กิจกรรมบำบัด กับโรคเบาหวาน(Diabetes)


เบาหวาน เป็นโรคยอดนิยมของคนในสังคมไทย โดยเฉพาะวัยชรา การรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวานจึงสำคัญในการให้คำแนะนำ และบำบัดรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โรคเบาหวาน(Diabetes)

            โรคนี้เกิดจาก ความผิดปกติของฮอร์โมน Insulin ซึ่งซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผลาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรท มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เมื่อฮอร์โมนนี้ขาดร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้ จึงมีน้ำตาลในเลือดสูง และปล่อยออกมาทางปัสสาวะ

อาการของโรคเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อย และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
  • หิวน้ำบ่อย
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ทั้งที่ยังกินเก่งและหิวเก่ง
  • อาการอื่นๆ ที่อาจเกิด เช่น การติดเชื้อ แผลหายช้า  คันตามผิวหนัง เห็นภาพไม่ชัด  ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาเจียน

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

  • กรรมพันธุ์  มีญาติ ครอบครัวเคยเป็น
  • อ้วน (มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25)
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 mmHg
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อายุมากกว่า45ปี

            ควรที่จะได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 ปี

 

ชนิดของโรคเบาหวาน

  1. เบาหวานชนิดที่หนึ่ง [Type 1 diabetes,immune-mediated ]  >>เกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไปทำลายเบต้าเซลล์ เกิดอาการรุนแรงได้ง่าย จำเป็นต้องใช้อินซูลินในการรักษา
  2. เบาหวานชนิดที่สอง  [Type 2 diabetes,noinsulin dependent]  >> เกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อ้วน มักจะมีโรคแทรกซ้อนแล้วร้อยละ50  สาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน มีอาการเล็กน้อย
  3. เบาหวานชนิดอื่นๆตามสาเหตุ >> ชนิดนี้จะพบไม่บ่อย
  4. เบาหวานที่เป็นขณะตั้งครรภ์ [ Gestation diabetes ]

โรคแทรกซ้อน

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคตา
  • โรคแทรกซ้อนที่ขา
  • โรคแทรกซ้อนทางไต
  • โรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับระบบประสาท
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคแทรกซ้อนที่ผิวหนัง
  • โรคเครียด
  • โรคเบาหวานและสุขภาพปาก
  • โรคแทรกซ้อนฉุกเฉิน

 

 บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

ประเมินผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยใช้กรอบอ้างอิง Biopsychosocial model ในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยดังนี้

Biopsychosocial model 

 Biological: ฮอร์โมน Insulin ในร่างกายผิดปกติ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง, และเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง รวมถึงเมื่อเกิดบาดแผลจะทำให้แผลนั้นหายได้ยาก, บางคนมีโรคอ้วนเกิดขึ้นร่วมด้วย ทำให้มีอาการล้าในการทำกิจกรรม มีปัญหากับกระดูกและข้อต่อ

Psychological: ความเครียดจากสภาพจิตใจไม่ควรให้เกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเบาหวานมักจะมีโรคความดันสูงร่วมด้วย อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ การสร้างความคิดในการควบคุมน้ำตาลจากการกินก็มีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น

Sociological : อาหารจานด่วนจากตะวันตก เป็นค่านิยมที่สร้างให้บริบทสังคมไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น และคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วก็ทำให้แย่ลงไปอีก

จากนั้นก็ประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ว่าสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ หรือลดลง ถ้าลดลงให้ทำการให้แผนการบำบัดฟื้นฟูตามส่วนที่สำคัญให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้

ให้คำแนะนำทั้งผู้ป่วย และญาติเกี่ยวกับโปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับนักกายภาพบำบัด รวมถึงการจัดท่าทางในการนั่ง – นอนเพื่อป้องกันแผลกดทับ

ปรับสภาพแวดล้อมต่างๆให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้แรงมากในการเอื้อมหยิบจับ และลดกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก ควบคุมเมนูอาหารให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และเมื่อทำการให้คำแนะนำ บำบัดฟื้นฟูแล้ว ก็นัดผู้ป่วยกลับมาประเมินอีกรอบเพื่อดูผลลัพธ์ การตั้งเป้าประสงค์ที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเบาหวาน

หมายเลขบันทึก: 482020เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2012 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท