คนทำฮอ
นาวาอากาศโท สมเกียรติ ฮุ้นสกุล

Logistic Regression Analysis


การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค

     Logistic Regression Analysis : การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค เป็นการวิเคราะห์ที่ตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรเกณฑ์เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ กรณีตัวแปรเกณฑ์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม จะเรียกว่าการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ และถ้าตัวแปรเกณฑ์แบ่งออกได้มากกว่า 2 กลุ่ม จะเรียกว่าการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม

      การวิเคราะห์โลจิสติคมีเป้าหมายก็คือ เพื่อทำนายโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่สนใจโดยอาศัยสมการโลจิสติคที่สร้างขึ้นจากชุดตัวแปรทำนาย (x's) ที่เป็นตัวแปรที่มีข้อมูลอยู่ในระดับช่วงเป็นอย่างน้อย โดยที่ระหว่างตัวแปรทำนายจะต้องมีความสัมพันธ์กันต่ำ และในการวิเคราะห์จะต้องใช้ขนาดตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 30p เมื่อ p คือ ตัวแปรทำนาย

      การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค เมื่อตัวแปรเกณฑ์เป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม มี 2 กลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายกับตัวแปรเกณฑ์จึงไม่เป็นเชิงเส้น การวิเคราะห์จะต้องมีการปรับให้เป็นความสัมพันธ์อยู่ในรูปเชิงเส้น ในรูปแบบของ odds และในการเขียนโมเดลโลจิสติคจะต้องเขียนให้อยู่ในรูป log ของ logit เมื่อตัวแปรเกณฑ์มี 2 กลุ่ม แต่ถ้ามีตัวแปรเกณฑ์มากกว่า 2 กลุ่ม เช่น มี 3 กลุ่ม จะได้ logit จำนวน 2 ค่า (K-1) เมื่อ K คือ กลุ่มและจะนำ logit แต่ละค่าเปรียบเทียบกับกลุ่มที่เป็นฐาน (baseline category) คือ

กลุ่มที่ 1 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 2 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 3

เมื่อกลุ่มที่ 3 เป็น baseline category หรือบางทีเรียกว่า reference category จะมีค่าเป็น 0 ครับ

ที่มา ผศ.ดร.ยุทธ ไกยวรรณ์

คำสำคัญ (Tags): #logistic regression analysis
หมายเลขบันทึก: 481895เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2012 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท