณ์ของตัวเราเองได้ แต่ละคนจะมีพื้นฐานทางอารมณ์หรือมี style ของการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่ฝึกได้ พื้นฐานทางอารมณ์หรือการแสดงออกทางอารมณ์ มีทั้งที่ดี เป็น healthy emotion หรือ healthy feeling กับที่ไม่ดี (unhealthy) ก็ได้ เราสามารถฝึกตัวเราให้มีพื้นฐานทางอารมณ์ที่ healthy ได้ 

          ชีวิตที่สุขสมบูรณ์เป็นการเดินทางไกลที่ต้องพร้อมเผชิญสิ่งต่างๆ และใช้ประสบการณ์เหล่านั้นในการฝึกฝน ในการเรียนรู้ เพื่อที่จะให้เราสามารถเผชิญกับสังคมสมัยใหม่ที่เปลี่ยนไปเรื่อย พวกเราอยู่ในวงการสุขภาพจะคุ้นกับกระบวนการหมุนวงจร PDCA /CQIแล้วรวมตัวกันเรียนรู้เพื่อพัฒนา ที่เรียกว่า PLC (professional learning community) นั่นหมายความเราอยู่ในเส้นทางของการผูกมิตร เป็นชุมชน ร่วมมือกัน เป็นเครือข่าย  คุณค่าของชีวิตที่สำคัญคือการฝึกฝนตนเองสู่มนุษย์ระดับ 6 ของ Lawrence Kohlberg คือเป็นคนที่ทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน เส้นทางนี้เป็นเส้นทางแห่งกุศล จะทำให้ชีวิตเป็นชีวิตที่ดี

คำสำคัญ (Tags): #HA Forum 2012
หมายเลขบันทึก: 483025เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2012 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2012 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

"ชีวิตที่สุขสมบูรณ์อย่างยิ่งคือชีวิตที่ให้มากกว่าได้หรือมากกว่าเอา มากกว่าที่จะแสวงประโยชน์แก่ตัวเอง

ชีวิตที่ดีเป็นชีวิตที่เรียนรู้ เพราะว่าโลกไม่แน่นอน ชีวิตที่เรียนรู้จะเผชิญกับความไม่แน่นอนได้ดีกว่า "

ชอบจังเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะที่นำแนวคิดดีๆมาแบ่งปัน

เชื่อว่าในแวดวงของพวกเรา มีความคิดที่จะให้มากกว่าจะเอาอยู่แล้ว เพียงแต่ในบางช่วงบางเวลา การเอาตัวเองเป็นตัวตั้งอาจจะโผล่แหลมขึ้นมาเป็นครั้งคราว ถ้าค่อยๆ ฝึกให้มีความไวในการที่จะรู้เท่าทัน แล้วปรับสมดุลยึดตัวเองให้ลดลงสักหน่อย เราก็จะเข้าใกล้ชีวิตที่สุขสมบูรณ์มากขึ้นอีกนิดหนึ่ง

การหาความสุขจากสิ่งที่ตนเองมี รู้จักทำสุขให้ง่าย..ทำทุกข์ให้ยาก

พึ่งพอใจในสิ่งที่มี ยินดีกับสิ่งที่เป็น..

ความสุขก็อยู่ไม่ไกล.. อาจจะ.. เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ อีกแบบครับ

ขอบคุณมากครับ

ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ บางครั้ง อาจต้องปรับอย่างภาพข้างล่างนี้ครับ

การส่งเสริมให้ผู้อื่นนั้นมีความสุขย่อมเป็นการดี.....เมื่อเวลาเราได้เห็นรอยยิ้มที่เกิดจากความสุขของผู้อื่น....หัวใจของเราก็พลอบยิ้มไปอย่างมีความสุขด้วยเช่นกัน

ผมเห็นด้วย แต่ทำยากๆครับท่าน

 

....เส้นทาง....ของการผูกมิตร.... เป็นชุมชน... ร่วมมือกัน... เป็นเครือข่าย  ...คุณค่าของชีวิต...ที่สำคัญคือการฝึกฝนตนเอง.....สู่มนุษย์ระดับ


- ขอบคุณมาก ค่ะ...ท่านอจ. นพ.อนุวัฒน์

- หนู...ก็ทำอยู่..ทุกเดือน + ทุกปีนะคะ....แล้ว....KPI...ที่จะไปสู่การเป็นมนุษย์ระดับ 6 เมื่อไหร่.....จะไปถึงค่ะ อจ.หมอ




การถึงมนุษย์ระดับ 6 คงเป็นการปักธงสำหรับการเดินทาง และเป็นกุศโลบายเมื่อการขัดเกลาตนเองครับ

รออ่านบทความใหม่ของอาจารย์อยู่ค่ะ

อาจารย์ ค่ะ รออ่าน  บทความใหม่  ทวงถามอีกครั้งพูดถึง SHA Conference & Sharing “คุณภาพ คุณค่า คุณธรรม”ก็ได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท