ความท้าทายใหม่ของ Regional Economic Integration ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ตอนที่ 1)


การรวมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค(Regional Integration) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกปัจจุบันนี้ เพราะประโยชน์ของการรวมกลุ่มในส่วนภูมิภาคนี้นอกจากระหว่างประเทศสมาชิกจะได้สิทธิพิเศษภายในกลุ่มของตนแล้ว ในระดับระหว่างประเทศนั้น ยังเป็นการสร้างและเสริมอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจต่อประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มEU(European Union)

      ประเด็นร้อนในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศในตอนนี้ไม่ว่าจะ ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือทางโทรทัศน์ หรือทางวิทยุ คงหนีไม่พ้น เรื่องการที่ประเทศในกลุ่มอาเซียน(ASEAN หรือ The Association of Southeast Asian Nations)ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ อันได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า ได้เร่งมือที่จะดำเนินการจัดตั้ง Common Market อันเกิดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Reginal Economic Integration) ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุดเพื่อรองรับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจระหว่างประเทศภายใต้ชื่อว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community หรือ AEC)

     ประวัติความเป็นมา AEC(ASEAN Economic Community)

     แนวคิดกรอบความร่วมมือ(แบบเข้มข้น)ระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community หรือ AEC) ได้เริ่มขึ้นจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียน(ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เดือนพฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญประเทศกัมพูชา โดยนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ นายก๊ก จ๊ก ตง เป็นผู้เสนอเป้าหมายที่ชัดเจนในการกำหนดทิศทางทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในลักษณะประชาคมยุโรปในระยะเริ่มแรกและมอบหมายให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Minister: AEM) ศึกษารูปแบบและแนวทางในการนำไปสู๋ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

      รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM) ได้จัดตั้งคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน(High Level Task on ASEAN Economic Inregration : HLTF) อันมาจากปลัดกระทรวงการค้าประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ผลจากที่ประชุม AEM ครั้งที่ 35 เดือนกันยายน 2546 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย วันที่ 7 ตุลาคม 2546 พิจารณาให้ความเห็นชอบรูปแบบของ AEC ตามข้อเสนอแนะของ HLTF และได้ร่วมลงนามในปฎิญญาที่เรียกว่า"Bali Concord II หรือ Declaration of ASEAN Concord II" เพื่อรวมตัวกันจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเสาหลักในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ASEAN Community) และอีกสองเสาหลัก ได้แก่ เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง(Political and Security Pillar)  และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม(Socio-Cultural Pillar) ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวเพื่อก่อตั้งAEC ให้แล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) เจตนารมย์ของการรวมกลุ่มเป็น AECเพื่อใหอาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน รวมทั้งการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และแรงงานฝีมือ และการเคลื่อนย้านสินค้า บริการ และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรีมากขึ้น และเห็นชอบเรื่องการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขา (Priority Sectors)เป็นสาขานำร่อง ภายในปี ค.ศ. 2010(พ.ศ.2553)

     Priority Sectors 11 สาขานำร่อง โดยแบ่งตามความรับผิดชอบตามการจัดทำ Road Map ของแต่ละประเทศสมาชิกได้ดังนี้

     ประเทศไทยรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวและการบิน

     ประเทศพม่ารับผิดชอบด้านสินค้าเกษตรและการประมง

     ประเทศมาเลเซียรับผิดชอบด้านผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอ

     ประเทศอินโดนีเซียรับผิดชอบด้านยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้

     ประเทศฟิลิปปินส์รับผิดชอบด้านอิเล็กทรอนิกส์

     ประเทศสิงคโปร์รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

     และในปี ค.ศ. 2006 ก็ได้มีการเพิ่มเติม Priority Sectors อีกหนึ่งสาขาเป็นสาขาที่ 12 คือ สาขาLogistics 

     โดยมีการผ่อนปรนให้กับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม(CLMV)

 (ยังมีต่อค่ะ...โปรดติดตามนะคะ)

     เอกสารอ้างอิง :

Thitipha Wattanapruttipaisan.Priority integration sectors : performance and challanges. Bangkokpost  Tuesday: August 29 , 2006 page 12 Section 1 (Opinions and Analysis)

     Website :

http://www.mfa.go.th  (กระทรวงการต่างประเทศ)

http://www.itd.or.th/ (สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา)

http://www.dtn.moc.go.th/ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

 

 

 

    

หมายเลขบันทึก: 48288เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

     โดยความเห็นส่วนตัวของดิฉันที่พอจะประมวลได้จากควมคืบหน้าในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซี่ยน(บางส่วน)มีดังนี้

  • การรวมตัวในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ ASEAN  (Asian Economic Commumity : AEC)มิใช่ประเด็นใหม่ แต่เป็นประเด็นที่ประเทศพัฒนาแล้วได้นำมาสร้างความเข้มแข็งทางด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคของตนเป็นเวลานานแล้ว เช่น European Union(EU)  เป็นต้น
  • ผลจากแนวคิดของนายก๊ก จ๊ก ตง อดีตผู้นำสิงคโปร์ จุดชนวนให้เกิดการตื่นตัวและการเร่งรวมตัว(ณ เวลานี้อาเซียนได้ประชุมร่วมกันเร่งให้เกิดการรวมตัวให้เสร็จเร็วขึ้นจาก ค.ศ. 2020 เป็นค.ศ.2015 เพื่อให้กับการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนโดยเฉพาะการเปิดการค้าเสรี: Bangkokpost,อ้างแล้ว)ให้เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซี่ยน...เพราะผลดีที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวก็คืออำนาจในการต่อรองในการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งต่อกลุ่มทางเศรษฐกิจอื่น และประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะต่อรองในระดับทวิภาคีหรือพหุภาคี ทั้งการรวมตัวในระดับภูมิภาคดังกล่าวยังก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับมหาอำนาจใหม่คือ ประเทศจีนและอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเนื่องมาจากต้นทุนในการผลิตต่ำ(เช่น แรงงานราคาถูก เป็นต้น)จึงสร้างผลผลิตส่งออกไปเป็นสินค้าออกสู่ตลาดโลกได้เป็นจำนวนมากและเป็นสิ่งจูงใจจากนักลงทุนต่างประเทศที่จะมาทำการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศด้วยเหตุที่วัตถุดิบและต้นทุนการผลิตต่ำนี้เอง  ทั้งจีนและอินเดียเริ่มสร้างศักยภาพของตนโดยการเปิดการค้าเสรีกับประเทศต่างๆเป็นจำนวนมาก(หนึ่งในนั้นมีประเทศไทยด้วยว่าด้วยสินค้าเกษตรซึ่งประเทศไทยเสียเปรียบจีนมากในเรื่องการทุ่มตลาดสินค้าเกษตรคือ สินค้าเกษตรของจีนราคาต่ำกว่าผลผลิตภายในประเทศเสียอีก เช่น กระเทียม แอปเปิ้ล เป็นต้น) จึงทำให้สินค้าจีนซึ่งมีราคาถูกเข้าไปตีตลาดกับประเทศต่างๆได้มากเช่นกัน ซึ่งสินค้าบางประเภทมาซ้ำซ้อนกับประเทศสมาชิกอาเซี่ยนเป็นผู้ส่งออกทั้งยังมีปัญหาเรื่องราคาที่จีนขายได้ราคาต่ำกว่าในกลุ่มอาเซี่ยน...
  • ดังนั้นการรวมกันของกลุ่มอาเซี่ยน 10 ประเทศ ซึ่งมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปและให้โอกาสค่อยๆ เปิดเสรีทางการค้าและให้สิทธิพิเศษให้กับประเทศสมาชิกดั้งเดิมผู้ก่อตั้งซึ่งมีความพร้อมและประเทศสมาชิกใหม่โดยกำหนดเงื่อนเวลาไว้แตกต่างกันไปตามความสามารถทางเศรษฐกิจ  เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของอาเซี่ยนอย่างมากเลยทีเดียว  ...คงต้องรอดูต่อไปค่ะว่ามันจะเป็นไปในทิศทางใด สำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า หากว่าการรวมตัวดังกล่าวประสบความสำเร็จแล้ว อาเซี่ยนก็คงยืดอกด้วยความภูมิใจว่าอย่างน้อยก็มีเสียงที่ดังขึ้น...แต่มันจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่....เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่อาจคาดเดาได้...

ความรู้ จากการวิเคราะห์นี่ได้ประเด็นเลยครับ

ผมก็กำลังเรียนนิติ หากมีปัญหาอะไรก็ขอปรึกษาหน่อยนะครับ

  • ขอบคุณค่ะ และยินดีให้คำปรึกษาค่ะคุณตาหยู
  • และดิฉันดีใจที่บทความนี้ให้กับท่านผู้อ่านค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท