กิจกรรมบำบัด กับ Intellectual Disabilities (ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา )


ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา คือ ภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีผลทำให้กิจวัตรประจำวันการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปจากคนปกติ ทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านี้นั้นเปลี่ยนไปในด้านลบ ดังนั้น การรู้และเข้าใจเพื่อการบำบัดฟื้นฟู ของกิจกรรมบำบัดจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และความเป็นอยู่ที่ดีในวัยผู้ใหญ่ต่อๆไป

Intellectual  Disabilities (ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา )

  ภาวะนี้ คือภาวะที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยสากลที่กำหนดเอาไว้ ต้องมีพฤติกรรมการปรับตนเองที่มีความบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมดพฤติกรรม 10 ด้าน และมีอาการแสดงพฤติกรรมก่อนอายุ 18 ปี

พฤติกรรมการปรับตัวทั้ง 10 ด้าน ประกอบไปด้วย

1.   Communication
2 .  Self-care
3.   Home living
4.   Social and Interpersonal Skills
5.   Use of Community Resources
6.   Self- direction
7.   Functional Academic Skills
8.   Leisure
9.    Work 
10. Health and Safety

สาเหตุ

1. ปัจจัยทางพันธุกรรม:  กลุ่มอาการดาวน์

2.  ความผิดปกติในระหว่างการพัฒนาของทารกในครรภ์ 

3. ปัญหาต่างๆในระยะตั้งครรภ์และคลอด

4. ปัญหาต่างๆในระยะหลังคลอด 

5. ปัจจัยต่างๆจากสิ่งแวดล้อมและความผิดปกติทางจิต

อาการแทรกซ้อน

ความพิการซ้ำซ้อน  ปัญหาพฤติกรรมไม่เหมาะสม ออทิสติก โรคลมชัก เป็นต้น

เครื่องมือประเมินพัฒนาการ เช่น

  • แบบทดสอบ Denver II
  • The Goodenough-Harris Drawing Test 
  •  Gesell Drawing Test 
  • แบบทดสอบ Capute Scales   (CAT/CLAMS)
  •  แบบทดสอบ Bayley Scales of infant Development

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

ใช้การวิเคราะห์และพิจารณาปัจจัยต่างๆ รอบด้านผู้มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาของเด็ก โดยใช้กรอบอ้างอิง OPP

Occupational    Performance  Profile แบ่งออกเป็น 3 ด้าน

1.Performance  areas

A.  Activity of daily living

                ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้บ้าง แต่น้อยกว่าเด็กปกติ มีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟูที่ดี อาจต้องดูแลจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่  การรับรู้ถึงภัยอันตรายน้อย ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้นโดยลำพังได้ มีปัญหาทางด้านสังคม จากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

B. Work and Productive activity

               ทำงาน และกิจกรรมได้เฉพาะที่มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่ซับซ้อน บกพร่องในทักษะการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับมิติสัมพันธ์   (visuo-spatial processing skills) สามารถเรียนได้ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือสูงกว่า เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่เมื่อประสบปัญหาต้องมีผู้อื่นช่วยเหลือในแนวทางการแก้ไข

C.  Play or Leisure

               กิจกรรมยามว่างส่วนใหญ่จะเป็นการพักผ่อน   เล่นเพียงลำพัง  ขาดสมาธิจดจ่อ เปลี่ยนกิจกรรมบ่อยครั้ง

2.Performance Component

- พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย  (motor development) ช้ากว่าวัย

- มีความพิการทางระบบประสาทส่วนกลาง  (central nervous system) ด้วย ทำให้มีการเกร็งของแขน ขา ลำตัว

- การทำงานของตาและมือให้ประสานกัน (eye-hand co-ordination)

- มีอาการซน สมาธิสั้น แยกตัวจากกลุ่ม มีโลกของตัวเอง เหม่อลอย 

 3.  Performance context

                ปรับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสภาพบ้าน ให้เหมาะสมต่อการฟื้นฟู และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และเอื้อในการทำกิจกรรม คนที่ใกล้ชิดโดยเฉพาะครอบครัวต้องดูแลเอาใจใส่เด็กในภาวะนี้เป็นพิเศษ

      เมื่อได้องค์ประกอบจากกรอบอ้างอิงครบแล้ว ก็ตั้งเป้าหมายโดยหากิจกรรมต่างๆมาช่วยบำบัดฟื้นฟู เช่น การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก  ฝึกการทำงานของตาและมือให้ประสานกัน   (eye-hand co-ordination) ฝึกการพูดและสื่อความหมายเพื่อให้สามารถสื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ให้เรียนรู้ถึงสมรรถภาพด้านอาชีพ และการเรียนรู้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 482128เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2012 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท