งานมอบหมาย: คาเฟอีนและนิโคตินมีผลอย่างไรต่อกายและจิต


บุหรี่-ชา-กาแฟ... ผลแย่ๆ เยอะ!! ]:

คาเฟอีน (Caffeine)  และนิโคติน (Nicotine)

เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Stimulants) เหมือนกัน โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system: CNS)

คาเฟอีนประกอบอยู่ในเมล็ดกาแฟ ใบชา ผลโคล่า ช็อกโกแลต เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มให้พลังงาน และยาแก้ปวด ส่วนนิโคตินประกอบอยู่ในใบยาสูบ

คาเฟอีนในกาแฟเป็นคาเฟอีนธรรมชาติที่มีฤทธิ์กระตุ้นต่อร่างกายชั่วคราวให้ร่างกายใช้พลังงานสำรอง(ไขมัน) โดยต้านการสลายของ c-AMP ที่ทำให้ต้องเพิ่มการสลายไกลโคเจนไปเป็นกลูโคส นอกจากกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแล้ว ยังกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง(โดยเฉพาะส่วน Cerebral และ Medulla oblongata) และหัวใจโดยการไปยับยั้งการทำงานของอะดีโนซีน (Adenosine) ทำให้ปริมาณสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้สมองตื่นตัวและมีสารซีโรโทนิน (Serotonin) ที่ทำให้เกิดความรู้สึกพอใจและมีความสุขเพิ่มขึ้น

การดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูงจะมีผลรบกวนการนอนและเร่งให้เกิดอาการแพนิค (Panic) ได้ มีอาการหงุดหงิดวิตกกังวล ปัสสาวะบ่อย ปวดศีรษะ ใจสั่น ปวดท้อง ท้องเสียได้ และอาจพบอาการมองเห็นจุดของตา หูแว่ว รู้สึกหายใจไม่ออก นิ้วมือ-นิ้วเท้ารู้สึกซ่าๆ มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ได้บ้าง

คาเฟอีนใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ กระตุ้นทารกที่คลอดก่อนกำหนดและหยุดหายใจแล้วกว่า 20 วินาทีให้ฟื้น ซึ่งได้ผลไม่แน่นอน มีการใช้ผสมกับยาเออร์กอท (Ergot) เพื่อรักษาไมเกรน และนานๆครั้งแพทย์จะใช้กับคนไข้ที่ถูกพิษบางชนิดที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท ทำให้คนไข้ง่วงซึมและหายใจไม่ค่อยได้

ภาวะพิษจากคาเฟอีน (Caffeine toxicity) เกิดจากการได้รับคาเฟอีนปริมาณมากกว่า 400 มิลลิกรัม และอาจเสียชีวิตหากได้รับคาเฟอีนขนาด 150-200 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งให้การรักษาตามอาการ ถ้าเป็นมากอาจล้างท้องหรือฟอกเลือด ในการรักษาผู้ที่ติดคาเฟอีนทำได้โดยค่อยๆลดปริมาณคาเฟอีนที่ดื่มลงและหยุดดื่มในที่สุด ไม่ควรหยุดในทันทีเพราะจะทำให้เกิดอาการถอนรุนแรง ในผู้ที่เริ่มลดปริมาณคาเฟอีนอาจมีการแทนที่คาเฟอีนด้วยเครื่องดื่มที่พร่องคาเฟอีน

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการได้รับคาเฟอีน คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีประวัติหัวใจขาดเลือดมาก่อนหรือมีอาการหัวใจขาดเลือดกำเริบ ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้าแบบสองขั้ว (Bipolar disorder) และผู้ป่วยโรคจิตเภท รวมทั้งผู้ที่อยู่ในช่วงการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรในการทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองภายใน 7 วินาที นาน 5-120 นาที ทำให้เกิดการหลั่งสารอะซิติลโคลิน (Acetylcholine)  นอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine)  โดปามีน (Dopamine)  และ เบต้า-เอนโดรฟิน (Beta-Endorphin) เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปจับกับตัวรับแอเซทิลโคลีนแบบนิโคตินิก (Nicotinic acetylcholine receptors) จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารโคตินิน (Nicotinin) ซึ่งจะยังคงอยู่ในกระแสเลือดนาน 48 ชั่วโมง บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคติน 0.1-2.8 มิลลิกรัม

สารนิโคตินเป็นพิษกับระบบประสาท ผลของการจับกันระหว่างนิโคตินในปริมาณน้อยกับตัวรับทำให้มีการหลั่งของฮอร์โมนอะดรีนะลีน(Adrenaline) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) ความดันเลือด และอัตราการหายใจ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของน้ำตาลลกลูโคสในกระแสเลือด และมีฤทธิ์ไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่หากได้รับนิโคตินที่มากในปริมาณหนึ่งส่งผลให้ไประงับการทำงานของตัวรับแอเซทิลโคลีน และเกิดอาการเป็นพิษของจากนิโคตินที่เปลี่ยนฤทธิ์จากกระตุ้นประสาทเป็นกด ประสาท ทำให้อาจถึงตายได้

ผลกระทบที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของนิโคตินคืออาการเสพติด ซึ่งงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่นิโคตินไปกระตุ้นวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ ซึ่งคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผลของนิโคตินต่อการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine)

 ในหญิงมีครรภ์จะขัดขวางการพัฒนาของเซลล์ประสาทของทารก (มีผู้ศึกษาพบว่าหากมารดาสูบบุหรี่ในช่วง 4 สัปดาห์ก่อนคลอดแม้เพียงครั้งเดียวก็มีผลยับยั้งการสร้าง DNA ของทารกได้นานหลายชั่วโมง) หลอดเลือดดำมดลูกหดตัวทำให้เลือดผ่านรกลดลง การได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ทารกจึงขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดจึงน้อย ก่อเกิดปัญหาพัฒนาการด้านเชาวน์ปัญญาที่บกพร่อง ทำให้มีปัญหาการเรียน มีพฤติกรรมซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น ก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม ในส่วนของผลกระทบต่อมารดาก็มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดคือหลอดลมอักเสบ

ฉะนั้นการ กระทำเล็กๆในชีวิต->การเลิกดื่มชา,กาแฟ,ยาชูกำลัง และการเลิกสูบบุหรี่ เพื่อแลกกับชีวิตที่ยืนยาวและไร้โรคาเบียดเบียน คงเป็นอะไรที่คุ้มค่ากว่ากันมาก C":

เรียบเรียงความรู้โดย กุสุมา No.1 , จิตติมา No.2 , เจษธวัช No.3 , พัชรี No.11 , เพ็ญศรี No.12

หมายเลขบันทึก: 481903เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2012 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท