กิจกรรมบำบัด กับโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke)


โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่ติดอันดับโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตในระดับต้นๆของประเทศไทย ดังนั้นนอกจากสภาพร่างกายที่สูญเสียสมรรถภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบทางจิตใจอีกทำให้มีผลต่อคุณภาด

Cerebrovascular accident (Stroke) หรือมีชื่อภาษาไทยว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุเกิดจากเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองเกิด แตก ตีบ ตัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หลักใหญ่ๆ 2 ตำแหน่งคือ

Internal carotid

anterior circulation

  • anterior cerebral artery (ACA) : อ่อนแรง,สูญเสียการรับความรู้สึกซีกตรงข้ามกับพยาธิสภาพ ขาจะมีอาการมากกว่าแขน
    • Middie cerebral artery (MCA) : อ่อนแรง,สูญเสียการรับความรู้สึกซีกตรงข้ามกับพยาธิสภาพ แขนจะมีอาการมากกว่าขา

posterior circulation : ผิดปกติด้านการมองเห็น การกลืน พูดไม่ชัด

ระยะฟื้นตัว

  • Flaccid stage : กล้ามเนื้ออ่อนแรงปวกเปียก ไม่มีความตึงตัว
  • Spastic stage : reflex ต่างๆกลับคืนมาและไวกว่าปกติ กล้ามเนื้อมีความตึงตัวสูงแบบหดเกร็ง เคลื่อนไหวแขนขาแบบหยาบๆ (mass pattern)
  • Recovery stage : mass pattern และ spasticity ลดลง สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวแต่ละข้อได้ดีและสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่อาจมีปัญหาการเคลื่อนไหวที่ละเอียด และความคล่องแคล่ว

ปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัว

  • การพยากรณ์โรคขึ้นกับ ตำแหน่ง และ ขนาดของพยาธิสภาพ
  • ผู้รับบริการที่อยู่ในระยะ flaccid หรือมี spastic รุนแรงเป็นเวลานาน(มากกว่า2เดือน)การฟื้นสภาพการเคลื่อนไหวจะไม่ดี
  • การฟื้นตัวด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวมักจะเริ่มจากส่วนต้นไปสู่ส่วนปลาย
  • การฟื้นตัวอาจหยุดอยู่เพียงระยะใดระยะหนึ่ง
  • การฟื้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นรวดเร็วภายใน 3 เดือนแรก

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  • จัดท่าที่เหมาะสม  ป้องกันข้อติด maintain ROM คิดเครื่องมือประคองหัวไหล่ขึ้นมา อาจเกิดปัญหาไหล่หลุดตามมา (แขนไม่มีแรง)
  • ปรับและสอนการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะกับความสามารถ  จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม  อาจมี splint จัดท่าที่ถูกต้อง ลด spastic
  • ส่งเสริมให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง อาจใช้เทคนิค มือเดียว, ใช้ส่วนดีทดแทนส่วนที่บกพร่อง, ใช้อุปกรณ์ช่วย, ฝึกทำซ้ำ, สงวนพลังงานป้องกันการเหนื่อยล้า, ลดชั้นตอนหรือทำงานให้ง่ายขึ้น
  • นักกิจกรรมบำบัดประเมินความสามารถทางร่างกาย จิตใจ สังคม
  • การเรียนรู้ของผู้รับบริการ เพื่อนำไปวางแผนบำบัดฟื้นฟู
  • พร้อมทั้งมีการประเมินซ้ำเพื่อพัฒนาและปรับให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 482424เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2012 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท