คนทำฮอ
นาวาอากาศโท สมเกียรติ ฮุ้นสกุล

CFA : Confirmatory Factor Analysis


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

     CFA : Confirmatory Factor Analysis คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เป็นการวิเคราะห์เพื่อยืนยันองค์ประกอบที่สร้างขึ้นมาจากการศึกษาทฤษฎีหรือจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจมาก่อนนี้แล้ว ในการวิเคราะห์ถ้าผู้วิจัยเลือกวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Lisrel ผู้วิจัยจะต้องกำหนดโมเดลขึ้นมาเป็นโมเดลของการวิเคราะห์แบบ CFA ที่เป็นโมเดลการวัดสำหรับตัวแปรแฝงภายนอก ซึ่งได้เขียนในรายระเอียดของ SEM เกี่ยวกับความเข้าใจเบื้องต้นโมเดลสมการโครงสร้างแล้ว นอกจากนี้ข้อมูลตัวแปรต่างๆ จะต้องมีจำนวนที่มากพอ โดยปกติจะต้องมากกว่า 20 เท่าของตัวแปร และในการตรวจสอบโมเดลจะพิจารณาเหมือนกับการวิเคราะห์ SEM

     ในการวิเคราะห์ CFA จะมีการวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

1) การวิเคราะห์ CFA อันดับแรก หรือการวิเคราะห์โมเดลโครงสร้างพื้นฐาน

2) การวิเคราะห์ CFA อันดับสอง เพื่อให้สามารถทราบลึกลงไปว่า องค์ประกอบใหม่ที่สร้างขึ้นมานั้นองค์ประกอบใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากัน หรือสามารถจัดอันดับความสำคัญขององค์ประกอบใหม่ได้ครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #CFA : Confirmatory Factor Analysis
หมายเลขบันทึก: 481760เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2012 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท