กิจกรรมบำบัด กับโรคซึมเศร้า(Major Depression)


โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่อยู่ใกล้ชิดกับคนเรา สามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆขณะเวลา ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตลดลง ดังนั้นการรับ และเข้าใจถึงสภาวะนี้ เป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดี

โรคซึมเศร้า(Major Depression)

          คือกลุ่มโรคที่แสดงอาการออกมาจากทางด้านอารมณ์ ซึ่งมีผลกระทบมาจากจิตใจ และจะส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์

สาเหตุของโรค

ความคิด ความรู้สึก และจิตใจ – เกิดจากสภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งครอบครัว เพื่อน สังคม รวมถึงการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าปรับตัวไม่ได้ อาจเกิดโรคนี้

ฮอร์โมน – มีผลจากทั้งสารเสพติด และยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยารักษาโรคมะเร็ง ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาคุม เป็นต้น

อาการ

มีลักษณะอาการ ท้อแท้ สิ้นหวัง เศร้าเสียใจ ไร้ซึ่งแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต

กลุ่มอาการของโรค

    1 . Major depression  (ภาวะซึมเศร้าแรกเริ่ม)

   2 . Dysthymia  (ภาวะประสาทซึมเศร้า)

   3 . Bipolar disorder  (ภาวะสองบุคลิก)

ผลกระทบของโรค

การเกิดโรคภาวะซึมเศร้านั้น จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด อาจเกิดจากทั้งความคิด ความรู้สึก จิตใจ หรือฮอร์โมนก็ตาม นอกจากสุขภาพจิตใจแย่ลงแล้ว สิ่งที่ตามมาคือสุขภาพกาย ก็จะแย่ลงตามมาด้วย ส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและการพักผ่อน และยังทำให้เป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายที่เป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน

บทบาทของกิจกรรมบำบัด

ทำการประเมินภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วย โดยพิจารณาจากกรอบอ้างอิง PEOP

P (Person) : สภาพร่างกายและจิตใจที่อาจก่อให้เกิดปัญหาของโรคซึมเศร้า ซึ่งจะเน้นความสำคัญทางด้านจิตใจของผู้ป่วยมากกว่า ด้านร่างกาย
E (Environment) : สภาพแวดล้อมของบ้าน ครอบครัว สังคม ที่ส่งผล หรือกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้า
O (Occupation) : สภาวะนี้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตต่างๆ กิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวันที่ควรทำได้ ทำได้น้อยลง หรืออาจจะไม่ทำเลย
P (Performance) : ลดความสามารถในการเข้าสังคมและการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึง แรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบก็ลดลงด้วย เป็นอุปสรรคในการมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี

จากนั้นก็กระตุ้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเน้นที่กิจวัตรประจำวันที่ควรต้องทำ และสร้างโอกาสในการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ ร่วมกับบุคคลอื่นๆในสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วม พร้อมทั้งให้กำลังใจ จากนั้นประเมินถึงความสามารถของการดำเนินชีวิตซ้ำหลังจากให้การบำบัด ฟื้นฟู และหาสาเหตุของปัญหาเพื่อที่จะได้แก้ไขร่วมกับสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิต และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

หมายเลขบันทึก: 481641เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท