คนทำฮอ
นาวาอากาศโท สมเกียรติ ฮุ้นสกุล

Factor Analysis


การวิเคราะห์องค์ประกอบ

     การวิเคราะห์องค์ประกอบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ มุ่งลดจำนวนตัวแปรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยตัวแปรที่นำมาวิเคราะห์ควรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ หรือ ถ้าเป็นตัวแปรกลุ่มจะต้องปรับให้เป็นตัวแปรทวิ มีค่าเป็น 0 กับ 1

     ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1.Exploration Factor Analysis Model : EFA เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

2.Confirmatory Factor Analysis Model : CFA เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

     ซึ่งในการวิเคราะห์องค์ประกอบผู้วิเคราะห์ควรจะรู้ความหมายคำต่างๆ ดังนี้

1) Common Factor : ปัจจัยร่วม หมายถึง องค์ประกอบที่ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกันอยู่ในองค์ประกอบเดียวกัน

2) Specific Factor : ปัจจัยเฉพาะ หรือ องค์ประกอบเฉพาะ หมายถึง องค์ประกอบที่มีตัวแปรสังเกตได้เพียงตัวเดียว

3) Factor Loading : น้ำหนักองค์ประกอบ หมายถึง ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้กับองค์ประกอบ ซึ่งค่าน้ำหนักองค์ประกอบนี้ควรมีมากกว่า (>) .3 และถ้าตัวแปรสังเกตได้มีน้ำหนักในองค์ประกอบใดมาก ควรจะจัดตัวแปรนี้เข้ากับองค์ประกอบนี้

4) Communality : ค่าคอมมูนาลิตี้ หรือ ค่าความร่วมกัน หมายถึง ค่าผลบวกกำลังสองของน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ของตัวแปรสังเกตได้หนึ่งๆ ในทุกองค์ประกอบที่สกัดได้

5) Factor Score : คะแนนองค์ประกอบ หมายถึง คะแนนที่ได้จากน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) และค่าของตัวแปรนี้ เพื่อใช้เป็นค่าของตัวแปรใหม่ ที่เรียกว่า องค์ประกอบ หรือ ปัจจัย (Factor)

6) Eigen Value : ค่าไอเกิ้น หมายถึง ค่าความผันแปรขององค์ประกอบหนึ่งที่อธิบายได้ด้วยค่าตัวแปรทุกตัวในองค์ประกอบเดียวกัน ซึ่งหาได้จากการนำผลบวกกำลังสองของค่าน้ำหนักองค์ประกอบแต่ละทุกตัวแปรในองค์ประกอบนี้

     ซึ่งในการวิเคราะห์องค์ประกอบมีข้อตกลง คือ ตัวแปรที่รวมกลุ่มกันจะมีความสัมพันธ์ไม่ต่ำกว่า .30 โดยผู้วิเคราะห์พิจารณาจากตาราง Correlation Matrix

  นอกจากนี้ยังพิจารณาข้อมูลว่าจะวิเคราะห์องค์ประกอบได้หรือไม่ ให้พิจารณาจาก

1) สถิติค่า KMO ซึ่งควรมีค่าไม่ต่ำกว่า .60

2) สถิติค่า Bartlett's test of sphericity ซึ่งต้องมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงจะนำไปวิเคราะห์ได้

     ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ มีขั้นตอนในการวิเคราะห์ 4 ขั้นตอน คือ

1) การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด

2) การหาองค์ประกอบเริ่มต้น

3) การหมุนแกนองค์ประกอบ

4) การหาคะแนนปัจจัย

     เมื่อผู้วิเคราะห์สร้างตัวแปรใหม่หรือองค์ประกอบใหม่ได้แล้ว ต่อไปก็ให้ตั้งชื่อองค์ประกอบใหม่ให้ครอบคลุมตัวแปรต่างๆ เดิมที่อยู่ในองค์ประกอบเดียวกันนั้น...ครับ

ที่มา...ผศ.ดร.ยทธ ไกยวรรณ์

  

 

คำสำคัญ (Tags): #factor analysis
หมายเลขบันทึก: 481685เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท