การสร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยว


ประเทศไทยตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมของประเทศต่างๆในเอเชีย

การสร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยว

หนึ่งประเทศไทยตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางน้ำและทางอากาศ หากจะมองแผนที่ประเทศไทย ไม่ว่าจะจากด้านตะวันออกของทวีป คือ แถบบริเวณประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ละเรื่อยลงมาถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง ประเทศแถบอินโดจีน หรือมองไปทางประเทศที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค ต่ออกไปทางแถบประเทศด้านทิศตะวันตกของไทย นับจากพม่า อินเดีย ไปจนจรดประเทศแถบตะวันออกกลางเหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตกของทวีป ประเทศไทยจะอยู่ในระยะทางที่เป็นศูนย์กลางพอดี

 

สองหากจะมองด้านขนาดของประเทศ พื้นที่ของประเทศไทยไม่ใหญ่ไม่โตนัก ขณะเดียวกัน ก็ไม่เล็กเกินไปจนเดินทางทั่วถึงได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ความพอดีของขนาด ทำให้หากจะเดินทางภายในประเทศให้ไปถึงแต่ละภูมิภาค จึงพอเหมาะพอควร

 สามสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นภาคส่วนของขุนเขาสูง ทอดเทือกยาวสลับซับซ้อน ที่ราบลุ่มและพื้นที่ราบหลายขนาด ห้วยหนองคลองบึงชายฝั่งทะเลที่ยาวเหยียดราว 2,500 กิโลเมตร เกาะแก่งต่าง ๆ สวยงาม น้ำทะเลใส หาดทรายสวย อุณหภูมิและสภาพดินฟ้าอากาศ พอเหมาะที่ทำให้เกิดมีความหลากหลายทางชีวภาพของโลกใต้น้ำ สภาพทางธรรมชาติจึงมีความงดงามน่าชมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค

 สี่ความแตกต่างกันในลักษณะพื้นที่ กำหนดให้ผู้คนในแต่ละภูมิภาค มีวิถีชีวิตที่ดำรง และขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกันกลายเป็นเสน่ห์ เป็นสีสันของแผ่นดินที่น่าสัมผัสเรียนรู้

 องค์ประกอบหลักสี่ประการที่กล่าวมา เป็นเงื่อนไขหลักที่ทำให้เมืองไทย เป็นอีกดินแดนหนึ่งของโลกที่อยู่ในสายตาของนักท่องเที่ยวนานาชาติ เป็นที่หมายมาดว่าจะมาเที่ยวเมืองไทยบ้าง

 วัฒนธรรมไทยที่ตกผลึกเป็นวิถีชีวิตและการคิดคำนึง มีหลายอย่างที่เป็นข้อดีแห่งชนชาติ โดยเฉพาะรอยยิ้มที่แสดงถึงจิตใจและมิตรไมตรีที่มีให้กับผู้อื่น จนได้สมญาว่า "THE LAND OF SMILES" ดินแดนแห่งยิ้มสยาม

 จุดท่องเที่ยวเป็นตัวสินค้าหลักในจำนวนองค์ประกอบของจุดขายด้านท่องเที่ยว ที่ข้อเขียนนี้จะมองลงไป จุดท่องเที่ยวมีอยู่สองชนิดใหญ่ ได้แก่

จุดท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นแหล่งที่เกิดขึ้นจากความสมดุลแห่งภาวะความเป็นไปของโลก หากมีการล่วงล้ำก้ำเกินจนสภาวะสมดุลเปลี่ยนแปลงไป ย่อมหมายถึงสภาพธรรมชาตินั้นก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งก็คือความทรุดโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ใครคือผู้ทำลายกฎเกณฑ์แห่งความเป็นไป มนุษย์นั่นเอง ในกรณีนี้หมายถึง ทั้งตัวของนักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบจุดท่องเที่ยวนั้น ๆ ทั้งผู้รับผิดชอบที่เป็นอำนาจรัฐและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการท่องเที่ยวหากจะมีการเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวก็เกิดจากการกระทำที่กลายเป็นวัฒนธรรมของผู้คน เช่น การขีดเขียน สลักชื่อและถ้อยคำต่าง ๆ บนจุดท่องเที่ยว การทิ้งขยะ การหักล้าง ทำลายพฤกษ์พรรณและอื่น

"ขยะในมือท่านลงถังเถอะครับ"ข้อความลักษณะนี้เป็นความพยายามในเชิงขอร้องและตักเตือน แต่กับแหล่งท่องเที่ยว จะต้องมีการจัดการให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติ จนสามารถกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ด้านการท่องเที่ยว ข้อเขียนนี้จะขอกล่าวยกเป็นตัวอย่างสักกรณีหนึ่งที่เป็นตัวอย่างของการจัดการด้านขยะในแหล่งท่องเที่ยว

 บนจุดดสูงแห่งภูที่เป็นจุดท่องเที่ยวชมวิวธรรมชาติ นักท่องเที่ยวถูกกำหนดห้ามนำอาหารหรือแม้แต่ลูกอมหรือน้ำดื่มที่มีขวดทุกวัสดุจากภายนอกขึ้นไปเลย จะต้องซื้อสิ่งเหล่านี้จากจุดขายของแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น และราคาที่ขาย ก็สูงกว่าราคาในท้องตลาดด้วย แต่มีข้อแม้ไว้ว่า เมื่อนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าไป และนำเศษหีบ ห่อหรือวัสดุบรรจุภัณฑ์มาคืนที่จุดขายนั้น จะได้รับการตีเป็นมูลค่าเงินคืน ที่เมื่อเทียบเป็นราคาสินค้าที่ซื้อครั้งแรกนั้น จะถูกกว่าท้องตลาดมาก นักท่องเที่ยวต่างจะต้องพยายามนำเศษ(ขยะ) ลงมาเพื่อแลกเป็นเงินคืนการจะต้องมีจุดทิ้งขยะ หรือการจัดการอื่นก็ไม่มีความจำเป็นไป

หมายเลขบันทึก: 482163เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท