กิจกรรมบำบัด กับโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)


พาร์กินสัน เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียกว่า โรค “สั่นสันนิบาต” โรคพาร์กินสันนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าการผิดปกติของการเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวร่างกายและมีอาการอื่นควบคู่ด้วย ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงสุขภาวะของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย

Parkinson’s disease

        เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท คนไทยเรียกว่า โรคสั่นสันนิบาต มีผลทำให้มีความผิดปกติของการเคลื่อนที่ และเคลื่อนไหวร่างกาย

สาเหตุของโรค

 เกิดจากการตายของ substantia nigra ซึ่งมีการผลิตโดปามีน ทำให้สูญเสียความสมดุล เนื่องจากสารโดปามีนควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น

อาการของโรค

  • อาการสั่นและอาการเกร็ง
  • อาการเคลื่อนไหวช้า
  • การทรงตัวไม่ดี เดินในท่าผิดปกติ
  • ใบหน้าเฉยเมย (เสื้อยิ้มยาก) น้ำลายสอมุมปาก

อาการแทรกซ้อน

                ท้องผูก ท้อแท้เศร้าซึม อ่อนเพลีย ภาวะสมองเสื่อม

การป้องกันโรค

  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามอย่าเครียด ทำใจให้ผ่อนคลาย
  • เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ทานวิตามินบำรุงสมองหรืออาหารที่มีวิตามินบีสูง
  • ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ตรวจร่างกายทุกปี

บทบาททางกิจกรรมบำบัด

สำหรับผู้ป่วย Parkinson’s disease วิเคราะห์ปัจจัยโดยใช้กรอบอ้างอิง MOHO ดังนี้

  1. Volition (เจตจำนงของผู้ป่วย) มีรายละเอียดคือ

  • Confidence ; การเสริมสร้างความมั่นใจของผู้ป่วย โดยใช้กิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจเป็นแรงกระตุ้น ซึ่งปัจจัยนี้ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงาน
  • Interest ; ความสนใจต่อกิจกรรมหรือสิ่งต่างๆ สิ่งกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยจะทำในสิ่งที่สนใจได้ดี และมีความพึงพอใจ

  2. Habituation (อุปนิสัยของผู้ป่วย) มีรายละเอียดคือ

  • Self-care ; การดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน  (ADL) โดยจะให้ความสำคัญกับกิจวัตรประจำวันพื้นฐานก่อน เช่น การขับถ่าย อาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหาร แต่งตัว เคลื่อนย้ายตัว เป็นต้น
  • Productivity ; จะกล่าวถึงเกี่ยวกับบทบาทที่ทำเป็นประจำ หรือมีผลงานที่สามารถเห็นได้ โดยอาจมีความเชื่อมโยงกับเจตจำนงของผู้ป่วย โดยผลผลิตอาจมาจากความสนใจ และความพึงพอใจ
  • Leisure ; การพักผ่อนและกิจกรรมยามว่าง เป็นสิ่งสำคัญเพื่อลด ป้องกันอาการแทรกซ้อน และเพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักผ่อน พร้อมสำหรับการฝึก บำบัดฟื้นฟูต่อๆไป  

3. Performance (ความสามารถของผู้ป่วย) มีรายละเอียดคือ

  • Interpersonal skill ; ผู้ป่วยสามารถทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ และใกล้ชิดกับคนรอบข้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการซึมเศร้าแทรกซ้อน หรือกังวลกับอาการของโรค
  • Cognitive ability ; พัฒนาทักษะระดับสติปัญญา ความรู้คิด โดยการเล่นเกมส์ที่มีการใช้ตรรกะในการเล่นเกมส์
  • Physical ability ; พัฒนา บำบัด ฟื้นฟูการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติไป รวมทั้งพัฒนาสภาพจิตใจให้อยู่ในแง่บวกตลอดเวลา ป้องกันการเกิดข้อติด หรืออาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น

4. Environment (สิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย) มีรายละเอียดคือ

  • Physical environment ; สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ควรจัดให้เหมาะสม ควรจัดของเป็นระเบียบ และมีระยะห่างพอสมควร เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการสั่น การควบคุมอาจทำได้ไม่ดี และควรระมัดระวังสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยด้วย
  • Social support ; การสนับสนุนทางสังคม  ควรสร้างโอกาสให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในสังคมกับกิจกรรมต่างๆ การสนับสนุนเกี่ยวกับผู้ผิดปกติทางร่างกายของรัฐบาลควรกระจายอย่างทั่วถึงกับผู้ป่วย รวมไปถึงสิทธิ์ที่ควรได้รับต่างๆ

    สิ่งที่ผู้ป่วยควรได้รับคืออุปกรณ์เสริมเพื่อทดแทนการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่น้อยลงของผู้ป่วย เช่น ไม้เท้า , weight cuff, แป้นพิมพ์ขนาดใหญ่ เป็นต้น และต้องได้รับการฝึกการใช้งานจากนักกิจกรรมบำบัด นอกจากนั้นควรฝึกการสื่อสารเพื่อให้บอกในสิ่งที่ตนต้องการได้ เน้นความปลอดภัยในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย และลดขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้ทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง จากนั้นก็ทำการประเมินซ้ำ เพื่อพัฒนาเป้าประสงค์ และคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 482108เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2012 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท