พลังใจในการสอนเรียงความ


" ถ้าเสร็จแล้ว ช่วยเอาของฉันขึ้นเว๊ปด้วยนะ วิว.."

           

                      

          " ถ้าเสร็จแล้วช่วยเอาของฉันขึ้นเว๊ปด้วยนะ วิว... "  "อืมม์ ! ..."  เด็กหญิงวนิดา จงงามวิไล หรือน้องวิวทำเสียงรับคำขอร้องของเพื่อนที่นั่งรออยู่ข้างๆ  ขณะที่มือกดแป้นพิมพ์อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อนำเรียงความของตนขึ้นเว๊ปไซต์ของครูดาหลา ซึ่งเป็นนามแฝงของครูประจำวิชาภาษาไทย ที่ตนเคยส่งงานอยู่เป็นประจำ

               เมื่อต้นปีการศึกษา 2554 เทศบาลจัดกิจกรรมประกวดเรียงความเนื่องในวันเข้าพรรษา โรงเรียนจึงประกาศเชิญชวนให้นักเรียนส่งเรียงความเข้าประกวด  ผู้เขียนสอนวิชาภาษาไทยชั้นป. 4 - ป.6 ก็ได้แจ้งข่าวนี้ให้นักเรียน พร้อมทั้งนำตัวอย่างการเขียนเรียงความมาให้นักเรียนฝึกเขียน จนทำให้นักเรียนได้ส่งเรียงความเข้าประกวดและได้รับรางวัลเป็นกำลังใจในการทำงาน  นักเรียนที่เหลือให้เขียนเรื่องเกี่ยวกับโรงเรียนประกอบภาพวาด  นักเรียนส่วนมากเขียนได้ดี  ต่อมาจึงให้เขียนเป็นเรื่องโดยบอกว่าต้องมี 3 ย่อหน้า คือ คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป  และแนะนำให้ดูตัวอย่างเรียงความของเพื่อนที่ชนะการประกวด ที่ติดไว้บนป้ายแสดงผลงานหน้าห้องเรียน  ผู้เขียนสังเกตเห็นเด็กหญิงปอยนั่งก้มหน้าร้องไห้ จึงเข้าไปนั่งใกล้และชวนคุย พร้อมทั้งให้ตอบคำถามของครู แล้วเชียนคำตอบลงในสมุด ทำให้ได้เรียงความ 1 เรื่อง ก่อนจะกลับบ้านได้สอนให้นักเรียนชายคนหนึ่งฝึกคิดและเขียนเรียงความได้ 1 คน นักเรียนที่เขียนเรียงความด้วยตนเองและนำส่งครู 2 คน  รวมเป็น 4 คน จากนักเรียน 19 คน....จะทำอย่างไรดีกับการสอนเรียงความระดับประถมที่ไม่ง่ายเลย   ทำให้ต้องย้อนกลับไปดูผลการสอบONET ปีที่ผ่านมา ผู้เขียนมารับช่วงสอนภาษาไทยป. 6 ในภาคเรียนที่ 2 ซึ่งมีนักเรียนในชั้น 37 คน  ผลการสอบ...ไม่อยากนึกถึง  ถ้าปีนี้มีการสอบเรียงความอีก เด็กๆจะทำอย่างไร   

             จากการวิเคราะห์วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ทำให้แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเก่ง 4 คน  กลุ่มปานกลาง  11 คน กลุ่มอ่อน 4 คน  จากการวิเคราะห์หลักสูตร สร้างหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ และได้จัดทำแบบฝึกการเขียนเรียงความ จำนวน 5 เล่มมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง พัฒนางานเขียน แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เรียงความ เรียงความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 19 คน ใช้เวลาฝึก 5 ชั่งโมง โดยใช้แบบฝึกวางไว้บนโต๊ะสำหรับนักเรียนทุกคน

                นักเรียนกลุ่มเก่ง 4 คน ครูมอบหมายให้เขียนเรียงความโดยตั้งชื่อเรื่องตามความสนใจ นักเรียนเขียนเรียงความในเรื่องที่ตนถนัด ถ้าสงสัยขั้นตอนการเขียนเรียงความขั้นตอนไหน ก็จะลุกมาหยิบแบบฝึกไปศึกษาด้วยตนเอง แล้วจึงลงมือเขียนจนเสร็จ นำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้เครื่องขยายเสียงช่วยในการอ่านเรียงความ และนำผลงานส่งครูทางเว็บไซต์ GotoKnow.org/krudala และติดที่ป้ายแสดงผลงานหน้าชั้นเรียน

              นักเรียนกลุ่มปานกลาง 11 คน ศึกษาแบบฝึกเล่มละ 1 ชั่วโมง เริ่มจากแบบฝึกการเขียนโครงเรื่อง แบบฝึกการเขียนคำนำ แบบฝึกการเขียนเนื้อเรื่อง แบบฝึกการเขียนสรุป และชั่วโมงสุดท้ายจึงนำมาเรียบเรียงเป็นเรียงความ 1 เรื่อง นักเรียนบางคนก็สามารถเขียนเรียงความได้ในชั่วโมงที่ 3 และชั่วโมงที่ 4 จึงได้นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ส่งงานทางเว๊บไซต์และติดที่ป้ายแดงผลงานหน้าชั้นเรียน

             กลุ่มอ่อน 4 คน ครูให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในการเลือกเรื่องที่จะเขียน ทุกคนชอบเขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง นอกจากจะดูองค์ประกอบของเรียงความแล้ว ยังให้คำแนะนำเรื่องคำยากที่เด็กถาม พร้อมทั้งตั้งคำถามกระตุ้นความคิดให้เขียนเรื่องตามความจริงที่เด็กต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นทราบ ส่วนการนำเสนอนั้นนักเรียนกลุ่มอ่อนทั้ง 4 คนก็มีความภาคภูมิใจในการนำเสนอเรื่องราวของตนที่เขียนเป็นเรียงความให้เพื่อนๆและครูได้รับฟังโดยการอ่านหน้าชั้นเรียน และขอความช่วยเหลือจากเพื่อนนำผลงานส่งทางเว๊บไซต์ของครู

                 ผู้เขียนรู้สึกภูมิใจมากที่สามารถฝึกนักเรียนที่ไม่มีทักษะในการเขียนเรียงความเลย ให้เขียนเรื่องเป็นเรียงความได้ด้วยตนเอง และยังสามารถนำผลงานส่งครูทางเว๊บไซต์ เป็นการเผยแพร่ความรู้ในการเขียนเรียงความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้อีกด้วย

              ติดตามผลงานการเขียนของนักเรียนได้จาก    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/451876                            

 

 

หมายเลขบันทึก: 482790เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2012 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

* ดีจังเลยค่ะที่ฝึกการเรียนรุ้ด้วยหลักคิดและปฏิบัติเช่นนี้..รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจดีๆอีกด้วย

* หากได้แลกเปลี่ยนกันอ่าน รวมทั้งเพิ่มการอ่านจากแหล่งอื่นทางออนไลน์มากขึ้น จะต่อยอดไปอีกได้มากขึ้น..ขอให้กำลังใจเยาวชนของน้องครูด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณIco48

  •   ขอบคุณที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ
  •   การฝึกให้เด็กเรียงลำดับความคิด  แล้วนำมาเขียนเป็นประโยคใจความสำคัญพร้อมทั้งเขียนขยายให้รายละเอียดสนับสนุนอย่างสมเหตุสมผล  ต้องใช้เวลาฝึกพอสมควรค่ะ
  • เด็กต้องมีความรู้จากการอ่านเป็นต้นทุนด้วยค่ะ 
  • เหนื่อยใจแทนไหมคะ
  • ขอบคุณค่ะ 

 

                           ***... เป็นวิธีการที่ช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนและพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมค่ะ  ชื่นชมนะคะ !...*** 

       
                                                         

สวัสดีค่ะ คุณ K. PuallyIco48

  •  ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจนะคะ
  •  การฝึกเด็กอย่างเป็นรูปธรรม คือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  โดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น กระบวนการกลุ่ม   การปฏิบัติจริง   ใช้เพลง  เกมส์ สื่อที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน   สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
  • มีความสุขกับการเตรียมจัดกิจกรรมให้เด็กๆนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

สุขวันต์วันปีใหม่ไทยนะครับ ด้วยความระลึกถึงเสมอครับ

ชอบ ชื่นชมเทคนิคการสอนนี้ค่ะ อยากสมัครเป็นลูกศิษย์บ้าง เด็กๆได้เรียนรู้ ลองทำดู คิดว่าคงจะได้ประเมินตนเองไปในตัวด้วยค่ะ สุขสันต์ในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ไทยค่ะพี่ครู

สวัสดีค่ะ คุณหมอทิมดาบ Ico48 คุณพี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณIco48 

และน้องอุ้ม ถาวรIco48

       ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำอวยพรวันปีใหม่ไทย  และภาพขันน้ำที่มีความหมายถึงการเล่นน้ำในวันสงกรานต์ ให้ความรู้สึกเย็นฉ่ำดับร้อนได้ดีมากค่ะ ขอให้ทุกท่านมีความสุขสดชื่น ในเทศกาลเดือนแห่งปีใหม่ไทยโดยทั่วกันนะคะ

      ขออภัยที่มาตอบช้าเพราะภาระกิจบางประการ  คือน้องชายไม่สบายต้องให้กำลังใจในการรักษาค่ะ  แต่ยังระลึกถึงทุกท่านอยู่เสมอค่ะ

                          ขอบคุณค่ะ

     

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท